Skip to main content

ปกติเมื่อฉันมาถึงฮานอย ฉันก็ใช้บริการแท๊กซี่สนามบินนอยไบ เท่าที่ฉันสังเกต แท๊กซี่ส่วนใหญ่ เมื่อรู้ว่าฉันพูดภาษาเวียดนามได้ ก็ชอบคุยโน่นนี่นั่นกับฉัน พี่แท๊กซี่คนนี้ก็เหมือนกัน พี่แกเป็นผู้ชาย อายุน่าจะประมาณ 40 กว่าๆ เมื่อพี่แกเห็นฉันพูดภาษาเวียดกะแก แกถามว่าฉันเป็นคนช่าติอะไร พอบอกว่าไทย แกหันมามองหน้าแล้วถามว่า “เป็นลูกจีนในเมืองไทยหรือจึงได้พูดภาษาเวียดได้” ฉันบอกว่า “ไม่ใช่” (ทั้งๆ ที่ใช่ เพราะพ่อเป็นคนเชื้อสายจีน เพราะที่นี่ การแสดงตัวตนว่าเป็นคนจีน จะทำให้เกิดอคติด้านความสัมพันธ์) แกงง...แล้วพูดแกมบ่นผสมสงสัยว่า “ทำไมพูดเวียดชัด (วะ)”

ว่าแล้ว แกก็หันมายิ้ม และเอื้อมมือมาข้างหลังจะจับมือฉัน ทั้งๆ ที่แกเพิ่งออกรถ ฉันชะงัก 1 วินาที แล้วคิดได้ว่า “อ๋อ...นี่มันเวียดนาม แกจะเชคแฮน” ฉันเลยยิ้มให้และเชคแฮนแก

จากนั้น..ตามระบียบการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมของเวียดนาม แกถามว่าฉัน “มีผัวรึยัง” แน่นอน จะมีหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในอารมณ์ที่จะหงุดหงิดกับบทสนทนาถัดไป ฉันต้องตอบว่า “มีแล้ว” หากใครตอบว่า “ยัง” จะต้องถูกถามเยอะว่า “ทำไมไม่มี” ถามโน่นนี่นั่น จากนั้นก็จะถูกมองว่าเป็นคนมีปัญหาทางจิต

ขอนอกเรื่องแท๊กซี่ แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการสนทนากับแท๊กซี่หน่อยนะ เมื่อวานซืน (16 เม.ย. 58) ฉันอยู่ที่จังหวัดแทงฮว๋า ทางภาคกลางตอนเหนือ ห่างจากฮานอยประมาณ 160 กิโลเมตร นั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ ระหว่างนั้นมีรถรับเจ้าสาววิ่งผ่าน ทางเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวนินทาให้ฉันและเพื่อนๆ ของเขาฟังว่า เจ้าสาวนั้นอายุ 31 ปี ถึงเพิ่งได้แต่งงาน อารมณ์ของการใช้ภาษาคือเป็นเรื่องผิดปกติ

และเมื่อปี 2008 ครูสอนภาษาเวียดนามของฉันเพิ่งได้แต่งงานเมื่อเธออายุ 29 ปี ชาวบ้านนินทากันมากมายว่า เพราะเธอจบปริญญาเอก เรียนมากไป เธอจึงมึอะไรเพี้ยนๆ เธอเลยแต่งงานตอนอายุมากแล้ว (ภาษาเวียดนามเรียกว่า “เอ๋ (ซ)หร่อย” (ế rồi) คือ “เอ๋แล้ว” ความหมายคล้ายๆ ของหมดอายุแล้ว (อิอิ))  

ในปี 2008 ครูสอนภาษาเวียดนามของฉันอายุ 26 ปี จบปริญญาโทจากประเทศจีน นางผ่านอายุที่ดีที่สุดในการแต่งงานคือ 25 ปีแล้ว หากพลาดช่วงนี้ต้องแต่งงานอีกทีตอนอายุ 27 ปี (สาวๆ เวียดนามต้องแต่งงานเมื่ออายุเป็นเลขคี่เท่านั้น) หากอายุ 27 ปี ไม่ได้แต่งงานจะถือว่า “เอ๋ (ซ)หร่อย” เข้าสู่โหมดของการมีปัญหาทางจิตและทางสังคม ครูคนนี้บอกว่าไม่อยากแต่งงาน หญิงจีนไม่เห็นต้องถูกบังคับเหมือนที่เวียดนามเลย แกอยากไปอยู่เมืองไทย จะได้หนีจากครอบครัวที่กดดันแกให้ต้องแต่งงานในปีหน้า

เพื่อนผู้หญิงของฉันอายุ 31 ปี เรียนจบปริญญาโทกลับมาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานอยู่ที่ฮานอย ไม่อยากกลับบ้านที่ฮ่ายฟ่อง เพราะถูกพ่อแม่และเพื่อนบ้านถามว่าทำไมไม่เอาผัวซักที แกบอกว่ากลุ้มใจมาก กลับบ้านทีไรเป็นแบบนี้ทุกที และเขาก็รู้ตัวว่าจะโดนจับให้แต่งงานเร็วๆ นี้

นอกเรื่องเสียนาน กลับมาคำถามที่ 2

คำถามที่ 2 ตามระเบียบปกติของเวียดนามเช่นกัน คือ “มีลูกรึยัง” คำถามนี้หากตอบว่า “ยัง” ก็จะถูกถามต่อว่า “ทำไม” อันนี้ควรตอบไปว่า “ไม่รู้ว่าทำไม มันไม่มีเอง” จากนั้นก็จะได้รับคำแนะนำว่า “ยังไงก็ต้องมี ถ้าแก่แล้วไม่แข็งแรง มีลูกจะลำบาก” อะไรประมาณนี้ ถ้าตอบไปว่า “ไม่อยากมี” เขาจะมองว่าเรามีปัญหาทางจิต เป็นคนแปลก ขวางโลก อะไรประมาณนี้ จากนั้นคำถามต่างๆ ก็จะโถมเข้ามาปานสายน้ำหลาก พร้อมสายตาที่จิกใส่ ดูแคลน และคำนินทาตามหลัง อีกยาวนาน โผล่หน้าให้เห็นไกลๆ เมื่อไร เป็นโดนซุบซิบนินทาเมื่อนั้น

คำถามที่ 3 อายุเท่าไร บอกไปว่าอายุ....(ตึ๊ด ตึ๊ด ตื๊ด – เสียงเซนเซอร์ 55555) พี่แกบอกว่าแก 46 งั้นแกก็เป็น “แอง” (พี่) ส่วนฉันเป็น “แอม” (น้อง)

และนี่คือ 3 คำถามที่ "เบสิค" ที่สุดในการจัดวางความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนที่ไม่รู้จัก ที่เหลือ...อาจจะโดนถามต่อว่า "ทำงานอะไร เงินเดือนเท่าไร ผัวทำงานอะไร มีลูกกี่คน ลูกคนโตอายุเท่าไร" มันคืออะไรที่ "ธรรมดา" มากสำหรับสังคมนี้ แต่สำหรับสังคมไทยแค่ถามว่า "เอาผัวรึยัง" คำถามแรก มีลูกกี่คน คำถามถัดมา และอายุเท่าไร คำถามสุดท้าย นี่...สะอึก! "เพ่ เพ่ มรึงก็ขับแท๊กซี่ไปสิ มา "เผือก" อะไรกับชีวิตกรุ...แล้วจะรู้ทำไมว่ากรุอายุเท่าไร...ห๋า! "

