Skip to main content
Anime Watch
 โดย ... Konayuki จาก "มาโฮะ" เว็บบล็อกนิตยสารสาระบันเทิงออนไลน์
แสงดาว ศรัทธามั่น
@ สตรี   คือเพศแม่ หลอมดวงแด หลอม พลัง ก้าวไปไม่หยุดยั้ง ให้โลกรู้ เรา คือ ค น  
Hit & Run
ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ เป็นส่วนหนึ่งในการฟาดฟันต่อสู้กับค่ายช้างจนทำให้เบียร์ลีโอเป็นเบียร์อันดับหนึ่งของประเทศ โดยกลยุทธการตลาดที่สำคัญนั้นก็คือการขายความเซ็กซี่และมีระดับกว่าช้างมาหน่อย
  ตัวฉันชื่อ สุปราณี พงศ์ตานี ขณะนี้กำลังอบรมนักข่าวคุ้มครองสิทธิอยู่ที่ค่ายนักข่าวพลเมือง      
lek
สบท.เปิด4 ช่องทางรับเรื่องราวร้องทุกข์ สบท.เปิด 4 ช่องทางรับเรื่องรวดร้องทุกข์ ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม สุ่มเก็บข้อมูลปัญหาผู้ใช้บริการ ตั้งเวทีใหญ่ถกปัญหา นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ทางสบท. ได้ปรับปรุงช่องทางการร้องเรียนไว้ 4ประเภท 1.ผ่านเวบไซต์http://teleconsumer.ntc.or.th และtcpithailand@gmail.com 2.โทรศัพท์เคลื่อนที่เลขหมาย 087-333-8787 3.ตู้ปณ.272 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ10400 และ4. โทรสาร02 2710151 ต่อ 140 ทั้งนี้ สบท.จะมีการเปิดตัวสถาบันฯอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 เม.ย. 51 ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ จะมีการเวทีสัมมนาให้ความรู้กับบุคคลและเครือข่ายสภาผู้บริโภคทั่วประเทศ รับทราบสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐานจากการใช้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ,โทรศัพท์พื้นฐานและบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชน ส่วนใหญ่ อาจจะยังไม่รู้ประเด็นปัญหาเรื่องไหนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ อย่างไรก็ตาม สบท.เห็นว่าความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ดังนั้นบทบาทของ สบท. จึงไม่ใช่องค์กรภาครัฐเพียงอย่างเดียว ภารกิจหลักที่สำคัญ สบท. ต้องเร่งขับเคลื่อนในปีนี้ ด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริโภคทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีก 13 จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนแบบ One-stop service และพัฒนาฐานข้อมูลให้สำเร็จ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้ามาร้องเรียนที่ สบท. ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นๆ สำหรับแนวทางการทำงานที่ผ่านมา สบท. ได้พัฒนาคู่มือสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ สำหรับปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับกฎ ระเบียนหรือกฎหมายใดที่เป็นอุปสรรค ทาง สบท. ยินดีรับฟัง และจะนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่อไป เม.ย.มี18 เรื่องที่ร้องเข้ามา นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาจากการใช้บริการที่ผ่านมาในเดือนเม.ย.51 พบว่ามีเรื่องที่ร้องเข้ามายังสบท.ประมาณ 18 เรื่อง แบ่งออกเป็น 1.ปัญหาคุณภาพสัญญาณ 2.ค่าบริการ 3. บริการหลังการขาย 4.โปรโมชั่น 5.sms 6...7.เนื้อหา 8. PRIVATE NUM และ9. อื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่สบท.ได้มีการแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้บริการแล้วประมาณ 16.67% ส่วนที่เหลือบางรายมีการรเอกสารเพิ่มเติม ขณะเดียวกันผู้ร้องเรียนบางคนไม่ยอมติดต่อเข้ามาอีกทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
