สังคม

ฉันรักเมืองไทย (รึเปล่า)

วันนี้ได้โอกาสมาเยือน “ประชาไท” แบบไม่ตั้งใจ เพราะปวดหัวเป็นไข้เล็กน้อย จึงถือโอกาสไม่ไปทำงานในวันอาทิตย์นอกเวลาเพื่อเคลียร์งานที่ทำไม่ทันในวันธรรมดา ถามตนเองว่าให้เวลากับงานมากเกินไป จนลืมมองดูสุขภาพตนเองหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” เพราะจำได้ว่าสมัยอยู่ต่างประเทศก็ทำแบบเดียวกัน แล้วก็ทำได้ด้วย ปัญหามีน้อยกว่า แต่เป็นเพราะว่าทางโน้นมีระบบงานที่ให้เสรีภาพในการทำงานมากพอสมควร มีปรัชญาในการทำงานที่เหมาะสมกว่า เมื่อเปรียบกับงานตรงนี้

การแนะนำตัวเอง.......ศบท...ตราด.

18 July, 2009 - 18:47 -- Anonymous

 ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจังหวัดตราด ..

   039-524131...........tcitrat@gmail.com ...........085-3613476.

       ท่านที่..เบื่อ sms mms เพลงรอสาย ข่าวต่างๆ รายการเสริม ยกเลิกไม่ได้........เราจัดให้

      สัญญา แล้วไม่เป็นไปตามสัญญา ยกเลิกไม่ได้.......เราจัดให้

      internet ไม่เร็วจริง ยกเลิกไม่ได้........เราจัดให้

      ค่าโทรแพงเกินจริง บริษัทไม่ชี้แจง ชี้แจงไม่ได้...เราจัดให้

      เติมเงินแล้วเงินหาย ไม่รู้จะถามใคร.......เราจัดให้

      เงินเหลือในซิมเยอะ อยากได้คืน........เราจัดให้

      เดือดร้อนเพราะเสาโทรศัพย์อยู่ใกล้บ้าน อยากย้ายเสาให้ไปอยู่ไกลบ้าน.....เราจัดให้

      ถูกเรียกเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ 107 บาทอยากได้คืน...เราจัดให้

การแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ โทรไปที่ callceter ของแต่ละบริษัท......

AIS..1175.....DTAC..1678.....TRUE.....1331...HUTCH....1128.........

มีปัญหายุ่งยาก.....ผิดซำซาก....แจ้งข้อมูลมาได้ที่ 

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมทั่วประเทศ

บ่น..หรือ...ด่า..1,000 ครั้ง     หรือจะสู้.........แจ้งข้อมูลมายังศูนย์ฯ  1  ครั้งไม่ได้....

                                               เป็นองค์กรอิสระที่ทำงานโดยประชาชน..........ฟรี.........ไม่มีช้า.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากเล่า (ตอนจบ)

ไม่จริงมั้งทำไม คนต้องเกลียดตำรวจ

"จริงครับ ผมถามแท็กซี่มาสิบคน เกลียดตำรวจทั้งสิบคนเลย" ผู้หมวดหนุ่มวัย 23 ตอบ

แล้วตำรวจเป็นสีแดงจริงหรือเปล่า

"ตำรวจเป็นสีกากี ....แต่พอเลิกงานคนนั่งข้างนี่ก็เปลี่ยนเสื้อแดงไปชุมนุม" สารวัตรวัยกลางคนบอกหันไปทางโต๊ะทำงานที่ว่างอยู่

"ตำรวจต้องซื้อเองทุกอย่างตั้งแต่ยางลบปากกา ไปจนโต๊ะเก้าอี้ ไม่มีใครเข้าใจตำรวจ"

...เดินออกจากโรงพักด้วยจิตใจที่ห่อเหี่ยว สัญญากับตัวเองว่าจะต้องหาคำตอบ ถ้าตำรวจต้องหาอุปกรณ์เองทุกอย่างบางคนก็ต้องอดไม่ได้ที่ต้องรีดไถ เอาเงินมาซื้อของหรือเปล่า แล้วทำไมรัฐบาลไม่ดูแลเขา ทำไมประชาชน ชุมชนไม่ดูแล ทำไมปล่อยให้ตำรวจอยู่ในโลกของตัวเอง แล้วจริงหรือที่ตำรวจต้องซื้ออุปกรณ์ทำงานเอง

"จริงซิ" เป็นคำตอบของ ตำรวจที่ได้เจอโดยบังเอิญอีกหนึ่งอาทิตย์ต่อมา "ตำรวจต้องซื้อปืนเองดัวย เพราะปืนของรัฐ มันไม่ดี ใช้ไม่ได้"

"ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเดิมกรมตำรวจเป็นแค่กรมในกระทรวงมหาดไทย งบประมาณได้มาก็ต้องแบ่งกับหน่วยงานอื่น ไม่เหมือนทหารที่มีกระทรวงของตัวเอง แต่ความรับผิดชอบของตำรวจก็สูงมาก เพราะต้องอยู่กับชุมชน.

