Skip to main content

อ่านรายละเอียดที่ Voice TV

ผมเห็นใจทั้งนักศึกษาและอาจารย์สองฝ่ายนะครับ และคิดว่าแก่นเรื่องนี้ไม่ใช่การสะกดผิดของนักศึกษา (นั่นเป็นปัญหาแน่ แต่ไม่ใช่เรื่องหลักในประเด็นนี้) หรือการใช้น้ำเสียงตำหนิโทษอาจารย์ของนักศึกษา (ก็พอเข้าใจได้ และอีกนั่นแหละไม่ใช่เรื่องหลักในประเด็นนี้) แต่คือความล้มเหลวของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งระบบ
 
ผมพูดจากประสบการณ์สอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์มาร่วมสามสิบปี แน่นอนว่าท่านอื่นอาจมีประสบการณ์และข้อสรุปต่างกันไป
 
ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ work เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ได้เตรียมพร้อมหรือมีคุณสมบัติที่จะทำงานร่วมกัน
 
นักศึกษาไม่ได้ต้องการให้อาจารย์แนะนำอะไรมาก ถ้าเขาสงสัยอะไร เพื่อนนักศึกษาด้วยกันแนะนำได้ใกล้ชิดตรงความต้องการ/สงสัยกว่า และเจ้าหน้าที่ธุรการคณะก็แม่นยำกฎระเบียบกว่า
 
ฝ่ายอาจารย์ก็ไม่แม่นกฎระเบียบ พูดตรง ๆ คือก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องนี้ทำได้ไหม อนุญาตได้ไหม พอสงสัยก็ต้องยกหูโทรฯถามเจ้าหน้าที่ และ office hours มีอยู่ แต่นักศึกษาก็มักไม่มาตอนนั้น ข้างอาจารย์ก็นัดเจอยากเย็น ยิ่งอยู่กัน ๒ campuses แบบธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์/รังสิต ยิ่งแล้วใหญ่ นักศึกษาก็จะรู้สึกหาตัวอาจารย์ยาก เหมือนถูกตัดหางปล่อยวัดหรือปล่อยเกาะ การจะเจอต้องใช้วิธีซุ่มโจมตี ดักพบที่ห้องสอนประจำก่อน/หลังเลิกชั้น หรือที่ห้องพักอาจารย์ระหว่างทานเที่ยง เป็นต้น
 
ในที่สุดความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาก็เป็นแบบแผนพิธีกรรมล้วน ๆ mere formalities ไม่มีเนื้อหาการแนะนำอะไรจริงจังลึกซึ้ง ต่างฝ่ายต่างเป็นคนแปลกหน้าต่อกันนั่นแหละ ที่ยังติดต่อกันอยู่ (ทั้งที่ไม่ได้อยากจะเจอกันเท่าไหร่ทั้งสองฝ่าย) ก็เพราะ "ลายเซ็น" ตัวเดียวที่กฎบีบคั้นบังคับคาไว้
 
หากเริ่มจากความเป็นจริง ก็คงต้องบอกว่า นักศึกษาเอาตัวรอดจากปัญหาการเรียนและกฎระเบียบยุ่งยากวุ่นวายมาได้ เพราะ ๑) เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องนักศึกษาด้วยกันแนะนำ ๒) เจ้าหน้าที่ธุรการให้ข้อมูลคำปรึกษาเรื่องกฎระเบียบว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ หรือมีทางทำอย่างไร และ ๓) อาจารย์บางท่านที่อาจเพราะรับผิดชอบบริหารงานปริญญาตรีหรือเพราะมีมุทิตาจิตของความเป็นครูสูงได้กรุณาเสียสละผลัดเวรกันมาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่หน้ามืดจนแต้ม ตามหาล่าลายเซ็นไม่ได้แล้ว เป็นต้น ๔) ขณะที่อาจารย์แต่ละท่านรู้จักมักคุ้นและให้คำแนะนำปรึกษาจริง ๆ กับนักศึกษาที่เรียนวิชาของตัวต่อเนื่องกันสองสามตัวจนพอคุ้นเคยและกลายเป็นลักษณะครูกับคณะลูกศิษย์เป็นกลุ่มก้อนที่ติดต่อใกล้ชิดมักคุ้นกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลให้คำปรึกษาแนะนำกันอย่างได้ผลทั้งการเรียน การแก้ไขปัญหาจุกจิก การใช้ชีวิต อนาคตการงาน ฯลฯ
 
ผมคิดว่าอย่าไปฝันเพ้ออุดมคติกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเลยครับ เลิกเสียเหอะ มันไม่ทำงาน ใช้การไม่ได้แล้ว แต่สร้างระบบใหม่ขึ้นมาที่อิงความเป็นจริง ๔ ข้อนี้ที่มันทำงานได้ ให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือนักศึกษา และมีลายเซ็นให้พวกเขาได้อย่างทันเวลาเป็นระบบ
 
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน 'Kasian Tejapira' 8 ธ.ค. 2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