Skip to main content

  

 

จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์

ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะแก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ

บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย

เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.. 2473 (ที่ตอนนี้ ได้ฉบับใหม่มาประกาศใช้แทนเรียบร้อย ร.ร. สนช. ไปแล้ว)


แต่ก็นับว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของประชาชน เพราะได้กำหนดถึงวิธีการได้มาซึ่งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ที่จะมาทำหน้าที่บริหารประเทศ ออกกฎหมาย และควบคุมไม่ให้การกระทำของฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมาย หรือไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ แทนเรา (ซึ่งจะขอพูดถึงในลำดับต่อไป)

ยิ่งมาตรา 237 ที่ว่าด้วยเรื่องของการยุบพรรคการเมือง ยิ่งสำคัญกับเราทุกคน ตามที่ 5 อาจารย์แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า ไม่เห็นด้วยกับการตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อยุบพรรคการเมือง เพราะเท่ากับความผิดของบุคคลคนเดียวนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนมากซึ่งไม่ได้ทำผิด อีกทั้งการเอาผิดกับบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำ ยังขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรงด้วย

หากรัฐธรรมนูญไม่สามารถตีความครอบคลุมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ เรื่องอื่นๆ ที่คงจะหวังได้ยาก... อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะขอหยุดการแสดงความเห็นเรื่องมาตรา 237 ไว้ตรงบรรทัดนี้ เพราะได้มีผู้แสดงความเห็นไปแล้วหลาย คน (และผู้เขียนเห็นด้วย)

เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ทันทีที่ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร กลุ่มพันธมิตรฯ ก็จะมีความชอบธรรมและจะชัดเจนว่าจะเคลื่อนไหวโดยการชุมนุมหรือไม่ เพราะมีจุดยืนคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่ามาตราใดๆ เนื่องจากไม่ใช่เรื่องสำคัญ โดยเห็นว่า รัฐบาลควรจะแก้ไขปัญหาอื่นของประเทศชาติก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ผู้เขียนเห็นต่างว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน เพราะการออกแบบการได้มาซึ่ง ส.ส. ส.ว. รวมถึง ศาล และองค์กรอิสระนั้น ออกจะบิดเบี้ยวไม่น้อย

เริ่มตั้งแต่ ส.ว. การสรรหา ส.ว. เกือบครึ่งหนึ่ง (74 คน) มาจากคณะกรรมการ 7 คน ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนที่ประชุมศาลฎีกา และตัวแทนที่ประชุมศาลปกครองสูงสุด

(โดยที่ ส.ว. ทั้งสรรหา และเลือกตั้ง นั้น สามารถถอดถอน ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้  และมีอำนาจแต่งตั้ง-ถอดถอนองค์กรอิสระ หรือก็คือบุคคลที่เลือกตนเองมาได้ด้วย)

ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะได้มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนที่ประชุมศาลฏีกา ตัวแทนที่ประชุมศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนที่ประชุมศาลฏีกา ตัวแทนที่ประชุมศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ตรวจการแผ่นดิน สรรหาโดยโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนที่ประชุมศาลฏีกา และตัวแทนที่ประชุมศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[2]

นอกจากนี้ ขณะที่รัฐธรรมนูญห้ามกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัคร ส.ส. ส.ว. แต่กลับไม่ห้ามดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ[3] ทั้งยังไม่มีการห้าม ส.ส.ร. และ สนช. ดำรงตำแหน่ง ส.ส. และ ส.ว.[4] ทั้งที่ ส.ส.ร. มีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐธรรมนูญ ที่ออกแบบการได้มาซึ่ง ส.ส. ส.ว. และ สนช.ก็เป็นผู้ผ่าน พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว.

หลักการไขว้กันขนาดนี้ ไม่แก้คงไม่ได้?

 



[1] ดู ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : ฐานะและบทบาททางประวัติศาสตร์ของรธน.ในระบบประชาธิปไตยไทย

[2] ดู ตารางเปรียบเทียบจำนวน ที่มา ของศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี2540และ2550

[3] จรัญ ภักดีธนากุล และสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้รับการสรรหาเป็นว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

[4] คำนูณ สิทธิสมาน และสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา

 

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
Hit & Run
  โจว ชิงหมาเกิด     ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)    
Hit & Run
เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน” หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์…
Hit & Run
ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ…
Hit & Run
สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน
Hit & Run
ก่อนที่คนเสื้อแดงจะได้รับการยอมรับนับถืออย่างทุกวันนี้ เราผ่านอะไรมามากมาย และมาวันนี้เราอาจจะลืมอะไรไปมากมายเช่นกัน ทุกวันนี้การสอดแทรกประเด็นประชาธิปไตยเพื่อผูกโยงกับมวลชนคนรักทักษิณเป็นเรื่องหลักๆ ที่เราพูดถึงกัน โดยจุดสำคัญที่ฝ่ายที่เรียกว่าตนเองเป็น“ฝ่ายที่เป็นปัญญาชน-ฝ่ายที่ต้านลัทธิเสรีนิยม” สามารถมายืนข้างคนรักทักษิณได้อย่างไม่เคอะเขิน ก็คือการที่คุณทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาตามวิถีประชาธิปไตยแล้วถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหาร
Hit & Run
“กม.มั่นคงคุมเขตดุสิต แดงเย้ยตื่นตูม พท.ชี้ยั่วยุคนมาชุมนุม นายกฯ อ้างมีข่าวมือที่สาม”
Hit & Run
ขอ 'อภัย' ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ(ไม่) เกี่ยวข้องกับการ 'อภัย' ใน 'โทษ' ของคนตนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!
Hit & Run
ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น
Hit & Run
คุณ ลิเดีย กูวารา อาจไม่ได้มีความงามตามแบบฉบับสาวทั่วไป แต่ จากองค์ประกอบการจัดวาง การตกแต่ง อุปกรณ์เสริมคือแครอทเป็นเหมือนแถบคาดกระสุน รวมถึงการโพสท์ท่าของเธอ ทำให้ดูมีเสน่ห์ด้วยพลังของความเป็นชาย (masculine) ...แม้แครอทจะดูเล็ก ๆ เหี่ยว ๆ ไปหน่อยก็ตาม
Hit & Run
ในปีนี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐคว้ารางวัล “ภาพข่าวยอดเยี่ยม” ไปครอง หลังจากนั้นมาไม่กี่วันก็แทบจะต้องเพิ่มตำแหน่งมิสป๊อบปูล่าไปให้ด้วย เพราะมันไม่ใช่ได้รางวัลแล้วก็แล้วกันไปแบบทุกปี หากแต่ถูกพูดถึงอย่างมากมาย โดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ มีทั้งคำชื่นชมและผรุสวาทให้ระงม ฐานที่เกี่ยวพันกับการเมืองลูกกวาดหลากสีของเราเต็มๆ ในฐานะที่ไม่ใช่คณะกรรมการ (และไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ด้วย) ขอประกาศสนับสนุนคณะกรรมการที่ให้รางวัลแก่ภาพนี้ โดยจะขอยกเหตุผลเพิ่มเติมจากท่านคณะกรรมการตัวจริงที่อาจพูดสั้นไป เพราะท่านคงไม่อยากต่อล้อต่อเถียงกับพวกไม่รู้จักจบจักสิ้น ไม่รู้จักแพ้ชนะ ทั้งยังไม่มีองค์ความรู้ด้านสื่อสารมวลชน…
Hit & Run
ภาพจาก: http://imaim.wordpress.com แรงกระเพื่อมของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ต่อเรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ต้องมานั่งนับวันว่า เมื่อไหร่จะถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้นี้จะเขาที่ประชุม ครม.เพื่อลุ้นเอาแค่กฎหมายฉบับนั้นจะผ่านครม.เข้าสู่สภาฯ ได้หรือไม่ แล้วค่อยไปว่ากันต่อด้วยเรื่องหน้าตาว่าจะออกมาสวย หล่อ เพียงใด ตามที่ รมว.คลัง ท่านบอกผ่านสื่อมวลชนไว้ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนด 2 สัปดาห์ นี่ก็คงอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ล่าสุด รมว.คลังกล่าวผ่านสื่อว่า กระทรวงการคลังยังเดินหน้าแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.…