ไอซีที

www ปิด- บล็อค- หาย (ไปไหน)

ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น

การใช้ชีวิตผ่านเทคโนโลยี และ ชีวิตที่สูญเสียการควบคุม

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต

ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่

จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์

กลอนม้าแก่

13 June, 2009 - 17:19 -- vhappy

วันหนึ่งม้าแก่นอนแผ่ชูคอ เด็กสิบรอขอขี่ทุกวัน บ้างว่าแก่ไปจะไม่ขี่มัน เก้าคนพากันอยู่บ้านพอใจ มีเด็กหนึ่งคนซนจะขี่ม้า เอาไม้ตีขาให้พาวิ่งไป ม้าล้มเด็กแย่ล้มแผ่ลงไป ม้าวิ่งไม่ได้ล้มทับเด็กซน

ทุกปัญหาโทรคมนาคม แก้ได้ ที่ สบท. 02 634 6000

13 June, 2009 - 17:09 -- kung

สบท.เปิด4 ช่องทางรับเรื่องราวร้องทุกข์ สบท.เปิด 6 ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม สุ่มเก็บข้อมูลปัญหาผู้ใช้บริการ ตั้งเวทีใหญ่ถกปัญหา

 

  

 

 

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ทางสบท. ได้ปรับปรุงช่องทางการร้องเรียนไว้ 4ประเภท 1.ผ่านเวบไซต์ www. 2.tci.or.thโทรศัพท์เคลื่อนที่เลขหมาย 087-333-8787 3.ตู้ปณ.272 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ10400 และ4. โทรสาร 02 2790151 สายด่วน กทช. 1200 (ฟรี) และ6. สายตรงรับเรื่องร้องเรียน สบท. (one stop service) ทั้งนี้ สบท.จะมีการเปิดตัวสถาบันฯอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 เม.ย. 51 ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ จะมีการเวทีสัมมนาให้ความรู้กับบุคคลและเครือข่ายสภาผู้บริโภคทั่วประเทศ รับทราบสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐานจากการใช้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ,โทรศัพท์พื้นฐานและบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งประชาชน ส่วนใหญ่ อาจจะยังไม่รู้ประเด็นปัญหาเรื่องไหนจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ อย่างไรก็ตาม สบท.เห็นว่าความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ดังนั้นบทบาทของ สบท. จึงไม่ใช่องค์กรภาครัฐเพียงอย่างเดียว ภารกิจหลักที่สำคัญ สบท. ต้องเร่งขับเคลื่อนในปีนี้ ด้วยการสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริโภคทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีก 13 จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียนแบบ One-stop service และพัฒนาฐานข้อมูลให้สำเร็จ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้ามาร้องเรียนที่ สบท. ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นๆ สำหรับแนวทางการทำงานที่ผ่านมา สบท. ได้พัฒนาคู่มือสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ สำหรับปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับกฎ ระเบียนหรือกฎหมายใดที่เป็นอุปสรรค ทาง สบท. ยินดีรับฟัง และจะนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่อไป เม.ย.มี18 เรื่องที่ร้องเข้ามา นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ปัญหาจากการใช้บริการที่ผ่านมาในเดือนเม.ย.51 พบว่ามีเรื่องที่ร้องเข้ามายังสบท.ประมาณ 18 เรื่อง แบ่งออกเป็น 1.ปัญหาคุณภาพสัญญาณ 2.ค่าบริการ 3. บริการหลังการขาย 4.โปรโมชั่น 5.sms 6...7.เนื้อหา 8. PRIVATE NUMBER และ9. อื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่สบท.ได้มีการแก้ไขปัญหาให้ผู้ใช้บริการแล้วประมาณ 16.67% ส่วนที่เหลือบางรายมีการรเอกสารเพิ่มเติม ขณะเดียวกันผู้ร้องเรียนบางคนไม่ยอมติดต่อเข้ามาอีกทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

 

การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และ ICT

ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศ
หนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น

อยากรู้

หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึง

ทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริง

ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ

Peer Review กลไกสร้างสังคม

Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย


เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก

สังคมสองโลก โลกสองสังคม

ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้น

แต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที

กลไกสังคมเพื่อประชาชน

 

หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน"

บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้

เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในหลายเรื่อง มีอะไรบ้าง

Pages

Subscribe to ไอซีที