มลฤดี ลาพิมล
นับเป็นครั้งแรกที่การวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) รายงานผลความสำเร็จถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของคู่เพศสัมพันธ์หญิงชาย แม้ว่าการนำเสนอผลการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ที่ชื่อ โปร 2000 (PRO 2000) ต่อสาธารณะจะออกมาล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม แต่นักรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ต่างขานรับอย่างยินดีถึงผลการวิจัยโปร 2000 (PRO 2000) ที่เผยแพร่ออกมา เพราะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ในลำดับต่อไป
มลฤดี ลาพิมล
เมื่อความคิดความเชื่อและความเข้าใจต่องานบริการทางเพศในสังคม มักถูกนำเสนออยู่อย่างซ้ำๆ และอย่างต่อเนื่องว่าเป็น “อาชญากรรม และ ผิดศีลธรรม” เราคงไม่อาจปฏิเสธถึงการธำรงอยู่ของ “การตีราคา ตัดสินคุณค่า” คนทำอาชีพบริการทางเพศนี้ได้ เหตุผลที่ว่า “งานบริการทางเพศ” เป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ก็เป็นชุดเหตุและผลหลักที่มีอำนาจต่อความคิดความรู้สึกของผู้คน หากเราก็เคยได้ยินเรื่องเล่าที่แตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับบริการทางเพศทั้งจากสื่อกระแสหลัก จากบทเรียนการทำงานขององค์กรและเครือข่ายคนทำงาน และจากคำบอกเล่าของพนักงานบริการทางเพศว่า
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง ก็รู้สึกว่ามันไม่มีวง "เข้าหู" เลยสักวง จะด้วยประสบการณ์ที่ยังมีมีไม่มาก จะด้วยการมาสเตอร์ริ่งงานในภาวะที่งบน้อยด้อยทุน หรือจะอะไรก็ตามแต่ มันทำให้ผมเสียกำลังใจในการพยายามจะติดตามและให้ความสนใจงาน So-Called อินดี้ เหล่านี้เหมือนกัน คิดให้เข้าข้างตัวเองน้อยกว่านี้หน่อยอาจะจะเป็นเพราะว่างานพวกไม่ใช่รสนิยมของผมก็เป็นได้นึกถึงตอนช่วงก่อนๆ ที่ผมมีโอกาสได้ฟังงานจากศิลปินสาวชาวอาเจนติน่าที่ทำป็อบร็อคได้ดีไม่แพ้งานเดวิด โบวี่ ยุค 70's ขณะเดียวกันผมก็คุ้ยอินเตอร์เน็ตไปพบงานของนักดนตรีโฟล์คสาวชาวอเมริกันที่ทำตัวลึกลับๆ แต่งานเธอมีเสน่ห์ และที่ผมชอบอีกอย่างคือเธอบอกว่าตัวเองขี้อาย เวลาที่ใครมาฟังเพลงของเธอต่อหน้าเธอจะรู้สึกแปลกๆ จนถึงขั้นเปรียบตัวเองว่าเป็นโอตาคุทางดนตรี เลยทีเดียว(ผมว่าตรงนี้ก็เป็นเสน่ห์อีกอย่าง ที่เธออยู่ในซอบหลืบ ไม่ใช่เพราะอยากสร้างความเด่นแบบใหม่ เพียงแต่ว่าตัวเธอเองขี้อายเองต่างหาก ตั้งคำถามเสียหน่อยว่า "งาน" ดนตรีมันจำเป็นต้องผลิตจากนักดนตรีที่ชอบ PR ตัวเองด้วยไหม?)การมีงานดนตรีที่หลากหลายและพัฒนารูปแบบไปเรื่อยๆ มันเป็นเรื่องดี และเป็นเรื่องที่ทั้งศิลปินและนักฟังเพลงทั้งหลายต้องการแน่ๆ แต่ภาวะที่ผมได้ฟังงาน so-called อินดี้บางวงแล้วรู้สึกว่ามันไม่ค่อยต่างอะไรกับงานศิลปินกระแสหลักเลย แค่มีการมาสเตอร์ริ่งที่ไม่ดีเท่า (ในแง่นี้อาจมีบางคนชอบ โดยเฉพาะงานแบบ Lo-fi หรืองานที่เน้นคุณสมบัติอย่างอื่นมากกว่าความละเอียดอ่อนในการเรียบเรียง) ชื่อเสียงที่รู้จักกันเป็นแค่ก๊กๆ หย่อมๆ (จนบางทีไอ่แบบนี้อาจกลายเป็นการแบ่งคู่ตรงข้ามอย่างใหม่ก็ได้) หรือจุดขายอื่นๆ ถ้าเป็นแบบนี้มันก็น่าตั้งคำถามว่าวงการ so called อินดี้ จะนำไปสู่ความหลากหลายได้จริงหรือไม่(ผมไม่อยากเหมารวมอินดี้ทั้งหมด มีบางค่ายที่ผมชอบเป็นการส่วนตัว แม้ผมจะมีโอกาสแค่ได้ฟังเป็นบางวง แต่รู้สึกว่ามันมีอะไรที่มากกว่าอินดี้ทั่วไป)ย้อนกลับมา...