Skip to main content

  

 

เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ เศรษฐีใหม่' หรือ ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติ

ถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ปม' เกี่ยวกับการนิยามอัตลักษณ์ หรือ การนิยามตัวตนที่แท้' อย่างที่หลายคนเข้าใจจริงๆ

รัฐบาลอเมริกันหลายยุคหลายสมัยทุ่มเทให้กับการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และส่งเสริมให้คนในสังคมแต่ละรุ่นตระหนักถึงประวัติศาสตร์ด้านต่างๆ ของประเทศชาติมาตลอด

หลักฐานยืนยันความพยายามที่ว่าก็คือจำนวน พิพิธภัณฑ์' ทั้งขนาดยักษ์ ขนาดใหญ่ และขนาดย่อย ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วทุกหัวระแหง รอคอยให้คนเข้าไปศึกษาหาความรู้ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ความเป็น 'สหรัฐ' ที่คนอเมริกันเชื่อว่า ไม่น้อยหน้า' ชาติเก่าแก่ทั้งหลายหรอกนะ!

:::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์:::

 

แม้กระทั่งในหนังภาคต่อของ Night at the Museum ตอน Battle of the Smithsonian ก็ยังคงตอกย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ (และประวัติศาสตร์) เหมือนเช่นเคย แต่ตัวละครดำเนินเรื่องจากภาคแรกอย่าง แลร์รี่ เดลีย์' (เบน สติลเลอร์)ไม่ได้เป็น ยามกะดึก' ในพิพิธภัณฑ์แล้ว แต่กลายเป็น นักธุรกิจ' ที่ประสบความสำเร็จ ได้เป็นเจ้าของบริษัทผลิตสินค้าจิปาถะในชีวิตประจำวัน แถมยังมีรายการโฆษณาสินค้าตัวเองออกฉายทางโทรทัศน์ซะด้วย

การผจญภัยในภาคนี้เริ่มขึ้นเมื่อพิพิธภัณฑ์ที่แลร์รี่เคยทำงานกำลังจะถูก ยกเครื่อง' ขนานใหญ่ ทำให้เพื่อนๆ ของแลร์รี่ที่เป็นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ อาทิ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือที่เรียกเล่นๆ แบบตีสนิทว่า เท็ดดี้' (รับบทโดยโรบิน วิลเลียม) หรือหุ่นคาวบอยจิ๋ว เจดีไดอาห์ สมิธ' (โอเว่น วิลสัน) และมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่พูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ล้วนถูกนำไปเก็บลงกรุใต้ดินที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนี่ยนในกรุงวอชิงตันดีซี

จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อภาคต่อนี้ว่า การต่อสู้ที่สมรภูมิสมิธโซเนียน' นั่นแล...

ส่วนตัวร้ายในภาคนี้ก็มี คาห์มุนราห์' อดีตกษัตริย์อียิปต์ (แฮงค์ อาซาเรีย) จักรพรรดิ นโปเลียน' แห่งฝรั่งเศส (อแล็ง ชาบาต์) และ อัล คาโปน' เจ้าพ่อเชื้อสายอิตาเลียน-อเมริกันในวัยหนุ่ม (จอห์น เบิร์นทัล) ซึ่งทั้งหมดนี้โผล่มาเพื่อหวังจะ ครอบครองโลก' (เหตุผลยอดนิยมในหนังครอบครัวฮอลลีวู้ด!!) โดยใช้พลังของแผ่นศิลาที่ตกทอดมาจากยุคอารยธรรมอียิปต์โบราณเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจ

ความวุ่นวายหลังไฟในพิพิธภัณฑ์ดับลง บวกกับความเพี้ยนของบรรดาหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกปลุกให้มีชีวิตเพราะอำนาจแห่งแผ่นศิลา ถูกจับมาำยำรวมกับมุขตลกเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของบุคคลสำคัญในอดีตทั้งหลายได้อย่างลงตัว ทำให้ภาพรวมของหนังดูสนุกเฮฮาไม่แพ้ภาคแรก ถึงแม้การกระจายบทของตัวละครอาจเฉลี่ยได้ไม่ดีนัก แต่ถ้ามองจากจุดขายของหนังซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น หนังครอบครัว' ให้เด็กดูได้และผู้ใหญ่ดูด้วย ก็ถือว่า ทำได้ดี-ทำได้ชอบ' แล้ว

ประกอบกับมีนักแสดงสาวหน้าใหม่ (สำหรับเรื่องนี้) อย่าง เอมี่ อดัมส์' มารับบทเป็น เอมิเีลีย แอร์ฮาร์ท' นักบินหญิงรุ่นบุกเบิกของอเมริกา ก็ยิ่งช่วยสร้างสีสันให้หนังน่าดูขึ้นมาอีกโข ^_^

ส่วนประเด็นหลักๆ ที่น่าอวยชัยให้พรอย่างยิ่งของหนังเรื่องนี้ คือการยืนยันว่าเราไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผูกขาด' การประเมินหรือนิยามประวัติศาสตร์เพียงลำพัง ต่อให้คนเหล่านั้นจะทำลงไปในนามของการปกปักรักษา คุณค่าทางประวัติศาสตร์' ก็ตามที และประเด็นที่ว่านี้ถูกนำเสนอออกมาในฉากการต่อสู้ชวนฮาระหว่างแลร์รี่ (อดีตยามกะดึก) และยามร่างตุ้ยนุ้ยประจำพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษา' สมบัติของชาติ ด้วยการ กีดกัน' ให้ประชาชนอยู่ห่างๆ สิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด (และอย่าได้คิดแตะต้องเป็นอันขาด!!)

แต่ดูเหมือนว่าเนื้อหาในภาคนี้จะระมัดระวังในการนำเสนอนัยยะทางประว้ติศาสตร์อย่างเข้มงวดมากๆ เพราะมีความพยายามที่จะแก้ไขและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมือง (Political Correctness) อยู่เต็มไปหมด เพือให้ตัวละครต่างๆ หลุดจากกรอบของอคติทางเพศและเชื้อชาติ แถมยังมีการตีความบริบทในประวัติศาสตร์โดยใช้มุมมองใหม่ๆ เข้าไปจับเหตุการณ์ในอดีตด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการแสดงความสามารถ (และความน่ารัก!) ของเอมีเลีย แอร์ฮาร์ท ในฐานะนักบินหญิงคนแรกที่ขับเครื่องบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพียงลำพัง ได้รับการยกย่องอีกครั้งในหนังเรื่องนี้ว่าเป็น ผู้บุกเบิก' เส้นทางการเป็นนักบินให้คนรุ่นหลังอย่างทีมนักบินทัสคีจีซึ่งเป็นชาวอเมริกันผิวสี ซึ่งจะว่าไปก็เป็นฉากชวนซึ้งแบบจงใจไปหน่อย แต่ก็ไม่น่าเกลียดจนรับไม่ได้

ส่วนประเด็นสำคัญที่มองเห็นได้อีกอย่างคือค่านิยมเรื่อง สังคมอเมริกันในอุดมคติ' ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะ Battle of the Smithsonian ดูจะสนับสนุนแนวคิดเรื่อง สลัดชามใหญ่' ที่มองว่าคนในสังคมอเมริกันควรมีความแตกต่างหลากหลายและคงอัตลักษณ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากที่ต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่ร่วมในดินแดนเดียวกันได้อย่างกลมกลืน

แนวคิดเรื่อง สลัด' ต่างจากแนวคิดเรื่อง เบ้าหลอม' หรือ หม้อต้ม' (Melting Pot) ที่เคยถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรษที่ 18-19 ซึ่งมีคนเปรียบเปรยว่าสังคมอเมริกันทำให้คนต่างเชื้อชาิติศาสนาสามารถ หลอมรวม' เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

กว่าจะรู้ว่าการ หลอมรวม' ให้เกิด ความเป็นเอกภาพ' นำไปสู่การปฏิเสธอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย และประวัติศาสตร์ที่เิพิ่งสร้างเหล่านี้มีส่วนทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังทำให้เกิดการ แบ่งเขา-แบ่งเรา' ที่พอกพูนกลายเป็นความขัดแย้งเรื้อรังจนเกือบจะสายเกินแก้

แ่ต่หนังไม่ได้ทำให้เรามองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น เพราะมีการเพิ่มบทบาทให้อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น รัฐบุรุษคนสำคัญตลอดกาลของชาวอเมริกัน ได้มีโอกาสออกมายิงวาทะเด็ดเพื่อเตือนสติคนดูว่า อย่าทำให้บ้านแตกแยก' ชวนให้นึกไปถึงสถานการณ์ภายในประเทศไทยตอนนี้ (และที่ผ่านมา) สุดๆ !!!

ขณะเดียวกันบทบาท นายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์' (บิล เฮเดอร์) ผู้บัญชาการรบที่นำทหารอเมริกันราว 700 นายต่อสู้นักรบเผ่าอินเดียนแดงในยุคสงครามกลางเมืองอเมริกา แต่พ่ายแพ้เสียชีวิตที่สมรภูมิลิตเติลบิ๊กฮอร์น ซึ่งเป็นตัวละครที่เพิ่มมาในภาคนี้ และเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อเมริกัน (ต่างจากคาห์มุนราห์ซึ่งออกแนวแฟนตาซีมากๆ) ถูกนำเสนอเพื่อให้คนดูได้ตีความใหม่ว่า ความพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องซ้ำรอยเดิมในปัจจุบันหรือไม่?' ก่อนจะนำไปสู่การคลี่คลายสถานการณ์ในตอนท้ายสุด

ทั้งนี้ทั้งนั้น...รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดที่ว่ามา อาจเกิดจากความตั้งใจของทีมผู้สร้าง หรือไม่ก็อาจเป็นเพียงความฟุ้งซ่านจับแพะชนแกะของคนดูคนนี้เอง แต่ถ้าเนื้อหามันทำให้นึกฟุ้งไปไกลได้ขนาดนั้น หนังสูตรสำเร็จของฮอลลีวู้ดเรื่องนี้ก็น่าจะคุ้มค่าตั๋วอยู่พอสมควร

 

- ซาเสียวเอี้ย -

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …