Skip to main content

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด เรียกได้ว่าขบวนการประชาชนของฟิลิปปินส์เข้มแข็งอย่างมากเป็นแบบอย่างการต่อสู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เรียนรู้มากทีเดียว  และเคียงคู่กันมากับขบวนการประชาชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราช และความเป็นธรรมในประวัติศาสตร์นั้นฟิลิปปินส์ไม่เคยขาดสื่อข้างประชาชนในแต่ละยุคสมัย

สื่อฟิลิปปินส์เป็นสถาบันที่ถูกเอ่ยอ้างในเรื่องความมีเสรีภาพสื่อมากที่สุดประเทศหนึ่งในหมู่เอเชียอาคเนย์ ทว่าในที่นี่จะไม่เน้นเรื่องนี้ แต่จะพูดถึงบทบาทสื่อตั้งแต่ในอดีตที่มีส่วนเรียกร้องเอกราชและความเป็นธรรม ในยุคอาณานิคมนั้น สเปนได้ชื่อว่าเป็นอาณานิคมที่กระทำกับชนพื้นเมืองเหมือนทาส อาศัยศาสนาจักร ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกควบคุมประชาชน เจ้าอาณานิคมสเปนไม่เคยให้สิทธิเท่าเทียมกันกับคนพื้นเมือง คนเชื้อสายสเปนอยู่ดีกินดีดั่งราชา แถมยังเป็นเจ้าครองที่ดิน เป็นพลเมืองชั้นหนึ่งของสังคมในขณะนั้น ในขณะที่ชนพื้นเมืองกลายเป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นพลเมืองชั้นต่ำสุดทั้งในแง่สิทธิทางการเมือง ศาสนาและการศึกษา เช่น ชนพื้นเมืองเป็นพระนักบวชไม่ได้เป็นต้น โรงเรียนชั้นนำเป็นที่เรียนของลูกหลานเจ้าอาณานิคม นอกจากนี้วัฒนธรรมและภาษาของคนพื้นเมืองก็ถูกกลืนกลาย โดยบังคับให้เรียนภาษาสเปนและใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ

การกดขี่และความไม่เท่าเทียมกันในยุคนั้นทำให้เกิดขบวนการกู้ชาติโดยใช้ความเป็นชาตินิยมชื่อ ขบวนการคาติปูนัน (ปัจจุบันเป็นชื่อถนนสายสำคัญหนึ่งในเมืองมนิลาด้วย) มีวีรบุรุษสำคัญในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์คือ นายแพทย์โฮเซ ริซัล และมาร์เชลโล เดล พิลาร์ วีรบุรุษกู้ชาติทั้งสองท่าน คนหนึ่งเป็นนักเขียนด้วย คือ โฮเซ ริซัล อีกท่านเป็นนักหนังสือพิมพ์ มาร์เชลโล เดล พิลาร์ และหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทเคียงข้างประชาชน คือ หนังสือพิมพ์ La Solidaridad ที่นำเสนอแนวคิดการกู้ชาติและเปิดโปงความเลวร้ายของเจ้าอาณานิคมสเปน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ช่วง ปี 1889-1895 ที่ทรงอิทธิพลด้านความคิดประชาธิปไตยแต่ชนชั้นปัญญาชนของฟิลิปปินส์ในยุคนั้น เรียกว่า เป็นพื้นที่สะท้อนปัญหาการกดขี่ของอาณานิคมและประกาศแนวคิดในการกู้ชาติในยุคนั้น

20080519 1
ภาพจาก wikipedia หนังสือพิมพ์ La Solidaridad ที่เคียงข้างประชาชนเพื่อกู้เอกราชของประเทศ
เป็นพื้นที่ที่สองวีรบุรุษโฮเซ ริซัลกับมาร์เชลโล เดล พิลาร์ใช้เผยแพร่แนวคิดของเขาด้วย