จำได้ว่าตำรวจเด็กที่โรงพักเล่าว่า ตำรวจที่นั่นมีอุปกรณ์ทันสมัย เงินเดือนก็สูง "ผมเห็นแล้วอดอิจฉาไม่ได้"

ที่มาเลย์ ตำรวจอีกคนเล่าว่า เขาเดินเข้ามาทำงานโดยไม่ต้องซื้ออะไรเลย อุปกรณ์เสื้อผ้าครบถ้วน แถมพอถึงขั้นหนึ่ง เขาก็จะได้รถประจำตัว แต่ตำรวจไทย ซื้อเอง (ตามเคย) แม้แต่เครื่องแบบก็ต้องซื้อเองเพราะของหลวงมันยับเยินใส่ไม่ได้ (ก็รู้รู้กันอยู่ว่าทำไมถึงไม่เคยมีอะไรที่ดีพอ)

"เราต้องปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องทำให้ตำรวจเป็นคนของประชาชน (ชุมชน) จ้างโดยประชาชน และโดนไล่ออกได้โดยประชาชนที่จ้างเขามา ดังนั้น เขาต้องทำตัวให้ดี เพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น แต่ตอนนี้เขาไม่ต้อง เพราะนักการเมืองลงมาล้วงลูก ให้คุณให้โทษกับตำรวจได้ ตำรวจก็ไม่ต้องเอาใจประชาชน แต่เอาใจนักการเมือง...แต่คงยากมากๆ พวกเราอาจไม่ได้อยู่เห็น"

ความจริงก็คือ หลังการฝึกฝน ตำรวจใหม่ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับจ่า นายดาบ ไม่เคยถูกเรียกให้กลับไปฝึกทีกรมอีกเลย ฉะนั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะได้รับการอบรมเรื่องจริยะธรรมในหน้าที่ตำรวจ เรียกว่าปล่อยเสื้อ (พร้อมอาวุธ) เข้าป่า ถ้าโชดดีของประชาชนก็จะเจอตำรวจดี แต่ถ้าโชดร้ายละก็...เขาก็เรียกว่า ซวยนะสิ

แล้วพวกเราจะปล่อยวงการตำรวจไปตามยะถากรรมอย่างนี้นะเหรอ ถึงเวลาประชาชนต้องเข้าไปดูแล้วว่าปัญหาอยู่ที่ไหน ทำไมรัฐบาลไม่ยอมปฏิรูปตำรวจเสียที

ตำรวจต้องเป็นของประชาชน ไม่ใช่เครื่องมือของนักการเมือง

แล้วคุณล่ะ คิดว่ายังไง

อยากเล่า

ตำรวจของเรา...หรือเปล่า

เมื่อคืนวันก่อน เราแวะไปสถานีตำรวจเพื่อแจ้งความรถชนแล้วหนี เสร็จแล้วก็ขอถ่ายเอกสาร "ได้มั้ยคะ สารวัตร" "ได้ครับ แต่ช่วยค่าเช่าเครื่องถ่ายเอกสารซักสองบาท"

"อะไรกัน เครื่องเอกสารราขการเนี่ยะนะ ต้องคิดเงินด้วย" แล้วสารวัตรก็เริ่มสาธยายว่า ไอ้ที่เห้นๆ วางๆ อยู่ เช่นเครื่องถ่ายเอกสาร พริ้นเตอร์ โน๊ตบุ๊ก แม้แต่โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ปากกาดินสอ ล้วนแล้วแต่ตำรวจต้องหาซื้อหรือเช่ามาเองทั้งนั้นนนน

"จริงเพรอ"

"จริงครับ" หมวดเด็กๆ ยิ้มกว้างๆ บอก เป็นร้อยตรี อายุแค่ 23 แต่ต้องมาเจอความจริงที่ว่าเป็นตำรวจ ต้องหาอุปกรณ์มาทำงานเอง "ถ้าบ่นมากเขาก็จะบอกว่าทำไม่ได้ก็ออกไป" แล้วหันไปดูเก้าอี้ราชการเก่าๆ เอียงกะเท่เร่อยู่ใกล้ๆ เทียบกับเก้าอี้ทำงานสบายๆ และโต๊ะที่มีสภาพดีที่มีโน๊ตบุ๊กและพริ้นเตอร์วางอยู่ "ซื้อเองหมดครับ"

อะไรกัน แบบนี้ตำรวจจะเหลือตังค์เหรอ เราแอบคิดในใจ มิน่าต้องหาเงินพิเศษตามสี่แยก ใช่มั้ยเนี่ยะ (คิดในใจตามเคย)

 (อ่านต่อตอน 2)

ร้อน ร้อน รับร้องเรียนจ้า

 

สบท.เปิด4 ช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ สบท.เปิด 4 ช่องทางรับเรื่องรวดร้องทุกข์ ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม สุ่มเก็บข้อมูลปัญหาผู้ใช้บริการ ตั้งเวทีใหญ่ถกปัญหา

        นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ทางสบท. ได้ปรับปรุงช่องทางการร้องเรียนไว้ 4ประเภท 1.ผ่านเวบไซต์http://teleconsumer.ntc.or.th และtcpithailand@gmail.com 2.โทรศัพท์เคลื่อนที่เลขหมาย 087-333-8787 3.ตู้ปณ.272 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ10400 และ4. โทรสาร02 2710151 ต่อ 140 ทั้งนี้ สบท.จะมีการเปิดตัวสถาบันฯอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 เม.ย. 51 ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ จะมีการเวทีสัมมนาให้ความรู้กับบุคคลและเครือข่ายสภาผู้บริโภคทั่วประเทศ รับทราบสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐานจากการใช้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ,โทรศัพท์พื้นฐานและบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชน ส่วนใหญ่ อาจจะยังไม่รู้ประเด็นปัญหาเรื่องไหนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ อย่างไรก็ตาม สบท.เห็นว่าความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ดังนั้นบทบาทของ สบท. จึงไม่ใช่องค์กรภาครัฐเพียงอย่างเดียว ภารกิจหลักที่สำคัญ สบท. ต้องเร่งขับเคลื่อนในปีนี้ ด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริโภคทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีก 13 จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนแบบ One-stop service และพัฒนาฐานข้อมูลให้สำเร็จ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้ามาร้องเรียนที่ สบท. ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นๆ สำหรับแนวทางการทำงานที่ผ่านมา สบท. ได้พัฒนาคู่มือสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ สำหรับปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับกฎ ระเบียนหรือกฎหมายใดที่เป็นอุปสรรค ทาง สบท. ยินดีรับฟัง และจะนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่อไป เม.ย.มี18 เรื่องที่ร้องเข้ามา นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาจากการใช้บริการที่ผ่านมาในเดือนเม.ย.51 พบว่ามีเรื่องที่ร้องเข้ามายังสบท.ประมาณ 18 เรื่อง แบ่งออกเป็น 1.ปัญหาคุณภาพสัญญาณ 2.ค่าบริการ 3. บริการหลังการขาย 4.โปรโมชั่น 5.sms 6...7.เนื้อหา 8. PRIVATE NUM และ 9. อื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่สบท.ได้มีการแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้บริการแล้วประมาณ 16.67% ส่วนที่เหลือบางรายมีการรเอกสารเพิ่มเติม ขณะเดียวกันผู้ร้องเรียนบางคนไม่ยอมติดต่อเข้ามาอีกทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
 
 
                                            

 

สบท.เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน

13 June, 2009 - 17:09 -- onny

 สบท.เปิด 6 ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม สุ่มเก็บข้อมูลปัญหาผู้ใช้บริการ ตั้งเวทีใหญ่ถกปัญหา

 

 

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ทางสบท. ได้ปรับปรุงช่องทางการร้องเรียนไว้  6 ประเภท 1.สายด่วน กทช. 1200 2.สายตรง สบท. 02-634-6000 3.เบอร์มือถือ 087-333-8787 4.ผ่านเวบไซต์ http://tci.or.th 5.ตู้ปณ.272สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400  6.โทรสาร 02-279-0251 ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ จะมีการเวทีสัมมนาให้ความรู้กับบุคคลและเครือข่ายสภาผู้บริโภคทั่วประเทศ รับทราบสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐานจากการใช้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ,โทรศัพท์พื้นฐานและบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชน ส่วนใหญ่ อาจจะยังไม่รู้ประเด็นปัญหาเรื่องไหนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ อย่างไรก็ตาม สบท.เห็นว่าความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ดังนั้นบทบาทของ สบท. จึงไม่ใช่องค์กรภาครัฐเพียงอย่างเดียว ภารกิจหลักที่สำคัญ สบท. ต้องเร่งขับเคลื่อนในปีนี้ ด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริโภคทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีก 13 จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนแบบ One-stop service และพัฒนาฐานข้อมูลให้สำเร็จ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้ามาร้องเรียนที่ สบท. ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นๆ

