Skip to main content
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์' การทุบทำลายสิ่งของในบ้านร้าง ควบคู่ไปกับการที่ ‘รัฐ' พยายามปลูกฝัง ‘ความรักชาติ' ให้เหล่าเยาวชนชายเพื่อความสะดวกในการจัดส่งพวกเขาเข้าสังเวย ‘ความใคร่' ใน ‘สงคราม' ที่ ‘รัฐ' เป็นผู้ก่อในฐานะเด็กหนุ่มซึ่งเติบโตมาในสังคมแห่ง ‘การแข่งขัน' และ ‘สงคราม'... ‘ความรุนแรง' และ ‘ความหยาบคาย' (ในสายตาผู้ใหญ่) จึงเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่จะทำให้ ‘พวกเขา' ข้ามพ้นจากการถูกรังแกและแล้วการปรากฏตัวของ ‘คอมโบ้' เยาวชนชายชาวอังกฤษผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษจาก ‘กรมราชทัณฑ์' ในฐานะนักโทษ ก็ได้นำพา ‘ชอน' และเพื่อนๆ อีกจำนวนหนึ่งไปสู่ ‘ความรุนแรง' ในรูปแบบใหม่ จากคำถามเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติที่ ‘คอมโบ้' หยิบยื่นให้ กลับกลายเป็นความเกลียดชัง ที่นำไปสู่อาชญากรรม พวกเขาเริ่มรวมตัวขับไล่ ‘ความเป็นอื่น' ในเกาะอังกฤษ ด้วยเหตุผลในเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ และสีผิว จากการข่มขู่เด็กนักเรียนชาวปากีสถาน สู่การทุบทำลายข้าวของและปล้นสินค้าจากพ่อค้าชาวเอเซีย จบลงด้วยร่างของ ‘มิลกี้' เพื่อนชาวอังกฤษเชื้อสายแอฟริกาที่นอนแน่นิ่งจมกองเลือด ด้วยน้ำมือของ ‘คอมโบ้' ทำให้ ‘ชอน' เริ่มกลับมาทบทวนถึง ‘บางสิ่ง' ที่กำลังฝังรากลงในจิตใจของเขา ‘ชอน' ตัดสินใจกลับไปนำธงชาติอังกฤษที่เขาเคยภาคภูมิใจลงจากหน้าต่างห้องนอน และปล่อยให้มันล่องลอยไปกลับสายน้ำในขณะที่ภาพข่าวทางโทรทัศน์ยังคงนำเสนอ ‘ชัยชนะ' ของทหารอังกฤษต่อ ทหารชาวอาร์เจนตินา ด้วยความภาคภูมิใจในจำนวน ‘ศพ' ของ ‘นักรบ' เยาวชน ‘ฝ่ายตรงข้าม'... กรุงเทพ ปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ยุคสมัยที่ทั้งครูบาอาจารย์และเยาวชนไทยถูกปลูกฝังให้เชื่อมั่นในเทคโนโลยี ยิ่งกว่าพ่อแม่บังเกิดเกล้าอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน ตัดสินใจให้ลูกศิษย์ส่งงาน และดูงานผ่าน ‘อีเมล' (ทั้งๆ ที่ต้องเจอหน้าอาจารย์อยู่ทุกวันในชั้นเรียน) ด้วยความเชื่อมั่นว่า ทุกๆ บ้านในประเทศไทยจะต้องมี ‘คอมพิวเตอร์' แต่สำหรับนางสาว ‘วัลลี' (นามสมมติ) คำสั่งของอาจารย์กลับสร้างความกังวลใจให้กับเธออย่างยิ่งยวด เพราะเมื่อนับระยะทางจากบ้านของเธอ (อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี) เพื่อเข้าสู่ตัวอำเภอ มันก็หลายกิโลอยู่ ขณะที่เท้าของเธอยังคงถีบจักรยานมุ่งหน้าสู่ร้านอินเตอร์เน็ต มันสมองของเธอก็แอบรำพึงรำพันใฝ่ฝันอยากจะได้คอมพิวเตอร์สักเครื่อง แต่สำหรับอาชีพเกษตรกรอย่างพ่อและแม่ของเธอ การได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ก็นับว่าเป็นบุญโข"อาจารย์แม่งคิดว่าเด็กทั้งประเทศมันรวยกันทุกคนหรือไงวะ" วัลลีแอบสบถด่าท่านอาจารย์ผู้เสพเทคโนโลยีแทนอากาศด้วยความเคารพท่ามกลางสภาวการณ์ทางการเมืองที่สับสนอลหม่าน เด็กนักเรียนมัธยมปลายวัย 18 ปี ตัดสินใจใช้มีดปลายแหลมปลิดชีพ ‘คนขับแท็กซี่' ด้วยข้ออ้างที่ว่า ‘เลียนแบบเกมส์คอมพิวเตอร์' สื่อมวลชนผู้รักงานข่าวเป็นชีวิตจิตใจ เฝ้าประโคมข่าวการจัดระเบียบร้านเกมส์อินเตอร์เน็ต