ต่อมาในยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จ อดีตประธานาธิบดีมาร์กอส นับว่าเป็นยุคมืดสุดของสื่อฟิลิปปินส์ เพราะมาร์กอสใช้อำนาจครอบงำทุกอย่าง โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ทั้งยังสร้างสื่อของตัวเองและจัดการกับสื่อที่อยู่ตรงข้ามกับตัวเองอย่างโหดร้ายและเด็ดขาด สื่อมวลชนสูญเสียชีวิตและติดคุกมากที่สุดในยุคนี้ เมื่อแสดงออกบนดินไม่ได้ สื่อที่อยู่เคียงข้างประชาชนก็ต้องเปลี่ยนพื้นที่การต่อสู้ คือ ลงไปสู้ใต้ดิน ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยแท่นโรเนียว ครั้งสองถึงสามพันฉบับ และแอบแจกจ่ายให้กับประชาชน หนึ่งในผู้ผลิตสื่อใต้ดิน ปัจจุบันเป็นนักพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) สายคนจนเมืองสำคัญคนหนึ่งของฟิลิปปินส์ ส่วนสื่อบนดินหรือสื่อกระแสหลักเพียงแต่เล่นไปตามกระแส เซนเซอร์ตัวเองเป็นหลัก ต่อเมื่อขบวนการประชาชนและกระแสของนางคอรี อะคีโนเริ่มเข้มแข็ง สื่อกระแสหลักจึงเอนเอียงมาเสนอข่าวฟากประชาชนมากขึ้น เรียกว่า สื่อกระแสหลักในฟิลิปปินส์ตั้งแต่เข้าสู่ยุคประกาศเอกราชกระทั่งปัจจุบันมีแนวคิดหลักคือ เล่นไปตามกระแสของสังคม แต่พวกเขาเรียกว่า เป็นการนำเสนอข่าวตามที่ข่าวมันเป็น โดยไม่เคยเอ่ยถึงการเซนเซอร์ตัวเองในสถานการณ์ที่เห็นว่า อ่อนไหวทางการเมืองและอาจมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์ เช่น การไม่เสนอข่าวรอบด้านเมื่อมีการลอบสังหารคู่ต่อสู้ทางการเมืองนายอะคีโน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รากเหง้ายุคเผด็จการเป็นแรงผลักดันให้เกิดสื่อทางเลือก และสื่อภาคประชาชนขึ้นหลายองค์กรในฟิลิปปินส์ และมีความเข้มแข็งมากในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีบทบาทมากที่สุดในการล้มรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา นั่นคือ องค์กรสื่อสืบสวนสอบสวน หรือ the Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ) นำโดยนักข่าวสาวสวยที่ยึดมั่นในอุดมการณ์เสรีภาพสื่อและเคียงข้างประชาชนอย่าง Sheila S. Coronel แนวทางการทำงานของ PCIJ คือ การเจาะลึกหาความจริงของเหตุการณ์และเป็นพื้นที่นำเสนอภาคประชาชน รวมถึงคนชายขอบที่ลึกและเข้มข้น ซึ่งสื่อกระแสหลักไม่มีทางเปิดพื้นที่แบบนี้ได้ ผลงานที่ทำให้ PCIJ อยู่ในใจของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ได้อย่างยาวนานคือ การขุดคุ้ยความมั่งคั่งของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา กระทั่งนำไปสู่การตรวจสอบและถอดถอนประธานาธิบดี

20080519 2
หนังสือขุดคุ้ยความร่ำรวยผิดปกติของเอสตราดา โดยคณะผู้สื่อข่าวของ PCIJ

20080519 3
Sheila S. Coronel (กลางเสื้อดำ) ผู้ช่วยเหลือและให้ความรู้เรื่องสื่อฟิลิปปินส์กับผู้เขียนระหว่างอยู่ที่ฟิลิปปินส์
ถ่ายกับเพื่อนร่วมงานและพนักงานทั้งหมดของ PCij