ย้อนกลับมาพูดถึงสิ่งที่ผมบอกไว้แต่แรกว่ามันน่าสนใจและเป้นที่จับตา อย่างเรื่องของศิลปินรางวัลแกรมมี่อวอร์ดในปีนี้ที่ดูจะชวนช็อคลุงๆ ป้าๆ บางคนเหมือนกัน เพราะ ผู้ที่ได้รางวัลคือ Amy Winehouse สาวแสบที่มักจะมีข่าวเรื่องเหล้ายาบ่อยๆ สมชัวร์เนมไวน์เฮาส์ของเธอเสียจริงๆคุณ Amy Winehouse ผู้นี้ ได้รับรางวัลเลิกเหล้าดีเด่น อ๊ะ! ไม่ใช่ ได้กวาดรางวัลแกรมมี่อวอร์ดมาถึงห้ารางวัล คือบันทึกเสียงดีเด่น, เพลงดีเด่น, เสียงร้องหญิงดีเด่นในการแสดง จากเพลง Rehab (ที่แปลว่า "เลิกเหล้า") อัลบั้ม Pop Vocal ยอดเยี่ยมจากอัลบั้ม Back to Black และ และตัวเธอเองก็ได้รับรางวัลนักแสดงหน้าใหม่สารภาพตามตรงแล้วผมไม่ได้ค่อยฟังแนว R&B สักเท่าไหร่ แต่เท่าที่ได้ฟัง Amy Winehouse แล้ว ผมขอประเมินแบบคนที่ไม่ค่อยฟัง R&B ว่า เสียงเธอดีใช้ได้ทีเดียว แต่สิ่งที่เธอหนีไม่พ้นเมื่อเธอเป็นทั้งศิลปินและคนในวงการบันเทิง สื่อบันเทิงจึงมักเอาเธอมาเล่นบ่อยๆ จนถึงบัดนี้ไม่ว่าจะเรื่องพฤติกรรมเฮ้วๆ ส่วนตัว (ถ้าเธอเป็นร็อคสตาร์ไอ่พฤติกรรมเฮ้วๆ นี้อาจจะถูกเอาไปบูชา ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าจะบูชากันไปทำป๊ะอะไร) หรือเรื่องที่ว่าเธอติดเหล้าติดยาจนต้องเข้ารับการบำบัดซึ่งทางต้นสังกัดก็ฉลาดเฉลียวพอจะ หาเพลงที่เหมือนใช้เรื่องของตัวเธอเองมาเล่า อย่างในเพลงมาเป็นหมัดเด็ด ซึ่งก็คือเพลง Rehab ที่ไม่วายแอบขายภาพหญิงแสบของเธอผู้กำลังจะปฏิเสธการไปรับการบำบัด (แต่ในชีวิตจริงเธอดันได้ไปในที่สุด) ด้วยข้ออ้างที่...พอฟังขึ้นอยู่เหมือนกันThey tried to make me go to rehab but I said no, no, noYes I been blind but when I come back you'll know, know knowI ain't got the timeAnd if my daddy thinks I'm fineYou tried to make me go to rehab but I won't go, go, go- Rehabมีครั้งหนึ่งที่ปาปาราสซี่ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยม! ด้วยการไปถ่ายรูปเธอตอนเดินเท้าเปล่าออกมาจากบ้านตอนเช้าและใส่เพียงบรากับกางเกงยีนส์เท่านั้น (ไม่เห็นน่าตะลึงตรงไหน ลองเธอไม่ใส่บราด้วยสิค่อยว่ากัน) ซึ่งก็มีประชดปาปาราสซี่พวกนี้ไว้ใน MV เพลง You know I'm no good เรียบร้อยดูเหมือนเธอเป็นหญิงแสบใช่ไหม แน่นอน! เป็นหญิงแสบที่ทางต้นสังกัดปั้นให้เป็น ถือว่าต้นสังกัดทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม! ไม่แพ้ปาปาราสซี่เลยแม้แต่น้อย แถมยังเอามาขายภาพลักษณ์แบบหญิงแสบได้อีกต่างหาก กำไรทั้งนั้น ปาปาราสซี่เห็น MV นี้แล้วจะโกรธน่ะเหรอ พวกนี้คงรู้สึกว่าพวกตนทำหน้าที่ได้ลุล่วงแล้วต่างหากพูดถึงเรื่องสิลปินขี้ยาแล้ว คงหลบจะไม่พูดถึง Pete Doherty ไปได้ ปัจจุบัน Pete อยู่กับวงที่ชื่อ Babyshambles จากเดิมที่อยู่กับวง The Libertine ซึ่งเป็นวงแนว Britpop เช่นเดียวกัน Pete ถูกเพื่อนๆ ในวงขับออกมาเพราะความขี้ยาของเขานี่แหละแน่นอนว่านอกจากตัว Pete เองแล้ว ตัวสื่อบันเทิงเก็บเรื่องราวที่พีทเกี่ยวข้องกับยาได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่องราวนัดกันมา ไม่ว่าเขาจะเดินหน้าเหี่ยวซูบนัยตาลึกโหลออกไปหาอะไรมาสูด จะเมาไปต่อยตีกับใคร หรือแม้กระทั่งเจอตำรวจจับก็กลายเป็นข่าวได้เสียทุกครั้ง (ไม่ต้องห่วง พีทเคยเข้ามาใช้บริการวัดถ้ำกระบอกของไทยแล้วครั้งหนึ่ง)ที่ไม่น่าให้อภัยคือสื่อที่เรียกตัวเองว่าเป็น "ทางเลือก" อย่าง NME ดันเอาตานี่มาเชิดชู ถึงขึ้นให้รางวัลฮีโร่แห่งปีมาแล้ว ใครที่รู้ไต๋อาจจะจับได้ว่า NME ไม่น่าเชื่อถือสักเท่าไหร่เพราะนอกจากจะต่อต้านดนตรีกระแสหลักที่ทำมาขายแบบที่ตัวเองก็ไม่ได้มีอะไรดีไปกว่ากันแล้ว (ก็ "ขาย" เหมือนกันอยู่ดี) ยังทำตัวเป็นคุณพ่อช่างปั้น เชิดชูศิลปินบางวงอย่างออกนอกหน้าจนแทบจะทำสกู๊ปเกี่ยวกับอาหารเช้าหรือกางเกงในลายโปรดของวงนั้นได้เลยทีเดียวผมไม่ได้จะบอกว่าคนติดเหล้าติดยาเป็นคนไม่ดีหรืออะไร และไม่คิดจะใช้คำอธิบายเก่าเก็บว่าเด็กๆ จะเลียนแบบเอา เพียงแต่การเอาเรื่องที่ดูเหมือน "แหกคอก" มาเป็นจุดดึงดูดอย่างหนึ่งมันก็เหมือนเป็นแค่ขบถแบบปาหี่ ไม่ว่าการกระทำแหกคอกนั้นจะเป็นสิ่งที่มาจากตัวศิลปินเองหรือเป็นแค่การสร้างภาพก็ตามอาจจะชวนให้ความหมั่นไส้นิดๆ เวลาสื่อมักจะเอาเรื่องความขี้ยาของศิลปินมาเล่น ซึ่งบางทีมันก็ถูกทำให้มองว่าเป็นเรื่องแหกขนบ แต่ที่สุดแล้ว มันก็เป็นแค่สิ่งที่ทำให้คนที่ตามข่าวรู้สึกบันเทิงไปกับการมีเป้าหมายใหม่ๆ ให้เอาไปด่าหรือเอาไปบูชาเท่านั้นเอง (ซึ่งถ้าทัศนะมันหลากกว่าการแค่ด่าเช็ดหรือเทิดทูนบูชามันคงจะดีกว่านี้) พูดให้ตรงกว่านี้ก็คือเรื่องพวกนี้มันไม่ได้ดูเก๋าโจ๋อะไรเพราะมันไม่ได้ต่างกับข่าวดาราตบกันแบบที่พวกคุณชอบด่าเลยไม่นับว่าเนื้อหาของอีกหลาย ๆ เพลงในอัลบั้ม Back to Black ของ Winehouse นี้ออกแนวปกป้องตัวเอง และมีท่าทีสะบัดหน้าแบบฉันไม่แคร์ ซึ่งสุดท้ายแล้วมันก็ไม่ได้เป็นการลุกขึ้นมาท้าทายอะไรอย่างจริงจัง ความเป็นสาวแสบมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ออริจินัลเท่าไหร่แล้ว ดูจะเป็นการผลิตซ้ำจนพาลจะทำให้สาวไม่แสบดูกลายเป็นคนเฉิ่มเชยไปอีกต่างหาก ทั้ง ๆ ที่สาวเฉิ่มเชยพวกนั้นอาจจะมีอะไรลึก ๆ ที่เป็นขบถแบบไม่ต้องโชว์ออฟออกมาก็ได้มาถึงตรงเสียงร้องมีเสน่ห์และดนตรีสนุก ๆ ของเธอ น่าจะเป็นอะไรที่ควรให้ค่ามากกว่าไหม ให้ตายสิ ! ผมนึกถึงสาวโฟล์คอเมริกันที่บอกว่าตัวเองเป็นโอตาคุทางดนตรีขึ้นมาตงิด ๆ ผมไม่รู้หรอกนะว่าเธอเล่นยาหรือไม่ หรือไปกระทืบปาปาราสซี่คนไหนมาบ้าง แต่ผมว่า......ความ "ขี้อาย" ของเธอนี่แหละขบถสุด ๆ
มลฤดี ลาพิมล
“เรื่องโจ๊ก เรื่องเจี้ย”  ซึ่งมีลักษณะสองแง่สองง่ามเกี่ยวข้องกับ “เรื่องทางเพศ” ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเล่า เอามาบอกต่อ หรือนำมาแบ่งปันกันในที่ทำงาน ในงานแต่งงาน ในงานวันเกิด ในงานขึ้นบ้านใหม่หรืองานอะไรก็แล้วแต่นั้น  ยิ่งถ้าเรื่องเล่าทางเพศเหล่านั้นเจือปนด้วยความดุเด็ด เผ็ดมัน ขำขัน ตลกโปกฮา สนุกสนานมากเท่าไหร่ ผู้คนในสังคมก็ดูเหมือนจะเปิดใจ อ้าแขนรับ มีอารมณ์สนุกสนานคล้อยตาม และเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยเรื่องเพศนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่โดยมิได้ฉุกคิด ตั้งข้อสังเกต และแม้กระทั่งตั้งคำถามด้านผลกระทบต่อความเสื่อมทางศีลธรรมจริยธรรมของสังคม หรือความกังวลว่าจะเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กและเยาวชนแต่อย่างใด เราคงไม่ปฏิเสธว่า ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันนั้น เรามีเรื่องเล่าเรื่องตลกขำขันที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ...มากมายและหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยและวัฒนธรรมการบริโภคของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะมาในรูปแบบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ซีดี/วีซีดีการแสดงของคณะตลก  เพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงแรพ เพลงป้อบ หรือลูกทุ่ง ภาพวาดล้อเลียน  ริงโทนโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ เมื่อไม่นานมานี้ประมาณต้นปี ๒๕๕๐ ผู้เขียนมีโอกาสได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือของเพื่อนผู้เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่องเพศภาวะ เพาวิถีและสุขภาพทางเพศสำหรับไทย-ลาว ครั้งที่ ๓  ตอนที่ได้ยินผ่านหูครั้งแรกก็ถึงกับทำให้ต้องหูผึ่งและหันขวับมาถาม “เฮ้ย! มันพูดว่าไงนะ ขอฟังอีกทีได้ไม๊?”  ผู้เขียนยังจำอารมณ์ ณ ขณะได้ฟังได้ยินริงโทนนั้นในครั้งแรกได้อย่างชัดเจนว่า ผู้เขียนเริ่มด้วยอาการตั้งอกตั้งใจฟังมากๆ เริ่มอมยิ้ม และยิ้ม เริ่มยิ้มกว้างขึ้น เริ่มมีเสียงหัวเราะคิกคักเบาๆ  และจากนั้นผู้เขียนก็เก็บกดอารมณ์ไม่ไหว จึงปล่อยเสียงหัวเราะดังลั่นด้วยความที่เนื้อหาของริงโทนมันช่าง “โดน (ใจ)” มากๆ เสี่ยนี่กระไร ทั้งๆ ที่ท่วงทำนองของริงโทนก็ธรรมดาเอามากๆ เหมือนการท่องจำแบบอาขยานอย่างไรอย่างนั้น ไม่ได้มีความโดดเด่นทางท่วงทำนองเลยสักนิด แต่ “เนื้อหา/ข้อความ” ของริงโทนเวอร์ชั่นนี้กลับไม่ธรรมดาเอาซะเลยสำหรับผู้เขียน (สำหรับคนอื่นๆ ที่มีริงโทนซึ่งเด็ดกว่านี้อาจจะคิดอยู่ในใจว่า “แค่นี้ จิ๊บ จิ๊บ”)ริงโทนโทรศัพท์มือถือเวิอร์ชั่นเด็ดๆ ที่ผู้เขียนพูดถึงนั้นมีเนื้อหาสาระหลักๆ ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมและการปฏิบัติทางเพศ ซึ่งมีใจความว่า“โอ้นวลน้องโปรดถอดเสื้อใน    ถอดไวไวพี่จะไซ้นมก่อนโอ้ความรักสุดแสนนิรันดร         ปิดประตูใส่กลอนและก็นอนเย็ดกันน้องอยู่ข้างล่างพี่อยู่ข้างบน     ผลัดกันอมและก็ผลัดกันเลียทำกันผัวๆ เมียๆ             ผลัดกันเลียและก็ผลัดกันอมรูน้องเล็กพี่เย็ดไม่ทัน        รูน้องตันพี่ดันไม่ไหวรูน้องเล็กพี่เย็ดเข้าไป         พี่ทนไม่ไหวน้ำแตกคารู”ผู้เขียนอยากจะชวนคิดวิเคราะห์เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ ซึ่งได้รับความสนอกสนใจของผู้ที่ได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือนี้ว่าได้สะท้อนเรื่องราวทางเพศอะไรบ้างในสังคมไทย? และได้บอกเล่า/สะท้อนเรื่องทางเพศด้วยมุมมองอย่างไรบ้าง?ผู้เขียนมองว่าริงโทนนี้เป็นกระจกส่องให้เราได้เห็นและเรียนรู้เรื่องเพศของคนในสังคมไทยว่าพอนึกถึงเรื่องเพศ (Sexuality) ผู้คนโดยทั่วไปก็มองเห็นแต่เพียงกิจกรรมทางเพศ (sexual act) พฤติกรรมทางเพศ (sexual behavior) ความสุขทางเพศ (sexual pleasure) เท่านั้น นอกจากนั้นผู้คนในสังคมไทยดูเหมือนว่าได้ถูกหล่อหลอมให้คิดและเชื่อถือตามๆ กันไปว่า “ปฏิบัติกิจทางเพศนั้นต้องริเริ่มและกระทำโดยผู้ชายและผู้หญิงเป็นฝ่ายยอมตาม รอคอยความสุขที่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายหยิบยื่นให้ เพศสัมพันธ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ เป็นที่ยอมรับและถือว่าเหมาะสมต้องอยู่ภายในกรอบความสัมพันธ์แบบคู่สามีภรรยาและกระทำการเพราะเหตุแห่งรักเท่านั้น