Skip to main content

การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโยงขนส่ง 

เป้าหมายหลักสำคัญก็คือการพยายามเชื่อมโยงภายในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคต่างๆ 

ในกรณีของจีน โครงการ One-Belt, One-Road หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า Belt-Road Initiative (BRI) กลายเป็นประเด็นใหญ่สำคัญของการเมืองระหว่างประเทศของจีน

 

ที่มาขอรูปภาพ (Photo Credit): https://asia.nikkei.com/Politics/International-relations/Japan-s-aid-spending-pales-to-what-China-is-doing 

ในขณะที่บทบาทของญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีการประกาศ "ชื่อ" ยุทธศาสตร์หลักที่พยายามเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน แต่โครงการสนับสนุนแบบทวิภาคีและแบบพหุภาคี (ผ่าน ADB หรือความริเริ่มระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคต่างๆ) เป็นสิ่งที่สะท้อนเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในการสนับสนุนการเชื่อมโยงผ่านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานมาอย่างต่อเนื่อง

เอาเข้าจริงแล้ว ปรากฏการณ์ของการเห็นบทบาทของประเทศมหาอำนาจที่พยายามสร้างความเชื่อมโยง หรือการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือโครงการ Mega-Projects ต่างๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะความพยายามเหล่านี้เป็นเครื่องมือของประเทศใหญ่ๆ มาโดยตลอดนับเนื่องตั้งแต่ส่งครามโลกครั้งที่สอง ทั้งการสนับสนุนการสร้างเขื่อน โรงไฟฟ้า การสร้างถนนหรือสะพานเป็นต้น

ในกรณีของจีนกับญี่ปุ่นที่พยายามสร้างความเชื่อมโยงเอเชียเข้าไว้ด้วยกันก็เห็นการแข่งขันกันมาโดยตลอด ผู้เขียนได้เคยเสนอเอาไว้ในงานเขียนหลายชิ้นแล้วว่า โครงการเหล่านี้มีผลที่สลับซับซ้อนหลายมิติ เช่น

การเมืองและความมั่นคง: การพยายามสร้างความริเริ่ม โครงการ หรือกรอบความร่วมมือต่างๆ เป็นการพยายามแสดงบทบาทนำของประเทศมหาอำนาจในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาค เป็นการแสดงให้เห็นความสามารถในการเป็น "ผู้นำ" ของภูมิภาค อีกทั้งยังทำให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจของประเทศผู้ให้และประเทศผู้รับ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับประเทศผู้รับความช่วยเหลือ เป็นต้น 

เศรษฐกิจ: แน่นอนว่าการสร้างโครงการขนาดใหญ่หรือการสร้างความเชื่อมโยงจะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคต่างๆ ทั้งการรับความช่วยเหลือ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเกิดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจภายในประเทศหรือระดับภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน หรือระบบเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ การจ้างงาน การเปลี่ยนแปลงกฎหมายทางการค้าหรือการลงทุนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

สังคมและวัฒนธรรม: เนื่องจากผลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ได้กล่าวไป การเกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ การพัฒนา ความเหลื่อมล้ำ นำมาซึ่งปัญหาหรือความท้าทายใหม่ๆ จำนวนมากทางสังคม ทั้งเรื่องการศึกษา คุณภาพชีวิตของประชากร การเคลื่อนย้ายของแรงงาน เชื้อโรค ขยะ สารพิษ และอื่นๆ อีกจำนวนมาก เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลจากการที่จีนและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำการค้าการลงทุน และมีส่วนในการพัฒนาพื้นที่และความเชื่อมโยงต่างๆ

การเชื่อมโยงของสาธารณูปโภคไม่ควรถูกมองในระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราได้เห็นการขยายตัวของวิธีคิดว่าด้วยความเชื่อมโยงจากระดับภูมิภาคไปสู่ภูมิภาคที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือ จากที่ความพยายามแต่เดิมนั้น แรกเริ่มคือการพยายามทำให้เกิดระบบถนนภายในประเทศ เชื่อมชุมชน จังหวัด ตลาด และได้ขยายออกไปยังระดับภูมิภาค เช่นการที่ไทยเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน และต่อมาก็เชื่อมไปยังระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แผนการความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน และต่อมาก็ได้ถูกเชื่อมไปกับระบบการเชื่อมโยงกับภูมิภาคที่ไกลออกไป เช่น เอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้

การขยายตัวของวิธีการคิดเรื่องการเชื่อมโยงนี้มี implications ต่อความท้าทายของนโยบายต่างประเทศของไทยในประเด็นใดบ้าง?

  1. ประเด็นพื้นฐานที่สุดก็คือ เราควรเริ่ม "ตระหนัก" ว่าไทยไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวในระบบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ รัฐไทยมีการเชื่อมโยงกับพื้นที่ต่างๆ การเชื่อมโยงนี้ท้าทายมิติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการพัฒนาทางสังคมหลายระดับ ทั้งระดับชุมชน ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ และมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม (ในประเด็นนี้ ผู้เขียนได้พยายามหาโอกาสเขียนอธิบายลงรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปในครั้งหน้า)
  2. จากข้อที่ 1 ที่ไทยควร "ตระหนัก" ถึงความเชื่อมโยงนี้แล้ว รัฐไทยก็ต้องเห็นต่อไปว่า รัฐไทยอยู่ใน "จุดเชื่อมต่อ" หรือ "จุดทับซ้อน" ของพื้นที่ของการแข่งขันอย่างชัดเจน เพราะภูมิรัฐศาสตร์ไทยที่ตั้งอยู่ในจุดกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป การเชื่อมโยงที่จีนพยายามผ่านไทยลงมายังทะเลด้านใต้ หรือการที่ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นจุดเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และยังสามารถเชื่อมไปยังเอเชียใต้ได้อีกทำให้เห็นว่าไทยเป็นเหมือนจุดที่สำคัญในการเชื่อมภูมิภาค 3 ภูมิภาคเข้าไว้ด้วยกัน คือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้
  3. เมื่อเราเห็นว่าเราเป็นจุดทับซ้อนหรือจุดเชื่อมต่อของการเชื่อมโยงแล้ว แนวนโยบายที่ควรเป็นก็ไม่เพียงแต่การพยายามบอกกับตัวเองว่าเราต้อง Balance นโยบายต่างประเทศของไทยไปกับประเทศต่างๆ แต่ประเด็นที่ไทยอาจจะ "เล่น" หรือ "แสดงบทบาทนำ" ในการเป็นจุดเชื่อมต่อนี้เองก็การคือที่ไทยอาจลองใช้การมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือคณะรัฐศาสตร์ ในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยเน้นไปที่การศึกษาเชิงนโยบายระดับมหภาคมากขึ้น
  4. จากข้อที่ 3 ผู้เขียนในฐานะผู้สอนในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พบว่า ปัญหาหนึ่งของการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาคหรือระดับโลกก็คือ งานวิจัยที่ปรากฏในไทยมีอยู่สองระดับ คือระดับชุมชนและระดับนโยบายรัฐ ในระดับชุมชนก็จะเน้นการทำวิจัยผลกระทบที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างกัน ทั้งการเปลี่ยนแปลงของเมือง เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเป็นมิติเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก ในขณะที่งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐก็จะเป็นปัญหาเชิงเทคนิค ปัญหาด้านกฎหมาย แต่มิติที่ผู้เขียนพบว่ายังขาดไปในงานวิจัยก็คือ รัฐบาลไทยหรือหน่วยงานวิจัยยังไม่ได้ลองเพิ่มมิติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้าไปในงานวิจัยด้านการเชื่อมโยงระหว่างกัน ปัญหานี้ทำให้เราไม่เห็นว่ารัฐไทยอยู่ในกระแสพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่นโยบายต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจได้เข้ามาส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนหรือเชิงโครงสร้างที่เป็นประเด็นวิจัยที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้า หรือจะกล่าวให้เห็นอีกแง่ก็คือ งานวิจัยที่ผ่านมาไม่ได้มองว่าการเชื่อมโยงระหว่างประเทศเหล่านั้นเป็นผลของนโยบายต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจ ทำให้มิติการวิเคราะห์เป็นแบบเฉพาะหน้า ปัญหาเชิงเทคนิค และไม่ได้มองไปว่าพลวัตการเปลี่ยนแปลง หรือการแข่งขันของประเทศมหาอำนาจจะส่งผลต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงอย่างไร ดังนั้น รัฐไทยก็จะได้แต่งานวิจัยที่ตอบปัญหาเชิงเทคนิคมากกว่างานวิจัยที่จะมองไปยังแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

