Skip to main content
inplaengradio
สามารถรับฟังได้ที่ คลื่น 108 MHz ว.ท.ท.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์  
จีรนุช เปรมชัยพร
มีเพื่อนแนะนำให้อ่านบทความในบลอก BioLawCom.De เรื่องเกี่ยวกับสื่อและประชาชน คลิกไปอ่านแล้ว น่าสนใจดีค่ะ ขออนุญาตเก็บมาฝากทุกท่านนะคะ ยกมาเฉพาะหนังตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม อยากอ่านฉบับเต็มๆ แนะนำให้คลิกไปอ่านที่เว็บต้นทางเลยนะคะ เคยมีคนกล่าวว่า "นอกเหนือจากอำนาจสามเสาในหลักการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แล้ว สื่อ ยังเปรียบเสมือนอำนาจที่สี่ แห่งรัฐสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐในยุคข้อมูลข่าวสาร" ...และด้วยพลังอำนาจ และความทรงประสิทธิภาพเช่นนี้นี่เอง ในด้านหนึ่ง สื่อจึงไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือ หรือตกอยู่ภายใต้ "อำนาจรัฐ" ทั้งปวง รวมทั้งของ "ผู้กุมอำนาจอื่น ๆ" ในรัฐ (เช่น ทุน, ความจงรักภักดี ฯลฯ) และถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมี "กฎหมาย" คุ้มครองความเป็นอิสระ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ควรมีเครื่องมือในการ "ตรวจสอบ" บทบาท และการทำหน้าที่ของสื่อ เชกูวารา พูดถึงสื่อพลเมืองไว้น่าสนใจด้วยค่ะ แต่ว่าการพูดถึงมิติสัมพันธ์ของเสรีภาพสื่อ vs เสรีประชาชน ก็น่าสนใจจนไม่ยกมาให้อ่านเป็นน้ำจิ้มไม่ได้ แต่เรื่องที่เขียนในบล็อกตอนนี้ เป็นเหตุผลในแง่  "เสรีภาพแห่งสื่อ" (Freedom of the Press) อันเป็นเรื่องที่ "สื่อหรือคนทำงานสื่อ สู้กับอำนาจรัฐ (รวมทั้งอำนาจอื่นใด)" ไม่ให้พวกเขาต้องทำงานด้วยเจตจำนงค์อันไม่เป็น "อิสระ" ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็เช่น การต่อสู้ของไอทีวีในยุคจะถูกควบกลืนโดยรัฐ รวมทั้งการต่อสู้ของ "พนักงาน" ไอทีวีในยุคทุนทักษิณ เป็นต้น  สิ่งที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเหตุผลแรก กับเหตุผลหลัง ก็คือ เสรีภาพอย่างหลัง ซึ่งน่าจะเรียกเต็ม ๆ ได้ว่า "เสรีภาพในการ (จัดการ) สื่อสาร (สู่มวลชน)" นี้ ไม่ได้ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ จะ หรือ ควรจะได้รับ "ความคุ้มครอง" โดยตัวมันเอง เสมอ  แต่ "ความคุ้มครอง" จะมาพร้อม ๆ กับ "การทำหน้าที่" เท่านั้น กล่าวให้ง่ายก็คือ "สิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครอง" ในกรณีนี้ไม่ใช่ "ตัวสื่อ หรือตัวคนทำสื่อ" แต่คือ "บทบาท และหน้าที่ของสื่อ"  ต่างหาก โดยมีเป้าหมายซ่อนอยู่เบื้องหลังอีกที ก็คือ เพื่อให้ „การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน“ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานมี „เสรีภาพ“ อย่างแท้จริง คือ ได้รับข้อมูลทุกแง่มุม  ไม่ถูกปิดบัง หรือกระทั่งถูกบิดเบือนไป เพราะความไม่อิสระของสื่อ หรือด้วยการใช้อำนาจในทางมิชอบโดยตัวสื่อเอง ภายใต้แนวคิดเช่นนี้ จึงย่อมเป็นเรื่องเข้าใจได้นะครับ ว่าสื่อที่ไม่ทำหน้าที่แห่งสื่อที่แท้จริง หรือพูดให้ง่าย ก็คือ "สื่อที่ไม่มีจรรยาบรรณ" ย่อมมีโอกาส หรือควรต้องถูก "คนรับสื่อ" ตรวจสอบ เพื่อจำกัดความคุ้มครอง และลงโทษได้เช่นกัน โดยอาจอาศัยกฎหมาย หรือการเรียกร้องในเชิงสังคม เพราะสื่อแบบนั้นนั่นแหละ คือ ตัวการในการทำลาย "เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร“ ของประชาชนเสียเอง ดังนั้น คำว่า "เสรีภาพแห่งสื่อ" หรือ "สื่อเสรี" ในที่นี้จึงเป็น "ภาพสองมิติ"  ที่นอกจาก "คุ้มครองเสรีภาพสื่อจากอำนาจรัฐ" (สื่อ VS. รัฐ) แล้ว ยังหมายถึง "คุ้มครองเสรีภาพผู้รับจากอำนาจสื่อ" (ประชาชน VS. สื่อ) ด้วย อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าเสียดายทีเดียวที่คำนี้ ที่ผ่านมาในบ้านเราถูกจำกัดให้แคบ และแสดงให้เห็นภาพมิติแรกเพียง "มิติเดียว" อ่านเต็มๆแบบครบถ้วนกระบวนความคลิกที่นี่เลย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
 ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)
inplaengradio
วิทยุท้องถิ่นไทย วทท.กมลาไสย
cdvkkn
    วันที่ 12-15 มิถุนายน 2552 จัดมีการอบรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ " นักข่าวคุ้มครองสิทธ์ " เพื้อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม     กับสายด่วน กบท 1200  และ  ตู้ปณ.272 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ10400
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง
จีรนุช เปรมชัยพร
สวัสดีค่ะ (*_*)ถือฤกษ์รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงมาทักทายทุกท่าน พร้อมกับยกป้ายคำเตือนตัวโตๆสีดำ      "ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"  ออกไปด้วยแล้ว คงช่วยลดความรำคาญใจของผู้อ่านและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดลงไปบ้าง นับย้อนหลังไปเกือบห้าปี..หลายคนคงไม่รู้ว่ากว่าจะมาเป็น 'ประชาไท' ในโลกของสื่อใหม่ (์New Media) กรรมการและทีมงานถกเถียงกันอยู่นานว่าจะตั้งชื่อ 'สื่อใหม่' ที่หวังให้เป็นสื่อทางเลือกว่าอะไรดีจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้งคนสำคัญนำเสนอชื่อ 'ประชาไท' ขึ้นมา ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของทีมงานส่วนใหญ่ เหตุผลที่ขัดแย้งก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความรู้สึกว่า "มันเชย" แต่ในที่สุดเมื่อไม่มีใครเสนอตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่า และเชยน้อยกว่านี้ได้ ประกอบกับเวลาที่สื่อใหม่จะต้องปรากฎโฉมในไซเบอร์เวิรล์ด ก็ไล่หลังมาชนิดหายใจรดต้นคอแล้วความ 'เชย' ก็ชนะ และระบาดเรื่อยเปื่อยมาจนถึงหน้าตาของเว็บ (อาจรวมไปถึงหน้าตาทีมงานด้วยก็เป็นได้ :P) "ประชาไท ไม่มี ย.ยักษ์" เป็นถ้อยคำติดปากทีมงานที่ต้องคอยพร่ำและย้ำกับคนที่ไปพบปะติดต่อ  จนถึงบัดนี้ก็ยังมี 'ประชาไทย' ให้เห็นอยู่เนืองๆสำคัญอย่างไรที่ประชาไทต้องไม่มี ย.ยักษ์ต้องยืนยันว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความตั้งใจในการสื่อความหมายระหว่าง 'ไท' และ 'ไทย' นั้่นเป็นคนละเรื่องเดียวกันโดยสิ้นเชิง ขณะที่คำว่า 'ไท' ให้นัยยะแห่งการสื่อความถึง 'อิสระ, ความเป็นอิสระ' คำว่า 'ไทย' ก็เป็นคำเรียกขาน 'คน และ ประเทศ แห่งหนึ่งในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้' อันมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างส่วนต่อขยายความที่คุ้นหูกันในนามของ 'ความเป็นไทย'บ่อยครั้งที่ได้พบว่า 'ความเป็นไทย' ที่ี่ยังอยู่ในระหว่างการถกเถียงหาความหมายอันแท้จริงชัดเจนนั้น กลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก กีดกัน ผลักไสหยิบยื่นความเป็นอื่น หรือความด้อยกว่าไปให้กับคนบางกลุ่มที่วันดีคืนดีอาจไ้ด้พบกับประสบการณ์ ถูกไม้บรรทัด(อันไม่เที่ยง) ไล่ล่าวัดเพื่อบอกว่า "เรามีความเป็นไทยมากน้อยเพียงใด หรือซ้ำร้ายไปกว่านั้นอาจได้โบนัสด้วยข้อหา ทำลายความเป็นไทย"การใช้ 'ความเป็นไทย' ในลักษณะนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายและสร้างข้อจำกัดต่อความเป็น'ไท' หรือนัยหนึ่งก็คือทำลายความอิสระให้กร่อนลงไปโดยส่วนตัวไม่ได้ตั้งแง่กับ 'ความเป็นไทย' นัก หากเจ้าความเป็นไทยที่ว่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแอบอ้างเพื่อทำลายล้างความเป็นอิสระที่มนุษย์ทุกคนควรมีเป็นต้นทุนในชีวิตเมื่อความเป็นอิสระคือหัวใจสำคัญที่จะสูบฉีดให้เป็นดุจอณูหนึ่งในมนุษย์ทุกผู้นาม โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ หรือเพศใด ๆ ยังเป็นองค์ประกอบอันขาดไม่ได้ของสื่อสารมวลชนที่จะนำเสนอสาระ ข่าวสาร และทัศนะต่าง ๆ ได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งความกลัว ความรัก หรือ ความชังสำหรับประชาไทเกือบห้าปีที่ผ่านมา เราอาจทำหน้าที่บกพร่องไปในหลายสิ่ง ทั้งด้วยข้อจำกัดทางประสบการณ์ สติปัญญา ความสามารถ, ทุนและบุคคลากรที่มีอยู่จำกัดแต่สิ่งหนึ่งที่มั่นใจได้ว่าเราไม่เคยมีน้อยไป และไม่เคยถูกทำให้มีน้อยลง คือความเป็นอิสระสื่ออิสระอย่างประชาไท มีฝันเล็ก ๆ ที่เรากำลังเรียนรู้ในระหว่างทาง ในการเป็นส่วนหนึ่งของหน่ออ่อนแห่งต้นอิสรภาพที่จะได้งอกงาม แม้เพียงแปลงเล็ก ๆ ในสังคมไทยก็ยังดีจึงสำคัญเช่นนี้เองที่..ประชาไท ต้อง ไม่มี ย.ยักษ์  :-)   
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย ผู้บริโภคจึงจำกัดการรับรู้อยู่ที่หนังสือพิมพ์กระแสหลักไม่กี่ฉบับ
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
  เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น แต่โชคดีที่เธอปักหลักอยู่ที่ทำเนียบในวันนั้น แม้เราสองคนจะคิดต่างขั้วกันอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เคยเห็นด้วยกับการกระทำความรุนแรงของผู้มีอำนาจต่อกลุ่มประชาชนรากหญ้าที่ปราศจากอาวุธทุกกลุ่ม ทุกกรณี
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....ซึ่งอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ไม่ต่างจากประเทศมาเลเซีย แต่สิ่งที่สังคมพยายามตอบรับ (ทั้งที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน) สร้างความประหลาดใจไม่น้อย