Skip to main content

 

การประท้วงประกวดมิสเวิลด์อย่างดุเดือดของกลุ่มมุสลิมอินโดนีเซีย

Kasian Tejapira(22/9/56)

ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู 
 
ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
 
นั่นคือการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ที่กรุงจาการ์ตา มีหญิงมุสลิม ๒๐ คนจาก ๖ ประเทศ (อินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ไนจีเรีย, มาเลเซีย, บรูไน, อิหร่าน) เข้าแข่งขัน ผู้ประกวดทุกคนสวมชุดฮิญาบคลุมผมมิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า มีผลงานทางวิชาการ, กีฬาและวัฒนธรรมบางอย่าง ไม่มีการแสดงร้องรำทำเพลง หากแข่งกันท่องบทตอนต่าง ๆ จากพระคัมภีร์อัลกุรอ่านให้กรรมการตัดสินแทน และต้องเขียนเรียงความส่งประกอบการประกวดเรื่อง “ประสบการณ์ฮิญาบของฉัน” เป็นต้น
ภาพการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ปีนี้และผู้ชนะประกวด โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา สาวไนจีเรีย
 
เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ก.ย. ศกนี้ ก็ประกาศผลการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งล่าสุด โดยผู้ชนะประกวดคือ โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา วัย ๒๑ ปีจากไนจีเรีย เธอได้รับเงินรางวัล ๒,๐๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐฯและได้เดินทางไปกรุงเมกกะ ซาอุดีอาระเบียและอินเดีย ซึ่งที่นั่นเธอจะทำกิจกรรมช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เธอกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกวดว่า:
 
“เราแค่กำลังพยายามแสดงให้โลกเห็นว่าอิสลามนั้นงดงาม เรามีเสรีภาพและฮิญาบเป็นความภาคภูมิใจของเรา การประกวดมิสมุสลิมาห์ไม่เหมือนการประกวดมิสเวิลด์ที่ผู้หญิงเปิดเผยร่างกายของตัวเลย”
 
เอกา ชันตี ผู้ริเริ่มก่อตั้งการประกวดมิสมุสลิมาห์เมื่อ ๓ ปีก่อนชี้แจงว่าการประกวดนี้มุ่งส่งเสริมแนวคิดความงามที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่า ถือเป็นการประท้วงอย่างสันติต่อการประกวดมิสเวิลด์แบบตะวันตก เดิมทีชันตีเป็นผู้อ่านข่าวทีวีอินโดนีเซียที่ประสบความสำเร็จ แต่เธอต้องออกจากงานเพราะตัดสินใจสวมฮิญาบเป็นประจำและไม่ยอมปลดฮิญาบออกเวลาอ่านข่าวออกทีวี
 
เดิมทีอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลามแบบเดินสายกลางไม่เคร่งจัด แต่มาระยะหลังนี้เริ่มมีการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่เรียกร้องให้ผู้หญิงมุสลิมอินโดนีเซียสวมฮิญาบมากขึ้นเรื่อย ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