Skip to main content
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ หากว่าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนดีพอ
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ
นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ ของผู้ใหญ่ที่ดูจะซับซ้อน เด็ก ๆ ยากจะเข้าใจในขณะที่ “ผีเสื้อและดอกไม้” แค่ชื่อก็ฟังดูชวนฝันทั้งยังกล่าวถึงเรื่องราวของเด็ก ๆ ซึ่งใกล้ตัวกว่า
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
Hit & Run
มุทิตา เชื้อชั่ง วันเด็กปีนี้ แม้ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี แต่ก็อยากจะให้คำขวัญ คำอวยพรกับเด็กๆ บ้าง... มีฟามสุขมั่กๆ อย่าแสบให้มากนักนะตัวเอง...   ปีนี้มหกรรมวันเด็กค่อนข้างคึกคัก ข่าวคราวต่างๆ ถูกรายงานเยอะแยะมากมายตามประสาบ้านเมืองที่สงบสุขแล้ว...ชิลๆ สังเกตได้ง่ายๆ เพราะเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ (ยิ่งดราม่าๆ หน่อยยิ่งเจ๋ง) มักจะมีสีสันอยู่ในกระแสมากเป็นพิเศษเสมอ   คำขวัญวันเด็กที่ทั่นนายกฯ "อภิสิทธิ์" ให้ในปีนี้ เด็กจริง เด็กโข่ง ต่างก็รู้กันทั่วหน้าแล้ว นั่นคือ "ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี"   ไม่รู้ว่าเด็กยุคดิจิตอลรุ่นนี้คิดยังไง...
กิตติพันธ์ กันจินะ
อุ่นใจ บัว เขาเสยผมที่ยาวประ่บ่าแล้วรวบไว้ด้านหลังเบาๆ พลางเอื้อมมือดันเพื่อปิดประตูห้องหมายเลข 415 วันนี้เป็นวันที่เขาต้องขนย้ายข้าวของและสัมภาระต่างๆ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด หลังจากเมื่อสี่ปีที่แล้ว เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อย่างเต็มตัว สี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เขากำลังนึกถึงภาพของความหลังครั้งอดีต โดยเฉพาะความหลังที่เกิดขึ้นภายในห้องพักที่อยู่เบื้องหน้า หนึ่งในเรื่องราวที่ผุดขึ้นมาในม่านความคิดของเขาก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหญิงสาวห้าคน
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก และทุกข์ทรมานอยู่ในค่ายนรกนั้นหลายปีกระทั่งสงครามสงบ เขาเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตไม่กี่คนที่กลับมาบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้ยินและ ได้อ่านกัน
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า สำหรับภาคประชาชนซึ่งต้องการสร้างเงื่อนการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นแก่คนทั่วไป....ท่ามกลางความขัดแย้งที่ทางออกดูจะไม่ชัดเจน...คงถึงเวลาที่เราต้องกลับไปอ่านมาร์กซ์...ว่าอะไรคือสาระของการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคม 1. ชีวิตของกรรมาชีพการพัฒนาของระบบทุนนิยม ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรมากมาย เครื่องจักรถูกพัฒนากว้างขวางออกไป แต่ทำไมกลับไม่ช่วยชีวิตคนงาน หรือการทำงานให้ดีขึ้นเลย แทนที่กรรมกรสมัยใหม่จะเพื่องฟูตามความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม กรรมกรกลับมีชีวิตที่แย่ลง เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร  ดูแลเครื่องจักรเหมอนเป็นทาสเครื่องจักร ถึงแม้เครื่องจักร จะทำให้ผลิตสินค้าออกมาได้มากขึ้น แต่น่าแปลกที่รายได้ที่แท้จริงของกรรมกรกลับเท่าเดิมหรือต่ำลง (เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ) เช่นเดียวกับปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการสามารถผลิตของได้มากมายมหาศาล แต่รายได้ของผู้ใช้แรงงานยังคงถูกตั้งเพื่อ การมีชีสวิตรอดวันต่อวันเท่านั้น  การเรียกร้องเพื่อสวัสดิการ ซึ่งสะท้อนชีวิตที่ควรจะเป็นยังคงมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเรื่อยมา ความเป็นอยู่ของแรงงานก็ยังคงต่ำอยู่ดี2. การต่อสู้ทางชนชั้นการต่อสู้ ขัดแย้งในสังคมมีได้หลากหลายแต่ที่ปรากฎเด่นชัด และทรงพลังคือความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพ กับชนชั้นนายทุน ในสังคมเราดูเหมือนว่า การจะเป็นนายทุนสามารถทำได้ง่ายดาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การที่จะดำรงฐานะการเป็นนายทุนอยู่ได้ นับว่าน้อยมาก  และนายทุนก็มีแต่จะขยายฐานะตัวเอง คนรวยก็มีแนวดน้มที่จะรวยขึ้นเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ชนชั้นอื่นๆที่เคยอมีอยู่ในสังคม เหล่าชนชั้นกลาง เจ้ากิจการรายย่อยต่างๆ ก็มีแนวดน้มจะล้มละลายและกลายเป็นผู้ใช้แรงงาน ในระบบนี้หาได้มีความมั่นคงถาวร ผู้ที่เคยมั่งคั่ง อาจกลับมายากจน ดังนั้นนายทุนจึงต้องแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีสิ้นสุด เพื่อรับรองความมั่งคั่งของตน  ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีแต่จะขยายตัวมาขึ้น ชนชั้นนี้จึงน่าสนใจ มีบทบาทและพลังอย่างมาก ความขัดแย้งก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ 3. ใครหาเลี้ยงใคร?แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง นายทุนเมื่อประสบปัญหาเศรษฐกิจ  สิ่งที่ทำให้นายทุนอยู่รอดได้มิใช่ใครอื่นนั่นคือผู้ใช้แรงงาน หากขาดแรงงานนาทุนก็อยู่ไม่ได้ เพราะเงื่อนไขการดำรงอยู่ของและควบคุมอำนาจของชนชั้นนายทุน  คือการสร้างมูลค่าส่วนเกินและการสะสมทุน ซึ่งเกิดจากแรงงานรับจ้าง มูลค่าที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นเพราะอย่างอื่นนอกจาก การใช้แรงงาน ของผู้ใช้แรงงานเท่านั้น 4. ต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลแท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล  ไม่ใช่ความจริงสูงส่งแต่อย่างใดหากแต่เป็นข้ออ้างของ กลุ่มคนที่คิดจะกินแรง คนอื่น เพื่อเข้าไปแบ่งและยึดผลงานของผู้อื่นเท่านั้น นายทุนมักจะอ้างว่า หากยกเลิกระบบกรรมสิทธืส่วนบุคคล แรงจูงใจในการผลิตจะน้อยลง คนทั้งหลายจะเกียจคร้าน  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สังคมทุนนิยมคงล่มสลายไปนานแล้ว เพราะคนที่ทำงานจริงๆใช่ชนชั้นนายทุน คนที่ทำงานหนักที่สุดคือผู้ใช้แรงงาน แต่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในสังคม คนที่เกียจคร้านจริงๆ คงเป็นพวกนายทุนมากกว่า   คนที่ทำให้ระบบล่มและมีปัญหา  คือชนชั้นนายทุนเอง ไม่ใช่เพราะกรรมกรขี้เกียจ การแก้ไขคือการยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ และถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ได้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้หาใช่เรื่องเฉพาะ....ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป การแย่งชิงอำนาจ วิกฤติเศรษฐกิจ การว่างงาน การปลดลูกจ้าง การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆล้วนอยู่ในโครงสร้างของระบบที่เรียกว่าทุนนิยม  หมายเหตุ: บทวามชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในบทความ "แถลงการณ์ พรรคคอมมิวนิสต์ กับสังคมปัจจุบัน" ของนักเรียน ชั้น11โรงเรียนเพลินพัฒนา ตรวจทาน แก้ไขโดย ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี สมาชิกกลุ่มประกายไฟ 
กิตติพันธ์ กันจินะ
  กิตติพันธ์ กันจินะ -1-วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้ บางคนก็จำไม่ค่อยได้ มีความทรงจำดีๆ มากมายที่ได้เกิดขึ้นเมื่อได้รู้จักและสัมผัสกับพี่ๆ ชาวมะขามป้อมแต่ละคน เมื่อก่อน ผมเป็นเด็กขี้อายมากๆ ตอนทำกิจกรรมในระยะแรกๆ ก็ไม่กล้าแสดงออกเอาเลย พอทำไปทำมา แล้วบวกกับที่พี่ๆ มาอบรมเพิ่มเติมวิทยายุทธ์ให้อีก ก็พอเอาตัวรอดมาได้อย่างหนักเอาการทีเดียว เพราะต้องเรียนรู้เรื่องการทำละคร ทักษะใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ วิธีคิดใหม่ๆ ต่างๆ มากมาย
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน” สิ่งเหล่านี้จะทำลายวันดี ๆ ไปจนหมดสิ้น (หน้า 9)