Skip to main content


Kasian Tejapira(13/10/2012)

 


มีนักคิดปัญญาชนบางท่านที่ต่อต้านรัฐประหารของ คปค. เสนอว่า โลกาภิวัตน์ ไปกันได้กับ ประชาธิปไตย และ ความเป็นธรรมทางสังคม และเสนอให้ชูธงชาติไทย ๓ ผืนนี้ควบคู่กันไป ( ดู บทความ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : ธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัฒน์ )

แต่นี่เป็นความจริงหรือความฝันกันแน่?

Credit Suisse Research Institute ได้เผยแพร่รายงานประจำปีล่าสุดเรื่อง Global Wealth Report 2012 เผยให้เห็นความเหลื่อมล้ำสุดโต่งในโลกปัจจุบันภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ราว ๓ ทศวรรษกว่าที่ผ่านมาว่า:

หากดูจากยอดบัญชีโภคทรัพย์ (wealth) หรือนัยหนึ่งทรัพย์สิน เงินลงทุนและหนี้สินของครัวเรือนทั่วโลก ก็จะพบการกระจายตัวของโภคทรัพย์ในหมู่ประชากรผู้ใหญ่ (adults) ในโลกเหลื่อมล้ำเป็นรูปพีระมิดดังนี้

-สีดำตรงยอดสุดแทนคน ๒๙ ล้านคน คิดเป็น ๐.๖% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่ากว่า ๑ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯขึ้นไป รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๘๗.๕ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง ๓๙.๓% ของโภคทรัพย์ในโลก

-สีเทารองลงมาแทนคน ๓๔๔ ล้านคน คิดเป็น ๗.๕% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่าระหว่าง ๑ แสน --> ๑ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๙๕.๙ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็น ๔๓.๑% ของโภคทรัพย์ในโลก

-สีฟ้าอันดับที่สามแทนคน ๑,๐๓๕ ล้านคน คิดเป็น ๒๒.๕% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่าระหว่าง ๑ หมื่น --> ๑ แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๓๒.๑ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็น ๑๔.๔% ของโภคทรัพย์ในโลก

-สีเขียวฐานล่างสุดแทนคน ๓,๑๘๔ ล้านคน คิดเป็น ๖๙.๓% ของประชากรโลก แต่ละคนถือครองโภคทรัพย์มูลค่าต่ำกว่า ๑ หมื่นดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมแล้วเป็นยอดมูลค่าโภคทรัพย์ ๗.๓ ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คิดเป็นแค่ ๓.๓% ของโภคทรัพย์ในโลก

ในระบอบเสรีประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง เงินเป็นปัจจัยสำคัญมากในการก่อตั้งพรรคและรณรงค์หาเสียง ด้วยความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์เช่นนี้ อำนาจเสียงข้างมาก (เกือบ ๗๐% ของประชากรฐานล่าง) ย่อมถูกกีดขวางทัดทานจากอำนาจทุนมหาศาล (เกือบ ๔๐% ของโภคทรัพย์ในโลก) ของคนไม่ถึง ๑% ของประชากรในโลกบนสุด

กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด

ระบบทุนนิยมประชาธิปไตย (Democratic Capitalism) ที่แพร่หลายในโลกตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เอาเข้าจริงจึงตั้งอยู่บนเงื่อนไขแห่งความตึงเครียดขัดแย้ง ไม่ใช่อุดหนุนคล้องจองกัน และเต็มไปด้วยวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า จนดุลอำนาจเปลี่ยนภายใต้แนวนโยบายเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์ กลายเป็นทุนนิยมอยู่เหนือประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยที่นับวันไม่เต็มใบหรือครึ่งใบซึ่งเบ้ไปทางทุน ดังที่เห็นอยู่ในหลายประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจทุกวันนี้ (ดูบทความของ Wolfgang Streeck เรื่องนี้ได้ที่ http://newleftreview.org/II/71/wolfgang-streeck-the-crises-of-democratic-capitalism)

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเป็นธรรมในสังคม ภายใต้ความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ในโลกแบบนี้ มันจะมีได้อย่างไร? เป็นฝันกลางวันแสก ๆ โดยแท้!

 

 

จากบทความเดิมชื่อ: ความเหลื่อมล้ำสุดโต่งในโลก: โลกาภิวัตน์น่ะรึจะนำไปสู่ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม? 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"