Skip to main content

ก่อนจะนั่งลงเขียนคอลัมน์นี้ ไม่อยากเชื่อเลยว่า 72 ชั่วโมงที่ผ่านมานี้เอง 7 ประเทศ กำลังผจญกับวิกฤตพายุถล่มและน้ำท่วมชนิดที่ยังรอการช่วยเหลือและสรุปยอดผู้เสียชีวิตยังไม่ได้


เริ่มตั้งแต่เยอรมนี เจอพายุหนักทางตอนใต้ของประเทศ จนต้องปิดถนน บ้านหลายหลังพังพินาศ มาถึงประเทศยูเครน ที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 16 คน ประชาชน 2 หมื่นกว่าคนอยู่ในความมืดเพราะไม่มีไฟฟ้า ตามด้วยโรมาเนีย ที่ประกาศอพยพคนออกจากเมืองนับสิบเพราะน้ำกำลังท่วมอย่างหนัก ส่วนพายุที่กระหน่ำเกาะเหนือของ นิวซีแลนด์ นั้นมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน และผู้สูญหายอีกหลายคน


ดูเหมือนฝั่งยุโรปอาจจะดูไกลไปหน่อย กลับมาที่เอเชียของเราที่ ไต้หวัน เพิ่งผ่านศึกหนักจากพายุไต้ฝุ่น “คัลเมจิ” ไปไม่ถึงสัปดาห์ ก็เจอกับพายุ “ฟองวอง” (Fung-Wong) ซึ่งเป็นชื่อยอดเขาของจีน ตามลักษณะการตั้งชื่อที่ตกลงกันไว้ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นเมื่อต้นปี 2008 นี้ ที่ให้แต่ละประเทศมีชื่อพายุได้ 10 ชื่อเป็นภาษาท้องถิ่น


29_7_01

ภาพถ่ายทางอากาศของพายุฟองวอง (Fung-Wong)


ฟองวอง” เป็นเจ้าไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลม 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มต้นเคลื่อนผ่านเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ สร้างความเสียหายไป 6 พันกว่าหลังคาเรือน แล้วก็ถล่มไต้หวันด้วยการพัดชายวัย 68 ปีถูกลมพัดตกจากหลังคาบ้านขณะซ่อมแซมบ้าน และก็เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนบ้านเรือนพังและเสียหายมากมาย ยังไม่พอนะ ยังจะเคลื่อนที่ไปต่อยังชายฝั่งตะวันออกของจีน ที่ว่ากันว่าเป็นพายุที่แรงที่สุดในปีนี้เลยทีเดียว จีนก็เลยต้องอพยพคนกว่า 2.7 แสนคน ออกจากพื้นที่มณฑลฟูเจี้ยน และเรียกเรือ 5 หมื่นกว่าลำกลับเข้าฝั่ง รวมแล้วผู้เสียชีวิตยังไม่สรุป แต่ไม่น้อยกว่า 20 คนในตอนนี้


ประเภทและชื่อเรียกพายุ


อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้ว ว่าพายุเกิดจากบรรยากาศที่ถูกรบกวน ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนไหว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็มีผลต่อความเสียหายเท่านั้น ส่วนใหญ่พายุเมื่อก่อตัวแล้วก็มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมานั้น ได้มีการแบ่งพายุเอาไว้หลากหลายประเภท ตอนนี้ เรามาทบทวนรูปแบบพายุและชื่อเรียกด้วยกันดีกว่าค่ะ


พายุฝน และฟ้าคะนอง ก็มีลมพัด ทั้งพัดไปทางเดียวกันหรือพัดย้อนกันไปมาก็ได้ เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลงก็ได้


พายุหมุนเขตร้อน เช่น เฮอริเคน ไต้ฝุ่น ไซโคลน และพายุทรายหมุน เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ เริ่มก่อตัวในทะเล ถ้าเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร ก็จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่ถ้าเกิดใต้เส้นศูนย์สูตร ก็จะหมุนตามเข็มนาฬิกา ตามรูปค่ะ

