Skip to main content

 

ในชีวิต ณ ปัจจุบัน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าจะมาข้องเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชื่อ ไวโอลิน และยิ่งไม่เคยนึกว่าวันหนึ่ง จะมีไวโอลินมานอนอยู่ในห้อง ตั้งวางอยู่ข้างตัว รวมถึงได้ยินมันส่งเสียงทุกวันตอนย่ำค่ำ

\\/--break--\>
นิ้วมือของเด็กชายวัย 8 ขวบ กำลังทำความรู้จัก เข้าใจ ฝึกฝนกับอวัยวะใหม่ที่งอกออกมาจากตัวเขา นาทีนั้นผมมองจ้องแทบตาไม่กระพริบ มองสองขาที่ยืนหยัดตั้งฉากกับพื้นโลก คอยดูว่าเขาจะไม่ทิ้งน้ำหนักลงบนขาข้างหนึ่งข้างใดจนเสียสมดุล

 


ดูนิ้วมือขวาจับโบ(คันชัก) ดูนิ้วมือซ้ายจับตำแหน่งบนคอ ดูมิดเดิ่ลโบ ฟล็อกโบ ดูช่วงแขน ดูการดันมือขึ้นไปอย่างมีน้ำหนัก ได้จังหวะ สวยงาม เนื้อเสียงเรียบเนียนสม่ำเสมอ ไม่กระตุกเสียง ไม่ฝืนเกร็ง พร้อมกับฟังเสียงไวโอลิน


เจ้าลูกชายสนใจในไวโอลิน การเดินทางของไวโอลินตัวหนึ่งจึงเกิดขึ้น

40 กว่าปี เกือบ 50 ปีแหละ เมดอินเยอรมัน เลือดเยอรมันแท้เลย” เสียงฝ่าอากาศกลางคืนจากเมืองหลวง บอกด้วยน้ำเสียงลุ้นเต็มที่ หลังจากเขาใช้เวลาเสาะหาไวโอลินสักตัวหนึ่ง ให้อยู่ในอ้อมแขนของเด็กชายที่เขาเห็นหน้าตามาตั้งแต่นอนแบเบาะ


อันที่จริงการเรียนไวโอลินของเจ้าลูกชาย ไม่ได้เริ่มต้นที่การออกหาซื้อไวโอลิน แต่เริ่มที่คำถามบ่อยๆ เหมือนจะให้เขาลองเขียนสักประโยคไว้ในใจ ว่าอยากเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดบ้าง วันหนึ่งเขาเขียนออกมาดังๆว่า ไวโอลิน


ห้องเรียนมีสอนหนึ่งชั่วโมงต่อวัน ทุกสัปดาห์ ไวโอลินจึงเคลื่อนความจริงมาใกล้และเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้

ในชีวิต เราควรมีที่หลบภัยประจำตัวไว้สักอย่าง เพื่อนพ่อบอกว่า ดนตรีนี่แหละ เป็นที่หลบภัยชั้นเยี่ยม พ่อเห็นด้วย พ่อมีที่หลบภัยประจำตัวใช้มาได้ตลอด” ผมพูดกับเขาด้วยท่วงท่าประโยคทำนองนี้ ไม่รู้ว่าเขาจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน


ไวโอลิน เมดอินไชน่า เขาใช้ฝึกในห้องเรียนมาแล้ว 5 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ผมไม่นึกว่า เสียงนั้นจะมาเปล่งเสียงให้ได้ยินในค่ำวันหนึ่ง พลันมองเห็นแววตาเอาจริงเอาจังของเขา


แล้วโชคก็เยือน เมื่อประตูบานหนึ่งเปิดออกไปพบกับครูสอนไวโอลินอีกคนหนึ่ง เราพ่อลูกเรียกกันในชื่อครูโจ้ มือไวโอลินเก็บเนื้อเก็บตัวที่เอ่ยชื่อสกุลแล้วนักไวโอลินในประเทศต้องร้องอ๋อกันทั่วหน้า


พลังครูในตัวครูโจ้มีมหาศาลมาก เขาเริ่มต้นด้วยนำทางไปรู้จักสรีระร่างกายตัวเอง ชวนรู้จักไวโอลิน ชวนผูกใจแน่น ให้รู้สึกว่าไวโอลินเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของร่างกาย ที่งอกออกไปรับอากาศเหมือนแขนขาหูตาจมูก

 


ผมอยู่เคียงข้างเด็กชาย และร่วมเดินทางไปด้วยทุกชั่วโมงที่ไปเรียนกับครูโจ้

ผมตอบตกลงเพื่อนทันที ว่าจะเอาไวโอลินตัวใหม่ให้เจ้าลูกชาย เพื่อชั่วโมงฝึกฝนของเขาจะได้เป็นจริงและต่อเนื่อง ไวโอลินตัวแรกนั้นนอนค้างคืนที่โรงเรียน อาทิตย์หนึ่งได้กลับมาบ้านหนึ่งครั้ง


ผมรีบลงเมืองหลวงอย่างเร่งด่วน หลังจากตรวจสอบไวโอลินและส่วนประกอบทุกอย่าง เพื่อนมีน้ำใจวิ่งเต้นหายางสน โบที่ควรมีเนื้อไม้ระดับเดียวกับไวโอลิน หางม้า อีกทั้งสะพานรองหลัง ให้แน่ใจว่าพร้อมออกเดินทางไปส่งเสียงได้ทันที


รับส่งมอบกันเสร็จสรรพด้วยคำบอกเล่าถึงที่มาของไวโอลิน

ไวโอลินออกเดินทางชั่วข้ามคืน ก็ไปสูดอากาศอยู่ในหุบเขา

นาทีเจ้าลูกชายเผชิญหน้ากับไวโอลินครั้งแรก สีหน้าแววตาพ่อหรือลูกตื่นเต้นมากกว่ากัน ไวโอลินคงรับรู้ก่อนใคร

 


ศิลปะการเกิดเสียง หลังการพบกันของเนื้อกับเนื้อไม้ ความสุขชนิดนี้ก่อตัวขึ้นในความเงียบ ความว่าง และปราศจากความสงสัย

หลุมหลบภัย พ่อควรหาให้ลูกหลบได้ปลอดภัยสักหลุมหนึ่ง” ผมนึกถึงประโยคนี้ทุกครั้งที่ออกร่วมเดินทางไปให้ถึงประตูห้องเรียนของครูโจ้


ไม่ใช่ผมคนเป็นพ่อที่ค้นพบความหมายคุณค่าของหลุมหลบภัย แต่เป็นเจ้าลูกชายที่บังเอิญเขาหลงชอบไวโอลิน กระโดดลงหลุมอย่างมั่นอกมั่นใจ ว่าในที่ว่างนั้นจะเต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์ไว้หายใจ ยามรอบตัวเขาเต็มไปด้วยสิ่งมีพิษ


ในโลกที่เต็มไปด้วยกับดักและหลุมพราง ที่หลบภัยที่เพียรพยายามสร้างไว้ให้อยู่กับตัว คงช่วยดูแลระหว่างทางชีวิตให้ดำเนินไปได้ แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวงแล้วยังอาจช่วยเยียวยาชีวิตอื่น เป็นไวโอลินที่ขุดหลุมหลบภัยกว้างลึกไกลออกไปเรื่อยๆ และรองรับดูแลชีวิตอื่นได้จริง

 

 

**** ตีพิมพ์ครั้งแรก เสาร์สวัสดี คอลัมน์ คนคือการเดินทาง นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับที่ 550 , 5 ธันวาคม 2552

 

 

 

