Skip to main content

1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)

 

 

 

ภาพจาก  cdn.discogs.com

 

ผมเคยได้ยินเพลงสไตล์ดิสโก้ยุคใหม่ (wiki เค้าบอกว่าเป็น post disco) นี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ตอนไปดูหนังและตอนก่อนหนังจะฉาย(ตอนนั้นราคาตั๋วประมาณ 20-25 บาท) โรงภาพยนตร์ถ้าจำไม่ผิดคือแสงตะวันและทิพย์เนตร (ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว) ของเชียงใหม่ได้เปิดเพลงนี้ให้ฟังอยู่เนืองๆก่อนที่มันจะหายไปจากห้วงคำนึงของผมอยู่นานมากจนเมื่อไม่นานมานี้ในหนังเรื่อง Kingsman:The Secret Service ได้นำเพลงนี้มาประกอบกับฉากที่มนุษย์ทั้งหลายกำลังฆ่าฟันกันทั้งโลก ผมจึงกลับมาฟังเพลงนี้อีกครั้งจากยูทูป แล้วน้ำหูน้ำตาไหล เพราะกว่าจะรู้ถึงเนื้อหาว่าเพลงนี้ได้พูดถึงอะไรบ้าง ต้องใช้เวลาถึงกว่า 30 ปี  

 

 

2.  Hard to say I'm Sorry  ของวง Chicago (ปี 1982)

 

 

ภาพจาก ecx.images-amazon.com/

 

ผมไม่ได้ฟังเพลงของวงชิคาโกจริงจังนักตอนเด็ก ๆ ได้แต่ฟังผ่านเทป (ผี) รวมฮิตเพลงฝรั่งหรือไม่ก็เพลงประกอบโฆษณาซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพลงนี้ที่ร้องโดยปีเตอร์ เซเทราซึ่งมีเสียงเป็นเอกลักษณ์ (ต่อมาได้แยกตัวออกจากวงนี้ในปี 1985)  อีกเพลงหนึ่งที่ร้องโดยปีเตอร์คือเพลง Glory of Love ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Karate Kid ภาค 2 ต่อมา ผมจึงได้ฟังเพลงของวง Chicago จริงๆ จังๆ เพราะวงนี้ค่อนข้างหากินจากการรวมเพลงเก่าของตัวเองอยู่บ่อยครั้ง  

 

3.Every Time You go Away ของ Paul Young  (1985)

 

 

ภาพจาก   www.rixrecords.com

 

ผมไม่ค่อยได้ฟังเพลงของพอล ยังนักร้องจากเกาะอังกฤษคนนี้เท่าไรนัก รู้แต่ว่าเพลงนี้ดังมาก จนได้ขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่งของบิลบอร์ด ฮ็อต 100 ในปี 1985 และผมได้ฟังเพลงนี้จากเทปผีที่พี่ซื้อมา (อีกเช่นเคย)  เพิ่งมารู้ว่าทีหลังอีกเช่นกันว่าเป็นเพลงเก่าของ Hall&Oates แล้วยังออกมาร้องใหม่ เพลงอื่นของพอลที่ผมชอบได้แก่ What Becomes of the Brokenhearted  เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Fried Green Tomatoes  และเพลง Oh Girl (1991)  ซึ่งก็เป็นเพลงที่พอลเอาของคนอื่นมาร้องใหม่อีกเช่นกัน

 

 

4.Nothing's Gonna Stop us Now  ของวง Starship (ปี 1987)

 

 

                    

                           ภาพจาก  wikimedia.org

                        

เพลงนี้ถือได้ว่าดังมากเพราะได้เป็นเพลงประกอบของภาพยนตร์โรแมนติกคอมมาดีเรื่อง Mannequin ซึ่ง เป็นเรื่องที่พระเอกไปหลงรักหุ่นลองชุดและต่อมาหุ่นก็ได้กลายเป็นผู้หญิงจริงๆ นอกจากจะขึ้นอันดับหนึ่งของบิลบอร์ดฮ็อต 100 อันดับ 1 แล้วยังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้นอีกด้วย คิดว่าใครหลายคนรวมทั้งผมคิดว่าเพลงนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเพลงป็อบทศวรรษที่ 80 ไป  ผมได้ฟังเพลงนี้มาจากเทปผีที่รวมเอาเพลงฮิตโฆษณาซึ่งน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมประชานิยมแบบไทยในทศวรรษที่ 80 อีกเช่นกัน (จำได้แม้แต่กรอบของซองเก็บเทปที่ผมฟังเป็นสีเทา)

 

 

5.Do you remember  ของ Phil Collins (ปี 1990)

 

    

 

ภาพจาก  wikimedia.org

 

เพลงนี้ถือได้ว่าเป็นเพลงสุดรักสุดโปรดของผมเพราะนอกจากความไพเราะแล้วยังแฝงด้วยความเศร้าและความคิดคำนึงถึงคนที่ตัวเองรักซึ่งพลัดพรากจากกันมานานแสนนานจนเขาไม่แน่ใจหากได้พบกับเธออีกครั้งเธอจะจำเขาได้ไหม ไม่รู้เป็นไรว่าเพลงมักทำให้นึกถึงตอนที่ผมฟังเพลงนี้เป็นครั้งแรกตอนอยู่นอนอยู่ในบ้านแถวเมืองนนท์ตอนบ่ายๆ และอากาศกำลังร้อนได้ที่ เพลงอื่นของอดีตมือกลองของวงเจเนซิสคนนี้ในอัลบั้ม ...But Seriously ซึ่งก็ดังมากได้แก่ Another Day in Paradise  I Wish It Would Rain down  และ All of My Life  กระนั้นที่น่าจะกล่าวถึงได้แก่  A Groovy Kind of Love   ซึ่งดังไม่แพ้กันและเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ฟิลแสดงด้วยคือ  Buster (1988)  หรือเพลงประกอบภาพยนตร์ Tarzan (1999) คือเพลง You'll Be in My Heart 

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.พลเอกประยุทธ์และคสช.มองว่าตัวเองเป็น  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้แปลมาจาก   www.counterpunch.org The Strategist and the PhilosopherLeo Strauss and Albert Wohlstetter
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  Concerto มาจากภาษาอิตาลีคือคำว่า Concerti หมายถึงการเล่นประสานกันระหว่างวงดนตรีขนาดใหญ่กับเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง (คำว่า Concerti จึงเป็นที่มาของคำว่า Concert ที่ใช้กันในปัจจุบัน) ถ้าเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตามความเข้าใจของเราที่ได้รับอิทธิพลจากยุควิคตอเรียนของอังกฤษ ผู้หญิงในสังคมของทุกชาติในอดีตมักเป็นช้างเท้าหลังที่สงบเสงี่ยม ทำตามคำสั่งของสามีอยู่ต้อยๆ แต่พวกเราเองก็ยอมรับว่ามีผู้หญิงไม่น้อยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อสามีซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหรื