Skip to main content

มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน

Kasian Tejapira(29 ธ.ค.55)

อาจารย์ ดร. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ผู้จบมาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรงจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน (และกำลังขยับจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มาเข้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ช่วยชี้ให้ผมเห็นสิ่งแปลกพิลึกอย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่างในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งผมมองข้าม/หลงลืมไปว่า วรรคสี่ของมาตรา ๑๗๑ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จำกัดการดำรงตำแหน่งของนายกฯไว้ไม่ให้เกินแปดปีต่อกัน อันเป็นหัวข้อที่อ.พรสันต์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเปรียบเทียบประเด็นนี้ในระบบการเมืองไทยปัจจุบันกับสหรัฐอเมริกา
 
ผมเข้าใจว่ากล่าวในทางการเมืองเปรียบเทียบแล้ว ปกติ มาตรการจำกัดการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหาร (Executive Term Limits) แบบนี้มักใช้กันในระบบประธานาธิบดี ซึ่งอำนาจฝ่ายบริหารเป็นอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ เพื่อป้องกันแนวโน้มอำนาจนิยมของฝ่ายบริหาร หากประธานาธิบดีกุมอำนาจต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เสียระบบถ่วงดุลตรวจสอบระหว่างอำนาจฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นอิสระต่อกันไปได้ 
 
ทว่าในระบบรัฐสภา ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นอยู่กับการได้รับความไว้วางใจจากเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัตินั้น ก็มีกลไกการลงมติไว้วางใจ/ไม่ไว้วางใจของสภาดังกล่าวเป็นตัวถ่วงดุลตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหารให้ขึ้นต่อสภาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดจำกัดช่วงเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯไว้อีกชั้นหนึ่ง ตราบใดที่นายกฯยังได้รับความไว้วางใจจากผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ในสภา ซึ่งสะท้อนว่ายังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน นายกฯก็มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้เป็นธรรมดา แก่นแกนหัวใจของความยั่งยืนแห่งอำนาจของฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาจึงอยู่ที่ความไว้วางใจจากสภาและแรงสนับสนุนจากประชาชน ไม่ใช่กำหนดเวลาโดยพลการใด ๆ
 
การเพิ่มข้อกำหนดแปลกปลอมพิลึกที่อธิบายได้ยากเข้ามากำกับควบคุมการดำรงตำแหน่งนายกฯทับซ้อนไว้อีกชั้นหนึ่งในวรรคสี่ของมาตรา ๑๗๑ จึงสะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่างมีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณว่าอาจสามารถกุมอำนาจไปได้เนิ่นนานเกิน ๘ ปี จึงตีวงขีดเส้นจำกัดไว้ ไม่ให้ใครไม่ว่าทักษิณ นอมินีหรือพวกพ้องญาติมิตรทำซ้ำได้อีก ซึ่งก็สะท้อนความหวาดระแวง-ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่างมีต่อเสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"