Skip to main content

จอห์น วิญญู, 14 ม.ค.58 กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น 142 ตอน เจาะร่าง พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์

 

ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)

 

ในทางรัฐศาสตร์ หลักนิติธรรม หรือ the rule of law ไม่ใช่แค่คอหยัก ๆ สักแต่ว่าเป็นกฎหมายซึ่งออกโดยผู้มีอำนาจนิติบัญญัติในทางเป็นจริง ที่ไม่ว่าท่านจะถ่มถุยอะไรออกมาอย่างไรก็ใช้ได้ทั้งนั้น แต่มีหลักการที่มาบางอย่างกำกับเป็นบรรทัดฐานอยู่

 

วิญญาณของหลักนิติธรรมในรัฐสมัยใหม่คือการปกครองที่มีอำนาจจำกัด (limited government) ที่มันถูกจำกัด เพราะผู้คนพลเมืองไม่ใช่ไพร่ข้าตัวเปล่าเล่าเปลือย หากกลายเป็นพลเมืองผู้ทรงสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกายชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง (self-ownership ชีวิตเราเป็นของเรา ไม่ใช่ของผู้ปกครองหรือรัฐหรือเทวดาจากไหน นับตั้งแต่อวสานของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ เป็นต้นมาแล้วครับ)

 

ในเมื่อสิทธิเสรีภาพเป็นของประชาชนพลเมือง ผู้เดียวที่มีอำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นได้ ก็คือประชาชนพลเมืองผู้เป็นเจ้าของมันนั้นเอง กล่าวคือประชาชนพลเมืองอาจยินดีและยินยอมจำกัดสิทธิเสรีภาพของตัวเองเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคม โดยออกกฎหมายมาจำกัดมัน อาจออกเอง (ประชาธิปไตยทางตรง ในชุมชนเล็ก ๆ) หรือเลือกตั้งตัวแทนโดยชอบของตนไปออกกฎหมาย (สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง)

 

กฎหมายที่ออกโดยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งจึงเป็นเส้นจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยชอบธรรม เพราะเจ้าของเลือกตั้งตัวแทนมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของตนเองโดยยินยอม รัฐต้องเคารพเส้นนั้นและจำกัดอำนาจรัฐเองลงตรงเส้นคั่นสิทธิเสรีภาพของผู้คนพลเมืองนั้น

 

ศาลตุลาการอิสระที่ยึดถือมาตรฐานเดียว (ไม่ใช่ศาลตามใบสั่งและสองหรือสามมาตรฐาน) เป็นกรรมการกำกับเส้นกฎหมาย ไม่ให้รัฐข้ามเส้นกฎหมายที่จำกัดอำนาจรัฐไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง และขณะเดียวกันก็ไม่ให้ประชาชนพลเมืองข้ามเส้นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของตนไปบุกรุกขัดขวางก่อกวนทำลายการทำหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ

 

เนื้อแท้ของพรบ.คอมพิวเตอร์ที่กำลังเสนอโดยรัฐบาลปัจจุบันก็คือรัฐกำลังขยับเส้นจำกัดอำนาจรัฐดังกล่าวและเบียดบังเข้าไปในพื้นที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองโดยพลการอีกแล้วครับท่านนั่นเอง

 

หมายเหตุ : บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"