Skip to main content

มองหลากมุม: ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?

ที่มาภาพประกอบ theloftatlizs.com

Kasian Tejapira(14/11/55)

Write a comment...

Options
Bus Tewarit


"คิดไม่ตกว่าขณะที่เราปกป้องเสียงและดุลยพินิจของประชาชนว่าดีกว่าผู้ทรงศีลหรือนักสิทธิจากการแต่งตั้ง แล้วเราจะปฏิเสธเฮชสปีชได้ไง เราจะบอกได้ไงว่าการพูดแบบนั้นแบบนี้มันจะทำให้คนทำร้ายกับโดย "การพูด" ในเมื่อคุณบอกว่าปนะชาชนมีดุลยพินิจของตนเอง? มันขัดกันมั้ย"

 

Kasian Tejapira

๑) ประชาชน ผม คุณ ไม่ใช่เทวดา เรามีทังด้านสว่าง ด้านมืด ประชาชนโง่ ผิด หลงใหลได้พอ ๆ กับนักสิทธิจากการแต่งตั้งและนักวิชาการ ปัญญาชนทุกคน รวมทั้งผมด้วย ไม่มีใครเกิดมาดวงตาเห็นธรรมแต่เกิด และดวงตาเห็นธรรมตลอดไป

๒) ดังนั้น สังคมหนึ่ง ๆ จึงสร้างกฎในการอยู่ร่วมกันของผมกับคุณและคนที่ต่ำกว่าเทวดาทุกคนไว้เสมอ ไม่ว่าประชาชนทั่วไปหรือคนกลุ่มใดจึงมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อขีดเส้นกำกับการพูดการเขียนเอาไว้ ไม่ให้ไปรังแกทำร้ายล่วงเกินผู้อื่น เช่น คำบรรยายของผมในชั้นเรียน ไม่มีเสรีภาพจะยุให้นักศึกษาไปฆ่าอาจารย์ท่านอื่น เพราะเขาเลวผิดมนุษย์ รับใช้เผด็จการ ฆ่ามันเลย หรือไม่มีสิทธิ์จะพูดลวนลามรังควานทางเพศต่อนักศึกษาในชั้น แล้วอ้าง free speech, เพราะเราอยากได้เสรีภาพทางการพูดการเขียนการแสดงออก แต่เราไม่บ้าพอจะเอาแต่เสรีภาพอย่างเดียว แล้วทำลายคุณค่าอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น สิทธิในร่างกายชีวิตทรัพย์สิน การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นและตัวเอง เราอยากได้อันหลังน้้นด้วย อย่าบอด อย่าบ้าจนเอาแต่เสรีภาพแล้วไม่คำนึงอย่างอื่นเลย มันเท่ากับบอดและบ้าจนเอาแต่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น จนทำลายเสรีภาพหมดเลย มันบอดและบ้าพอ ๆ กัน อย่าเป็นเอง อย่าชวนโลกเป็น

๓) ปัญหาอยู่ตรงกฎเกณฑ์นี้วางอย่างไร กำหนดจากไหน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมและเห็นต่างอย่างเสมอภาคกันไหม? และเมื่อวางกฎเกณฑ์แบบมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคแล้ว จะมีขั้นตอนกระบวนการเปิดให้คนเห็นต่างแสดงความเห็นต่างและนำไปสู่การแก้ไขโดยเสียงข้างมากตามกฎกติกาอย่างไร?

๔) สิ่งที่ควรเกลียดชังไม่ใช่การมีกฎเกณฑ์ แต่คือกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ที่ไม่เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมกำหนดเองและทำตามสิ่งที่ตัวเองกำหนดอย่างเสมอภาค และมีเนื้อหาที่ปิดกั้นเกินไปจนทำลายการสื่อสารและสร้างสรรค์ที่พึงมี

๕) เรื่องนี้ในทุกสังคมไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว hate speech หรือ speeches อื่น ๆ ที่ก่อปัญหาหมายถึงอะไรบ้าง? เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ต้องขีดเส้นกั้นคืออะไร? ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปแกะกล่องใช้ได้ถาวรทุกสังคม ไม่มี มันเป็นเรื่องเราต้องลงมานั่งคุยกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันเถียง และวางว่ามันอยู่ตรงไหน เท่าที่เราคิดออกตอนนี้ ใช้ไป ถ้าผิด ก็มีกระบวนการมาคิดกันใหม่ แก้ใหม่อีก ไม่มีหรอกกฎภาววิสัยสากลจากเทวดาที่เหมือนกันทุกสังคมและทุกคนต้องเห็นด้วย และไม่ควรมีกฎอัตวิสัยของผู้มีอำนาจ กฎเดียวที่ควรมีคือกฎที่ intersubjective ไม่ใช่ objective ล้วน ๆ หรือ subjective ล้วน ๆ

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม