Skip to main content
 

ธวัชชัย ชำนาญ

หนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"

แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรัก

หนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta' แปลเป็นไทยได้ว่า "กาพย์แห่งรัก" เข้าฉายในอินโดนีเซียเมื่อกลางปี 2551 เป็นผลงานการกำกับของ  ฮานุง บรามัทโย (Hanung Bramantyo) ผู้เชี่ยวกรากในการกำกับหนังในแนวรักโรแมนติกตั้งแต่ปี 2000 เรื่อยมาจนถึงปี 2008 แต่ละเรื่องได้รับความนิยมและฝั่งแง่คิดทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียไว้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง ‘Ayat Ayat Cinta' เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังคงเดินไปในแนวทางนี้โดยมีเนื้อหาสื่อถึง "วิถีรักของมุสลิม" ซึ่งชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆในประเทศไทยหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือปิดกั้นตัวเองที่จะเข้าใจ

ดังนั้น ก่อนอื่นต้องเล่าถึงตัวละครกันสักนิดเพื่อจะได้ง่ายต่อการเข้าใจถึงเนื้อหาของเรื่องรักในแบบแดน อิเหนา

เฟดี นูรีล (Fedi Nuril) แสดงเป็น ฟารีล บิน อับดุลเลาะ ชิดิล (Fahri bin Abdullah Shiddiq) นักศึกษาชาวอินโดนีเซียที่ได้ไปเรียนและกำลังจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของโลกอย่าง Al-Azhar กรุงไคโร ประเทศอียิปส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุยาวนานที่สุดในโลก ริอันตี จารวิง (Rianti Cartwright) รับบทเป็น อาอิชา เกรสมาส (Aisha Greimas) สาวในตาสวยผู้สวมอียาฟ ลูกครึ่งเยอรมัน- ตุรกี ที่สำคัญคือเธอรวย และไม่มีชายใดจะได้เห็นหน้าตาของเธอ นอกจากสามีในอนาคตเท่านั้น จาริซา ปูเตอรี (Carissa Puteri) รับบทเป็น มาเรีย กีกีส (Maria Girgis) หญิงสาวที่นับถือศาสนาคริสต์แต่ ก็ตกหลุมรักในอิสลามเช่นกัน และรักในตัวของฟารีลมาก

เรื่องราวความรักของสามคนอาจคล้ายกับ "รักสามเศร้า" หนังไทยที่หลายคนคงดูไปแล้ว แต่เรื่องราวสามเศร้าของ ayat ayat cinta แตกต่างอยู่บ้างก็ตรงที่ ayat ayat cinta มีเรื่องของศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่ คือความรักจะต้องอิงอยู่กับหลักศาสนา

ฟารีล ชายหนุ่มที่ไม่เคยรู้เลยว่าใบหน้าของคู่รัก (อาอิชา) ที่จะแต่งงานด้วยเป็นอย่างไร เนื่องจากคู่แต่งงานของเขามีผ้าคลุมหน้าและศีรษะเหลือแต่ลูกตา (คลุมอียาฟ) ตามหลักศาสนาอิสลามแล้วนอกจากจะแต่งงานกันก่อนเท่านั้นจึงจะเห็นทุกส่วนมุมของหล่อนได้ แต่แล้วฟารีลก็รักเจ้าหล่อนจากลูกตาที่พอมองเห็นอยู่บ้าง และรักขึ้นอีกเมื่อได้เห็นหน้าตาที่สะสวย ขาวเนียน ของหล่อน

ส่วนมาเรียนั้นหลงรักฟารีลและเจอฟารีลก่อนอาอิชา ขณะเดียวกันมาเรียก็คลั่งไคล้ในอิสลาม แม้ว่าเธอจะยังคงอยู่ในการนับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม จนหลังจากที่ฟารีลกับอาอิชาแต่งงานกัน มาเรียเสียใจอย่างหนัก อีกทั้งยังป่วยตลอดเวลา เธอเป็นลูคิเมียที่รอวันตาย แต่ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเธอ

จุดหักเหของเรื่องมาอยู่ตรงที่ ฟารีลถูกกล่าวหาว่าไปข่มขืน โน่รา บาฮาดูล Noura Bahadur รับบทโดย Zaskia Adya Mecca ซี่งการข่มขืนเป็นโทษที่ร้ายแรงมากตามหลักของอิสลาม แต่โนราไม่ได้โดนฟารีลข่มขื่น แม้ว่าเธอถูกข่มขื่นจริงแต่คนร้ายต้องการให้โนราใส่ความฟารีล เพราะไม่ชอบฟารีลที่เข้ามายุ่งเรื่องของตน

มีเพียงมาเรียที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่จะเป็นพยานให้กับฟารีลได้ แต่มาเรียกก็ถูกรถชนโดยผู้ที่ต้องการที่จะปิดปาก เธอนอนหลับใหลไม่ได้สติในโรงพยาบาล และเป็นหน้าที่ของอาอิชาที่ต้องช่วยเหลือสามีของตนทุกวิถีทางเพื่อให้สามีออกจากคุกให้ได้ เธอได้ไปตามหามาเรียตามคำเรียกร้องของฟารีล มาเรียจึงเป็นทั้ง กุญแจรัก' และ กุญแจพยาน'

และแล้วอาอิชาก็ได้รู้ความจริงว่ามาเรียได้รักฟารีลมาก่อนตนจากไดอารี่ของมาเรียเอง แต่มาเรียก็ยังหลับใหลอยู่ ไม่มีทางที่จะไปเป็นพยานได้

อาอิชากลับไปหาฟารีลในคุกและติดต่อกับทนายเพื่อที่จะประกันตัวฟารีลออกมาเจอกับมาเรีย เพื่อที่จะกระตุ้นให้มาเรียฟื้น แต่การประกันตัวในคดีข่มขืนไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก อาอิชาต้องใช้เส้นสายเพื่อที่จะเอาตัวฟารีลออกมาให้ได้นั้น กระบวนการยุติธรรมที่เป็นเสมือนดาบสองคมทำให้เลือดตาเธอแทบกระเด็น

ท้ายที่สุดมาเรียก็ฟื้นขึ้นมาและได้เป็นพยานให้กับฟารีล มาเรียเล่าให้ศาลฟังว่า แท้ที่จริงแล้วฟารีลถูกใส่ความ โน่ราไม่ได้ถูกฟารีลขมขื่นเพราะฟารีลอยู่กับตน เสียงที่โห่ร้องในศาล เหมือนกับตลาดนัดวันเสาร์จึงได้ดังขึ้น เพราะความจริงได้ปรากฏออกมาจากปากของมาเรีย

หลังจากฟารีลพ้นจากข้อกล่าวหา อาอิชา ภรรยาใจกว้างจึงต้องการให้ฟารีลกับมาเรียแต่งงานกัน ตามหลักศาสนาการที่ฟารีลกับมาเรียจะแต่งงานกันได้ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาหลวงก่อน หลังจากนั้นทั้งสามก็มาอยู่ด้วยกัน อาอิชาท้อง แต่มาเรียเป็นลูคิเมียรอวันตาย ในที่สุดด้วยความรักในฟารีลและความเอื้ออาทรของอาอิชาทำให้มาเรียยอมเข้านับถืออิสลามและเสียชีวิตไปในท่าละหมาดร่วมกันกับฟารีลและอาอิชา  

000

หนังเรื่อง ayat ayat cinta มีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งยากในการที่จะสาธยายได้หมด แต่หนังได้แฝงรสนิยม ทัศนคติ วัฒนธรรม หลักศาสนาและกฎหมาย หนังได้สะท้อนให้เห็นรสนิยมในโลกอิสลามภูมิภาคนี้ว่าการไปเรียนของนักศึกษาในอียิปส์นั้นเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่และสุดยอดที่สุดแล้ว ในขณะที่หลักกฎหมายที่หนังสื่อออกมานั้นก็ทำให้คนดูรู้สึกว่ากฎหมายอิสลามเหนียวแน่นเหลือเกิน แต่สุดท้ายมันก็ยังคงเป็นดาบสองคมสำหรับผู้ใช้และผู้ถูกใช้อยู่ดี

และที่สำคัญ แม้แต่จุดอบอุ่นโรแมนติกก็ตาม ศรัทธาในโลกมุสลิมได้สะท้อนจุดเปราะบางทางความเชื่อของคู่ขัดแย้งสำคัญของโลกออกมาแล้วจึงทำให้แม้แต่การเปลี่ยนจากคริสต์มาเป็นอิสลามของตัวละครก็แฝงมีนัยย์บางอย่างที่มากกว่าความรัก

การเปลี่ยนศาสนาในหนังรักโรแมนติกที่ดูเหมือนเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งนั้น สัญลักษณ์คู่ตรงข้ามที่หยิบใช้อาจกำลังบอกเราว่า อิสลามดีกว่าคริสต์' และเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่ผู้กำกับอาจจะลืมหรืออาจตั้งใจ !???

000

อย่างไรก็ตาม ayat ayat cinta นับได้ว่าเป็นหนังโรแมนติกที่ฉีกมุมมองของความรักได้อย่างน่าสนใจเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว หนังเรื่องนี้ได้ได้เข้าฉายในสิงคโปร์ มาเลเซีย เนื่องจากภาษาสามารถสื่อกันได้ ซึ่งการได้สัมผัสกับหนังรักในมุมของอิสลามแบบนี้อาจเป็นการตั้งคำถามที่ดี เมื่อความรักที่ดีในบางรูปแบบไม่จำเป็นต้องมีแค่หญิงหนึ่งชายหนึ่งเสมอไป ในบางความรัก ศาสนาที่ดูเป็นคู่ตรงข้ามกับแนวทางโลกียะกลับเป็นคำตอบของความสมหวัง

ความรักในแบบอิสลาม พระเจ้าคือรักสูงสุด เป็นรักที่แท้จริง และเป็นต้นตอของรัก' ความรักในแบบอิสลามทำให้เราพบคำตอบดีที่ไปไกลและแตกต่างไปจากเรื่อง รักสามเศร้า' ในบ้านเรา ความรักในแบบอิสลามไม่จำเป็นต้องมีแค่สองเสมอไปหากเป็นความพร้อมใจร่วมกัน

ความรักในแบบอิสลามจึงทำให้มาเรียสามารถสมหวังในรักได้แม้มันจะเพียงแค่ชั่วข้ามคืน ความรักในแบบอิสลามทำให้อาอิชาสามารถรักและปลื้มในตัวของมาเรียได้โดยไม่มีความรู้สึกผิดหรือขัดแย้งหากเทียบกับความรักแบบ ผัวเดียวเมียเดียว'  ความรักในแบบอิสลามทำให้ผู้หญิงสองคนไม่จำเป็นต้องเกลียดและตบตีแย่งกัน ในขณะเดียวกันทั้งสองก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกันมาก่อนที่ต้องแบ่งปันกัน

กุญแจสำคัญของความรักมีคำตอบเป็นสามได้กลับเป็นศาสนาอิสลามที่หลายคนมองเป็นปีศาจอันน่าเกลียดน่ากลัว

กระผมเองอยากให้คนไทยหลายคนไปหาหนังเรื่องนี้ดู อาจจะเป็นความรักแนวใหม่ที่ทลายกรอบคิดบางประการของใครหลายๆคน แน่นอนว่าอารมณ์แตกต่างจากหนังบ้านเราแน่นอน กลิ่นอายของหนังอาจทำให้เราเข้าใจอิสลามมากขึ้น เข้าใจว่าเขาคิดกันอย่างไร เขารักกันอย่างไร

หมายเหตุ : ผู้เขียนเป็นนักศึกษาฝึกงาน http://www.prachatai.com/

 

 

 

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …