Skip to main content

+++ การเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: การจัดการที่ดิน ระบบเกษตร และระบบนิเวศ เพื่อเรียนรู้และรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน +++

สืบเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 50 ปีเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่รอบภูเขาเมาะแตและใกล้เคียง ใน อ.ระแงะ อ.ศรีสาคร อ.จะแนะ และ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ประสบความเดือดร้อนอย่างหนักจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนหินถล่มนั้น เครือข่ายประชาชนปกป้องสิทธิในที่ดินรอบพื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป (Tanah Kita Network) ร่วมกับ#สมาคมวิถีชนบท #สมัชชาคนจน และ #เครือข่ายนักวิชาการศึกษานโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนศ.จชต.) จึงได้จัด “กิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: การจัดการที่ดิน ระบบเกษตร และระบบนิเวศ เพื่อเรียนรู้และรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน” ขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

กิจกรรมนี้ประกอบด้วย 1) การลงพื้นที่ไปดูสภาพร่องรอยทางน้ำและความเสียหายจากดินโคลนหินถล่มและพูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ ที่บ้านกาหนั๊วะ ต.กาลิซา และ บริเวณน้ำตกซีโป ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และ 2) การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “ชุมชนพื้นที่ต้นน้ำกับการเรียนรู้และรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน” ทั้งนี้โดยมี ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยากร

ในเวทีแลกเปลี่ยน นายอาหะหมัด เบนโน ที่ปรึกษาเครือข่าย Tanah Kita ได้กล่าวถึงภาพรวมภัยพิบัติครั้งนี้ว่า เป็นภัยพิบัติที่หนักหนามาก ถึงขนาดทำให้แม่น้ำเปลี่ยนเส้นทาง เป็นความเสียหายที่ไม่อาจฟื้นคืนสภาพได้ภายใน 1-2 ปี และเกินกว่ากำลังที่ประชาชนจะทำการบูรณะด้วยตนเองได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาช่วยและนั่งวางแผนร่วมกับคนในพื้นที่ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่เข้ามา

นอกจากนั้น นายอาหะหมัดต้ั้งข้อสังเกตว่า ดินโคลนที่ถล่มลงมานั้นได้ถล่มมาจากที่สูง ซึ่งเป็นบริเวณป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ที่แทบไม่มีใครขึ้นไปแผ้วถางหรือทำไม้ ฝนที่ตกมาอย่างหนักได้ทำให้แม้แต่ดินในป่าใหญ่ก็ยังอุ้มน้ำไว้ไม่อยู่ ดินไม่ได้ถล่มลงมาจากบริเวณเชิงเขาที่เป็นสวนยางหรือสวนทุเรียนของชาวบ้านที่อยู่ด้านล่าง แต่สวนของชาวบ้านได้กลายเป็นที่รองรับหินดินโคลนที่ถล่มลงมา

เช่นเดียวกับที่อาจารย์สมพร ช่วยอารีย์ อธิบายว่า การเกิดขึ้นของอุทกภัยครั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดจากการบุกรุกป่าหรือการเข้าทำสวนปลูกพืชแผนใหม่ เช่น ยางพารา ทุเรียน แต่เป็นเรื่องของโครงสร้างของป่าที่มีต้นไม้คล้ายๆ กัน อันเกิดจากการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งผ่านเวลาอันยาวนานจนกลายเป็นพืชหลักในบริเวณนั้นๆ ทำให้รากต้นไม้ไม่มีความหลากหลายและมีความลึกเท่าๆ กัน จึงไม่สามารถชะลอน้ำที่อยู่ซึมใต้ดินได้ดีและพร้อมที่จะเกิดดินพังทลาย (แลนด์สไลด์)

อาจารย์สมพรมองว่า ภัยพิบัติครั้งนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ชาวบ้านแถบนี้จะได้รวมกันเป็นเครือข่ายเพื่อป้องกันและช่วยกันอัพเดทข้อมูลภัยพิบัติ ช่วยกันสังเกตลมฟ้าอากาศ ตลอดจนเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนไปจากภัยพิบัติที่ผ่านมา เพื่อเอามาวางแผนในอนาคต นอกจากนั้นอาจารย์สมพรก็ยังได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดินโคลนถล่ม ตลอดจนกรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ เช่น ที่บ้านกระทูน จ.นครศรีธรรมราช บ้านน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ การบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งในช่วงก่อนภัยมา ขณะเกิดภัย และหลังภัยผ่าน พื้นฐานของชุมชนในการเตรียมการอย่างยั่งยืน รวมถึงโจทก์สำหรับชุมชนในการเป็นเครือข่ายป้องกันภัยพิบัติ

=======

องค์กรสนับสนุนการจัดงาน

โครงการ “การสร้างสันติภาพแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” -Inclusive Peacebuilding in Thailand’s Southern Border Province – Small Grants โดย Minority Rights Group International (#MRG)

#สหภาพยุโรป (European Union – EU) (#MRG) และ #สหภาพยุโรป (European Union – EU)

 

บล็อกของ ออแฆกำปง

ออแฆกำปง
+++ การเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: การจัดการที่ดิน ระบบเกษตร และระบบนิเวศ เพื่อเรียนรู้และรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน +++
ออแฆกำปง
จากการที่คุณบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ได้ลงพื้นที่และพูดคุยกับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการก่อสร้าง “โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำพรุชะมา จังหวัดยะลา-ปัตตานี” ของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8  กรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขต ต.น้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี และ ต.ท่าธ
ออแฆกำปง
“เมื่อรัฐใช้โครงการพัฒนาและข้ออ้างเรื่องความมั่นคงยื้อแย่งทรัพยากรจากมือประชาชน ประชาชนจึงต้องรวมตัวกันสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรในบ้านเกิดของตนเอง”
ออแฆกำปง
"สิทธิคนชายแดนใต้" (ตอนที่ 1)สิทธิทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพ และ สิทธิด้านการพัฒนาและการจัดการทรัพยากร=======================