Skip to main content
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เพลงกล่อมผี ผู้เขียน : นากิบ มาห์ฟูซ ผู้แปล : แคน สังคีต จาก Wedding Song ภาษาอังกฤษโดย โอลีฟ อี เคนนี ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2534 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์ หนาวลมเหมันต์แห่งพุทธศักราช 2552 เยียบเย็นยิ่งกว่า ผ้าผวยดูไร้ตัวตนไปเลยเมื่อเจอะเข้ากับลมหนาวขณะมกราคมสั่นเทิ้มด้วยคน ฉันขดตัวอยู่ในห้องหลบลมลอดช่องตึกอันทารุณ อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่อุดม ไรฝุ่นยั่วอาการภูมิแพ้ โรคประจำศตวรรษที่ใครก็มีประสบการณ์ร่วม อ่านเพลงกล่อมผีของนากิบ มาห์ฟูซ ที่แคน สังคีต ฝากสำนวนแปลไว้อย่างเฟื่องฟุ้งเลยทีเดียว ถือว่าหนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจใหญ่หลวงเลยก็ว่าได้ สำหรับนักเขียนหรือนักปรารถนาจะเขียนเช่นเดียวกัน ฉันลงความเห็นกับตัวเองว่า เพลงกล่อมผี เล่มนี้เป็นอาจารย์ของนักเขียนในหลายวิชา ทั้งวิชาว่าด้วยเทคนิคการประพันธ์ วิชาปรัชญา ศาสนาเปรียบเทียบ อาจรวมถึงวิชาโลกียชนด้วย
สวนหนังสือ
นายยืนยง สวัสดีปี 2552 ขอสรรพสิ่งแห่งสุนทรียะจงจรรโลงหัวใจท่านผู้อ่านประดุจลมเช้าอันอ่อนหวานที่เชยผ่านเข้ามา คำพรคงไม่ล่าเกินไปใช่ไหม ตลอดเวลาที่เขียนบทความใน สวนหนังสือ แห่ง ประชาไท นี้ ความตื่นรู้ ตื่นต่อผัสสะทางวรรณกรรม ปลุกเร้าให้ฉันออกเสาะหาหนังสือที่มีแรงดึงดูดมาอ่าน และเขียนถึง ขณะเดียวกันหนังสืออันท้าทายเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้วาวโรจน์ขึ้นกับหัวใจอันมักจะห่อเหี่ยวของฉัน
Cinemania
  ..mad mon..::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์:: 1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep) ลูกชายของทั้งคู่ (ซึ่งเป็นลูกที่ทั้งคู่รับมาเลี้ยง) ย้ายเข้ามาใน "บ้าน" หลังนี้ สองสามีภรรยาซ่อมแซมปรับปรุงบ้านหลังนี้ ไม่เพียงแต่เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย แต่เพื่อทำให้มันกลับมาเป็นสถานเลี้ยงเด็กอีกครั้งหลังจากถูกทิ้งร้างไป ตั้งแต่เปิดเรื่องได้ไม่นาน ตัวภาพยนตร์เปิดให้เรารับรู้ว่า Simón มีเพื่อนสองคนซึ่งพ่อแม่ของเขามองไม่เห็น! และเมื่อพวกเขาย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้ Simón ก็ได้พบกับเพื่อนใหม่คนหนึ่งในตอนที่ Laura พาเขาเข้าไปเล่นในถ้ำ! และตามมาด้วยเพื่อนใหม่อีก 5 คนในบ้านหลังนั้น,เด็ก 6 คนที่ไม่มีใครมองเห็น! Simón ได้ชวนให้ Laura ร่วมเล่นเกมไขปริศนาผ่านสิ่งของกับเพื่อนที่มองไม่เห็นของเขา (ซึ่ง Laura มารู้ในภายหลังว่าพวกเธอและเขาเหล่านั้นคือเพื่อนในวัยเด็กของเธอ), เกมซึ่งสิ่งของต่างๆในฐานะที่เป็นคำใบ้สู่ปริศนาจะถูกวางอยู่อย่างผิดที่ผิดทาง และผู้เล่นต้องนำของเหล่านั้นแต่ละอันกลับไปอยู่ในที่ที่ควรจะเป็นทีละอันๆจนพบคำตอบ, มันจึงเป็นเกมที่เล่นกับการสังเกต การรับรู้ ความเป็นระเบียบ ลำดับ ความคุ้นเคย และที่สำคัญคือความทรงจำ.. หลังเกมรอบแรกจบลงที่แฟ้มประวัติของ Simón ซึ่งมีข้อความหนึ่งที่บอกว่าเขาเป็นพาหะของโรคเอดส์ (HIV carrier แปลจาก portador del VIH) ทั้งคู่มีปากเสียงกัน Simón โกรธมากที่แม่และพ่อของเขาโกหกว่าเขาเป็นลูกจริงๆ ทั้งที่เขาถูกรับมาเลี้ยง นอกจากนั้น มันยังทำให้เขารู้ว่าถ้าเขาไม่กินยา ไม่นานเขาก็จะตาย2. คนหาย/การตาย และสายสัมพันธ์ในวันหนึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศของงานเลี้ยงใส่หน้ากาก, งานเลี้ยงเปิดโรงเรียน/โรงเลี้ยงเด็กพิเศษของสองสามีภรรยา, Simón ต้องการให้ Laura ไปดู "บ้านเล็กของ Tomas", เพื่อนใหม่คนหนึ่งของเขา, แต่ Laura ซึ่งกำลังวุ่นอยู่กับงานเลี้ยงปฏิเสธ ทั้งคู่มีปากเสียงกันอีก ไม่นานจากนั้น Laura ถูกแกล้ง/ทำร้ายโดยเด็กคนหนึ่งที่สวมหน้ากากกระสอบ, ซึ่งบนเสื้อมีข้อความว่า "Tomas", เด็กซึ่งไม่มีใครเห็นเขายกเว้น Laura, และเป็นวันนั้นเองที่ Simón หายตัวไป! การหายตัวของ Simón ทำให้ Laura ค่อยๆ "ย้อนเวลา" กลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เธอถูกรับไปเลี้ยง เธอได้รู้ว่าในบ้านเด็กกำพร้าหลังนั้นมีเด็กอีกคนหนึ่งที่เธอไม่รู้จัก, เด็กชายพิการไม่กำพร้าผู้สวมหน้ากากกระสอบ, Tomas, และแม่ของเขา, Benigna, คนเลี้ยงเด็กอีกคนหนึ่งซึ่งเธอไม่สามารถจดจำได้ เธอได้รู้ว่าหลังจากที่เธอออกจากบ้านเด็กกำพร้าไม่นาน ในวันหนึ่งเด็กๆไปเล่นกันในถ้ำริมทะเลซึ่งน้ำท่วมถึง เพื่อนๆของเธอแกล้ง Tomas โดยการถอดหน้ากากของเขาออกเพื่อที่จะรอดูใบหน้าไร้หน้ากากก้าวออกมาจากถ้ำ และตั้งแต่นั้น เขาก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ในวันต่อมา ร่างไร้ชีวิตอันปราศจากหน้ากากของเด็กชายถูกพบบริเวณชายหาด ในเหตุการณ์นั้น เด็กๆคนอื่นไม่ถูกกล่าวโทษ ว่ากันว่ามันเป็นอุบัติเหตุจากการเล่นกันของเด็กเพียงเท่านั้น..  Laura ค่อยๆปะติดปะต่อเรื่องราวต่อมาจนพบว่า หลังจาก Tomás ตายไปได้ไม่นาน Benigna ชำระแค้นให้กับลูกชายของเธอโดยการวางยาพิษเด็กกำพร้าที่เหลือจนตายไปทั้งหมด, "เด็กกำพร้า" ผู้ซึ่งไม่มีสายสัมพันธ์กับใครที่ต้องตายไปโดยไม่มีใครมาร้องขอความเป็นธรรมให้พวกเธอและเขา, Laura ค่อยๆแกะรอยจาก (เกมปริศนา) สิ่งของซึ่งวางอยู่ผิดที่ผิดทาง เธอค่อยๆพบ (และ/หรือเรียกคืนความทรงจำ?) และจัดเรียงสิ่งของต่างๆในบ้านบางอย่างให้เข้าที่เข้าทาง และในที่สุด มันทำให้เธอพบซากกระดูกของเพื่อนๆเด็กกำพร้าของเธอ (โดยที่ "ของ" ชิ้นสุดท้ายอีกชิ้นหนึ่งยังไม่ได้ถูกไขปริศนา) ..ในชั่วขณะนั้น เธอคงกำลังคิดว่าใกล้จะได้พบกับ Simón แล้วกระมัง... 3. อดีตหลอน, ความทรงจำหวนคืน และการหลอมรวมของกาลเวลา หลายเดือนผ่านไป และหลากวิธีในการค้นหา (ซึ่งรวมไปถึงการติดต่อกับวิญญาณผ่านคนทรงและการสะกดจิต) สองสามีภรรยาก็ยังไม่พบกับลูกชายที่หายไป.. Carlos ซึ่งแทบจะหมดหวังไปแล้วพยายามจะชวน Laura ออกไปจากบ้านหลังนั้นสักพักหนึ่ง แต่เธอก็ปฏิเสธ พร้อมๆไปกับการร้องขอที่จะได้เธออยู่ในบ้านหลังนั้นเพียงลำพัง ด้วยความหวังว่าจะได้พบกับ Simón อีกครั้งหนึ่ง..  ในระหว่างนั้น Laura จัดแจงเปลี่ยนสภาพบ้านหลังนั้นให้กลับไปเป็นโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าแบบเดิมในวัยเด็กของเธอเมื่อสามสิบปีก่อน ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆถูกนำกลับไปวางในที่เดิมที่มันเคยอยู่ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ Laura ได้นำการละเล่นในวัยเด็กกลับมาเล่นใหม่อีกครั้ง พร้อมๆกับการกินยาจำนวนมหาศาล (คนทรงบอกกับเธอว่า ในสภาวะที่ใกล้จะถึงความตาย จะสามารถพบปะพูดคุยกับวิญญาณได้.. เธอคงจะกินยาเหล่านั้นเพื่อให้ใกล้ตาย) ภาพที่เราเห็นต่อมาคือเพื่อนของเธอค่อยๆปรากฏตัวขึ้น! เด็กๆกลับมาเล่นเกมเดิมๆอีกครั้ง! ทั้งหมดยังคงเป็นเด็ก! มีเพียงเธอเท่านั้นที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว! เวลาของเธอเดินทางต่อไปแต่เวลาสำหรับเด็กๆเหล่านั้นกลับนิ่งสนิท,ไม่ต่างอะไรกับ Peter Pan และ Neverland... และแล้ว "ของ" ชิ้นสุดท้าย, "ลูกบิดประตู", ก็ได้นำพา Laura ไปสู่ "ประตู" อันหนึ่ง, ประตูไปสู่ "บ้านเล็กของ Tomás" สถานที่ซึ่ง Simón เคยอยากจะพาเธอไปดูแต่เธอปฏิเสธ.. เธอพบร่างไร้ชีวิตของ Simón ในที่แห่งนั้น, ร่างเด็กชายที่สวมหน้ากากกระสอบ, หน้ากากกระสอบของ Tomás นั่นเอง! Laura กินยาเข้าไปอีก (เธอคงอยากเข้าใกล้ความตายมากขึ้นไปอีก เพื่อที่จะได้พูดคุยกับลูกชายสุดที่รักของเธอ และเธออาจหวังลึกๆว่าจะนำเขากลับมาจากความตายได้สำเร็จ) ..