29_7_02 29_7_03

ภาพพายุหมุน ทวนเข็มนาฬิกา และตามเข็มนาฬิกา



การเรียกชื่อพายุหมุนนั้น เรียกตามสถานที่เกิด เป็นต้นว่า ถ้าเกิดแถวๆ มหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก ก็เรียก เฮอริเคน
(hurricane) ถ้าเกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียก ไต้ฝุ่น (typhoon) ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดีย เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เรียกว่า ไซโคลน (cyclone) แต่ถ้าเกิดแถวทะเลติมอร์และตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียจะเรียกว่า พายุวิลลี่-วิลลี่ (willy-willy)


29_7_04

ภาพถ่ายเฮอริเคน เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2004 Highway 12 Nebraska Supercell
ช่างภาพโดย Mike Hollingshead


29_7_05

ภาพถ่ายเทอร์นาโด เมื่อ 9 มิถุนายน 2005 Hill City to Stockton Kansas

ช่างภาพโดย Mike Hollingshead


ส่วนพายุโซนร้อน ก็เกิดเมื่อพายุเขตร้อนอ่อนตัวเคลื่อนไปทะเล ส่วน ดีเปรสชั่น ก็เกิดจากความเร็วที่ลดลงของโซนร้อน และ ทอร์นาโด เรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา หากเกิดในทะเลก็เรียกกันว่า Wator Spout หรือ “นาคเล่นน้ำ” ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง ก็เรียกกันว่า “ลมงวง”


29_7_06

ภาพถ่ายนาคเล่นน้ำ หรือ Wator Spout จาก ฟลอริด้า เมื่อ 20 มกราคม 2005 โดย Joseph Golden



29_7_7a
ภาพถ่าย งวงช้าง จาก อ
.บางสะพาน เมื่อ 6 เมษายน 2550 ช่างภาพโดย Noumy


สำหรับชื่อ “สลาตัน” นั้นเป็นชื่อไทยๆ ที่เรียกพายุปลายฤดูฝน ที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และยังใช้เรียกพายุที่รุนแรงทุกชนิดได้ด้วย ส่วนอีก 2 ประเภทที่ไม่ค่อยเจอบ่อย ก็คือ พายุทรายหมุน (Dust Devil) และน้ำวน (Whirlpool)


29_7_08

ภาพถ่ายพายุทรายหมุน จาก บริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยมิชิแกน เมื่อ 8 มิถุนายน 2005 ภาพโดย องค์การนาซ่า



29_7_09

ภาพน้ำวน จาก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ กันยายน 2550 ภาพโดย พิธาน



ทบทวนพอเป็นพิธีก่อนกับประเภทพายุ ระหว่างติดตามข่าวของเจ้าฟองวองกันอยู่นี้ ตอนหน้าเราค่อยมาคุยกันต่อว่าทำไมพายุถึงมีชื่อสวยๆ แปลกๆ มากมายให้เลือก มาจากอะไรกันบ้าง และพายุชื่อสวยๆ แต่พิษสงร้ายกาจนี้จะมีอะไรเตือนบ้างก่อนจะมาถึง และจะรับมือได้ยังไงค่ะ
: )


ข้อมูลอ้างอิงจาก :

Typhoon Fung-wong Slams Into Taiwan, China Next

http://funscience.gistda.or.th/tornado/tornado.html

http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=9706

http://www.nasa.gov

http://www.funscience.gistda.or.th

http://th.wikipedia.org

http://www.tmd.go.th/storm_tracking.php


บล็อกของ dinya

dinya
ใครกำลังรู้สึกเหมือนฉันไหมว่า ความรุนแรงและมหันตภัยไร้ระเบียบ กำลังรอถล่มเราอยู่? ไม่รู้จะพูดเกินเหตุไปไหมนะ ไม่ถึงกับหวาดผวา แต่ว่าหวั่นนิดๆ หลังจากเกิดพายุนาร์กิสถล่ม แผ่นดินไหวที่จีน น้ำท่วมต่อมา แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้ยังมีพายุที่ฟิลิปปินส์อีก เชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิต 87,000 คนและสูญหายอีก 5 ล้านคนจากแผ่นดินไหวที่จีน ยังเป็นเรื่องที่ช็อกเราอยู่ จนน่าตั้งคำถามว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น มีอะไรเตือนล่วงหน้ากันบ้างไหม ? ว่ากันว่า ลางสังหรณ์ หรือ Omen ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนที่จีน ใช้เป็นข้อเสนอให้มีการหยุดงานเพื่อเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติ…