Skip to main content

 

ภาพล้อเลียนจาก businessweek.com
 
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการคลังของอเมริกากันมากว่าเป็น "ประชานิยม" บ้าง, จนต้องเตรียมเจอสภาพ "หน้าผาการคลัง" บ้าง เห็นว่าการขาดดุลงบประมาณขนานใหญ่เป็นตัวปัญหาที่ต้องแก้ให้ได้ มิฉะนั้นอเมริกาจะกลายเป็นเหมือนกรีซตอนนี้ ฯลฯ
 
ผมคิดว่าหลวมกว้างและง่ายไปหน่อยที่จะเรียกนโยบายต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งภาวะขาดดุลงบประมาณในอเมริกาว่า "ประชานิยม" ถ้าจำได้ งบประมาณอเมริกันสมดุล (เกินดุลหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ ถ้าจำไม่ผิด) สมัยปธน.บิล คลินตัน การใช้จ่ายมากกมายขึ้นมาเกิดเพราะสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะสงครามอิรัก บวกกับมาตรการตัดลดภาษีให้แก่คนรวยที่สุด ซึ่งทั้งสองนโยบายนี้เกิดสมัยปธน.บุชผู้ลูก จะบอกว่า "ประชานิยม" ก็เบนไปนะครับ บอกว่า "เสรีนิยมใหม่+อนุกรักษ์นิยมใหม่" จะแม่นยำกว่า
 
แต่ในความเห็นผม กล่าวให้ถึงที่สุดปัญหาขาดดุลงบประมาณอเมริกันที่มาหนักหน่วงขึ้นหลายปีหลังนี้ มูลเหตุสำคัญ ไม่ได้เกิดจากนโยบายเสรีนิยมใหม่+อนุรักษ์นิยมใหม่สมัยปธน.บุชผู้ลูกด้วยซ้ำไป แต่เกิดจากฟองสบู่ซับไพรม์แตกต่างหาก (อาศัยการปล่อยกู้หนี้จำนองบ้านด้อยคุณภาพมากระตุ้น demand ในหมู่คนชั้นล่างของสังคมซึ่งหางานยากและค่าแรงต่ำมานานแล้ว เรียกแนวนโยบายกดดอกเบี้ย กระตุ้นเงินกู้คนจนอันนี้ว่า privatized Keynesianism) อันนั้นส่งผลต่อเนื่องหลายอย่าง ได้แก่ ๑) รัฐบาลต้องทุ่มเงินมหาศาลนับล้านล้านดอลล่าร์อุ้มระบบการเงินการธนาคารสหรัฐฯไว้ รวมทั้งเข้าไปซื้อหุ้นข้างมากในกิจการอสังหาฯและประกันภัยสำคัญของประเทศด้วย ๒) ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์ คนตกงานเยอะ ธุรกิจกดตัว ภาคเอกชนไม่ลงทุน รัฐจะเก็บภาษีได้จากไหนกัน? ไม่ต้องพูดถึงภาคเอกชนก็ไม่ลงทุนใหม่เพื่อจ้างงาน ขยายการผลิต (ลงทุนไปใครจะซื้อ) ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐอเมริกันต้องใช้จ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พยุงประคองเศรษฐกิจที่ยอบแยบไว้ ถ้ารัฐไม่ลงทุนผ่านการขาดดุลงบประมาณตอนนี้แล้ว จะไปหา demand ในตลาดอเมริกันจากไหนกัน?
 
แต่พูดทั้งหมดนี้แล้ว ฐานคิดที่พลาดและเข้าใจผิดที่สุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจอเมริกา เป็นไปดังที่ Richard Duncan นักวิเคราะห์การเงินอเมริกันที่วิเคราะห์คาดการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งของไทยไว้ก่อนใครเมื่อสิบห้าปีก่อนระบุไว้ คือเสียงวิจารณ์ห่วงเรื่องหนี้สาธารณะอเมริกันทั้งหลายนั้น ตั้งอยู่บนความไม่เข้าใจลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจอเมริกันตอนนี้ที่กลายเป็นระเบียบที่เขาเรียกว่า creditism (สินเชื่อนิยม) หรือ Financialized Capitalism อย่างหนักไปแล้ว มันอยู่ได้เพราะสินเชื่อ คุณหยุดสินเชื่อเมื่อไหร่ (ให้รัฐเลิกขาดดุลบัดเดี่ยวนี้) เศรษฐกิจอเมริกันจะตายชักกะแด่ว ๆ ทันที เพราะมันเสพติดสินเชื่อชนิดถอนตัวไม่ได้ง่าย ๆ แล้ว และการอุ้มภาคเอกชนของรัฐอเมริกันนั้นใหญ่โตมากมายกว่าที่เราคิดมาก เรียกว่าเข้าไปช่วยกระตุ้นในทุกภาค ถอนเมื่อไหร่ ชักกระตุกทันทีและโลกจะพลอยชักไปด้วย นี่คือเรื่องที่ยังวิ่งตามกันไม่ทันในหมู่ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ fiscal cliff ของเศรษฐกิจอเมริกันที่ผ่านมา
 
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"