จากนั้น พี่แกถามว่า ชอบฟังเพลงเวียดมั้ย "ชอบสิ ฟังแทบทุกวัน" ฉันตอบ ฉันชอบ (นักร้องชื่อ) “ซองลวน” “แหม่กกวิ่ง และฟียุง” แกบอกว่าเหมือนกันเลย แกบอกว่านี่ไง กำลังจะเปิดเพลงแหม่กกวิ่ง-ฟียุง พอดีเลย ว่าแล้วแกก็เปิด แล้วฮำเพลง (แต่ฉันว่าไม่ใช่เสียงชอง “ฟียุง” ว่ะ แต่ขี้เกียจขัดคอแก)

สนทนาในรถไปเรื่อยๆ แบบขี้เกียจจำ บางทีถามอะไรแก แกก็ตอบเป็นภาษาอังกฤษ (คง “โชว์พาว”) แกบอกว่าแกขับแท๊กซี่ มา 27 ปีแล้ว แกฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง แกพูดเป็นประโยคยาวๆ ติดกันหลายประโยคได้ดีพอใช้

จนถึงหน้าโรงแรม พี่แกช่วยฉันยกกระเป๋าลง ค่ารถ 450,000 ด่อง (800 กว่าบาท) ฉันให้แบงค์ 500,000 ด่อง แกล้วงเงิน แล้วบอกว่าเงินไม่พอทอน แกทอนให้มา 25,000 ด่อง แต่ฉันเหลือบไปเห็นเงินแกมีในมืออีก 15,000 ด่อง
ตามระเบียบที่เคยเห็นคนเวียดนามบางคนเคยทำ ฉันจึงดึงเงินแบบเบราๆ จากมือแกมาอีก 10,000 ด่อง เพราะถ้าไม่ดึง อดแน่! แหม....ว่าจะดึงมาอีก 5,000 ด่อง แล้วเชีย! แต่คิดได้ว่าเป็นค่าฟังเพลง แหม่กกวิ่ง-ฟียุง ก็แล้วกัน (55555)

แกหันมายิ้มให้ก่อนไป บอกว่าขอให้ฉันโชคดี แล้วก็เชคแฮนฉันอีกครั้ง ฉันก็เช่นกัน...บอกแกไปว่า "จุ๊กแองมายหมันแหย๋" (ขอให้พี่โชคดีน้าาาาจร้า)

ฉากสุดท้าย คือการดึงเงินทอนออกจากมือแท๊กซี่นี้ ถ้าเป็นแท๊กซี่ไทย-ผู้โดยสารไทย ในประเทศไทย คงโดนแท๊กซี่ด่า หรือไม่ก็จัดแบบเบราๆ คือ จิกตาใส่  ไม่มาแชคแฮน อวยพรให้กันและกันโชคดี แล้วยิ้มปริ่มๆ แบบนี้หรอก...

แต่เพราะที่นี่คือ ฮานอย...หุหุ

 

บันทึกการเดินทางเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 ณ กรุงฮานอย

อัพโหลดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ณ กรุงฮานอย

อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
ครบปีแล้วสินะที่เราเดินตามก้นอาจารย์อานันท์ไปสำรวจซิดนี่ย์... เมื่อเอารูปเก่าๆ มาดู...ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า วันนั้น อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ ในวัย ๖๘ ปี นอกจากจะสอนหนังสือมาราธอน สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๙ ชม.
เก๋ อัจฉริยา
มอญในเมียนมาร์ ไม่ว่าจะอยู่ที่เมียนมาร์แลนด์หรือไทยแลนด์ ต่างก็ได้ชื่อว่า เป็น “คนอื่น” ในแผ่นดินที่ (เคย) เป็นของตัวเอง ถ้าเรามองภายใต้กระบวนทัศน์ที่แบบมองอะไรแบบ “เชิงเดี่ยว”  
เก๋ อัจฉริยา
แรงงานชาวเมียนม่าร์ (พม่า มอญ ทวาย อารกัน ฉาน กระเหรี่ยง ฯลฯ) ที่สมุทรสาคร แม้มียอดลงทะเบียนทั้งเก่าและใหม่ถึง 387,510 คน แต่จากการประมาณการของ NGOs ทั้งไทยและเมียนม่าร์ น่าจะมีประมาณ 600,000 – 700,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้ติดตามไม่น้อยกว่า 15,000 คน แต่เชื่อหรือไม่ว่า เด็กเหล่านี้เพียงร้อยละ 7.6 ที
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ไปนิเทศน์นิสิตที่ฝึกงานที่บ้านพักเด็กและครอบครัว แห่งหนึ่งของทางราชการ และได้พบกับเด็กชายชาวพม่า ๒ คนที่ถูกตำรวจจับและส่งให้บ้านพักเด็กแห่งนี้ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก เด็กคนแรกอายุประมาณ ๑๑-๑๒ ขวบ คนที่สองเป็นน้องอายุประมาณ ๗-๘ ขวบ
เก๋ อัจฉริยา
ในฐานะนักมานุษยวิทยาการท่องเที่ยว ผู้เขียนจะรู้สึกฟินฝุดๆ เมื่อพบว่าพื้นที่ท่องเที่ยวใดเปิดโอกาส เปิดที่ เปิดทางให้คนเล็กคนน้อยได้ทำมาหากิน และเปิดที่ เปิดทาง เปิดโอกาส ให้คนเล็กคนน้อยได้เที่ยวในราคาถูกแบบบ้านๆ เช่นกัน
เก๋ อัจฉริยา
บั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลายชั่วอายุคนแล้ว ไม่ใช่ของใหม่ แต่ที่น่าสนใจเพราะมันเพิ่งได้รับความสนใจเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง จำได้ว่าเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น ผู้เขียนใช้ชีวิตไปๆ มาๆ ระหว่างกรุงเทพฯ – หนองคาย 3 ปี พ่อเล่าให้ฟังว่ามีบั้งไฟขึ้นกลางลำน้ำโขงตอนออกพรรษา แต่ไม่มีใครในบ้านสนใจไปดูแ
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อมีคนรู้ว่าผู้เขียนพานิสิตจำนวน 16 คนไปถ่ายทำสารคดีบั้งไฟพญานาค ส่วนใหญ่ต่างก็ถามว่า มา “พิสูจน์” บั้งไฟพญานาคหรือ?
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อพูดถึงเจดีย์ไชทียู หรือที่คนไทยรู้จักในนามพระธาตุอินทร์แขวน ก็ขอให้ลืมเป็นการชั่วคราวเรื่องตำนานพระฤาษี และความศักดิ์สิทธิ์ แต่สิ่งที่อยากจะเล่าสู่กันฟังในวันนี้คือชีวิตของคนเล็กคนน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาสร้างการดำรงชีพในพื้นที่ท่องเที่ยว ณ ที่แห่งนี้
เก๋ อัจฉริยา
            เหตุเกิดเมื่อกลางปี 2008 นักมานุษยวิทยาสมัครเล่นนางหนึ่งได้ใช้เวลา 3 วันโดดเรียนไปเที่ยวที่ Sa Pa (ซาปา) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “hill” มากกว
เก๋ อัจฉริยา
ณ วัดเทพฯ มหาชัย สมุทรสาคร ในวันสงกรานต์ มีแรงงานพม่ามาทำกิจกรรมทางศาสนาไม่ต่ำกว่าหมื่นคน เมื่อดูจากผู้คนที่มาทำกิจกรรมฯ ที่วัดในวันนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า แรงงานพม่าที่มหาชัย มีเชื้อชาติพม่า-พม่า มีน้อยมาก ทว่าส่วนใหญ่เป็นมอญ-พม่า ทวาย-พม่า และอารกัน-พม่า (จากรัฐยะไข่) (ตามลำดับ) พวกเขา แม้อย