Skip to main content

เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ

หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า

 


เก่อ แหย่ โหม่ โพ มา คู คู
                        โปะ ธ่อ เส่อ โกะ เส่ เผล่อ ทู

เก่อ แหย่ โหม่ โพ มา ประ ประ                  โบะ ธ่อ เส่อ โกะ เส่ เผลอ วาฯ....


เหล่าลูกแม่ลงมือพร้อมกัน                        มาช่วยกันยกเสาทองคำ

เหล่าลูกแม่ลงมือพร้อมเพรียง                    มาช่วยกันยกเสาต้นเงิน


ขณะที่ขับขานธา เดาะธ่อ อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หนุ่มสาวจะพยายามหาจังหวะเพื่อไปสู่ หมวดธา หน่อ เดอ จ๊อ หรือหมวด ธาหนุ่มสาว จนบางทีผู้ใหญ่ต้องพยายามดึงกลับมาที่ธา เดาะธ่อ เนื่องจากยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะไปในหมวดหนุ่มสาว เมื่อผู้ใหญ่ดึงกลับมาที่ ธา เดาะ ธ่อ ซักพัก หนุ่มสาวจะพยายามดึงไปที่หมวดหน่อ เดอ จ๊อ อีก ผู้ใหญ่จึงต้องดึงกลับมาที่ หมวด ธา เดาะ ธ่อ จนกว่าผู้ใหญ่จะเห็นสมควรว่าได้มีการขับขาน ธา หมวดเดาะ ธ่อ ไปมากพอสมควรแล้ว จึงจะปล่อยให้เป็นช่วงของธา หน่อ เดอ จ๊อ ต่อไป


หมวด ธา หน่อ เดอ จ๊อ นั้นเป็นการเริ่มต้นเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว โดยใช้ภาษากวี หรือภาษาบท ธา เป็นการสื่อสาร บางทีเป็นการตอบโต้หยอกล้อ กระเซ้าเย้าแหย่กัน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่หนุ่มสาวต่างมีความสุขมากที่สุด ว่ากันว่าหากหนุ่มสาวติดลมบนในการต่อบทธากันแล้ว ไก่ขันครบสามครั้งก็ยังไม่อยากเลิก ฟ้าแจ้งแล้วก็ยังไม่อยากหยุด


แต่เมื่อฟ้าสางก็ถึงคราวยุติการขับขานบทธาเพื่อไปพักผ่อนเอาแรงในคืนที่สอง ซึ่งในคืนที่สองจะมีการลำดับขั้นมนการขับ หมวดหมู่ของบทธาที่แตกต่างจาก คืนแรก มีธา บางหมวดหมู่แทรกเข้ามาเพิ่มจากคืนแรก


ตอนหัวค่ำของคืนที่สองแห่งงานศพ ผู้คนจะอยู่กันเต็มบ้านของผู้ตายแล้ว บ้างมวนยาสูบ บ้างทานข้าว บ้างดื่มย้อมใจ บ้างดื่มน้ำชา สักพัก จะได้ยินเสียงของ ธา หมวด ธ่อเส่ส่า หรือ หมวดขึ้นต้นไม้ ถูกขับขานขึ้นเพื่อเป็นการบอกถึงวาระแห่งการมีชีวิตบนโลกมาถึงแล้วเปรียบเสมือนการขึ้นต้นไม้ ได้ถึงยอดไม้แล้ว ถึงเวลาที่ต้องลงและกลับสู่บ้านเมืองนอน เพื่อบอกกับคนที่มีชีวิตอยู่ด้วยว่าชีวิตเปรียบเหมือนการขึ้นต้นไม้ ขึ้นอยู่ที่ใครถึงช้าถึงเร็ว ถึงเร็วก็ไปก่อน ถึงช้าก็ไปทีหลัง แต่ทุกคนก็ต้องถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ธ่อ เส่ส่า แจะ อือ แจะ เออ                     หน่อ โธ่ เออ เออ หน่อ ชอ เออ

หมือ ฉา หน่อ แลจะ แพแล                     กว่า เนอโธ่ โกะ เนอ ชอ แซฯ.....


ขึ้นต้นไม้ เชื่องช้าเฉื่อยชา                       เหมือนนกก็ไม่ใช่ เหมือนไก่ก็ไม่เชิง

กลางวันเจ้าไปแห่งหนใด                         ไก่และหมูเจ้า ส่งเสียงร้อง


หลังจากหมวด ธา ธ่อเส่ แล้วจะต่อด้วย ธา หมวด เลปลือแหมะ หรือ ส่องหน้าผู้ตาย ตามด้วยหมวด ธาแหน่หมื่อ เหน่ลา หรือหมวดชี้ทางให้คนตาย แต่หลังจากชี้ทางให้คนตายแล้วจะคั้นด้วย หมวดธาแป่โป่ แปซวย หรือ หมวดคั่วข้าวเม่า ข้าวฟ่าง เพื่อเป็นอาหารสำหรับผู้ตายเอาไปกินระหว่างทางกลับสู่ปรโลก เพื่อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการที่คนเราเกิดมามือเปล่า ก็ต้องจากไปอย่างมือเปล่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพออยู่พอกิน หากมีต้นข้าวเม่าอยู่ก็เหมือนมีต้นเงินอยู่ หากมีข้าวฟ่างอยู่ก็เหมือนมีต้นทองคำอยู่ ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนฝักใฝ่สะสมทรัพย์สินที่กินไม่ได้ เพราะมีเงินมีทองแล้วสุดท้ายก็เอาไปไม่ได้ สิ่งที่เอาไปได้คือสิ่งที่กินได้


ตนปกาเกอะญอยังมีความเชื่อว่า เมื่อคั่วข้าวเม่าข้าวฟ่างให้ผู้ตาย จะทำให้ผู้ตายกลับไปที่ปรโลกโดยไม่ขาดแคลนข้าว แต่หากไม่คั่วให้ จะทำให้กลับไปไม่มีข้าวกิน ฉะนั้นการรักษาความเชื่อและพิธีกรรมนี้จึงเป็นการรักษาพันธุ์ข้าวเม่าข้าวฟ่างให้ยังอยู่ต่อไปด้วย ซึ่งปัจจุบันชุมชนปกาเกอะญอหลายที่ที่ไม่มีการสืบทอดพิธีกรรมความเชื่อนี้ ทำให้ข้าวเม่าข้าวฟ่างสูญพันธุ์ในชุมชนด้วยเช่นกัน ธา หมวดแป่โป่ แปซวย นั้นมักเริ่มต้น ดังนี้


แปโป่ บอบอ แป่โป่ บอ                            แป่ซวย บอบอ แป่ซวย บอ

จอแล โหะ จื๊อ เจ่ หย่า คอ                        จื๊อ เจ่ จอ แล โหละ หย่า คอ

ชุ ญา โอะ เลอ ทู อะ พอ                          ชุ ญา โอะ เลอ เจ๊ะ อะ พอ


คั่วข้าวเม่าแตกเป็นสีเหลือง                       คั่วข้าวฟ่างแตกเป็นสีเหลือง

ตัวพี่เกิด มาแบบมือเปล่า                          ตอนพี่เกิดนั้น มามือเปล่า

ต่อไป จะมียุ้งทองคำ                               ภาคหน้านั้นจะมีฉางเงิน

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