กิจกรรมทางเพศนั้นเกิดขึ้นระหว่างคู่ความสัมพันธ์หญิงชาย และกิจกรรมทางเพศที่ถูกพูดถึงนั้นมิใช่เพียงแต่การสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากซึ่งทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชายที่เป็นคู่ความสัมพันธ์ทางเพศต่างกระทำให้กันและกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสับสน เพราะยังตอกย้ำความสำคัญของช่องคลอดและสัญลักษณ์ของการบรรลุถึงซึ่งความสุขทางเพศนั้นคือ การหลั่งน้ำอสุจิของฝ่ายชายและความสุขที่เกิดจากเพศสัมพันธ์นั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่ความสุขทางเพศของผู้ชาย”เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่เป็นรูปธรรมของปฏิบัติการณ์ในสังคมของการส่งผ่านและจรรโลงระบบความคิดความเชื่อและความหมายเรื่องเพศที่กลุ่มคนส่วนใหญ่ยึดถือในหลายๆ ครั้งเรื่องตลกโปกฮาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศซึ่งบางทีอาจต้องใช้เงินจับจ่ายซื้อหามานั้น สามารถทำให้เราได้หัวเราะท้องคัดท้องแข็ง น้ำหูน้ำตาร่วง ได้รับความสุขและความเบิกบาน จนร่างกายได้หลั่งสารความสุขออกมานั้น มันจะล้อเลียน  ผลิตซ้ำมายาคติทางเพศ สร้างภาพตัวแทนความเป็นหญิงเป็นชายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องทางเพศ ตอกย้ำภาพเชิงลบ หรือแม้กระทั่งกดทับความเป็นคนที่ต่ำต้อยกว่าของคนบางกลุ่มบางพวกในสังคม เช่น กะเทย สาวประเภทสอง ผู้หญิงอายุมากที่ยังไม่แต่งงาน  แม่ชี ชาวเขาชาวดอย (พี่น้องชนเผ่า) พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ  แต่ด้วยอารมณ์สนุกสนานแบบบรรยากาศพาไปมันได้บดบังมิติทางสังคมเหล่านั้น จนหลายๆ ครั้งเรา (รวมทั้งผู้เขียนในบางคราว) อาจจะขาดความละเอียดอ่อนและลืมตั้งคำถามหลายๆ คำถามกับตนเองว่า * เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติที่ขาดความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนของผู้อื่นหรือไม่? * เรากำลังตอกย้ำและผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ความเหนือกว่า/ด้อยกว่าของผู้คนในสังคมผ่านเรื่องเล่า “ขำๆ” ของเราหรือไม่?  * การแบ่งปันความสุขด้วยการเล่าเรื่องตลกโปกฮาและหาความสุขจากการได้ยินได้ฟังเรื่องโจ๊กของเรา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประกอบสร้างค่านิยมและความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างหรือไม่? * เรากำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ว่า “เรื่องทางเพศเป็นเรื่องของฝ่ายชาย/ผู้สวมบทความเป็นชาย มิใช่เรื่องผู้หญิง/ผู้ที่สวมทับความเป็นหญิงหรือไม่?ผู้เขียนมิได้จะส่งเสริมการกำกับควบคุมการพูดเรื่องเพศของคนในสังคมแต่อย่างใด เพราะ ผู้เขียนเชื่อมั่นในหลักการด้านสิทธิในการพูดในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามแต่ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่เราพึงมีพึงได้ เพียงแต่อยากจะกระตุ้น ชวนคิด ย้ำเตือนว่า ถ้าเราสามารถเรียนรู้เรื่องเพศผ่านเรื่องราวใกล้ๆ ตัวและได้มีเวลาวิเคราะห์วิพากษ์เรื่องราวเหล่านั้นบ้าง ศักยภาพของเราในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างที่ลดทอนความเป็นคนของกันและกัน  เราน่าจะลดระดับความไม่เท่าเทียมในสังคมได้มากขึ้นจากเรื่องที่เราได้พูด ได้เล่า และได้ฟัง
กาญจนา แถลงกิจ
วันที่ 25 เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง ทั่วโลกพร้อมใจกันทำกิจกรรมรณรงค์กับสังคมสาธารณะ แต่หลายๆ องค์กรก็เลือกที่จะทำให้เดือนพฤศจิกายนทั้งเดือนเป็นเดือนแห่งการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรง และพ่วงประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปด้วย ไม่ใช่จัดกิจกรรมเฉพาะวันที่ 25 พฤศจิกายนกันเพียงวันเดียวเท่านั้น จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมกันตลอดทั้งเดือน และสื่อทุกแขนงก็พร้อมใจกันนำเสนอข่าวหรือกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่องในหน้าข่าวของประชาไทดอทคอม ได้นำเสนอบทความข่าวในหัวข้อ "ขบวนการแรงงานฯ จัดงานวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ระบุ 'เหล้า' สาเหตุสำคัญของปัญหา" (ติดตามอ่านรายละเอียดได้ใน http://www.prachatai.com/05web/th/home/10346)  ซึ่งเป็นการรายงานข่าวการรณรงค์ของมูลนิธิเพื่อนหญิง ร่วมกับ ชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อน และสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 ในเขตจังหวัดลำพูน ในรายงานข่าวได้นำเสนอข้อมูลจากนายสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ ตัวแทนมูลนิธิเพื่อนหญิงว่า การให้บริการคำปรึกษาของศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง มีผู้มาขอคำปรึกษา 719 กรณี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ สามีไปมีหญิงอื่น สามีทำร้ายร่างกาย สามีไม่รับผิดชอบครอบครัว ซึ่งในจำนวนนี้มี 114 กรณี หรือประมาณร้อยละ 16 มีเหล้าเข้ามาเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง หากจะพูดอย่างง่ายๆ คือ ในความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกๆ 6 กรณี มีเหล้าเป็นส่วนก่อความรุนแรง 1 กรณีโดยคุณสุชาติได้กล่าวสรุปว่าต้นเหตุของปัญหาสำคัญที่สุดในปัจจุบันก็คือ การดื่มเครื่องดื่มมึนเมาแล้วก่อเหตุรุนแรงโดยผู้ชายนั่นเองข้อสรุปดังกล่าว พลอยทำให้นึกย้อนไปถึงกิจกรรมเสวนาของกลุ่มนักวิจัยจากคณะทำงานเรื่องผู้หญิงในงานเอดส์ที่ได้ลงไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำวิจัยเรื่อง "เรื่องเล่าความรุนแรงและเอชไอวี/เอดส์ ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานรณรงค์ยุติความรุนแรงไปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในช่วงหนึ่งของการสนทนา ก็มีตัวแทนผู้หญิงในชุมชนคนหนึ่งลุกขึ้นมาหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาอภิปรายเช่นเดียวกัน แต่ในครั้งนั้นได้มีการเปิดประเด็นคำถามที่ชวนกันคิดต่อไปอีกว่า แท้จริงแล้ว ‘เหล้า’ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ชายกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง จริงหรือไม่? แล้วเหตุใดผู้ชายอีกหลายคนที่ดื่มเหล้า แต่ก็ไม่ได้เลือกที่จะใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงเสมอไปล่ะ น่าคิดเหมือนกันหรือว่านั่นเป็นเพียงมายาคติที่คนมักเข้าใจว่า ผู้ชายที่ดื่มเหล้ามักจะกระทำความรุนแรง ด้วยแรงขับจากฤทธิ์เหล้ากันแน่ สมมติฐานเช่นนี้ มักจะอธิบายว่าผู้ชายดีๆจะแปลงร่างเป็นผู้ชายเลวเมื่อเหล้าเข้าปากไปแล้วคุณพ่อท่านหนึ่งที่นั่งฟังการสนทนาได้ให้ความเห็นไว้น่าสนใจว่า พฤติกรรมความรุนแรงนั้นมีสาเหตุมาจากสภาพจิตใจของแต่ละคน