Skip to main content
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่ คนที่ถูกข่มขืนบางรายจึงคิดว่าตายเสียกว่าดีมีชีวิตอยู่
อีกไม่นานจะมีการขุดลิกไนท์เวียงแหง น่ากลัวจังเลยหายนะจะเกิดขึ้นเเล้วโว้ย
สนนอ.
ตลอดระยะเวลา 4 ปีกว่าๆ ที่ ที่ผมถูกกักขังอยู่ในสถานกักกัน ที่คิดว่ามีประสิทธิภาพที่สุด
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์    แถลงการณ์ ฉบับที่ 0.17 จากประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย รักหมา รักแมว รักสิ่งแวดล้อม จนอาจลืมรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (ไปบ้าง)   เนื่องด้วยประเทศไทยอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต่างคนต่างก็ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นอุบัติการณ์ ประชาชนผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย รักหมา รักแมว รักสิ่งแวดล้อม จนอาจลืมรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (ไปบ้าง) (ป.ป.ช.ผ.ร.ช.ร.ป.ช.ต.ร.ม.ร.ม.ร.ส.ว.ล.) จึงเห็นว่า ควรออกแถลงการณ์กับเขาบ้าง โดย ป.ป.ช.ผ.ร.ช.ร.ป.ช.ต.ร.ม.ร.ม.ร.ส.ว.ล. มีข้อสังเกตต่อการออกแถลงการณ์ ดังนี้
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...” ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผู้ดำเนินรายการกล่าวในตอนท้ายการสัมมนา        
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน  หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว นี่ยังไม่รวมถึงดาราที่ต้องปะทะกับพวกปาปาราซซี่อยู่บ่อย ๆ ในเรื่องกล้อง  บางรายถึงขนาดชูนิ้วกลางให้กล้องหรือแย่งเอาฟิล์มมาทำลาย ดังนั้น ในบางสถานการณ์อานุภาพของกล้องจึงร้ายแรงไม่แพ้อาวุธอื่น
Hit & Run
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุขบางคนบอกว่าโลกใบนี้คือโรงละคร และก็มีบางคนที่เห็นว่ามันคือ ‘คุก’ และคุณว่ามันคืออะไร 0 0 0
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี"  หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่  แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน เพื่อเป็นการปกป้องและต่อยอดเติมเต็มระบอบประชาธิปไตยที่คนรุ่นก่อนต่อสู้ให้ได้มา
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
นางคำ เหล้าหวาน ถูกจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายน 2551ในข้อหาประมาณว่า.."ประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ฯลฯ.."เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 254816 วัน หลังจากนางคำพบศพพระสุพจน์ สุวโจซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548
สุทธิดา มะลิแก้ว
นับเป็นความสะเทือนใจอย่างยิ่งของคนทั่วโลกกับภาพความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวพม่า อันเนื่องมาจากพายุไซโคลนนาร์กิส ที่ตัวเลขของผู้เสียชีวิตนั้นหลังจากเกิดพายุนั้นแม้ผ่านมาแล้วหลายวันก็ยังไม่นิ่ง องค์กรกาชาดสากลคาดว่าอยู่ระหว่าง 60,000 – 120,000 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบสูงถึง 1.6-2.5 ล้านคน โดยคนเหล่านี้จะต้องเผชิญกับภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย และตลอดจนปัญหาสุขภาพที่จะตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้  ท่ามกลางภาพสะเทือนใจเหล่านั้น นานาประเทศได้พยายามที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งวันนี้ก็ยังมีบรรดาหน่วยบรรเทาทุกข์ทั้งหลาย รวมทั้งหน่วยงานทางแพทย์ หน่วยกู้ภัย หรือแม้กระทั่งเครื่องยังชีพทั้งปวงที่พร้อมจะเข้าไปในพม่า  ทว่า รัฐบาลพม่ากลับไม่ยินดีที่จะสนองตอบต่อความช่วยเหลือเหล่านั้น แม้จะรู้ดีว่า หากให้ผู้เชี่ยวชาญในการกู้ภัยเข้าไป และการระดมสรรพกำลังจากการภายนอกเข้าไปได้อย่างทันท่วงทีแล้ว การสูญเสียชีวิตและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอาจจะน้อยลงกว่านี้แน่  แต่นั่นหมายความว่าพม่าจะต้องยอมอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานบรรเทาทุกข์ได้เข้าไปทำงานตามระบบที่ได้รับการฝึกฝนมา และเมื่อหลายๆ ฝ่ายมีพยายามมากเข้า สุดท้ายท่าทีที่อ่อนที่สุดของรัฐบาลทหารก็คือ ส่งสิ่งของหรือเงินมาก็ได้แต่ไม่เอาคน และข้อมูลที่ไม่เป็นที่เปิดเผยนักที่พม่าได้ส่งไปถึงสหประชาชาติก็คือ สำหรับหน่วยบรรเทาทุกข์ที่พม่าจะยอมรับให้เข้าไปในประเทศพม่าได้จะมีเพียง 4 ประเทศเท่านั้น คือ จีน อินเดีย บังคลาเทศ และ ไทย เป็นการแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า “ไม่เอาตะวันตก”
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร  สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด  แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ  บุณยรัตนกลินในฐานะผู้ทำลายประชาธิปไตยให้บ่อย)อำนาจจากปากกระบอกปืนภายใต้บรรยากาศรัฐประหาร แม้อาจไม่ขู่เข็ญกันตรง ๆ  แต่ก็ทำให้นักข่าว/คอลัมนิสต์ ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์หรือทำการเซ็นเซอร์ตัวเอง เคยมีสักครั้งไหมเล่าที่สื่อมวลชนอย่างเครือเนชั่น มติชน หรือไทยโพสต์ รวมตัวกันออกแถลงการณ์เพื่อประณามการแทรกแซงและคุกคามสื่อแบบเดียวกับที่ทำรัฐบาลประชาธิปไตยอย่างรัฐบาลทักษิณ หรือรัฐบาลสมัคร (ช่างเป็นสื่อที่คงเส้นคงวาเสียจริงๆ)