Skip to main content

มองหลากมุม: ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?

ที่มาภาพประกอบ theloftatlizs.com

Kasian Tejapira(14/11/55)

Write a comment...

Options
Bus Tewarit


"คิดไม่ตกว่าขณะที่เราปกป้องเสียงและดุลยพินิจของประชาชนว่าดีกว่าผู้ทรงศีลหรือนักสิทธิจากการแต่งตั้ง แล้วเราจะปฏิเสธเฮชสปีชได้ไง เราจะบอกได้ไงว่าการพูดแบบนั้นแบบนี้มันจะทำให้คนทำร้ายกับโดย "การพูด" ในเมื่อคุณบอกว่าปนะชาชนมีดุลยพินิจของตนเอง? มันขัดกันมั้ย"

 

Kasian Tejapira

๑) ประชาชน ผม คุณ ไม่ใช่เทวดา เรามีทังด้านสว่าง ด้านมืด ประชาชนโง่ ผิด หลงใหลได้พอ ๆ กับนักสิทธิจากการแต่งตั้งและนักวิชาการ ปัญญาชนทุกคน รวมทั้งผมด้วย ไม่มีใครเกิดมาดวงตาเห็นธรรมแต่เกิด และดวงตาเห็นธรรมตลอดไป

๒) ดังนั้น สังคมหนึ่ง ๆ จึงสร้างกฎในการอยู่ร่วมกันของผมกับคุณและคนที่ต่ำกว่าเทวดาทุกคนไว้เสมอ ไม่ว่าประชาชนทั่วไปหรือคนกลุ่มใดจึงมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อขีดเส้นกำกับการพูดการเขียนเอาไว้ ไม่ให้ไปรังแกทำร้ายล่วงเกินผู้อื่น เช่น คำบรรยายของผมในชั้นเรียน ไม่มีเสรีภาพจะยุให้นักศึกษาไปฆ่าอาจารย์ท่านอื่น เพราะเขาเลวผิดมนุษย์ รับใช้เผด็จการ ฆ่ามันเลย หรือไม่มีสิทธิ์จะพูดลวนลามรังควานทางเพศต่อนักศึกษาในชั้น แล้วอ้าง free speech, เพราะเราอยากได้เสรีภาพทางการพูดการเขียนการแสดงออก แต่เราไม่บ้าพอจะเอาแต่เสรีภาพอย่างเดียว แล้วทำลายคุณค่าอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น สิทธิในร่างกายชีวิตทรัพย์สิน การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นและตัวเอง เราอยากได้อันหลังน้้นด้วย อย่าบอด อย่าบ้าจนเอาแต่เสรีภาพแล้วไม่คำนึงอย่างอื่นเลย มันเท่ากับบอดและบ้าจนเอาแต่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น จนทำลายเสรีภาพหมดเลย มันบอดและบ้าพอ ๆ กัน อย่าเป็นเอง อย่าชวนโลกเป็น

๓) ปัญหาอยู่ตรงกฎเกณฑ์นี้วางอย่างไร กำหนดจากไหน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมและเห็นต่างอย่างเสมอภาคกันไหม? และเมื่อวางกฎเกณฑ์แบบมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคแล้ว จะมีขั้นตอนกระบวนการเปิดให้คนเห็นต่างแสดงความเห็นต่างและนำไปสู่การแก้ไขโดยเสียงข้างมากตามกฎกติกาอย่างไร?

๔) สิ่งที่ควรเกลียดชังไม่ใช่การมีกฎเกณฑ์ แต่คือกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ที่ไม่เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมกำหนดเองและทำตามสิ่งที่ตัวเองกำหนดอย่างเสมอภาค และมีเนื้อหาที่ปิดกั้นเกินไปจนทำลายการสื่อสารและสร้างสรรค์ที่พึงมี

๕) เรื่องนี้ในทุกสังคมไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว hate speech หรือ speeches อื่น ๆ ที่ก่อปัญหาหมายถึงอะไรบ้าง? เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ต้องขีดเส้นกั้นคืออะไร? ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปแกะกล่องใช้ได้ถาวรทุกสังคม ไม่มี มันเป็นเรื่องเราต้องลงมานั่งคุยกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันเถียง และวางว่ามันอยู่ตรงไหน เท่าที่เราคิดออกตอนนี้ ใช้ไป ถ้าผิด ก็มีกระบวนการมาคิดกันใหม่ แก้ใหม่อีก ไม่มีหรอกกฎภาววิสัยสากลจากเทวดาที่เหมือนกันทุกสังคมและทุกคนต้องเห็นด้วย และไม่ควรมีกฎอัตวิสัยของผู้มีอำนาจ กฎเดียวที่ควรมีคือกฎที่ intersubjective ไม่ใช่ objective ล้วน ๆ หรือ subjective ล้วน ๆ

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