ศิลปินแห่งชาติ

เสียงซอฤาจะสิ้นสูญ (6)


ผมขับรถออกจากบ้าน
คุณแม่จันทร์สม สายธารา เลี้ยวซ้ายปากซอย มุ่งตรงกลับบ้าน อดนึกถึงคำพูดของ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ ปี พ.ศ. 2538 ที่ปรากฏในอินเตอร์เน็ต หัวข้อ “ ซอพื้นบ้านล้านนา คุณค่าแห่งดนตรีที่ถูกเมิน”

“ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของซออีกต่อไป ในอดีตซอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่บ้านล้านนาไปที่ไหนๆก็มีซอ ซอสมัยก่อนได้เงินหลักร้อย ซึ่งถือว่าสูงมากในเวลานั้น แตกต่างจากตอนนี้ที่มีเด็กรุ่นใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สนใจจะเรียนซอกันอย่างจริงจัง กลุ่มคนฟังในปัจจุบัน โดยมากแล้วจะเป็นคนที่อยู่ในวัยกลางคนจนถึงวัยทอง หนุ่มสาวหาได้ยากเต็มที.”

เสียงซอฤาจะสูญสิ้น(4)

 

เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น 
รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที วันนี้เนาวรัตน์ได้ชมการขับซอเป็นครั้งแรกด้วยวัยที่สูงขึ้น เนื้อหาการขับซอ คล้ายเป็นคำพูดภาษาเหนือที่ใส่ทำนองเข้าไป มีคำคล้องจองสัมผัสกัน กล่าวถึงความดีของการบวช พูดถึงวัฒนธรรม ประเพณี เรื่องเพศ ที่น่าสังเกตผู้ขับซอหญิง เสียงจะแหลมสูงมาก   คำร้องชัดเจน เสียงไม่มีตก 

เอ่ยถึงเรื่องนี้ ทำให้เนาวรัตน์อดนึกถึงการเดินทาง ไปพูดคุยกับผู้ขับซออาวุโส ผู้เป็นต้นแบบการขับซอพื้นเมือง ชื่อคุณแม่จันทร์สม สายธารา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2553  ที่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 2 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การพูดคุยเริ่มขึ้นหลังจากเนาวรัตน์ยกมือไหว้และแนะนำตัว ตอนแรกเขาจะนั่งที่เสื่อ

Subscribe to ศิลปินแห่งชาติ