Skip to main content
สวนหนังสือ
เมจิกคัลเรียลลิสม์ หรือที่แปลเป็นไทยว่า สัจนิยมมายา หรือสัจนิยมมหัศจรรย์ เป็นแนวการเขียนที่นักเขียนไทยนำมาใช้ในงานเรื่องสั้น นวนิยายกันมากขึ้น ไม่เว้นในกวีนิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะได้แรงบันดาลใจมาจาก ผลงานของกาเบรียล การ์เซีย มาเกซ ซึ่งมาเกซเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ฮวน รุลโฟ (ฆวน รุลโฟ) จากผลงานนวนิยายเรื่อง เปโดร ปาราโม อีกทอดหนึ่ง เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์วรรณกรรมแนวนี้ถูกตัดตอน ขอกล่าวถึงต้นธารของงานสกุลนี้สักเล็กน้อย กล่าวถึงฮวน รุลโฟ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฆวน รุลโฟ ทำให้หวนระลึกถึงผลงานแปลฉบับของ ราอูล ที่ฉันตกระกำลำบากในการอ่านอย่างแสนสาหัส ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์เรื่อง เปโดร ปาราโม ที่เคยเขียนถึงในคอลัมน์นี้มาแล้ว อ่านตั้งสามรอบกว่าจะพอรู้เรื่องเป็นเลาๆ และต้องอ่านอีกหลายรอบกว่าจะจินตนาการให้ซึมซับความเลอเลิศของสุดยอดนวนิยายเรื่องนี้ได้ ขอบคุณพระเจ้าที่มอบเวลาให้ฉันมากเป็นพิเศษ ท่านคงหัวร่อจนคอเคล็ดแล้วตอบว่า “เพราะแกมันทึ่มเองนี่นา คนทื่อมะลื่ออย่างแกสมควรจะมีเวลามากกว่าคนฉลาดเขา” อย่างไร ฉันก็ขอบคุณล่ะ และไม่ลืมเอาเจ้าเปโดรสุดที่รักไปถ่ายเอกสารเก็บไว้ เป็นสำเนาสำรอง ถ้าหนังสือหาย หรือถูกขอยืมโดยไม่อาจเรียกเก็บได้ ยังไงซะ ฉบับถ่ายเอกสารก็ยังอยู่ ฉันชอบใช้วิธีนี้จัดการกับหนังสือสุดหวง ถ้าตังค์เยอะหน่อยก็สำเนาไว้สักสองชุด ถือเป็นความละโมบได้ไหมนี่
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา แม้ 20th Century Boys ฉบับภาพยนตร์จะไม่สามารถลงลึกในรายละเอียดได้เท่าต้นฉบับที่เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหาที่ซับซ้อนสูง แต่การเรียบเรียงและดำเนินเรื่องที่ระบุช่วงเวลาชัดเจนทำให้เข้าใจเรื่องราวได้ง่าย แม้แต่คนที่ยังไม่เคยอ่านฉบับการ์ตูนมาก่อนก็ตามก็เข้าใจได้ไม่ยาก ทีมงานยังตั้งใจที่จะคงอรรถรสแบบการ์ตูนไว้ด้วยคาแรกเตอร์ของตัวละคร เนื้อหาที่ควรจะเครียดจึงดูสนุกน่าติดตาม 20th Century Boys เป็นเรื่องราวที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องขึ้นมาได้ มันเริ่มต้นในราวปีโชวะที่ 40 ด้วยการที่ ‘เกนจิ' กับเพื่อนๆ มีความฝันถึงศตวรรษที่ 21 ด้วยจินตนาการแบบเด็กๆ ว่า ในอนาคตจะมีองค์กรก่อการร้ายมาทำลายล้างโลก และพวกเขาสัญญากันว่าจะเป็นฮีโร่ผู้ปกป้องความยุติธรรมและจะทำลายแผนการร้ายนั้นแล้วเรื่องราวไร้สาระเหล่านี้ก็ถูกบันทึกขึ้นในฐานลับของเด็กๆ ที่สร้างขึ้นกลางทุ่งหญ้า พวกเกนจิเรียกมันว่า ‘บันทึกคำทำนาย' และฝังมันไว้ จนกระทั่งปี 1997 เมื่อพวกเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ จินตนาการและความฝันถูกทิ้งไว้ระหว่างทางของโลกความจริง เกนจิวัยเด็กผู้ชื่นชอบดนตรีร็อคและฝันไว้ว่าจะใช้มันเปลี่ยนแปลงโลกกลายเป็นผู้จัดการร้าน ‘King Mart' ธรรมดาคนหนึ่งและเลิกเล่นดนตรีเพื่อทำงานที่มั่นคงกว่าเพื่อหาเงินดูแลแม่กับ ‘คันนะ' ลูกสาวของพี่สาวที่หายตัวไปทิ้งไว้ให้เลี้ยง ส่วนเพื่อนๆ ก็เป็นพนักงานออฟฟิศบ้าง เปิดร้านกิฟท์ช็อปบ้าง เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบ้าง หรือบางคนก็ขาดการติดต่อกันไป ในขณะที่ชีวิตกำลังดำเนินไปแบบธรรมดาๆ เกนจิและเพื่อนๆ กลับเริ่มพบว่ามีปรากฏการณ์ประหลาดๆ รอบตัวที่กำลังดำเนินไปตาม ‘บันทึกคำนาย' ในวัยเด็กที่พวกเขาเกือบลืมกันไปแล้ว  นั่นคือ มีองค์กรทำลายล้างโลกเกิดขึ้นจริงๆ โดยเริ่มต้นด้วยการปล่อยโรคระบาดไปตามเมืองต่างๆ จากซานฟรานซิสโก ไปลอนดอน