ไฟไหม้ฟาง

9 June, 2009 - 01:44 -- ongart

-1-

หลังการเก็บเกี่ยวข้าว นวดข้าว ขนข้าวมาเก็บไว้ในหลอง(ยุ้งฉาง)ของชาวนา ไม่นาน ท้องทุ่งเบื้องล่างก็ดูเปิดโล่ง มองไปไกลๆ จะเห็นตอซังข้าว กับกองฟางสูงใหญ่กองอยู่ตรงนั้น ตรงโน้น กระนั้น ท้องทุ่งก็ไม่เคยหยุดนิ่ง มันมีชีวิต มีการเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

เท่าที่เขาเฝ้าดู ในหน้าแล้ง หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว คนเลี้ยงวัวประจำหมู่บ้านคงมีความสุขกันถ้วนหน้า พวกเขารู้ดีว่าจะทำอย่างไงหลังจากชาวนาขนข้าวขึ้นหลองเสร็จเรียบร้อย คนเลี้ยงวัวจะรีบปล่อยฝูงวัวสีขาวสีแดงหลายสิบตัวลงไปในทุ่งโดยไม่ต้องบอกเจ้าของนา ไม่มีใครว่า ปล่อยให้มันเล็มยอดอ่อนจากตอซังข้าว บ้างก้มเคี้ยวเศษฟางข้าว รวงข้าวที่กระจัดกระจายเต็มทุ่ง

บูลส์ เสียงสะท้อน สู่เสรีภาพ

12 May, 2009 - 23:58 -- iskra

 

บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา ด้วยการคาดหวังว่าตนจะได้เสรีภาพและหลุดจากการเป็นทาส แต่ก็ต้องสิ้นหวัง

                บทเพลงแห่งทาสหรือเพลงบูลส์สะท้อนความขมขื่นในสถานะภาพของคนผิวดำภายใต้สังคมอเมริกันผ่านเสียงร้องที่แหบกระด้างขึ้นจมูก แบบคนอมทุกข์ผสานกับท่วงทำนองที่มีลักษณะเศร้าสร้อย เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดจะสะท้อนอารมณ์หม่นหมอง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เรียกว่าบูลส์  "blue" หรือ" "The blue" ซึ่งก่อตัวขึ้นภายใต้วัฒนธรรมแอฟริกัน - อเมริกัน เกิดเป็นแอ่งอารยธรรม แอฟโฟ-อเมริกัน (Afro-American) ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของคนแอฟริกันในอเมริกาผสานกับภูมิปัญญาอเมริกันส่งผลให้วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมริกาก่อรูปขึ้น ทั้งดนตรี ชีวิต ชุมชน ครอบครัว คติชนวิทยา ภาษา กีฬา รวมถึงขบวนการสิทธิพลเมือง ซึ่งคนผิวดำใช้ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้ค้นหาความหมายของเสรีภาพ

                ในด้านของดนตรีนั้น คนผิวดำในอเมริกาในขณะนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับ ดนตรีของคนผิวดำเปรียบเสมือนการลบหลู่ทางอารยธรรม เพราะดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาถูกตีค่าว่าเต็มไปด้วยเสียงที่สกปรก ยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ ด้านเชื้อชาติชนชาติของคนผิวดำในขณะนั้นได้ถูกครอบงำด้วยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาที่แพร่สะพัดในศตวรรษที่19 ว่าวิวัฒนาการของคนนิโกรยังอยู่ในขั้นต่ำ ไม่เจริญและไม่มีวัฒนธรรม เท่ากับคนตะวันตกเป็นข้ออ้างที่คนขาวไม่ต้องการสูญเสียทาสผิวดำซึ่งมีสถานะเป็นทรัพย์สินของคนผิวขาว แม้ต่อมาชาวแอฟริกันอเมริกาจะผ่านการต่อสู้ที่ยาวนาน ตั่งแต่ปี ค.ส.1861-1865 ในสงครามกลางเมือง และได้รับการเลิกทาสตามประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ สหรัฐอเมริกาฉบับที่13 ในปี 1865 คนผิวดำยังต้องต่อสู้ให้หลุดพ้นจากลัทธิการเหยียดเชื้อชาติก่อตัวขึ้นหลังสงครามกลางเมือง

จึงเป็นเรื่องยากที่ดนตรีบูลส์จะได้รับการยอมรับในสังคมอเมริกา  แต่แล้วในปี 1920 -1950 เพลง  St.Louis blue ของ W.C Handy ได้มีผู้นำมาร้องและบรรเลงซึ่งได้รับความนิยมในวงกว้าง และในปี 1950 นี่เองที่คลื่นแห่งการต่อสู้ที่นำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ คิงได้ขยายการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพเป็นวงกว้างมากขึ้นและประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยการนำของนักศึกษาผิวดำ มีการตั้งพรรค  "เสรีภาพเดี๋ยวนี้"  (Freedom  Now)

 

W.C Handy  "บิดาห่งบูลส์" เป็นที่รู้จักในสังคมอเมริกา โดยแฮนดี้และคณะยังได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหาเหน็บแนมคนผิวขาว ชื่อเพลง "Mr. crump"

แปลคร่าวๆว่า                                       "คุณครัมพ์ม่าอณุญาติให้ใครทำเล่น

เราไม่เห็นสนว่าคุณครัมพ์จะอนุญาตอะไร

เราเล่นมันๆของเราอย่างนี้ใครจะทำไม

เชิญคุณครัมพ์ออกไปตามสบาย

                การวางขายงานเพลงของคนผิวดำนั้นมีอุปสรรคมาก เพราะ เจ้าของร้านค้าที่เป็นคนผิวขาวนั้นไม่อาจรับงานขายได้ แฮนดี้แจึงวางขายเองผลงานของเขามียอดขายที่ดีมาก ปรากฏว่า The Memphis ของเขา เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วแฮนดี้เองยังเคยถูกชาวผิวขาวโห่ไล่ลงจากเวทีเพียงเพราะเป็นคนผิวดำซึ่งไม่เกี่ยวกับรสนิยมทางดนตรีแต่อย่างใดเพราะเมื่อวงถัดไปขึ้นโชว์โดยเล่นเพลงพื้นเมืองของตนผิวดำแต่กลับได้รับเสียงปรบมือ

เพลงบูลส์ยังได้เป็นรากฐานของดนตรีแจ๊สในการสร้างท่วงทำนอนตามอารมณ์ของคนผิวดำ ส่วนในด้านของการจัดวลีท่วงทำนองของคนผิวดำให้เข้ากับระบบเสียงประสานของตะวันตกของแจ๊สอาศัยดนตรีแนว Ragtiam ซึ่งเป็นดนตรีของคนผิวดำในอเมริกาเช่นกัน โดยมีเพลง Treemonisha  ซึ่งได้รับรางวัลพูลิเซอร์ เนื้อหาของเพลงสะท้อนเรื่องราวของชาวผิวดำที่ไร้การศึกษาซึ่ง Treemonisha กลายเป็นสัญลักษณ์ ความเป็นไทของคนผิวดำอย่างแท้จริง ดั่งคำร้องท่อนหนึ่งว่า

"หุบปากเสียเจ้าพูดมากพอแล้ว

เจ้าหลอก Treemonisha ไม่ได้หรอก เธอเป็นคนหัวก้าวหน้า

เป็นคนเดียวที่ได้รับการศึกษาในหมู่พวกเรา

และในระแวกรอบๆแถวนี้พ้นจากคำสาปของความงมงาย

และพวกเจ้าจะต้องกลับเนื้อกลับตัวเสีย

เธอเป็นคนสอนให้ข้ารู้จักอ่านเขียน

เธอสอนให้ข้ารู้จักคิด

และข้าก็ขอบใจเธอยิ่งนัก

พวกเจ้าเลิกกระทำการโง่เขลาเสียเถิด

เปลี่ยนวิถีชีวิตและหาทางที่ดีกว่านี้เถิด

                เนื้อเพลงสะท้อนการต่อสู้ที่มีมายาวนานและเป็นแนวดนตรีหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อดนตรีแจ๊ส ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรป ในปัจจุบันมีนักดนตรีบูลส์ที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน เช่น Eric Clapton, B.B. KING และ Jimi Hendrix เป็นต้น

                ในเรื่องของดนตรีในปัจจุบันชาวผิวดำถือว่าได้รับการยอมรับอย่างสูง แต่ในสังคมวัฒนธรรมอเมริกาซึ่งก่อสร้างมาบนอุดมการณ์ ปฏิวัติประชาธิปไตยให้ความสำคัญแก่ปัจเจกชนโดยสมบูรณ์ เน้นการรักษาทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่าให้ทุกคนเสมอภาค และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น กลับเป็นการปฏิวัติที่อาจดูเหมือนนำมาซึ่งความเสมอภาคของคนผิวดำแต่โดยแท้จริงแล้วกลับนำมาซึ่งการขยายตัวของระบบทุนนิยมที่ต้องการแรงงานเสรีมากกว่าระบบทาสซึ่งหลังสงครามกลางเมืองคนผิวดำยังคงต้องเผชิญกับลัทธิการเหยีดสีผิวในระยะต่อมา ในทางการเมืองคนผิวดำได้รับความเป็นไทแล้วแต่ในทางเศษฐกิจตราบใดที่ยังขาดเสรีภาพ แรงงานกรรมกร ยังต้องพาผู้อื่นทางเศรษฐกิจ นั้นคงยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุดมคติแบบอเมริกันตามคำ

                "ข้าพเจ้ามีความฝันว่าวันหนึ่งประเทศนี้จะบรรลุซึ่ง เป้าหมายที่แท้จริง"  ตามคำพูดที่ว่า

"เราเชื่อว่าสัจธรรมเหล่านี้เป็นความจริงในตัวเองคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน "

นี่เป็นตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิงส์ "ในข้าพเจ้ามีความฝัน" และในสุนทรพจน์อันโด่งดังนี้ ดร. คิงส์ ได้พูดถึง ต้นกำเนิดของเพลงบูลส์ในบริเวณเนินเขามิสซิสซิปปี้ว่า

"ให้เสียงระฆังแห่งเสรีภาพจงกังวานจากทุกเนินเขาของบมิสซิสซิปปี้ และจากทุกหุบเขาให้เสรีภาพกังวาน"

ถ้าการก้าวเดินของบทเพลงบูลส์คือประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนผิวดำเพียงฉากแรก คนผิวดำยังคงต้องก้าวไปให้ถึงฉากสุดท้ายคือความเท่าเทียมที่แท้จริง

 

 

               

 

ประมวลภาพ (วันมอบตัวพี่ด้วงแกนนำชาวบ้านคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี)

 

 ประมวลภาพวันที่ 30 มีนาคม 2552 ณ สีแยกจองม่องไปจนถึงหน้าสถานีตำรวจภูธรสิชล

วันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลาประมาณ 08 : 30 น.  ณ สีแยกจองม่อง (อำเภอสิชล) ชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้จัดขบวนรถยนต์ยาวประมาณ 30-40 คัน เพื่อไปมอบตัวพี่ด้วงตามหมายเรียก ที่ถูกนายอำเภอสิชลแจ้งความว่า "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการหน้าที่"

ชาวบ้าน เพือนพ้อง และมิตรสหายต่างพร้อมใจไปให้กำลังใจพี่ด้วงที่สถานีตำรวจภูธรสิชล ตามที่หมายเรียกผู้ต้องหา และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจขั้นต่อไป และค่อยไปว่ากันบนชั้นศาลกันต่อไป

 

หมายเรียกผู้ต้องหา ของพี่ด้วง

ชาวบ้านเตรียมขบวนรถ เพื่อที่จะไปมอบตัวที่สถานีตำรวจภูธรสิชล

ไปกันเถอะเรา เศสร้าไปทำไม ? ชาวบ้านพร้อมที่ปกป้องและรักษาทรัพยากรชุมชน

กำลังใจจากเพื่อนพ้อง และญาติมิตร ส่งว่า "ไม่ยอม"

สิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 66 67  "เราไม่ยอมให้ใครมารังแก"

สู้ๆ เพื่อแผ่นดินเกิด และบรรพบุรุษ ลูกเมีย

เราไม่ยอมแพ้ "ถึงผมติดคุก ถ้าออกมาพร้อมที่จะทำอย่างนี้เพื่อชุมชนต่อไป"

เราพร้อมมอบตตัว และจะไปว่ากันต่อไปบนนชั้นศาลครับ

 

แล้วค่อยเจอกันใหม่

Pages

Subscribe to สังคม