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
ห้องครัวซ้อมดนตรี ถึงเพลงบันนังสตา บ้านเช่าบ้านไม้เป็นบ้านชาวนาในหมู่บ้านแม่เหียะ ชานเมืองเชียงใหม่   ห้องครัวคือห้องทำงาน  ห้องนอนบางเวลา  ห้องซ้อมดนตรี   ห้องนั่งเล่นและห้องรับแขก 
ชนกลุ่มน้อย
ประชาชน  สัตว์เลี้ยงของแวมไพร์
ชนกลุ่มน้อย
สองทุ่ม   อังคารที่ 16 มีนาคม  2553   นักดนตรีในเชียงใหม่  และคนในแวดวงหนังสือ ศิลปะ  นัดรวมตัวกันที่ร้านสุดสะแนน  ร่วมรำลึกถึงการจากไปของ ”จ่าเพียร”(พ.ต.อ สมเพียร เอกสมญา) วีรบุรุษแห่งเทือกเขาบูโด  ด้วยสายสัมพันธ์กับไวล์ดซี๊ด (ชุมพล  เอกสมญา) ลูกชายจ่าเพียรที่ผ่านมาเล่นดนตรีในเชียงใหม่อยู่เสมอๆ   เยียวยาจิตใจเมล็ดเถื่อนจากบันนังสตา  ร่วมรำลึก ...   
ชนกลุ่มน้อย
ขอต่อยาวสาวความยืดถึงน้ามาดบางมุมดูหน้าดุ เวลาเดินเหมือนนุ่นลอยอีกหน่อย อย่างที่บอกไว้ บุรุษไร้นาม(และหนาม)ตามใจคนนี้ อย่าให้นั่งหน้าทับหน้าหนังกลองแล้วกัน ความจืดของหน้าจะถูกขับออกมาอย่างเผ็ดร้อน ไม่เรียบเฉยปล่อยวางอีกแล้ว บางด้านดูดุเทียบได้ใบหน้าเสือจ้องขบ กลับเกลี่ยเสียใหม่ เป็นเสียงทะลวงไส้พุงเร้าใจผิดหน้าผิดหูผิดตาไปทันที
ชนกลุ่มน้อย
  “เลสาปหน้าร้อนเปื่อยหมดแล้ว” ประโยคนี้ถ้าเขียนใหม่ตามภาษาบรรพบุรุษของใต้สวรรค์ ต้องบอกว่า เลสาปหน้าร้อนเปื่อยแผล็ดๆ เหตุที่เปื่อยเห็นด้วยตา ถ้าพูดผ่านปากของบ่าวทอง ต้องเริ่มต้นว่า“ที่จริง”เช่นเคย “ที่จริงมันไม่เปื่อยหร็อก ที่มันเปื่อยเพราะเลกลายเป็นโคลน เปื่อยแผล็ดๆไปทั้งเล” …
ชนกลุ่มน้อย
  สวรรค์ปักษ์ใต้มีสะตอกับลูกเนียงรวมอยู่ด้วย หรอยที่สุดต้องเหนาะ(จิ้ม)กับน้ำชุบ(น้ำพริก-ต้องกะปิเท่านั้น) หรือกินกับแกงคั่ว คั่วกะทิหรือแกงคั่วเผ็ดไม่กะทิ เผ็ดร้อนไม่แพ้ขาดเหลือกันนัก ไม่มีใครบอกว่าพริกพัทลุงหรือพริกนครศรีธรรมราช เผ็ดแรงร้อนกว่ากัน...
ชนกลุ่มน้อย
นักดนตรีกลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยความรัญจวนจากฤดูความว่างของชีวิต ออกไปเล่นดนตรีบรรเลงชีวิตร่วมกัน หรือจะพูดอีกที การมาถึงของพวกเขาใต้สวรรค์ ไม่ต่างจากฝูงปลาดุกหนีน้ำแถกเหงือกมาหากันในช่วงหน้าแล้ง หนวดยั้วคลุกนัวกันมาบนโคลนเปียกๆ เหนียวเหนอะไปยังถิ่นที่คาดว่าจะมีน้ำ สีผิวฝูงปลาดุกเลื่อมมันน่าเกรงขาม
ชนกลุ่มน้อย
คำ  สุวิชานนท์ รัตนภิมล และคำของอา' รงค์ ทำนอง  สุวิชานนท์  รัตนภิมล
ชนกลุ่มน้อย
ลมบาดหิน ของอา… “ผู้ชายคนนั้นกับผู้หญิงของเขาตัดสินใจแรมคืนในกระโจม(เต็นท์) เขาพบว่าการเสียบก้านปลั๊กตัวผู้ลงในรูปลั๊กตัวเมียเพื่อต้มน้ำกับกาไฟฟ้านั้นเป็นความสะดวกสบายของคนในทาวน์เฮาส์ที่กรุงเทพฯ และอย่างน่าอิจฉา แต่การมองหาก้อนหินนำมาวางเป็นก้อนเส้า กิ่งไม้ง่ามปักกับดินแล้วพาดราวแขวนหม้อและริ้วชิ้นวัวฝานหมักเกลือ ก่อกองไฟและต้มกาแฟ นี้เป็นบางแบบของชีวิตซึ่งผู้ชายควรเรียนรู้...”
ชนกลุ่มน้อย
พอออกมาจากห้องฝึกเรียนไวโอลินกลางเมืองเชียงใหม่  ผมบอกเจ้า 9 ขวบว่าไปเยี่ยมคุณลุงหน่อยนะ   เจ้าเก้าขวบถามทันทีที่ไหน  ผมตอบกลับวัดเจดีย์หลวง  ไปทำอะไรเหรอ เขาสงสัย  อยากไปเยี่ยม พ่อไม่ได้เข้าไปนานแล้ว
ชนกลุ่มน้อย
  ในห้องทำงาน โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ไม้ไม่เหมือนวันก่อน หนังสือเล่มใหม่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเล่มมาวาง ชั้นหนังสือเรียงตามกัน โน้ตสั้นๆ เขียนถึงเวลานัดหมาย เวลาส่งงาน หมายเลขโทรศัพท์ ม้านั่งไม้ไว้นอนเอกเขนก โคมไฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด โต๊ะกลม กีตาร์ กล้องถ่ายรูป รูปภาพบนผนัง ...
ชนกลุ่มน้อย
  ในชีวิต ณ ปัจจุบัน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าจะมาข้องเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชื่อ ไวโอลิน และยิ่งไม่เคยนึกว่าวันหนึ่ง จะมีไวโอลินมานอนอยู่ในห้อง ตั้งวางอยู่ข้างตัว รวมถึงได้ยินมันส่งเสียงทุกวันตอนย่ำค่ำ