จนกระทั่งมีการวางระเบิดสนามบินในประเทศญี่ปุ่น ทุกอย่างดำเนินไปตามคำทำนายพร้อมๆ กับการปรากฏตัวของลัทธิแปลกๆ ที่มีชื่อว่า ‘เพื่อน' ซึ่งใช้รูปดวงตากลางมือที่มีนิ้วชี้ขึ้นฟ้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์องค์กร  แต่คงไม่น่าแปลกอะไรหากสัญลักษณ์นั้นไม่ใช่สัญลักษณ์ที่รู้กันเฉพาะในกลุ่มเกนจิตอนเด็กๆ นั่นเองจึงนำมาซึ่งความสงสัยในเบื้องหลังของลัทธิ ‘เพื่อน' ว่าอาจเป็นใครคนหนึ่งในเพื่อนสมัยวัยเด็กของเกนจิความสนุกของและความน่าสนใจอย่างมากของ  20th Century Boys ก็คือความลึกลับขององค์กรที่ชื่อว่า ‘เพื่อน' กับการต้องลุ้นไปกับพวกเกนจิว่าจะสามารถคืนความปกติของโลกมนุษย์มาจากองค์กรลับนี้ได้หรือไม่ ซึ่งบทความนี้จะขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ ‘เพื่อน' เป็นกรณีพิเศษ เพราะไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าบางทีจินตนาการก็อาจกลายเป็นจริงได้ในโลกใบนี้ที่เราอยู่ องค์กร ‘เพื่อน' เติบโตมาจากการเป็นลัทธิแปลกๆ ลัทธิหนึ่งในสายตาของคนทั่วๆ ไปอย่างเกนจิ แต่เป็นการนำการเล่นของเด็กที่ไม่ยอมจบมาทำให้กลายเป็นเรื่องจริงและคร่าชีวิตผู้คนได้อย่างน่าสะพึงกลัว   ตัวตนของ ‘เพื่อน' มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายในการก้าวไปสู่อำนาจสูงสุดของโลก ‘เพื่อน'มีจิตวิทยามวลชนที่สูงมากนำมาซึ่งความเชื่อถือ เขาลอยได้เหมือนมีพลังจิต มีเรื่องราวทำให้ผู้คนติดตาม ตอบคำถามที่คนสงสัยได้อย่างชาญฉลาด ใช้ความกลัวร่วมกันของสังคมและความอ่อนแอในจิตใจมนุษย์เป็นเครื่องมือในการชักจูงและนำไปสู่การควบคุมถึงระดับจิตใจ จากนั้นก็แปรความรู้สึกที่มีต่อบุคคลไปเป็นรูปธรรมของเหตุผล และนำไปสู่การกวาดล้างคนที่เห็นแตกต่างอย่างมีเหตุผลเช่นกัน ‘เพื่อน' เริ่มต้นหาแนวร่วมด้วยการปลุกระดมความเชื่อที่เชื่อในตัวบุคคลโดยไม่ตั้งคำถาม จากลัทธิเล็กๆ ก็เริ่มเปิดเผยมากขึ้นและขยายความคิดแบบแทรกซึมทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการต่างๆ แม้แต่ดนตรีที่เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นก็ถูกนำมาใช้ปลุกระดมเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียว จนทำให้การฟังดนตรีถูกสวมด้วย ‘รูปแบบ' ที่แม้แต่การโบกมือหรือร้องรับส่งก็เป็นแบบเดียวกันไปหมด  สมาชิกในองค์กรเพื่อนยังแทรกซึมไปตามหน่วยงานต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในกรมตำรวจ ใช้เส้นสายภายในและก่อตั้งหน่วยงานกำจัดผู้ที่จะเปิดโปงแผนการของเพื่อน ส่วนผู้ที่คลั่งไคล้มากๆ จะถูกใช้เป็นเครื่องมือลอบสังหารฝ่ายตรงข้ามเพื่อทำให้ไม่อาจสาวถึงผู้บงการได้   การไม่เลือกวิธีใช้ของ ‘เพื่อน' ทำให้สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ในระบบการเมืองของญี่ปุ่น เมื่อเกิดการก่อวินาศกรรมที่สนามบินแห่งหนึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจต่อคนญี่ปุ่น ขณะนั้น ‘เพื่อน'ได้ตั้งพรรคยูมินขึ้นมาเป็นทั้งตัวเลือกทางการเมืองและที่พึ่งทางจิตวิญญาณ ภายในไม่กี่ปีก็สามารถชนะการเลือกตั้งในญี่ปุ่น  จนในที่สุด ‘เพื่อน' ก็ดำเนินมาถึงแผนการสุดท้ายที่จะปูทางไปสู่อำนาจสูงสุด นั่นคือการสร้างสถานการณ์ ‘นองเลือด' ด้วยวิธีการแพร่ไวรัสที่ทำให้เลือดออกจากตัวอย่างน่าสยดสยองและตายในเฉียบพลัน  20th Century Boys  ภาคแรกจบลงด้วยสถานการณ์ไวรัสระบาดล้างโลกในวันสิ้นปี 2000 การหายตัวไปของเกนจิและคันนะที่โตเป็นสาว แต่สิ่งที่ 20th Century Boys ยังไม่จบลงก็คือการเป็นกระจกสะท้อนภาพความจริงที่กำลังเตือนสติเราว่า คนที่เราเชื่อ กลุ่มองค์กรที่เราเชื่อ หรือแม้แต่ศาสนาที่เราเชื่อ มันอาจไม่ได้ใสสะอาดบริสุทธิ์อย่างที่เห็นและอาจมีเบื้องหลังที่เปื้อนเลือดอย่างที่คาดไม่ถึง