Skip to main content

 

ปลายเดือนมกราคม ศกนี้ องค์การ Freedom House อันเป็น NGO อเมริกันที่คอยติดตามสอดส่องประเมินเสรีภาพและประชาธิปไตยทั่วโลกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ได้เผยแพร่รายงานประจำปี Freedom in the World 2015 https://freedomhouse.org/sites/default/files/01152015_FIW_2015_final.pdf  ซึ่งระบุว่าปีที่แล้วมาเสรีภาพพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (civil liberties ตัวชี้วัดความเป็นเสรีนิยม & political rights ตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย) เสื่อมทรุดลงทั่วโลกโดยทั่วไป มาตรวัดเสรีภาพสากลขององค์การตกต่ำลงทุกปีตลอดช่วง ๙ ปีที่ผ่านมา อุดมคติประชาธิปไตยตกอยู่ภายใต้การคุกคามที่ใหญ่โตที่สุดในรอบ ๒๕ ปี

รายงานของ Freedom House ชี้ว่าปีค.ศ. ๒๐๑๔ ถือเป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุขึ้นของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคที่ปรากฏการสูญเสียเสรีภาพชัดเจนที่สุด กลุ่มสู้รบแห่งรัฐอิสลามฆ่าฟันผู้คนจำนวนมากในการเข้ายึดพื้นที่ประเทศอิรักและซีเรียส่วนหนึ่ง การนำที่ขาดประสิทธิภาพและกดขี่ในประเทศทั้งสองเปิดช่องโหว่ให้กลุ่มสู้รบแห่งรัฐอิสลามเข้าปฏิบัติการได้ ซีเรียถูกจัดอันดับว่ามีเสรีภาพต่ำสุดในรอบสิบปีในสภาพที่มีทั้งสงครามกลางเมืองและการก่อการร้ายรุนแรง ในทางกลับกันตูนีเซียเป็นข้อยกเว้นในบรรดาประเทศที่เกิดเหตุวุ่นวายทั้งหลาย โดยถือเป็นประเทศอาหรับเดียวที่กลายเป็นประเทศเสรี (free) ในรอบ ๔๐ ปีที่ผ่านมา
(อนึ่ง Freedom House จัดอันดับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกออกเป็น ๓ ประเภทตามคะแนนด้านเสรีภาพพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่แต่ละประเทศได้จากการประเมิน ได้แก่ free, partly free, unfree หรือเสรี, กึ่งเสรี, ไม่เสรี)
 
Arch Puddington รองประธานด้านวิจัยของ Freedom House ผู้เขียนรายงานประจำปี ๒๐๑๔ นี้ชี้ว่าการสูญเสียเสรีภาพที่ร้ายแรงที่สุดในปีที่แล้วเป็นผลมาจากการก่อการร้าย เขากล่าวว่า:
“การคลี่คลายของเหตุการณ์ที่น่าหดหู่ที่สุดอย่างหนึ่งคือกระแสสูงของการก่อการร้าย ในอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยพบเห็นผลกระทบของการก่อการร้ายต่อประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญเท่ากับที่เกิดขึ้นในปี ๒๐๑๔ มาก่อนเลย” การก่อการร้ายทำให้คนนับพัน ๆ พลัดถิ่นที่อยู่ ผู้หญิงถูกลักพาตัวหรือจับตัวไปเป็นสินศึก มีการสังหารชนส่วนน้อยทางศาสนาในตะวันออกกลาง แอฟริกาและเอเชียใต้
 
Freedom House ระบุว่าสภาพที่ขาดเสรีภาพแบบประชาธิปไตยสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้การก่อการร้ายเติบใหญ่ขึ้น ประชากรราว ๒.๖ พันล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในสภาพเงื่อนไขที่ “ไม่เสรี” คิดเป็นประมาณ ๑ ใน ๓ ของประชากรทั่วโลก
 
รายงานชี้ว่ารัสเซียเข้าไปพัวพันกับความรุนแรงในภาคตะวันออกของยูเครนรวมทั้งเข้ายึดคาบสมุทรไครเมีย รายงานยังวิจารณ์ทางการรัสเซียที่โจมตีสื่อมวลชนรัสเซียว่าเป็นการไม่เคารพมาตรฐานประชาธิปไตย
 
รายงานตั้งข้อสังเกตการที่รัฐบาลอียิปต์ผลักดันดอกผลทางประชาธิปไตยที่เพิ่งได้มาให้ถอยหลังลงคลองไป ทั้งยังปราบปรามสื่อมวลชน กลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้เห็นต่างทางการเมืองด้วย
 
Freedom House กล่าวว่ารัฐบาลตุรกีและจีนได้เปิดฉากรณรงค์อย่างก้าวร้าวเพื่อเล่นงานปฏิปักษ์ของตน
 
Thomas Huges ผู้อำนวยการบริหารของกลุ่ม Article 19 องค์กรสิทธิมนุษยชนของอังกฤษที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล http://www.article19.org/index.php กล่าวว่าความเปลี่ยนแปลงในสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกทั้งหลายได้ทำร้ายอุดมคติประชาธิปไตย
“แนวโน้มน่าเป็นห่วงยิ่งอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือที่ซึ่งเราเคยเห็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเข้มแข็งแต่เดิมมา เพราะได้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ เช่น การติดตามสอดส่องมวลชนขนานใหญ่ เหล่านี้นับเป็นการสร้างกรณีตัวอย่างที่ส่งผลเชิงลบอย่างยิ่ง”
 
Freedom House ฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่โตที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปได้ก็คือการยอมรับความคิดที่ว่าเราไม่มีปัญญาความสามารถจะทำอะไรได้หรอกเมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคามคนอื่น เอาเข้าจริงกลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
 
หมายเหตุ บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 1 ก.พ.58

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