Skip to main content

ไป (แต่ไม่ได้) ดู “กุ้งเดินขบวน” กับ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” อ. น้ำยืน อุบล

เมื่อช่วงครบ 6 ปีรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ผมไปเสวนาเรื่อง “ปัญหาข้อพิพาทเขตแดน ระหว่างผุ้นำกรุงเทพฯ กับ ผู้นำกรุงพนมเปญ”  คณบดีไชยันต์ รัชชกูล ม อุบล ชวนไปพูดร่วมกับ ดร ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

เสร็จงาน ผมบึ่งรถไป อ . น้ำยืน ไปดู “สามเหลี่ยมมรกต” ปลายเทือกพนมดงรัก เขตแดนไทย/ลาว/กัมพูชา ที่น่าจะนำขึ้นเสนอเป็น “มรดกโลกวัฒนธรรม และธรรมชาติอาเซียน” จะได้แก้ไขทั้งปัญหาเขตแดน และการตัดไม้ ทำลายแม่น้ำ (โขง) และลำธาร กลายเป็นเขตสันติภาพ และการพัฒนาร่วมกันเสียที ครับ (ASEAN Eco-Cultural World Heritage) บริเวณนั้น ใกล้ๆกับ “ช่องบก” ธรรมชาติสวยงาม น่ารักษาให้พ้นภัยสงคราม กับสนามกอลฟ์ เหลือเกิน 

ผมตั้งใจว่า จะไปชม “กุ้งเดินขบวนเดือนกันยา” แต่ก็ผิดหลัง เพราะกุ้งจะออกมาก็ สามทุ่ม ไปแล้ว รอไม่ไหว

หวังว่าจะได้ชม “นารายณ์บรรทมสินธุ์” ก็ชวด เพราะนอกจากจะจมน้ำเหนือ “ลำโดมใหญ่” ในฤดูฝนแล้ว ชาวบ้านบอกว่า ต้องเดินขึ้นเขาไปอีกหลายกิโล น่าเสียดายจริงๆ ได้แต่กลับมาอ่าน  และดูรูปภาพจากข้อเขียน และเว็บของวรณัย พงศาชลากร เป็นการแก้ขัด

http://www.oknation.net/blog/voranai 

หากจะบอกว่าในเมืองไทย ก็มีรูปสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ ก็ที่นี่แหละ รูปสลักนี้เหมือนที่ “พนมกุเลน/กบาลเสปียน” ที่เสียมเรียบ อายุหนึ่งพันปีมาแล้ว รุ่นบาปวน ก่อนนครวัด พระนารายณ์ประทับนอน มีพระลักษมีปรนนิบัติถวายนวด 

“พระนารายณ์บรรทมสินธุ์” ทำให้น้ำในแม่น้ำเสียมเรียบ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิฉันใด พระนารายณ์ฯ อำเภอน้ำยืน ก็ทำให้น้ำใน “ลำโดมใหญ่” ศักดิสิทธิ์ ก่อนไหลลง “น้ำมูล” แล้วไปลง “น้ำโขง” ฉันนั้น ครับ
 


อำเภอน้ำยืน ดินแดนของ "สามเหลี่ยมมรกต" The Emerald Triangle


ช่องบก น้ำยืน ใกล้กับ สามเหลี่ยมมรกต แดนสงครามในอดีต น่าเปลี่ยนเป็นแดนสันติภาพ และมรดกโลกร่วม ๒ ชาติ ไทย ลาว กัมพูชา


ทหารพราน ชาวบ้านจากสุรินทร์ เฝ้ายามอยู่อย่างเหงาๆ พรรคพวกถูกย้าย ไปอยู่แถวมออีแดง ศรีสะเกษ หรือไม่ก็ลงไป สามจังหวัด ภาคใต้กันแล้ว


เทือกพนมดงรัก หนองน้ำ งามๆ ไม่ใกล้ ไม่ไกล จากสามเหลี่ยมมรกต น่าขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก ร่วมระหว่างไทย ลาว กัมพูชา จะได้มีทั้งสันติภาพ วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ธรรมชาติอาเซียน ครับ


ป้าย ปชส Shrimps Parade กุ้งเดินขบวน น้ำยืน ออกเดินดึก สามทุ่ม ครับ


นารายณ์บรรทมสินธุ์ ลักษมีปรนนิบัตินวด เหนือลำโดมใหญ่ น้ำยืน อายุหนึ่งพันปี รุ่นบาปวน ก่อนนครวัด

 

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  Believe it or not, Cambodia and Siam: (when Sihanouk was young) เชื่อไหม ตอนที่ นโรดมสีหนุ พยายามกู้เอกราช  เสด็จมาเยือนไทย เยือน มธ ด้วย  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
Incredible Cambodia  เชื่อไหม  พระบาทสมเด็จ นโรดมสีหนุ  อดีตกษัตริย์กัมพูชา  ทรงร้องเพลง "รักเธอเสมอ" 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ไป (แต่ไม่ได้) ดู “กุ้งเดินขบวน” กับ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” อ. น้ำยืน อุบล เมื่อช่วงครบ 6 ปีรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ผมไปเสวนาเรื่อง “ปัญหาข้อพิพาทเขตแดน ระหว่างผุ้นำกรุงเทพฯ กับ ผู้นำกรุงพนมเปญ”  คณบดีไชยันต์ รัชชกูล ม อุบล ชวนไปพูดร่วมกับ ดร ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
14 October 1973: Day of Great Joy 14 ตุลา 2516/1973 เป็นวัน "มหาปิติ" วันนั้น เมื่อ 39 ปี มาแล้ว 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 บทบันทึกการเดินทางเพื่อเข้ารับรางวัล ณ เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(โปรดส่งต่อ ล้อมกรอบ ปชส เผยแพร่ในทุกรูปแบบด้วย ครับ) ในฐานะประธานมูลนิธิ จิตร ภูมิศักดิ์  ขอส่งบทความมาเพื่อทราบ  และขอแจ้งว่า เรากำลังสร้างอนุสาวรีย์จิตร ที่บ้านหนองกุง สกลนคร ยังขาดเงินเกือบ ๑ ล้าน ๕
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชี้ คณิต ณ นคร ประธาน คอป.มีความเข้าใจที่ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
  บันทึกสองฉบับจากชาญวิทย์ เกษตรศิริ เล่าถึงเมืองฟูกูโอกะ และรางวัลฟูกูโอกะ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