และความเชื่ออย่างขาดสติคุ้มคลั่งก็อาจสร้างความหายนะได้อย่างสุดจะบรรยาย  อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เลวร้าย 20th Century Boys ได้สร้างเกนจิและเพื่อนๆ ขึ้นมาเป็นภาพตัวแทนของกลุ่มคนที่แสวงหาความจริงอย่างท้าทาย แม้ว่าในที่สุดสังคมที่ถูกการชี้นำของ ‘เพื่อน' จะทำให้เกนจิกลายเป็นผู้ก่อการร้ายอย่างเป็น ‘ขบวนการ' เป็น ‘ขบวนการเกนจิ' ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ในวันสิ้นปี 2000  แต่การต่อสู้เพื่อบอกความจริงแม้จะสวนทางกับความเชื่อกระแสหลักก็คือภาพสะท้อนทางจิตวิญญาณแห่งเสรีของปัจเจกชน ซึ่งความเป็นเสรีชนของเกนจิได้สื่อออกมาผ่านเพลงร็อค นักดนตรีเปิดหมวก และกลิ่นอายของฮิปปี้ในยุคทศวรรษที่ 60 -70   มาถึงตรงนี้ หากใครที่ยังไม่อยากรู้ตอนต่อไปโปรดอย่าอ่านต่อ เพราะจากตรงนี้จะขอเฉลยตอนต่อไปตามต้นฉบับการ์ตูน  โลกหลังปี 2000 ‘เพื่อน' กลายเป็นประธานาธิบดีโลก เพราะเขาสามารถนำวัคซีนมารักษาไวรัสประหลาดในเหตุการณ์นองเลือดได้ รวมถึงได้ช่วยเหลือ ‘โป๊ป' ให้รอดชีวิต และอ้างถึงถึงพระแม่ศักดิ์สิทธิ์ที่ลงมาโปรด ในเวลาต่อมา ‘เพื่อน' ได้กลายเป็นผู้นำที่มีอำนาจทั้งทางการเมืองและจิตวิญญาณ โลกในศตวรรษที่ 21 คือโลกที่ ‘เพื่อน' เป็นผู้ชี้นำทั้งทิศทางการปกครองและความถูกต้องทั้งมวล อีกทั้งยังได้สร้างภาพ ‘ขบวนการเกนจิ' ขึ้นมาเป็นปีศาจแห่งความน่ากลัวจนทำให้สังคมถูกครอบงำให้ขาด ‘เพื่อน' ไม่ได้ หนังสือ ดนตรี วิถีชีวิตและวัฒนธรรมถูกควบคุมโดยรัฐบาลเพื่อน และความคิดที่แตกต่างหรือการตั้งคำถามต่อ ‘เพื่อน' คือภัยคุกคามที่ต้องถูกจัดการ  สังคมของโลก ภายใต้การนำของ ‘เพื่อน' ใน 20th Century Boys จึงอาจเป็นคำเตือนจากโลกในจินตนาการมาสู่โลกของความจริง และเป็นความจริงที่น่าสนใจอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์มันช่างคล้ายกับในสังคมไทยที่อาจมีการนองเลือดครั้งใหญ่ที่ถูกวางไว้ในอีกไม่กี่วันนี้  การนองเลือดในสังคมไทยคงจะไม่ได้มาจากไวรัสล้างโลกแน่ๆ แต่ก็เดินไปตามกระบวนการปูทางสู่อำนาจคำถามสำคัญมากๆที่สังคมไทยอาจต้องยิ่งคิดให้หนักก็คือ สังคมไทยมีคนแบบ ‘เพื่อน' ที่กำลังทำอะไรชี้นำมวลชนแบบแปลกๆอยู่หรือไม่  เพราะใน 20th Century Boys คนแบบ ‘เพื่อน' กว่าจะยึดครองโลกสำเร็จ มีคนตายราว 3,000 ล้านคน ส่วนสถานการณ์ในสังคมไทยตอนนี้แม้มีคนเสียชีวิตไปบ้างแล้ว แต่สถานการณ์คงยังอยู่ในช่วงของภาคแรก คือช่วงของการรณรงค์ ช่วงของการสร้างสถานการณ์และช่วงของการใช้ความกลัวเข้าครอบงำเพื่อชี้นำ  ดังนั้น จึงอยากให้ดูหนังหรืออ่านการ์ตูนเรื่องนี้แล้วคิดอีกครั้งก่อนไปชุมนุมไม่ว่ากับฝ่ายใดก็ตามว่า ‘เหตุการณ์นองเลือด' บางทีอาจเปื้อนอยู่บนมือ  ‘เพื่อน' ของคุณก็เป็นได้   
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ : ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครนA SHORT HISTORY OF TRACTORS IN UKRAINIAN ผู้เขียน : MARINA LEWYCKA ผู้แปล : พรพิสุทธิ์ โอสถานนท์ ประเภท : นวนิยายแปล พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มติชน และแล้วฉันก็ได้อ่านมัน ไอ้เจ้าแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เมียงมองอยู่นานสองนานแล้วได้สมใจซะที ซึ่งก็สมใจจริงแท้แน่นอนเพราะได้อ่านรวดเดียวจบ (แบบต่อเนื่องยาวนาน) จบแบบสังขารบอบช้ำเมื่อต่อมขำทำงานหนัก ลามไปถึงปอดที่ถูกเขย่าครั้งแล้วครั้งเล่า ประวัติย่อของแทรกเตอร์ฉบับยูเครน เป็นนวนิยายสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ดึงดูดแบบยุคทุนนิยมเสรี ตัวละครล้วนมีเสน่ห์เย้ายวนชวนให้เกาะติดชะตากรรมในภายภาคหน้า และขอร้องว่าไม่ต้องคาดเดาตอนจบเพราะนวนิยายสมัยใหม่มักไม่เร่อร่าเน้นหนักในตอนจบของเรื่อง เหมือนอย่างยุคของกีร์เดอโมปัสซัง ที่เน้นนักหนาว่าต้องจบแบบหักมุม พลิกทุกความคาดหมาย ทำเอาผู้อ่านหัวใจเดาะเป็นทิวแถว