การควบคุมจิตใจให้มีสติสัมปชัญญะนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ คนยึดมั่นอยู่ในศีลธรรม อีกหนุ่มหนึ่งที่มาจากเครือข่ายครอบครัว ช่วยเพิ่มเติมมุมมองปัญหาที่มาจากสาเหตุของสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูในครอบครัวว่า พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกๆ และความอบอุ่นในครอบครัวจะช่วยหาทางออกให้ปัญหา ก็ว่ากันไปตามฐานความคิดความเชื่อของแต่ละคนฉันเห็นด้วยอย่างแรงว่า เหล้านั้นเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดความรุนแรง แต่การวิเคราะห์ว่า เหล้าเป็นสาเหตุของปัญหานั้นอาจจะต้องมองไปให้ลึกซึ้งมากขึ้นไปกว่านี้ เหล้าอาจเป็นเพียงภาพสะท้อนปัญหาและสภาพจิตใจของผู้ที่กระทำความรุนแรง ที่อาจถูกกดดันจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจรอบตัว เพราะการที่ผู้ชายคนหนึ่งตัดสินใจจะใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงและเด็ก ในหลายๆครั้ง ก็ไม่ได้ปฏิบัติการในขณะที่ตัวเองอยู่ในสภาพเมามายเสมอไป แต่ทำลงไปในขณะที่ยังมีสติสัมปชัญญะดีๆ อยู่นี่เอง คุณมลฤดี ลาพิมล ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนทนาได้ให้แง่มุมความคิดเห็นต่อข้อเสนอต่อการสร้างสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูในครอบครัวไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า  การที่พ่อแม่ให้ความอบอุ่นและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกๆ นั้นเป็นเรื่องดีแน่ แต่การเป็นแบบอย่างที่ดีนั้นเป็นแบบอย่างที่ดีแบบไหน ก็อาจต้องมาทำความเข้าใจกันอีกว่ามาจากความคิดความเชื่อแบบใด หากครอบครัวนั้นเชื่อว่า ลูกชายเป็นผู้สืบสกุลและต้องได้รับโอกาสและความก้าวหน้าในการเรียนมากกว่าลูกสาว หากว่าต้องเลือกด้วยข้อจำกัดทางการเงินของครอบครัวและในฐานะที่คนๆ หนึ่งที่น่าจะได้รับโอกาสเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม แต่ความคิดระหว่างลูกชายกับลูกสาว ก็มักถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการเลือกปฏิบัติ จนนำมาสู่การกระทำความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง ที่แทบไม่มีใครมองเห็นมุมมองของฉันและเพื่อนๆ ที่อยู่ข้างผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง การโยนความผิดให้เหล้า จนมองข้ามวิธีคิดของผู้ชายคนนั้นว่า เหตุใดจึงเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา (หรือเพิ่มปัญหาขึ้นมาอีกไม่ทราบ) นั้นยังมาจากวิธีคิดที่ถูกสั่งสมมาจากโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การใช้ความรุนแรงก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้ชายแสดงความเหนือกว่า(ทางร่างกาย) ที่กระทำกับร่างกายของผู้หญิง เป็นการใช้ความรุนแรงมากำราบเพื่อให้คนๆ นั้นหยุดนิ่งและยอมจำนนกับอำนาจของตน จะกินเหล้าอีกกี่ขวด หรือจะไม่กินมันเลย  แต่ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีคิดของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิง ทั้งในเรื่องอำนาจ – ความอ่อนโยน - ความแข็งแรง-ความอ่อนแอ ปัญหาความรุนแรงก็ยังอยู่ ไม่ไปไหน และจะยังแข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าเดิมใครตบตีใคร ใครทำร้ายใคร ก็อยู่ที่ว่า คนๆนั้นกำลังเชื่อเรื่องอะไรอยู่...