Skip to main content
โชเนน
ท่านปัญญานันทภิกขุ.....เป็นเช่นนั้นเอง                                 ชาวพุทธเราควรจะอยู่ด้วยความไม่เป็นทุกข์ในอะไรๆที่เกิดขึ้น ให้ทำใจให้เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง หรือว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเราเราก็จะไม่เป็นทุกข์ในเรื่องนั้น เราจะใช่สติปัญญา เป็นเครื่องพิจารณาแล้วรู้จะปลง รู้จักวางในสิ่งนั้นๆ ไม่เข้าไปยึดถือ ด้วยความโง่ ความเขลา เพราะถ้าเราเข้าไปยึดไปถือด้วยความโง่ความเขลา เราก็เป็นทุกข์ มันไม่ได้ประโยชน์อะไรแม้แต่น้อยที่นั่งเป็นทุกข์แต่เป็นการลงโทษตัวเอง ลงโทษสุขภาพจิต สุขภาพกาย ทำให้จิตเสื่อม ทำให้ร่างกายทรุดโทรม แก่เร็ว แล้วก็ตายเร็วด้วย เพราะว่ามีความทุกข์มาก มีความกลุ้มใจมาก ตัดทอนสุขภาพทั้งกายทั้งใจ ไม่เป็นเรื่องดีแม้แต่น้อย ความทุกข์เป็นเหมือนนำร้อน เราคิดให้มันเป็นทุกข์ก็เหมือนเอานำร้อนมารดตัว ตั้งแต่หัวถึงตีน ถลอกปอกเปิกเป็นคนดำๆด่างๆไป มันจะได้เรื่องอะไร เราไม่ควรจะคิดเช่นนั้น เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้าให้พยายามคิดว่า "ดีแล้ว" "พอแล้ว" หรือ "เท่านี้ก็ถนไปแล้ว" อย่างนี้ใจก็สบายเช่น คนทำมาค้าขาย เป็นนักธุรกิจต่างๆ อยู่ตลอดเวลา บางคราวมันก็ได้กำไร บางคราวมันก็ขาดทุน บางคราวก็พอเสมอตัว ถ้าหากว่าจิตใจของเราตื่นเต้นกับสิ่งเท่านั้น พอได้ก็ดีใจ เกิดใจฟูขึ้น พอไม่ได้ก็แฟบลงไป ขึ้นแล้วก็ลง ขึ้นแล้วก็ลงอยู่อย่างนี้ เหมือนกับวานรมันเต้นอยู่ในกรงของมัน ดิ้นรนอยู่ แต่ออกไม่ได้ มันเป็นสุขที่ตรงไหนในการที่จิตของเราเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นความสุขอะไรเลย เราจึงควรทำความพอใจในสิ่งทีมันเกิดขึ้น นึกว่า " ธรรมดา...มันเป็นเช่นนั้นเอง " คำนี้สำคัญมาก เรียกว่าเป็นคาถาวิเศษสำหรับเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือคำว่า "ตถาตา" แปลว่า " มันเป็นเช่นนั้นเอง " อะไรๆมันก็เป็นอย่างนี้แหละ เราจะไปบังคับมันก็ไม่ได้ จะไปฝืนมันก็ไม่ได้ มันไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา เราจึงควรจะคิดว่า "เออ! ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น" เรานึกอย่างนี้ก็พอปลง พอวาง สภาพจิตก็พอจะรู้เท่ารู้ทันในสิ่งนั้นๆ ความทุกข์ก็จะเบาไป คือไม่หนักอึ้ง เพราะรู้จักวาง รู้จักพักผ่อน ทางใจ ใจก็สบาย........