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008 ต่อมาออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์เวนิส ออกฉายรอบกาล่า ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2008 เปิดตัวรายได้สัปดาห์แรกที่ 31.6 ล้านบาท กระแสตอบรับจึงถือว่าดี บทความนี้จึงขอแค่ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ไปตามเรื่องตามราวเท่านั้น
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008 ต่อมาออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์เวนิส ออกฉายรอบกาล่า ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2008 เปิดตัวรายได้สัปดาห์แรกที่ 31.6 ล้านบาท กระแสตอบรับจึงถือว่าดี บทความนี้จึงขอแค่ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ไปตามเรื่องตามราวเท่านั้น
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100 ปีแห่งความโดดเดี่ยว' ของมาเควซ  มหัศจรรย์กว่าเป็นไหนๆ  คนที่นี่ยังตกอยู่ในสภาวะอึดอัด เก็บกด จะระบาย จะพูดคุย จะแลกเปลี่ยนกับใครก็ลำบาก  ใครหน้าไหนเคยเรียกร้องให้คนไทยเป็น active citizen สนใจเหตุบ้านการเมือง ตอนนี้หายห่วง การเมืองซึมเข้าทุกประตูครัว พ่อเปิดทีวีช่องนึง ลูกสาวเปิดอีกช่อง ผัวมีมือตบ เมียมีตีนตบ พี่เสื้อเหลือง น้องเสื้อแดง น้าเสื้อเขียว ฯลฯ ขนาดเพื่อนสนิทมิตรสหายรอบตัวก็ยังต้องสกรีนแล้วสกรีนอีก "ไอ้นี่สีอะไร" ...เพื่อให้ปลอดภัยต่อหัวใจบางๆ หลายคนเลยใช้มาตรการ "เลิกพูดเรื่องการเมือง" ... เหลือแต่ความบื้อใบ้และรอยยิ้มพิมพ์ใจ ส่วนคู่ขัดแย้งใหญ่และบรรดาหางเครื่อง (ทั้งที่ยอมรับและยังขัดเขิน) พวกเขายังคงพูดคุยการเมืองกันเสียงดัง แต่ต่างคนต่างคุย หาจุดลงตัวกันไม่ได้ (เนื่องจากมีแบ็คดีทั้งคู่) คุยไปพลาง สำแดงพลังให้ได้ขนลุกซู่ ชูชันกันเป็นพักๆ ไปพลาง ยิ่งนาน ยิ่งตึงเครียด ยิ่งนาน ยิ่งอึดอัด .... ความรุนแรงเริ่มปะทุขึ้นเป็นระยะ ตายเจ็บกันอย่างน่าเศร้า และสังคมก็หาฉันทามติไม่ได้ว่าใครคือ "วีรชน" นิยาม ความหมายของถ้อยคำ บทเพลง อะไรต่อมิอะไรถูกแย่งชิง ปนเปกันจนน่าเป็นห่วงเด็กยุคหลัง และน่าสงสารคนยุคก่อน ขณะที่พลังเงียบส่วนหนึ่งก็ชัดขึ้นเรื่อยๆ เช่น งานรวมพลคนเสื้อแดงเรือนแสน เมื่อวันที่ 1 พ.ย. พอคนขยับพร้อมกันจำนวนมากๆ ท่ามกลางคู่ขัดแย้งทางการเมืองแบบ ‘เด็กดื้อ' ที่ยังเข้มแข็ง มุทะลุ ดุดัน (ฯลฯ) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความรุนแรง "มวลชน" ชน "มวลชน" ก็เกิดขึ้นในสังคม  ....วันนั้นหลังงานเลี้ยงเลิกรา....ขณะที่คนเสื้อแดงบางส่วนเดินไปยังป้ายรถเมล์ถัดๆๆๆไป เพราะหารถเมล์ รถแท็กซี่ไม่ได้ กลุ่มแม่ค้าริมทางก็ส่งเสียงโห่ไล่ และพากันก่นด่า ‘พวกไม่รักชาติ' กันระลอกใหญ่ เสื้อแดงกลุ่มนั้นพยายามไม่โต้ตอบ แต่รถกระบะที่วิ่งผ่านมาพร้อมบรรทุกคนเสื้อแดงท้ายรถ 5-6 คนเห็นเหตุการณ์จึงส่งเสียงโห่ตอบโต้ กลายเป็นการโฮ่ฮาป่าแตกกันข้ามฟากถนน ส่งกลิ่นความเกลียดชังเหม็นหึ่งทั่วบริเวณ  ใครบางคนที่ไม่เคยกังวลอะไรกับใครเขายังขนลุกซู่ จินตนาการเลยเถิดไปถึง ‘civil war' การประหัตประหารกันเองระหว่างคนสองกลุ่มใน "รวันดา" .... ไม่ใช่ความตื่นตูมอันน่าเย้ยหยัน นักรัฐศาสตร์คนหนึ่งเคยเตือนไว้ให้ระวังเส้นทางมรณะสายนั้น แม้เงื่อนไขต่างๆ ที่นี่จะไม่เหมือนของเขาเพราะไม่มีประเด็นเชื้อชาติ แต่ก็มีประเด็นเฉพาะของสังคมไทยที่ทำให้คนฆ่ากันได้...