----------

เกี่ยวกับผู้เขียน: นรุตม์ เจริญศรี เป็นอาจารย์ประจำสำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีเมล์ narut.c@cmu.ac.th 

----------

ผู้สนใจอาจดูเอกสารที่ผู้เขียนได้เคยตีพิมพ์แล้ว

นรุตม์ เจริญศรี. (2561). ภูมิภาคสาธารณูปโภคพัฒนาวิเทศคดี: บทบาทญี่ปุ่นกับการพัฒนาระบบการขนส่งระหว่างประเทศ และผลต่อภูมิภาคนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นรุตม์ เจริญศรี. (2560). การขนส่งระหว่างประเทศกับความมั่นคงใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. จุลสารความมั่นคงศึกษา, เล่มที่ 184.

นรุตม์ เจริญศรี. (2559). ยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นกับการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซีย. จุลสารความมั่นคงศึกษา, เล่มที่ 175.

นรุตม์ เจริญศรี. (2553). ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. จุลสารความมั่นคงศึกษา, เล่มที่ 86.

หรืองานอื่นๆ คลิก

บล็อกของ นรุตม์ เจริญศรี

นรุตม์ เจริญศรี
หากใครติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ เนื้อเรื่องภายในก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน (bully) กันในสังคมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรง ทางอ้อม แล้วก็ส่งผลต่อจิตใจของเด็กวัยรุ่นอย่างมาก วรรณกรรมที่ออกมาก็สะท้อนภาพการ
นรุตม์ เจริญศรี
ภายใต้เป้าหมายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันของภูมิภาค (regional connectivity) ในอาเซียนภายใต้ “แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master plan on ASEAN connectivity 2025: MPAC) เป้าหมายและเครื่องมือรวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานนั้นตั้งอยู่บนวิธีคิดแบบเน้นตลาดเป็นหลัก (market-oriented app
นรุตม์ เจริญศรี
One of the main issues of 
นรุตม์ เจริญศรี
ผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอความคิดทางวิชาการในการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเมื่อวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2563 และอยากนำเอาประเด็นที่ได้นำเสนอไว้มาเขียนบอกเล่าให้ฟังต่อกัน
นรุตม์ เจริญศรี
การเมืองระหว่างประเทศยังคงเป็นเรื่องของการต่อสู้กันของประเทศมหาอำนาจในการพยายามเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลในมิติต่างๆ ที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้เห็นปรากฏการณ์ของการที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและญี่ปุ่นแข่งขันกันในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโ
นรุตม์ เจริญศรี
(ไม่เปิดเผยเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ)
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรี
ประเทศสมาชิกของ CPTPP (ที่มา:
นรุตม์ เจริญศรี
นรุตม์ เจริญศรีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
นรุตม์ เจริญศรี
อัตลักษณ์ทางการแข่งขันของประเทศเอสโตเนีย ระหว่าง ค.ศ.1991-2011 โดย สมพงค์ พรมสะอาด