และเพียงชั่วอึดใจ Simón ก็ลืมตาตื่นขึ้น, จากการที่เขาสามารถไขปริศนาจากเกมในตอนแรกได้เขาจึงสามารถอธิษฐานได้ข้อหนึ่ง, และคำอธิษฐานของ Simón ก็คือต้องการให้ Laura, แม่ของเขาอยู่ดูแล "พวกเขา" ณ ที่แห่งนี้, บ้านเด็กกำพร้าหลังเดิม, ที่ซึ่งเธอเคยจากไปเมื่อสามสิบปีก่อน  เมื่อสิ้นสุดคำอธิษฐาน Laura กลับมาสู่ The Orphanage (ในฐานะที่หมายถึงสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า "แห่งนี้") อีกครั้งหนึ่ง โดยอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งกับเพื่อนๆในวัยเด็กซึ่งเธอได้จากมา พร้อมๆกับได้อยู่กับลูกชายสุดที่รักของเธออีกครั้งหนึ่ง ในแง่นี้ ความทรงจำและแรงปรารถนาแห่ง "อดีต" จึงได้หลอมรวมเข้ากับความคาดหมายแห่ง "ปัจจุบัน" และแรงปราถนาแห่ง "อนาคต" กลายเป็นความสมปรารถนาอันปราศจากเวลา กาลเวลาของ The Orphanage จึงหยุดนิ่งอย่าง Neverland และพวกเธอและเขาคงจะไม่มีวันพรากจากกันไปอีก.. ตลอดกาล 4. ผีหลอก/อดีตหลอนหาก The Orphanage ในฐานะของสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งหลอมรวมอดีต, ปัจจุบัน, และอนาคตของ Laura เข้าด้วยกัน แล้ว The Orphanage ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะกล่าวได้ว่ามันคืออะไร.. ผมเห็นว่าคงไม่เป็นการเยินยอจนเกินไปหากจะบอกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนผสมชั้นดีของหนังดราม่าหนักๆที่ทั้งแสดงภาพของความรักของครอบครัวพร้อมๆไปกับแสดงภาพในบางแง่มุมของสังคมที่ "เด็กกำพร้า" (และอาจแทนที่ด้วยคนกลุ่มอื่นๆอีกมากมาย) เป็นกลุ่มคนที่ถูกละทิ้ง, ผสมผสานเข้ากับพล็อตเรื่องของหนังฆาตรกรรมที่ตัวเอกต้องเสาะหาฆาตรกรที่สร้างปมให้เกิดเรื่องราวทั้งหมด, พร้อมๆไปกับความเป็นหนัง "ผี" ที่ "หลอกหลอน" ตัวละครเอกของเรื่องและผู้ชมไปพร้อมๆกัน.. แต่ไม่ว่า "ผี" ในภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีจริงหรือไม่ก็ตาม สำหรับ Laura แล้ว "อดีต" ของเธอนั่นแหละที่เป็น "ผี" มาคอย "หลอน" เธออยู่ตลอดเวลาอย่างไม่ต้องสงสัย
Cinemania
(เขียนเมื่อ 31 ธ.ค.51)จันทร์ ในบ่อ สิ้นปีกันเสียที บรรยากาศตึงๆ ปีนี้อาจทำให้ใครหลายคนอึดอัดและทำท่าจะลากยาวไปถึงปีหน้า ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ  คนสู้ๆ กับปัญหาที่รุมเร้า แต่ถ้าเครียดมากลองผ่อนคลายกันด้วยการหาหนังดูมาสักเรื่องสองเรื่อง จะซื้อ จะเช่ามานั่งดูที่บ้านหรือจะออกไปดูตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็ได้ ลองออกจากโลกความจริงไปอยู่ในโลกอื่นสักชั่วโมงสองชั่วโมงอาจจะสบายใจขึ้นส่วนถ้าใครยังไม่รู้จะดูเรื่องอะไร ที่ไหนอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมหนังรับปีใหม่มาฝาก เป็นหนังฟรีกลางแปลงครับหลายคนคงไม่ค่อยทราบว่าที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดเทศการหนังกลางแปลงกันทุกปี ในวันที่ 7-8-9 มกราคม 2552 นี้ก็วนมาอีกรอบเข้าสู่ปีที่ 15 ใช้ชื่องานว่า ‘มุง – หนัง – กลาง - แปลง’ ชวนให้ไปมุงดูกัน มีทั้ง ลิเกออกแขก ออกร้าน และดนตรีอะคูสติกเบาๆ จากเพลงประกอบหนังเพื่อเพิ่มบรรยากาศตั้งแต่ยามเย็นไปถึงย่ำค่ำ ถ้าไม่มีอะไรดูก็ดูนักศึกษาไปก่อนก็ได้ เพราะบางทีนักศึกษาที่นี่ก็ ‘แปลก’ เหมือนกัน 
Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta' แปลเป็นไทยได้ว่า "กาพย์แห่งรัก" เข้าฉายในอินโดนีเซียเมื่อกลางปี 2551 เป็นผลงานการกำกับของ  ฮานุง บรามัทโย (Hanung Bramantyo) ผู้เชี่ยวกรากในการกำกับหนังในแนวรักโรแมนติกตั้งแต่ปี 2000 เรื่อยมาจนถึงปี 2008 แต่ละเรื่องได้รับความนิยมและฝั่งแง่คิดทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียไว้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง ‘Ayat Ayat Cinta' เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังคงเดินไปในแนวทางนี้โดยมีเนื้อหาสื่อถึง "วิถีรักของมุสลิม" ซึ่งชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆในประเทศไทยหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือปิดกั้นตัวเองที่จะเข้าใจ ดังนั้น ก่อนอื่นต้องเล่าถึงตัวละครกันสักนิดเพื่อจะได้ง่ายต่อการเข้าใจถึงเนื้อหาของเรื่องรักในแบบแดน อิเหนาเฟดี นูรีล (Fedi Nuril) แสดงเป็น ฟารีล บิน อับดุลเลาะ ชิดิล (Fahri bin Abdullah Shiddiq) นักศึกษาชาวอินโดนีเซียที่ได้ไปเรียนและกำลังจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของโลกอย่าง Al-Azhar กรุงไคโร ประเทศอียิปส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุยาวนานที่สุดในโลก ริอันตี จารวิง (Rianti Cartwright) รับบทเป็น อาอิชา เกรสมาส (Aisha Greimas) สาวในตาสวยผู้สวมอียาฟ ลูกครึ่งเยอรมัน- ตุรกี ที่สำคัญคือเธอรวย และไม่มีชายใดจะได้เห็นหน้าตาของเธอ นอกจากสามีในอนาคตเท่านั้น จาริซา ปูเตอรี (Carissa Puteri) รับบทเป็น มาเรีย กีกีส (Maria Girgis) หญิงสาวที่นับถือศาสนาคริสต์แต่ ก็ตกหลุมรักในอิสลามเช่นกัน และรักในตัวของฟารีลมาก เรื่องราวความรักของสามคนอาจคล้ายกับ "รักสามเศร้า" หนังไทยที่หลายคนคงดูไปแล้ว แต่เรื่องราวสามเศร้าของ ayat ayat cinta แตกต่างอยู่บ้างก็ตรงที่ ayat ayat cinta มีเรื่องของศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ คือความรักจะต้องอิงอยู่กับหลักศาสนา ฟารีล ชายหนุ่มที่ไม่เคยรู้เลยว่าใบหน้าของคู่รัก (อาอิชา) ที่จะแต่งงานด้วยเป็นอย่างไร เนื่องจากคู่แต่งงานของเขามีผ้าคลุมหน้าและศีรษะเหลือแต่ลูกตา (คลุมอียาฟ) ตามหลักศาสนาอิสลามแล้วนอกจากจะแต่งงานกันก่อนเท่านั้นจึงจะเห็นทุกส่วนมุมของหล่อนได้ แต่แล้วฟารีลก็รักเจ้าหล่อนจากลูกตาที่พอมองเห็นอยู่บ้าง และรักขึ้นอีกเมื่อได้เห็นหน้าตาที่สะสวย ขาวเนียน ของหล่อน ส่วนมาเรียนั้นหลงรักฟารีลและเจอฟารีลก่อนอาอิชา ขณะเดียวกันมาเรียก็คลั่งไคล้ในอิสลาม แม้ว่าเธอจะยังคงอยู่ในการนับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม จนหลังจากที่ฟารีลกับอาอิชาแต่งงานกัน มาเรียเสียใจอย่างหนัก อีกทั้งยังป่วยตลอดเวลา เธอเป็นลูคิเมียที่รอวันตาย แต่ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเธอจุดหักเหของเรื่องมาอยู่ตรงที่ ฟารีลถูกกล่าวหาว่าไปข่มขืน โน่รา บาฮาดูล Noura Bahadur รับบทโดย Zaskia Adya Mecca ซี่งการข่มขืนเป็นโทษที่ร้ายแรงมากตามหลักของอิสลาม แต่โนราไม่ได้โดนฟารีลข่มขื่น แม้ว่าเธอถูกข่มขื่นจริงแต่คนร้ายต้องการให้โนราใส่ความฟารีล เพราะไม่ชอบฟารีลที่เข้ามายุ่งเรื่องของตนมีเพียงมาเรียที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่จะเป็นพยานให้กับฟารีลได้ แต่มาเรียกก็ถูกรถชนโดยผู้ที่ต้องการที่จะปิดปาก เธอนอนหลับใหลไม่ได้สติในโรงพยาบาล และเป็นหน้าที่ของอาอิชาที่ต้องช่วยเหลือสามีของตนทุกวิถีทางเพื่อให้สามีออกจากคุกให้ได้ เธอได้ไปตามหามาเรียตามคำเรียกร้องของฟารีล มาเรียจึงเป็นทั้ง ‘กุญแจรัก' และ ‘ กุญแจพยาน'และแล้วอาอิชาก็ได้รู้ความจริงว่ามาเรียได้รักฟารีลมาก่อนตนจากไดอารี่ของมาเรียเอง แต่มาเรียก็ยังหลับใหลอยู่ ไม่มีทางที่จะไปเป็นพยานได้ อาอิชากลับไปหาฟารีลในคุกและติดต่อกับทนายเพื่อที่จะประกันตัวฟารีลออกมาเจอกับมาเรีย เพื่อที่จะกระตุ้นให้มาเรียฟื้น แต่การประกันตัวในคดีข่มขืนไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก อาอิชาต้องใช้เส้นสายเพื่อที่จะเอาตัวฟารีลออกมาให้ได้นั้น กระบวนการยุติธรรมที่เป็นเสมือนดาบสองคมทำให้เลือดตาเธอแทบกระเด็นท้ายที่สุดมาเรียก็ฟื้นขึ้นมาและได้เป็นพยานให้กับฟารีล มาเรียเล่าให้ศาลฟังว่า แท้ที่จริงแล้วฟารีลถูกใส่ความ โน่ราไม่ได้ถูกฟารีลขมขื่นเพราะฟารีลอยู่กับตน เสียงที่โห่ร้องในศาล เหมือนกับตลาดนัดวันเสาร์จึงได้ดังขึ้น เพราะความจริงได้ปรากฏออกมาจากปากของมาเรียหลังจากฟารีลพ้นจากข้อกล่าวหา อาอิชา ภรรยาใจกว้างจึงต้องการให้ฟารีลกับมาเรียแต่งงานกัน ตามหลักศาสนาการที่ฟารีลกับมาเรียจะแต่งงานกันได้ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาหลวงก่อน หลังจากนั้นทั้งสามก็มาอยู่ด้วยกัน อาอิชาท้อง แต่มาเรียเป็นลูคิเมียรอวันตาย ในที่สุดด้วยความรักในฟารีลและความเอื้ออาทรของอาอิชาทำให้มาเรียยอมเข้านับถืออิสลามและเสียชีวิตไปในท่าละหมาดร่วมกันกับฟารีลและอาอิชา  000หนังเรื่อง ayat ayat cinta มีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งยากในการที่จะสาธยายได้หมด แต่หนังได้แฝงรสนิยม ทัศนคติ วัฒนธรรม หลักศาสนาและกฎหมาย หนังได้สะท้อนให้เห็นรสนิยมในโลกอิสลามภูมิภาคนี้ว่าการไปเรียนของนักศึกษาในอียิปส์นั้นเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่และสุดยอดที่สุดแล้ว ในขณะที่หลักกฎหมายที่หนังสื่อออกมานั้นก็ทำให้คนดูรู้สึกว่ากฎหมายอิสลามเหนียวแน่นเหลือเกิน แต่สุดท้ายมันก็ยังคงเป็นดาบสองคมสำหรับผู้ใช้และผู้ถูกใช้อยู่ดี และที่สำคัญ แม้แต่จุดอบอุ่นโรแมนติกก็ตาม ศรัทธาในโลกมุสลิมได้สะท้อนจุดเปราะบางทางความเชื่อของคู่ขัดแย้งสำคัญของโลกออกมาแล้วจึงทำให้แม้แต่การเปลี่ยนจากคริสต์มาเป็นอิสลามของตัวละครก็แฝงมีนัยย์บางอย่างที่มากกว่าความรัก การเปลี่ยนศาสนาในหนังรักโรแมนติกที่ดูเหมือนเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งนั้น สัญลักษณ์คู่ตรงข้ามที่หยิบใช้อาจกำลังบอกเราว่า ‘อิสลามดีกว่าคริสต์' และเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่ผู้กำกับอาจจะลืมหรืออาจตั้งใจ !??? 000อย่างไรก็ตาม ayat ayat cinta นับได้ว่าเป็นหนังโรแมนติกที่ฉีกมุมมองของความรักได้อย่างน่าสนใจเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว หนังเรื่องนี้ได้ได้เข้าฉายในสิงคโปร์ มาเลเซีย เนื่องจากภาษาสามารถสื่อกันได้ ซึ่งการได้สัมผัสกับหนังรักในมุมของอิสลามแบบนี้อาจเป็นการตั้งคำถามที่ดี เมื่อความรักที่ดีในบางรูปแบบไม่จำเป็นต้องมีแค่หญิงหนึ่งชายหนึ่งเสมอไป ในบางความรัก ศาสนาที่ดูเป็นคู่ตรงข้ามกับแนวทางโลกียะกลับเป็นคำตอบของความสมหวัง ความรักในแบบอิสลาม ‘พระเจ้าคือรักสูงสุด เป็นรักที่แท้จริง และเป็นต้นตอของรัก' ความรักในแบบอิสลามทำให้เราพบคำตอบดีที่ไปไกลและแตกต่างไปจากเรื่อง ‘รักสามเศร้า' ในบ้านเรา ความรักในแบบอิสลามไม่จำเป็นต้องมีแค่สองเสมอไปหากเป็นความพร้อมใจร่วมกันความรักในแบบอิสลามจึงทำให้มาเรียสามารถสมหวังในรักได้แม้มันจะเพียงแค่ชั่วข้ามคืน ความรักในแบบอิสลามทำให้อาอิชาสามารถรักและปลื้มในตัวของมาเรียได้โดยไม่มีความรู้สึกผิดหรือขัดแย้งหากเทียบกับความรักแบบ ‘ผัวเดียวเมียเดียว'  ความรักในแบบอิสลามทำให้ผู้หญิงสองคนไม่จำเป็นต้องเกลียดและตบตีแย่งกัน ในขณะเดียวกันทั้งสองก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกันมาก่อนที่ต้องแบ่งปันกัน กุญแจสำคัญของความรักมีคำตอบเป็นสามได้กลับเป็นศาสนาอิสลามที่หลายคนมองเป็นปีศาจอันน่าเกลียดน่ากลัว กระผมเองอยากให้คนไทยหลายคนไปหาหนังเรื่องนี้ดู อาจจะเป็นความรักแนวใหม่ที่ทลายกรอบคิดบางประการของใครหลายๆคน แน่นอนว่าอารมณ์แตกต่างจากหนังบ้านเราแน่นอน กลิ่นอายของหนังอาจทำให้เราเข้าใจอิสลามมากขึ้น เข้าใจว่าเขาคิดกันอย่างไร เขารักกันอย่างไร หมายเหตุ : ผู้เขียนเป็นนักศึกษาฝึกงาน http://www.prachatai.com/     
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เงาสีขาวผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทองประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน น้ำเน่าในคลองต่อให้เน่าเหม็นปานใดย่อมระเหยกลายเป็นไออยู่นั่นเอง แต่การระเหิด ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกับการระเหย  ระเหย คือ การกลายเป็นไอ จากสถานภาพของของเหลวเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นก๊าซระเหิด คือ การเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซโดยตรงจากของแข็งเป็นก๊าซ โดยไม่ต้องพักเปลี่ยนเป็นสถานภาพของเหลวก่อน ต่างจากการระเหย แต่เหมือนตรงที่ทั้งสองกระบวนการมีปลายทางอยู่ที่สถานภาพของก๊าซสอดคล้องกับความน่าเกลียดที่ระเหิดกลายเป็นไอแห่งความงามได้
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2' เคยมีข่าวก่อนหน้านี้ในเรื่องทุนสร้างที่บานปลายจนกลายเป็นเรื่องขัดแย้งกันเองของ ‘เสี่ยเจียง' ผู้สนับสนุนเงิน กับ จา พนม ที่เป็นทั้งนักแสดงนำและก้าวกระโดดเข้ามากำกับเองเป็นเรื่องแรก ฝ่ายการตลาดของสหมงคลฟิล์มเองคงไม่ต้องการให้งบบานปลายไปมากกว่านี้ จึงได้ใช้เหตุการณ์ขัดแย้งเป็นแผนประชาสัมพันธ์องค์บาก 2 ไปในตัว ปรากฏว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หนังได้รับความสนใจและผู้ชมตั้งตาคอย ทีมประชาสัมพันธ์ได้ยั่วน้ำลายคอหนังแอ็คชั่นเข้าไปอีกด้วยการปล่อยฮีโร่อย่าง จา พนม ออกมาบู๊แหลกลาญผ่านหนังตัวอย่างก่อนฉายหลายเดือน ซึ่งไม่น่าแปลก เพราะบทบาทของ จา พนม ถูกวางในแนวนี้และยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาก่อน ผู้ชมเองต่างก็รู้ล่วงหน้าดีอยู่ในควมตั้งใจขาย ‘จา พนม' ในฐานะ ‘พระเอกนักบู๊' ผู้ซึ่งต่อสู้อย่างบ้าคลั่งด้วยความดี พิชิตความชั่ว ผ่านปมความแค้นส่วนตัว และผู้ชมคงไม่ผิดหวังแน่หากตั้งใจไปดูศิลปะการต่อสู้แขนงต่างๆและความอัจฉริยะในด้านนี้ของเขา เพราะทั้งการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายและอาวุธต่างๆของ จา พนม สามารถชื่นชมได้เต็มปากว่าลงตัวไร้ที่ติและเทียบชั้นดาราบู๊ชั้นนำของโลกได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็น เจ็ทลี,แจ็กกี้ ชาง,หรือสตีเวน ซีกัล ก็ตาม เพียงแต่มันก็อาจเป็นจุดเด่นที่สุดเพียงจุดเดียวของหนังและอาจจะกลบองค์ประกอบอื่นๆของความเป็นหนังไปหมด  องค์บาก 2 เป็นเรื่องราวของ "เทียน" เด็กหนุ่มซึ่งเป็นบุตรชายของขุนสีหเดโช (สันติสุข พรหมศิริ) ได้ถูกพระยาราชเสนา (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) ฆ่าล้างครอบครัวเพื่อความเป็นใหญ่ของตัวเอง แต่เทียนได้หนีรอดออกมาจากเงื้อมือขุนสีหเดโชได้ จนกระทั้งมาพบกับเชอนัง (สรพงษ์ ชาตรี) หัวหน้ากองโจรผาปีกครุฑที่ช่วยเทียนมาจากพวกค้าทาสและรับเป็นลูกบุญธรรม  ระหว่างอยู่กับเชอนัง เทียนได้รับการสั่งสอนวิชาแขนงต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิชาในการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆทั้งการต่อสู้ด้วยมือเปล่า มวยไทย มวยจีน รวมถึงการใช้เวทย์มนต์ คาถา การใช้อาวุธทั้งดาบ กระบี่กระบอง หรือแม้แต่การใช้ระเบิด โดยมีเหล่าปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้ประสาทวิชา สั่งสอนฝึกปรืจนเทียนเก่งกล้าและเป็นที่หนึ่งของกลุ่มกองโจรผาปีกครุฑ แต่ด้วยความแค้นในอดีตที่ค่อยตามหลอกหลอนเทียนตลอดเวลาทำให้เทียนจำต้องขอลาเชอนังเพื่อไปสะสางความแค้นในอดีตของตัวเองที่มีต่อพระยาราชเสนาผู้สังหารบิดามารดาตน แต่ไม่สำเร็จและได้ส่งผลร้ายแก่ตนเองในภายหลังจากภาพรวมของเรื่อง หากมาพิจารณาในด้านเนื้อหา องค์บาก 2 แตกต่างจากภาคแรกอย่างสิ้นเชิง ด้วยการพาเราย้อนยุคกลับไปในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ดำเนินเรื่องด้วยการแย่งชิงราชสมบัติและความวุ่นวายขายปลาช่อนในหมู่ชนชั้นนำที่กลายมาเป็นเหตุแห่งความแค้นของเทียน (จา พนม) และใช้เป็นปมที่ผูกเรื่องในการสร้างพัฒนาการการเจริญเติบโตและพรสวรรค์ด้วยใจรักทางการต่อสู้เป็นจุดเริ่ม แต่ปมที่วางไว้แบบนี้อาจไม่ได้แตกต่างอะไรจากหนังบู๊แอ็คชั่นในฮอลลีวู้ดทั่วไปที่ประกอบเหตุการณ์ต่างๆขึ้นมาเพื่อสร้างวีรบุรุษให้โดดเด่นและแตกต่างจากมนุษย์มนา เช่น ภาพยนตร์เรื่อง I'am legend ที่ใช้ปมเรื่องจากความโหดร้ายสู่การสร้างวีรบุรุษ เทียนเกิดมาพร้อมพรสวรรค์ควบคู่กับคำทำนายที่ติดตัวเสมือนถูกสาบมาตั้งแต่เกิด เมื่อเติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีบรรดานายทหารผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อเหนือหัว เป็นแรงบันดาลใจทำให้เทียน(อยาก)เรียนรู้และต้องการเป็นผู้เก่งกล้า โดยเฉพาะพ่อนับว่าเป็น Ideal ที่สำคัญของเทียน เมื่อเทียนได้เติบโตเป็นเด็กหนุ่ม ท่ามกลางความวุ่นวายของการแย่งชิงอำนาจและการทำลายครอบครัวอันเป็นที่รักจนหมดสิ้นไปต่อหน้าต่อตา มันจึงกลายเป็นปมทีบ่มเพาะความแค้นอยู่ในจิตใจของเด็กน้อยคนหนึ่งที่รอวันสะสาง ซึ่งพล๊อตเรื่องแบบนี้ทำให้เรานึกถึงทฤษฏีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินเรื่อง ‘การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' ผู้ที่เก่งเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้ วิธีคิดแบบนี้มันได้ฝังไปอยู่ในตัวและในหัวของเทียนอย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งที่ในวัยเด็ก เทียนไม่ได้เรียนรู้เรื่องการต่อสู้เลย แต่เมื่อบริบทที่รายรอบเปลี่ยน เทียนสู้จนสามารถเอาชนะจระเข้ได้ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่ชุมชนโจรได้อย่างเป็นที่ยอมรับ หนังอาจแฝงความหมายที่ว่าผู้ชนะเท่านั้นที่สามารถอยู่ในสังคมได้อยู่ในที และผู้ชนะนั้นยังหมายถึงการเป็นผู้สืบอำนาจเปลี่ยนผ่านจากผู้นำเดิมที่ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง   ‘องค์บาก 2' กับการดำเนินเรื่องเช่นนี้จึงกลับกลายการผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าภาพและบทแบบเดิมๆของจา พนม การแสดงแบบเดิมๆอาจกลายเป็นตัวทำลายภาพลักษณ์ของจา พนม เองในอนาคต หากหนังยังไม่สามารถเป็นตัวสร้างอัตลักษณ์อย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก สุดท้ายคนอาจจะเบื่อถ้าเห็นอะไรที่ซ้ำไปซ้ำมา ด้วยบทบู๊เป็นหลักเนื้อหางเป็นรองแบบเดิมๆ เหมือนหนังฮ่องกงที่เคยครองตลาดในบ้านเรามาก่อน แต่ปัจจุบัน หนังไม่จำเป็นต้องโชว์บู๊หนักหน่วง แต่ใช้เนื้อหาและการผูกเรื่องก็ทำให้หนังน่าสนใจที่สามารถสร้างนักแสดงให้ดูลุ่มลึก ทรงเสน่ห์ได้ เช่น Infernal Affairs เป็นต้น อีกประการหนึ่ง ความผิดพลาดที่สุดขององค์บาก 2 อาจอยู่ที่ความโลภโมโทสันของผู้ผลิตที่หวังกอบโกยเงินจากดาราแบบจา พนม แบบต่อเนื่องเกินไปก็เป็นได้ เพราะหนังได้สร้างเสียงครางระงมเนื่องจากผู้ชมที่มากเกือบแน่นโรงต้องมารู้สึกอารมณ์ค้างกับการจบที่ไม่สุดและอาจจะต้องมีองค์บาก 3 มาเป็นภาคต่อ ที่สำคัญ หนังเองได้สร้างคำถามกับผู้ชมไปเสียแล้วว่าองค์บาก 2 และองค์บากแรกเกี่ยวข้องกันอย่างไร หรือแค่นำชื่อมาโฆษณาเฉยๆ เพราะต่อไปนี้ผู้ชมคงจะรู้สึกตุ๊มๆต่อมๆที่จะได้ดูภาคต่อแต่อาจเป็นภาคต่อที่เป็นคนละเรื่องเดียวกันอีกตามเคยก็ได้หมายเหตุ: ผู้เขียนเป็นนักศึกษาฝึกงาน www.prachatai.com
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : เงาสีขาว ผู้เขียน : แดนอรัญ แสงทอง ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์สามัญชน ปกติฉันไม่นอนดึกหากไม่จำเป็น และหากจำเป็นก็เนื่องมาจากหนังสือบางเล่มที่อ่านค้างอยู่ มันเป็นเวรกรรมอย่างหนึ่งที่ดุนหลังฉันให้หยิบ เงาสีขาว ขึ้นมาอ่าน เวรกรรมแท้ ๆ เชียว เราไม่น่าพบกันอีกเลย คุณแดนอรัญ แสงทอง ฉันควรรู้จักเขาจาก เรื่องสั้นขนาดยาวนาม อสรพิษ และ นวนิยายสุดโรแมนติกในนามของ เจ้าการะเกด เท่านั้น แต่กับเงาสีขาว มันทำให้ซาบซึ้งว่า กระบือย่อมเป็นกระบืออยู่วันยังค่ำ (เขาชอบประโยคนี้นะ เพราะมันปรากฏอยู่ในหนังสือของเขาตั้งหลายครั้ง) ต่อให้กระบือตัวนั้นจะท่องสูตรคูณแม่ 137 ได้แม่นยำปานใดก็ตาม
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก เช่นเดียวกับอีกหลายประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยได้เรียนอย่างไร ก็ยังคงไม่ได้ถูกบรรจุให้เรียนอยู่อย่างนั้น   มันก็คงเหมือนกันกับความเป็นนักหนังสือพิมพ์ปากกล้า ที่กล้าวิพากษ์บทบาทของ “ผู้มีอำนาจ” ของ “กุหลาบ สายประดิษฐ์” ที่ถูกทำให้เลือนรางไป แล้วขับเน้นให้เห็นเพียงบทบาทบางเสี้ยวบางด้าน เช่นการเป็นนักเขียนนิยาย “ข้างหลังภาพ” ผ่านนามปากกา “ศรีบูรพา” เท่านั้น  กุหลาบ (ล่างซ้าย) เข้าเจรจากับรัฐบาล จอมพล ป. เพื่อให้รัฐยอมรับในอิสรภาพของสื่อมวลชนภาพโดย poakpong “บันทึกอิสรา” เป็นบทละครร้องที่พัฒนามาจากบทละครร้องเรื่อง “อิสราชน” ซึ่งกลุ่มมะขามป้อม ได้จัดแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2548 เนื่องในวาระ100 ปี ชาตกาลของกุหลาบ สายประดิษฐ์  “บันทึกอิสรา” บอกเล่าประวัติ ผลงาน และแนวคิดของกุหลาบ ผ่านเหตุการณ์ช่วงที่เขาถูกจองจำอยู่ในคุกนานกว่า 4 ปี โดยที่งานเขียนของเขายังทยอยออกมาสู่โลกนอกห้องคุมขังอยู่เรื่อยๆ ด้วยความช่วยเหลือของหลายฝ่าย รวมไปถึง “ชนิด สายประดิษฐ์” คู่ชีวิตของเขาเอง  เรื่องราวถูกเล่าผ่าน “ชนิด สายประดิษฐ์” ภรรยาของ “กุหลาบ”ภาพโดย poakpong   ขณะที่ละครร้องเรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามไปพ้นจากข้อจำกัดทางกายภาพอย่างซี่ลูกกรง ทีมงานละครร้องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการใช้ประโยชน์จากข้อจำกัดทางกายภาพของสถานที่แสดงเช่นกัน มะขามป้อมสตูดิโอเป็นห้องแถวขนาดย่อมๆ ซึ่งเมื่อตั้งแสตนท์สำหรับผู้ชมเข้าไปทั้งสองฝั่งแล้ว ก็เหลือที่สำหรับนักแสดงเพียงไม่กี่มากน้อย (กะด้วยสายตา น่าจะราว 5*5 เมตร) แต่ทีมงานก็ใช้พื้นที่ รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ในการสื่อสารได้ดีทีเดียว   นักแสดงและผู้กำกับพูดคุยกับผู้ชม ภาพโดย poakpong    หลังการแสดงจบลง ทีมงานเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามพูดคุย หลายคนแสดงความชื่นชม รวมถึงอยากให้เพิ่มรอบ ไปจนถึงจัดการแสดงตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย  สมบัติ บุญงามอนงค์ อดีตคนทำละครเวที ถามประดิษฐ ประสาททอง ผู้กำกับการแสดงขึ้นว่า เหตุใดจึงนำละครเรื่องนี้กลับมาเล่นอีกครั้งในช่วงเวลานี้ ผู้กำกับไม่ได้ตอบในทันที หากแต่ถามกลับว่าผู้ชมนั้นคิดอย่างไร  สมบัติตอบว่า เขาชอบประโยคเปิดที่ว่า คนมีชีวิตอยู่มีหน้าที่เล่าเรื่องต่อไป ทำให้ความจริง ไม่ว่าจะมากหรือน้อยดำรงอยู่ได้ อาจเพราะโลกสมัยก่อนนั้นมีข้อจำกัดด้านการสื่อสาร  โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า ถ้อยคำในละครที่มีอายุบางคำก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ “มันร่วมสมัย และตีกันในสมองผม ผมพยายามเปรียบเทียบและอ่านใจว่าคนทำคิดอะไรอยู่”  จากนั้น ประดิษฐ ได้เล่าว่า สาเหตุที่เขานำละครร้องเรื่องนี้ กลับมาทำใหม่นั้น เพราะในห้วงที่ผ่านมา เขาได้รับผลกระทบ ไม่ว่ากับญาติ หรือเพื่อนฝูง “คนที่นั่งกินข้าวอยู่ตรงข้ามกันพูดคุยกันลึกซึ้งไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเขาต่อต้านเราอยู่รึเปล่าและจะเสียเขาไปไหม” เขาบอกว่า แม้แต่คนในบ้านเดียวกัน หรือแท็กซี่ก็ต้องระวัง เหมือนว่าสังคมกำลังเจ็บป่วย โดยที่เราเป็นหนึ่งในเชื้อโรคตัวนั้น “เราเป็นส่วนหนึ่ง”  ประดิษฐจึงคิดว่าควรหยิบเรื่องนี้กลับมาเล่นใหม่ โดยหวังว่าจังหวะของคนในละคร จะช่วยให้ผู้ชมได้หยุดคิด  “เราเจอละครหลายรูปแบบ ทั้งแนวรักชาติ หรือดูแล้วเกิดอารมณ์ ผมตั้งใจว่าจะไม่ทำให้ดูแล้วเกิดอารมณ์ แต่ให้ได้ปัญญา ความคิดและแรงบันดาลใจ”
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : นิทานประเทศ ผู้เขียน : กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาคร   ผลงานของนักเขียนไทยในแนวของเมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือสัจนิยมมายา ที่ได้กล่าวถึงเมื่อตอนที่แล้ว ซึ่งจะนำมาเขียนถึงต่อไป เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างงานที่แท้กับงานเสแสร้ง เผื่อว่าจะถึงคราวจำเป็นจะต้องเลือกที่รักมักที่ชัง แม้นรู้ดีว่าข้อเขียนนี้เป็นเพียงรสนิยมส่วนบุคคล แต่ฉันคิดว่าบางทีรสนิยมก็น่าจะได้รับคำอธิบายด้วยหลักการได้เช่นเดียวกัน เหมือนจะเป็นการออกตัวตามมารยาทเท่านั้น การเสแสร้งใด ๆ ฉันคิดว่าผู้อ่านเท่านั้นจะตัดสินได้
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย เอาเป็นว่าเอาไว้อ่านเล่นเพลินๆ ก็แล้วกันนะพวกแก                                                                                                                                                                                                                                   ไก่ย้อย  ถึงดาวกานดา แกหายไปไหนของแกวะ ฉันอุตส่าห์ขึ้นมาตามหาแกที่งานลูกทุ่งวิจิตร แต่กลับได้ยินข่าวคราวว่าแกต้องไปชุบตัวถึงเมืองนอกเมืองนา เพื่อจะได้มีปัญญากลับมาเป็นอาจารย์ เป็นเรื่องจริงรึเปล่าวะแก? แล้วไหนแกเคยบอกกับฉันว่าไม่ว่ายังไงแกก็จะไม่มีวันทิ้งที่นี่ไปไงล่ะ ฉันนึกโกรธแกมากมายที่ไปไหนโดยไม่ร่ำไม่ลา แต่ก็นั่นแหละนะคนเราย่อมมีเหตุผลที่เป็นส่วนตัวเสมอ บางทีฉันคงจากที่นี่ไปเสียนาน นานจนเมื่อกลับมาอีกที ฉันรู้สึกว่าเชียงใหม่เปลี่ยนไปมาก มากเสียจนบางครั้งฉันก็ตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ทัน