และเคยฆ่ากันมาแล้ว  จึงไม่แปลกที่หลายฝ่ายพยายามหาทางออก บอกทางลง ตอนแรกก็ว่าจะหา ‘คนกลาง' แต่มีอันต้องตกไปเพราะในโลกนี้ไม่มี ‘คนตรงกลาง' จะมีก็แต่พระพุทธรูปกับเด็กทารกเท่านั้น จึงหันไปเน้นที่ ‘กระบวนการกลาง' แทน อันที่ชูกันมากตอนนี้คือ ‘สานเสวนา' อาศัยการดีไซด์กระบวนการบางอย่างเพื่อแก้ปัญหา แต่ก็อาจตายน้ำตื้นเอาง่ายๆ ถ้าคู่ขัดแย้งไม่เสวนาด้วย (แป่ว) หรือต่อให้ยอมเสวนา กลไกนี้ก็ไม่น่าจะประสบผลสำเร็จนักในสังคมไทย  ‘dialogue' จะเกิดขึ้น สัมฤทธิ์ผลได้อย่างไรในความคดเคี้ยว สังคมไทยไม่เคยคุยกันตรงๆ จริงๆ จังๆ ดังๆ กว้างๆ ในเรื่องต่างๆ แต่ไหนแต่ไรมาสังคมนี้ไม่อนุญาตให้คนซื่อสัตย์ต่อตนเอง ทั้งยังคับแคบ กดทับความแตกต่างจนติดนิสัย เรื่องหลายเรื่องพูดไม่ได้ แถมยังถูกเอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหลายยุคหลายสมัย ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ทำให้นอกจากจะไม่เกิดการพูดคุยกัน "จริงๆ" เพื่อนำไปสู่ทางออกแล้ว ยังไม่น่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเปิดกว้าง เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (หรือ "อยู่ๆ กันไป" ก็ยังดี) ท่ามกลางความแตกต่างอย่างที่พล่ามกันไว้ได้  ชั่วโมงนี้ ทุกฝ่ายจึงน่าจะไม่ต้องเสวนา แล้วพากันไปนั่งเฉยๆ ชื่นชมความงามของห่าฝน .. ดีกว่าเป็นไหนๆ 
สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็ ไม่ต้องขยายความให้เมื่อย อย่างไรก็ตาม ได้นำประวัติย่อจากหนังสือเล่มนี้มาบอกเล่าไว้ด้วย ก็เป็นการเผื่ออีกนั่นแหละ
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ราวมันเองต่างหากที่เป็นเจ้าของบ้าน แต่หนังสือนั้นหากไร้คนอ่าน คุณค่าของมันจะอยู่ที่ตรงไหน เป็นเฟอร์นิเจอร์ประกาศรสนิยมเจ้าของบ้านเท่านั้นหรือ ก่อนกลับเข้าเมือง ฉันหยิบวรรณกรรมแปลเล่มหนึ่งมาด้วย เพราะอยากรู้จักนักเขียนจากประเทศนี้ขึ้นมา
เด็กใหม่ในเมือง
(ก่อนจะเริ่มบทความ...คุณผู้อ่านรู้สึกไหมครับ ว่าชื่อบทความกับชื่อผม มันคล้องจองกันพิลึก อิอิ...)  ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านจะมีศิลปิน หรือวงดนตรีใดๆ ที่เมื่อมีอัลบั้มใหม่ของพวกเขา / เธอ ออกวางแผง เราก็ไม่รีรอที่จะรีบไปหาอัลบั้มมาเป็นเจ้าของโดยพลันหรือเปล่า สำหรับตัวผม...โมเดิร์นด็อกสร้างความรู้สึกแบบนี้ให้ผมตลอดมา ตั้งแต่สมัยผมควักเงิน 60 บาทจากกระเป๋านักเรียนสีกากีออกจากกระเป๋า และคว้าอัลบั้ม “โมเดิร์นด็อก” (ที่มีชื่อเล่นว่าอัลบั้ม “เสริมสุขภาพ”) จากแผงเทป จนถึงวันนี้ วันที่โมเดิร์นด็อกมีอัลบั้ม “ทิงนองนอย” ออกมาเป็นอัลบั้มใหม่ ความรู้สึกนั้นก็ยังเกิดกับผมไม่แปรเปลี่ยน เพราะในแต่อัลบั้ม โมเดิร์นด็อกจะกลับมาพบกับเราในรูปแบบที่ไม่ซ้ำเดิม ตั้งแต่การเป็นผู้นำกระแสอัลเทอร์เนทีฟ (โมเดิร์นด็อก), การนำกลิ่นอายของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (คาเฟ่), งานทดลองที่วัดใจทั้งคนทำและคนฟัง (Love me love my life) งานอคูสติก (Very Common of moderndog), การกลับสู่ความเรียบง่าย (แดดส่อง) มาถึงวันนี้ หลังจากอัลบั้ม “แดดส่อง” มา 4 ปี (ซึ่งระหว่างนั้น โมเดิร์นด็อกก็ยังคงตระเวนเล่นสดอย่างสม่ำเสมอ สลับกับโปรเจ็กต์ย่อยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมงานในโปรเจ็กต์ “น้ำคือชีวิต” ร่วมกับคาราบาวและเฉลียง, โปรเจ็กต์ BoydPod และการร่วมงานในอัลบั้ม “มนต์เพลงคาราบาว” เป็นต้น) ในวันที่โมเดิร์นด็อกออกนอกร่มเงาของเบเกอรี่ มิวสิค และออกอัลบั้มภายใต้สังกัดของตัวเอง และในวันที่วงการเพลงแตกต่างจากวันที่ผมยังใส่กางเกงขาสั้นสีกากีมากมายเหลือเกิน ผมจึงสนใจว่า ในคราวนี้โมเดิร์นด็อกจะมาไม้ไหนอีก ;-)