และเปิดเผยรายชื่อ 10 สุดยอดเกมส์อันตราย อย่างต่อเนื่อง โดยไม่คิดที่จะมองหาแรงจูงใจอื่นๆ ที่ยากไปกว่าการลงประกาศโฆษณาคุณสมบัติของเกมส์ และการนำไมค์ไปจ่อปากผู้หลักผู้ใหญ่ที่รักเยาวชนอย่างจับขั้วหัวใจให้ช่วยกันถ่มน้ำลายเพื่อสร้างภาพขณะที่เจ้าของธุรกิจรถจักรยานยนต์กำลังหมกหมุ่นอยู่กับการคิดแคมเปญใหม่ๆ เอาใจวัยโจ๋ บริษัทคอมพิวเตอร์ทุ่มเทงบโฆษณาคอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดที่มีสีสันโดนใจวัยรุ่น เจ้าหน้าที่นอกแถวบางส่วนกำลังจัดหา ‘ตัวยา' ใหม่ๆ ไว้เมามอมเยาวชนนักการตลาด และนักออกแบบระดับโลก กำลังคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อดูด ‘เงิน' จากกลุ่มGeneration Z[1] (ผู้ที่เกิดใน ค.ศ.1995-2009 ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่เติบโตมากับโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์) หลังจากที่พวกเขาประสบความสำเร็จกับการรณรงค์ให้เด็กๆ ทั่วโลกหันมาสนใจ ‘แฮรี่พอตเตอร์' เครื่องเล่มเกมส์ ‘เพลย์สเตชั่น' ‘โทรศัพท์มือถือ' ‘iPod' และอีกสารพัดสินค้าในยุคที่โลกถูกทำให้เล็กลงเท่าปลายนิ้วทางออกของผู้ใหญ่ในสังคมไทย คือ "อย่าให้เด็กรับรู้อะไรที่ผู้ใหญ่ไม่ชอบ" แต่สำหรับเยาวชนไทย ข้อมูลมากมายที่ถูกยัดลงในหัวสมอง มันทำให้พวกเขาสับสนว่า แท้จริงแล้ว ‘บางสิ่ง' ที่มีผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของพวกเขาในวันนี้คือ ‘อะไร' แล้วเขาจะจัดการกับเจ้า ‘อะไร' ได้ ‘อย่างไร' คำอธิบายอย่างง่ายที่สุด มันจึงลงเอ่ยที่ ‘การเลียนแบบ' ‘ใคร' และ ‘อะไร' สักอย่างน่าเสียดายที่พวกเขามิอาจค้นพบ ‘บางสิ่ง'ในจิตใจ ได้เหมือน ‘ชอน' ในภาพยนตร์ This is England  [1] อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน บทความ Genaration Z Toward the world of the child-king.นิตยสาร iDesign ฉบับที่ 54 เดือนมกราคม 2007
เมธัส บัวชุม
ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม “กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง ขอบอกว่าความเชื่อและความเข้าใจข้างต้นเป็นสิ่งที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นพวกผู้ลากมากดีหรือกรรมกรแบกหาม ก็ไม่มีใครดีหรือเลวมากกว่านักการเมือง ทุกคนในฐานะที่เป็นคนต่างเลวหรือดีเหมือนกันหมด ส่วนผมชัดเจนในความเห็นของผมมานานแล้วว่า “ทุกคนเลวเหมือนกันทั้งนั้น”
เมธัส บัวชุม
-1- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า "ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 ก.ค. 51, หน้า 13) จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีความเข้าใจในพลังความสำคัญของคำพูด ของการใช้ภาษาที่สามารถทำให้คนรัก คนชัง สมานฉันท์หรือแตกแยกได้ และพลเอกเปรมคงตระหนักเป็นอย่างดีว่าคำพูด หรือการใช้ภาษาในลักษณะของการเดินสายพูดยุยง ปลุกปั่น สามารถนำไปสู่การรัฐประหารได้เช่นกัน คำถามที่เราควรจะถามก็คือ การเดินสายเพื่อ “ใช้ภาษา” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ผ่านมานั้น เป็นการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความโกรธ เกลียด ทำลายกัน หรือทำให้เกิดรัฐประหาร ใช่หรือไม่ ?
เมธัส บัวชุม
ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด ที่คนสนามหลวงฟังเพียงไม่กี่คนกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่โตและมีผู้คนรับรู้ไปทั่วบ้านทั่วเมืองและเป็นเหตุให้เขาต้องออกถูกออกหมายจับ เข้ามอบตัวโดยนำฝูงชนไปปิดล้อมกองบัญชาการตำรวจนครบาล ข่มขู่ไปต่าง ๆ นานาหากไม่ยอมให้ประกันตัว
สุทธิดา มะลิแก้ว
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า โดยส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยกับเรื่อง การไม่ขับรถหลังจากได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือที่ที่มีการรณรงค์ที่เรียกว่า “เมาไม่ขับ” และเห็นด้วยกับการรณรงค์ไม่ให้ดื่มเหล้าในวัด หรือศาสนสถานต่างๆ และยังเห็นด้วยอีกกับการรณรงค์ให้คนลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลงบ้าง เพื่อเห็นแก่สุขภาพและเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาล อันเนื่องมาจากโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดื่มสุรา รวมทั้ง การเชิญชวนให้งดดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษา สำหรับประชาชนที่เป็นพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการถือศีลถือเป็นการสร้างมงคลให้กับชีวิตก็เป็นเรื่องที่เห็นด้วยเช่นกัน ทว่า กลับรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งที่เห็นแคมเปญที่นำเสนอออกมาทางโทรทัศน์เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้คนเลิกดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษา ขออนุญาตเล่าให้ฟังในที่นี้สักเล็กน้อยเผื่อท่านที่ไม่ได้ชมโฆษณา คือ มีฉากที่เป็นร้านประมาณร้านข้าวต้ม หรือ ลาบ น้ำตก (อาจประมาณร้านข้างทาง) คนที่นั่งกันอยู่กลุ่มหนึ่งเป็นผู้ชายล้วนๆ ที่ดูก็รู้ว่าตั้งใจจะเสนอให้เป็นคนในชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ผู้ชายคนหนึ่งกำลังปรับทุกข์กับผู้ชายที่ท่าทางอาวุโสกว่า และคล้ายกับว่าเคยมีบุญคุณต่อกันยกมือไหว้พร้อมพูดว่า “ผมนับถือเหมือนพ่อผมเลย” ในขณะที่คนที่ถูกไหว้นั้นนั่งอยู่แสดงความเห็นใจ และขณะเดียวกันก็ตะโกนออกไปสั่งอาหารว่า “น้อง เอาเหมือนเดิม แบนนึง” คนทั้งร้านถึงกับชะงักหันมามองด้วยสายตาตำหนิ และคนที่นั่งร่วมโต๊ะเดียวกัน 2-3 คน รวมทั้งคนที่พูดว่านับถือก็ลุกขึ้นเดินหนี ในขณะเดียวกันก็มีเสียงบรรยาย “เอ้า เสียเลย” แล้ว ก็เป็นเสียงบรรยายต่อด้วยน้ำเสียงประชดประชันและเน้นๆ ว่า “คนที่กินเหล้าช่วงเข้าพรรษานี่ แย่” ต่อจากนั้นก็มีเบอร์โทรศัพท์สายด่วนเลิกเหล้าขึ้นมาโดยไม่มีเสียงบรรยายใดๆ
เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ ยังทำร้ายคนที่คิดเห็นต่างออกไปจากพวกตน โดยไม่สนใจต่อสายตาของสาธารณชนผู้เป็นกลางที่เฝ้ามองอยู่ว่าจะรู้สึกนึกคิดอย่างไรหรือไม่กลัวเลยว่าจะสูญเสียมวลชนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง พฤติกรรมและบุคลิกแบบนี้มีแต่เผด็จการเท่านั้นที่ทำได้
นกพเนจร
ทุกชีวิตล้วนมีศักดิ์ศรีและคุณค่าเท่าเทียมกัน มันเป็นคำพูดงดงามที่ลอยลมมาจากสังคมอุดมคติ...ที่ไหนสักแห่งที่ไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้ ลืมตาตื่น แล้วก้าวเดินออกนอกประตูให้ความจริงพุ่งชน ถ้าไม่พยายามหลอกตัวเองจนเกินงาม-ทุกชีวิตล้วนมีราคาไม่เท่ากัน โหดร้าย แต่เป็นจริง (ผมกำลังพูดถึงในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘คน’ เท่านั้น ยังไม่ต้องนับรวมถึงหมู หมา กา ไก่ แมลงวัน ต้นชบา หรือมะขาม ‘คน’ ยังไม่พร้อมที่จะให้คุณค่าของสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นเท่าเทียมกับตน) ผมเลี่ยงไม่ใช้คำว่า ‘คุณค่า’ หรือ ‘ศักดิ์ศรี’ เพราะผมเชื่อว่าทุกคนมีอยู่เท่ากัน แต่หากเป็นคำว่า ‘ราคา’ -คำที่ใช้ตีคุณค่าของบางสิ่งออกมาเป็นรูปตัวเลข-ผมก็พอจะยืนยันได้ว่าไม่เท่ากัน การได้เป็นนกลอยลมไปเห็น-ฟัง-เขียนตามแห่งหนต่างๆ ทำให้ผมเชื่อเช่นนั้น และเมื่อแต่ละชีวิตมี ‘ราคา’ ไม่เท่ากัน การให้ ‘ศักดิ์ศรี’ และ ‘คุณค่า’ ต่อชีวิตผู้คนจึงพลอยบิดเบี้ยวและไม่เท่ากันตามไปด้วย
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง   แล้ววันสำคัญทางพุทธศาสนาก็วนเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบสองพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดปีหลังพระพุทธเจ้าเสด็จสู่นิพพาน เป็นความน่ายินดีที่รัฐไทยซึ่งประกาศตัวเป็นพุทธมามกะประกาศให้เป็นวันหยุดเพื่อแสดงความเคารพอย่างสำคัญและจะได้เปิดโอกาสให้ไปทำบุญทำทานกันตามธรรมเนียมประเพณี แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเบื่อหน่ายพ่วงตามมากับบรรยากาศแบบนี้คือไม่สามารถไปหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มกินตามวิสัยได้ เนื่องจากเมื่อปีก่อนรัฐบาลคุณธรรมผลักดันจนมีกฎหมายมาบังคับ ทั้งที่เรื่องของศาสนาและแนวทางการปฏิบัติควรเป็นเรื่องของส่วนบุคคลเสียมากกว่า คนดื่มเหล้าบางทีอาจไม่ได้เลวกว่าคนกินมังสวิรัติ และก็ไม่อาจบอกได้เช่นกันว่าดีกว่า...ใช่หรือไม่ ??
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น ก็หมายถึงการทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยด้วยรูปแบบวิธีการที่ดูเหมือนว่าจะมีอำนาจบางประการที่ไม่ผิดกฎหมายรองรับ ไม่ใช่การนำรถถังออกมายึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญอย่างตรงไปตรงมาแบบเก่า
ประกายไฟ
“นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้ามนักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน” โรซา ลัคเซมเบิร์ก บทนำ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ทุกฝ่ายอยากเบือนหน้าหนี ภาคประชาชนถึงคราวตีบตัน เมื่อหันไปดูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พบว่าเป็นรัฐบาลทุนนิยมสามานย์ที่สร้างบาดแผลลึกแก่สังคมไทย ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐสมัย6ตุลาคม2519 ยังไม่นับรวมการเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณซึ่งอื้อฉาวในกรณี ฆ่าตัดตอนยาเสพติด และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อหันไปมองที่ม็อบขับไล่รัฐบาล ซึ่งเหล่าภาคประชาชนทั้งหลายต่างไม่ปฏิเสธจุดยืนในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ด้วยประชาธิปไตยบนท้องถนน แต่ก็ต้องระเหี่ยใจกับจุดยืนของขบวนการซึ่งเรียกร้องให้ทำการรัฐประหารใช้แนวชาตินิยม สถาบันนิยม อย่างบ้าคลั่ง-เพื่อ กลบเกลื่อนกลุ่มทุนอีกกลุ่มซึ่งอยู่เบื้องหลัง ซึ่งสามานย์ไม่น้อยกว่ากัน รวมถึงสื่อมวลชนผู้สนับสนุนขบวนการก็มีพฤติกรรมที่ไม่ต่างกับ หนังสือพิมพ์อนุรักษ์นิยมในอดีตในการบิดเบือนข้อเท็จจริงและปลุกระดมให้เกิด การใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มคนต่างๆซึ่งอยู่คนละข้างอุดมการณ์กับตน แน่นอนที่สุดเราต่างเรียกร้องหาแนวทางที่สาม และ เราภาคประชาชนย่อมไม่ได้พูดถึงความเป็นกลาง ที่ฟังดูยิ่งใหญ่แต่ไร้ความหมายหากแต่พูดถึงแนวทางรูปธรรมของขบวนการ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ(ซึ่งเป็นคนยากจน-ผู้ใช้แรงงาน-เกษตรกรรายย่อย) จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง โดยหวังว่าพื้นที่ในบล็อกที่ทางประชาไทจัดให้ตรงนี้จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับแนวทางที่สาม ...ซึ่งหากเราพูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม เราคงหมายถึงแนวทางสังคมนิยม รูปธรรมของแนวทางการต่อสู้เพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม....
Hit & Run
  เมื่อหนุ่มน้อย "สี TOA" เขียนจดหมายถึง "ศรีบูรพา" ว่าด้วยความสับสนและอคติต่ออุดมการณ์สื่อ
นกพเนจร
1 ผมพอจะเดาออกว่าอารมณ์แรกๆ ที่ผุดขึ้นเมื่อเห็นหัวเรื่องข้างบนคืออะไร ตามรูปมวยต้องเรียกว่าปลดการ์ดให้สอยคางกันง่ายดาย ซึ่งอันที่จริงผมก็รู้ชะตากรรมตัวเองดีว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง ถ้าเขียนแบบนี้ในพื้นที่แบบนี้ บางคนอาจรู้สึกรุนแรงถึงขั้นมองผมว่าเป็น ‘ศัตรู’ ของเขา ของประชาชน และของประชาธิปไตย แต่เชื่อเถอะครับว่าผมไม่ได้คิดจะตั้งตัวเป็นศัตรูกับใครทั้งสิ้น ที่สำคัญคือผมไม่ได้กำลังจะพูดเรื่องการเมือง ออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่ใช่พวกซาดิสต์ แต่ถ้าใครเกิดรู้สึกทนไม่ได้ ก่นด่า หรือมองผมเป็นศัตรู ...นั่นอาจเป็นเครื่องยืนยันที่ดีต่อเรื่องราวที่ผมพบเจอและทำให้ผมงงๆ กับคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ‘ประชาธิปไตย’ บอกตามตรงครับว่าไม่อยากเอ่ยคำใหญ่คำโตนี้เท่าไหร่ มันเกินสติปัญญาคนจบ ม.6 อย่างผมที่จะทำความเข้าใจ จึงควรปล่อยเป็นหน้าที่ของปัญญาชนผู้มีความรู้มากมายมหาศาลให้คอยดูแลคำคำนี้จะดีกว่า