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง? คนที่ไม่ชอบหนังสือแนวแนะนำวิธีการ หรือที่เรียกติดปากว่า ฮาวทู อาจขยับความชิงชังออกห่างไปนิด แต่ก็ไม่มากหรอก เพราะอย่างไรมันก็คือ ฮาวทู วันยังค่ำ ต่อให้ผู้แปลเป็นดั่งดาวกระจ่างฟ้า เนื้อนัยก็ไม่อาจเทียบรัศมี ส่วนใคร ๆ ที่อ่านวรรณกรรมจะตอบได้ทันทีว่า เดอะซีเคร็ต เป็นหนังสือสุดเชย และไม่ใช่ของเก่า ประเภทหมักบ่มมาสองชั่วอายุคน แล้วเพิ่งถูกค้นพบจนฮือฮากันไม่เลิก ก็เพราะในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ของ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ที่เนื่องน้อย ศรัทธา แปลเอาไว้ มีเรื่องราวเดียวกับ หรือคล้ายคลึงกับ เดอะซีเคร็ตเป็นแก่นเรื่อง หนำซ้ำ เจ้าหญิงน้อยเรื่องนี้ยังอ่านได้อรรถรส น่ารื่นรมย์กว่ากันเยอะ ใครที่เคยอ่านเดอะซีเคร็ตจะรู้สึกเหมือนถูกครอบงำอยู่ตลอดทั้งแต่อักษรตัวแรก
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ภาพเหตุการณ์ในจอโทรทัศน์ทำให้เกิดความรู้สึกว่าประเทศนี้เป็นดินแดนอนารยะเต็มขั้น แต่คนที่ติดตามข่าวสารชนิดเสพติดอาจหลงลืมไปว่า ปลายฤดูฝนที่มาพร้อมมรสุมติดต่อกันไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา เขามีชีวิตความเป็นอยู่เช่นไร การทำกำแพงกั้นน้ำไม่ให้ทะลักเข้านาข้าวที่กำลังชูยอดใบไสวเป็นหน้าที่สำคัญไม่ย่อหย่อนกว่าการประกาศตัวว่าเป็นคนรักชาติ อย่างน้อยที่สุด อาหารมื้อต่อไปก็รออยู่ตรงหน้า เพราะไม่ว่านโยบายอุ้มสถาบันการเงินสหรัฐจะชอบธรรมหรือไม่ ไม่ว่าตำรวจจะสวมวิญญาณข้าราชการผู้จงรักภักดีประทุษร้ายประชาชนด้วยข้ออ้างสูงส่งปานใด ต่อให้รัฐบาลนายสมชายจะหน้าบางแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกหรือไม่ ถั่วฝักยาวก็ยังทอดตัวรอให้เก็บไปเป็นมื้ออาหาร ปูปลาที่เริงรื่นกับน้ำที่มาใหม่ก็ยังเป็นความสามัญของหม้อแกง ประเทศเกษตรกรรมจะมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยสิ่งเหล่านี้ สอดรับกับอมตะวาจาที่ว่า เงินทองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง นั่น นอกเสียจากว่า ผืนนาจะไม่ใช่ของคนไทยเท่านั้นเอง
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า ซึ่งควบคุมเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนเป็นอย่างมาก สื่อโทรทัศน์ วิทยุส่วนใหญ่เป็นของรัฐบาล มีการผ่อนปรนให้เอกชนประกอบกิจการผลิตสิ่งพิมพ์บ้าง แต่ก็ต้องมีใบอนุญาตและถูกเซ็นเซอร์จากรัฐบาลก่อนจำหน่าย การแสดงละคร ดนตรี ทั้งการแสดงสด และบันทึกการแสดงลงเทป หรือซีดีเพื่อจำหน่ายก็ต้องได้รับอนุญาตเช่นกันถึงจะสามารถแสดงได้การแสดงตลก แม้จะต้องได้รับอนุญาตก่อนแสดง แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นต่อสังคมและการเมืองพม่า เพราะมุกตลกที่ ‘ซ่อน' สารกับผู้ชม ก็เป็นเรื่องยากกว่าที่รัฐบาลจะจับได้ไล่ทัน แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งถูกส่งไปสังเกตการแสดงตลกก็ยังหัวเราะชอบใจไปกับมุขเสียดสีรัฐบาลของคณะแสดงตลก!ก๊อตซิล่า หัวหน้าคณะตลกตีเลตี เคยกล่าวว่า มุกตลกของพวกเขาเป็นเสียงจริงที่สะท้อนมาจากประชาชนบนท้องถนนในพม่า เราเพียงแต่รับฟังเสียงของประชาชน จากนั้นจึงสะท้อนชีวิตของพวกเขาโดยผ่านการแสดงซึ่งไม่ผิดไปจากนั้น000การแสดงรอบล่าสุดที่เชียงใหม่ของพวกเขา แม้นักแสดงจะมาไม่ครบทีม มีเพียงเส่งตี ปานตี ชอซุเมียว และก๊อดซิล่า แต่ก็สามารถสะท้อนชีวิตของชาวพม่าออกมาเป็นการแสดงแสบๆ คันๆ เสียดสีสภาพสังคมและรัฐบาลทหารพม่าเช่นเคยช่วงหนึ่งของการแสดงพวกเขากล่าวยกย่องพระสงฆ์และประชาชนพม่าที่ออกมาเดินขบวนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ก่อนที่จะเสียดสีรัฐบาลโดยบอกว่าเดี๋ยวนี้ศาสนาพุทธในพม่าไม่ครบพระรัตนตรัย คือมีพระพุทธ พระธรรม แต่ขาดพระสงฆ์ ที่ขาดเพราะพระสงฆ์ไปอยู่ที่อินเส่งซึ่งในพม่าคุกอินเส่งเป็นสถานที่กักขังนักโทษการเมืองที่รัฐบาลทหารเห็นว่าเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นนักโทษเจเนอเรชั่น'88 ที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลในเดือนสิงหาคมปี 1988 แต่ในปัจจุบันผู้ำนำสงฆ์ในการเดินขบวนเมื่อปีที่แล้ว ถ้าไม่ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ ก็ถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำแห่งนี้เป็นจำวนมากเช่นกันเขายังกล่าวถึงผู้ปกครองพม่าอย่างแสบคัน โดยเปรียบเทียบกับผู้นำของประเทศอื่นๆ โดยนักแสดงได้กล่าวเปรียบว่าประชาชนแต่ละประเทศจะแสดงความเคารพต่อผู้นำประเทศเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยประชาชนจะพร้อมใจกันสวมเสื้อสีเดียวกันในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ ในสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีจอร์จ บุช มาเยือนชายแดนไทย-พม่าที่ อ.แม่สอด ก็ส่งบอดี้การ์ดมาอารักขาหลายพันคน ขณะที่ตานฉ่วยผู้นำของประเทศเรา ครั้งหนึ่งไปตรวจราชการที่เขตอิระวดี ซึ่งเป็นเขตที่ประสบภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีส ก็มีประชาชนชี้ไปที่ตานฉ่วยและบอกว่านี่คือคนที่บ้าที่สุดในประเทศพม่าตอนท้ายของการแสดง ก๊อดซิล่า หัวหน้าคณะ ยอมถอดโลงจีออกเหลือแต่กางเกงบ็อกเซอร์ แล้วสวมกล่องเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อซันโย (Sanyo - ถ้าเสียงแบบเลียนอักษรพม่าจะพ้องกับ ตะโยะ ในภาษาพม่าแปลว่า จีน) แปลงร่างเป็นหุ่นยนต์พูดความจริง หุ่นยนต์ตัวนี้มีความสามารถพูดความจริงได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องทะลึ่งทะเล้นสารพัดหุ่นยนต์ก็ตอบได้หมดแต่พอถึงคำถามท้ายสุดท้ายว่าการเลือกตั้งปี 2010 ใครจะชนะการเลือกตั้ง หุ่นยนต์ตัวนี้ก็ช็อตและล้มตึงจากเก้าอี้ไปดื้อๆ ทำเอาผู้ชมหัวเราะปรบมืออย่างชอบใจ เพราะเสียดสีการเมืองพม่าภายใต้รัฐบาลทหารที่ควบคุมกลไกการปกครองในพม่าเป็นอย่างดี และเมื่อถามว่าทำไมถึงตอบไม่ได้ หุ่นยนต์ก็ตอบว่าเพราะยี่ห้อซันโยทำมาจากจีนกับอินเดีย ถึงตรงนี้ทำเอาผู้ชมยิ่งขำกันใหญ่ เพราะจีน กับ อินเดีย สองมหาอำนาจที่ขนาบพม่าต่างหนุนรัฐบาลทหารพม่า และกำลังทวีบทบาทและอิทธิพลในพม่าปิดท้ายการแสดงด้วยนาฏศิลป์ของซอซุเมียว โดยก่อนจบการแสดงก๊อดซิล่าหัวหน้าคณะยืนยันว่าแม้ผู้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอย่าง ‘ซากะนา' จะถูกจับหลังจากระดมสิ่งของเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากพายุนาร์กิส แต่พวกเขายืนยันว่าจะแสดงตลกต่อไป000ขอเอาใจช่วยให้คณะตีเลตีได้ทำการแสดงกันต่อไป ไม่ถูกจับไปอบรมที่อินเส่งเสียก่อนแต่ก็น่าอิจฉาพวกเขาตรงที่คณะตลกพม่ายังสามารถพูดถึงรัฐบาลพม่าได้ แม้จะกล่าวถึงอย่างเลี่ยงๆ แต่ก็สามารถพูดถึงได้อยู่ดี ไม่อย่างนั้นคนคงไม่ขำ แต่มี ‘คณะ ตลก.' คณะหนึ่งของไทย ที่คนดูต้องวิจารณ์ ‘คณะตลก.' ที่ว่าีนี้อย่างระมัดระวังอย่าง ‘คณะตลก.รธน.'ที่ในรอบ 2 ปีมานี้โชว์ลีลาอึ้ง ทึ่ง เสียว โดยเฉพาะรอบล่าสุดในการเชือดสมัคร คดีชิมไปบ่นไป คณะ ตลก. ลงทุนโยนกฎหมายแรงงานทิ้งหันมาเปิดพจนานุกรมเพื่อนิยามสมัครเป็นลูกจ้างให้ขาดคุณสมบัติการเป็นเสนาบดีให้ได้ แต่การตีึความที่ว่าทำเอาคนไทยขำแทบน้ำตาเล็ด เพราะ ‘นายจรัล' หัวหน้าคณะ ตลก.รธน. ก็ถูกคนดูสงสัยว่าจะเข้าข่ายเดียวกับสมัครตามการตีความด้วยพจนานุกรมจนต้องขาดคุณสมบัติตามนายสมัคร ที่ คณะตลก. เพิ่งเชือดไปหรือไม่!ไม่รู้ว่าถ้า ‘ตลกคณะตีเลตี' กับ ‘คณะ ตลก.รธน.' มาประชัน ใครจะขำกว่ากันโดยเฉพาะถ้าให้ ‘หุ่นยนต์พูดความจริง' มาตอบคำถามเรื่องคุณสมบัติหัวหน้าคณะ ตลก.รธน. ไม่รู้ว่าหุ่นยนต์จะช็อตใบ้กินหรือเปล่าเกี่ยวกับตีเลตีนานาดี เขียนบทความลง นานาดี เขียนบทความลงนิตยสารสาละวิน ฉบับที่ 47 ประเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2551 อธิบายคณะ ‘ตีเลตี' ว่าเป็นคณะนักแสดง ‘อะเญะปอย' หรือ การแสดงตลก สลับกับการร้องและการรำแบบนาฏศิลป์พม่า  "ตีเลตี"  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากความคิดของซากะนา (Zarganar) นักแสดงตลกอาวุโสชื่อดังในวงการบันเทิงพม่า เขาได้รวบรวมบรรดานักศึกษาไฟแรงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ย่างกุ้งมาสร้างคณะตลก โดยการควบคุมของหัวหน้าคณะที่มีชื่อในการแสดงว่า ‘ก๊อตซิล่า' (Gawzillar) อดีตเจ้าหน้าที่ในกระทรวงวัฒนธรรมที่ผันตัวเองออกมาเป็นนักแสดงอิสระ สำหรับ ‘ตีเลตี' มีความหมายว่า "สี่ผล" (‘ตี' แปลว่า ผล, ลูก ‘เล' แปลว่า สี่) ในคณะมีนักแสดงชายตัวหลักที่ชื่อลงท้ายด้วยคำว่า ‘ตี' 4 คน ได้แก่ ซีตี (พุทรา - Zee Thee) ปานตี (แอปเปิล - Pan Thee) เส่งตี (Sein Thee - เพชร) และเจตี (มะเฟือง - Kyae Thee) นอกจากนี้ยังมี ชอซุเมียว (Chaw Su Myo) และ เมียะซะแปโง่ง (Mya Sabae Ngone) นางรำสาวสวยที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับการแสดงแต่ละครั้งอีกด้วยการแสดงมุขตลกการเมืองในพม่ามีความเสี่ยงสูง เช่น ปาปาเลย์ แห่งคณะแสดงสามพี่น้องตลกหนวด (The Moustache Brother) แห่งเมืองมัณฑะเลย์ที่มีชื่อเสียง ก็เคยถูกรัฐบาลจับมาแล้วหลายหน นักแสดงตลกอย่างซากะนา ก็ถูกรัฐบาลจับแต่การแสดงตลกก็เหมือนเป็นการพูดแทนในสิ่งประชาชนไม่สามารถพูดได้  ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การแสดงของตีเลตีเป็นที่ถูกอกถูกใจชาวบ้านร้านตลาดเป็นอย่างมาก พวกเขาได้รับความนิยมและสามารถครองใจ ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แม้แต่เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งให้ไปสังเกตการณ์หน้าเวทีแต่ละครั้งก็ยังแอบชอบใจและก่อนหน้านี้ วีซีดีการแสดงของตีเลตีที่จัดขึ้นที่ทะเลสาบกั่นดอจี เมืองย่างกุ้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ถูกทางการพม่าห้ามเผยแพร่ การันตีคุณภาพการแสดงของคณะนี้เป็นอย่างดีรูปแบบการแสดงของคณะตีเลตีเหมือนการแสดง ‘อะเญะปอย' ทั่วไป โดยจะโหมโรงด้วยการร้องเพลงเรียกน้ำย่อย ต่อด้วยนาฏศิลป์แบบพม่าของนักแสดงหญิงที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงไปตามท่วงทำนองเพลงที่คึกคัก ถึงตรงนี้นานาดีชื่นชมการแสดงของนางรำเป็นอย่างมาก โดยว่านางรำสามารถเลี้ยงชายผ้าถุงความยาวประมาณเมตรเศษ ๆ ให้พลิ้วไหวอยู่ในอากาศได้อย่างน่าทึ่ง แต่ถ้าไม่รับการฝึกฝนจน ชำนาญแล้วละก็ แค่เดินเฉย ๆ ก็อาจสะดุดชายผ้าล้มหัวฟาดพื้นได้ง่ายๆและเมื่ออุ่นเครื่องจนร้อนได้ที่แล้ว ซีตี ปานตี เส่งตี และเจตี และก๊อตซิล่า หัวหน้าคณะ จะขนมุขตลกมาเพียบ โดยการแสดงตลกจะมีทั้งการพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในพม่า และการสมมติสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฉากการสนทนาระหว่างทหารพม่าและชาวบ้าน  ซึ่งทั้งบุคลิก น้ำเสียงและเครื่องแต่งกายของนักแสดงก็จะเปลี่ยนไปตามตัวละครนั้นๆ  เรียกได้ว่า ทำเอาคนดูแทบไม่มีเวลาหยุดหัวเราะตลอดเวลาการแสดงอ้างอิงบันเทิง: คณะตลกตีเลตี ผู้ซับน้ำตาเหยื่อนาร์กิสด้วยเสียงหัวเราะ,โดย นานาตี, นิตยสารสาละวิน ฉบับที่ 47 (16 พ.ค. - 30 มิ.ย. 51)Thee Lay Thee Show a Smash in Chiang Mai, By Wai Moe, the Irrawaddy, Monday, January 28, 2008 http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=10054