ปัจจุบัน มีสื่อที่ยืนข้างประชาชนอยู่จำนวนมาก และสื่อยืนข้างประชาชนของฟิลิปปินส์มีหลากหลายประเภทมาก มีทั้งสื่อภาคประชาชน คือ ภาคประชาชนมีบทบาทในการนำเสนอข่าวสารเอง สื่อทางเลือกที่อยู่นอกระบบธุรกิจ และทำหน้าที่ตรวจสอบ เจาะลึก ตั้งคำถามกับสังคม สร้างพื้นที่ให้กับคนกลุ่มน้อยที่ไม่มีอำนาจทางการเมือง ถ่วงดุลข้อมูลและอำนาจของกลุ่มนักปกครองของบ้านเมือง

จากบทเรียนของฟิลิปปินส์ สื่อที่ยืนข้างประชาชนเกิดจาก สังคมที่กดขี่ข่มเหงประชาชน สังคมที่ไม่เท่าเทียมทางสิทธิและเสรีภาพ แต่คงไม่แค่นั้น ต้องอาศัยความกล้าหาญและสำนึกต่อสังคมของบุคคลากรในวงการสื่อสารมวลชนด้วย ในฟิลิปปินส์จึงมีคนคุณภาพอย่าง (ขอโทษผู้อ่านที่ขาดข้อมูลคนข่าวในยุคอาณานิคม)  Sheila S. Coronel และคนอื่นๆ อย่าง Melinda Quintos de Jesus, Carolyn O. Arguillas, Yasmin Arquiza ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้เอ่ยชื่อในที่นี่ ส่วนใหญ่ผ่านการทำงานกับสื่อกระแสหลักระดับชาติและนานาชาติหลายคน แต่คนเหล่านี้กินอุดมการณ์ทิ้งความมั่นคงทางการเงินหันมาทำงานที่ตนเองเชื่อมั่นและเคารพในความเป็นสื่อมวลชนอาชีพ ที่ไม่ใช่สื่อมวลชนแบบไหลตามกระแส

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ป๊ะซานอล ผู้สื่อข่าวอาวุโสในแวดวงสื่ออินโดนีเซีย ผู้เอื้ออารีต่อลูกหลานร่วมอาชีพ แม้ไม่ใช่คนในภาษาและสัญชาติเดียวกัน แต่ก็ให้ความช่วยเหลือแนะนำแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียน แถมยังเอ็นดูเลี้ยงดูปูเสื่อผู้เขียนและเอื้ออาทรไปถึงเพื่อนร่วมทุนของผู้เขียนด้วย แต่วันนี้แวดวงสื่ออินโดไม่มีท่านเสียแล้ว แต่ทุกคนก็ยังจำคุณูปการที่ท่านทำไว้ให้กับวงการสื่อ ในวันนั้น จากตัวเมืองมารัง ท่านนำเราไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งเพื่อดูงานวิทยุชุมชนของหมู่บ้าน เพราะหลัง 1998 ภาคประชาชนเติบโตและเคลื่อนไหวสูงในอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งกลุ่มสื่อภาคประชาชนขึ้นทั่วภูมิภาค วิทยุชุมชนก็เป็นหนึ่งในนั้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
    ยังคิดถึงแฟนคอลัมน์อยู่เสมอนะคะ และที่หายด้วยภารกิจบางอย่างและกำลังเตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับแดนอิเหนาและตากาล็อคมาฝากผู้อ่านอยู่นะคะ อย่าเพิ่งลืมกันไปก่อน ช่วยให้กำลังใจด้วยนะคะ แต่สัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีเรื่องของอิเหนาและตากาล็อคมาให้อ่านนะคะ เพราะเห็นว่าสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงกำลังวิกฤตในโลกเรา มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาข้าวขึ้นราคาและขาดแคลนข้าว อย่างเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์แดนตากาล็อคก็มีข้าวว่า รัฐบาลต้องหาข้าวราคาถูกให้กับคนยากจนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นักหากสื่อไม่เอามาพูดก็จะไม่มีใครทราบว่า ความจริงแล้วที่ฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่ห่างไกล…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ภาพจากประชาไทภาพจากวิกิพีเดีย คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์เกิด     2498บ้านเกิด  กรุงเทพฯการศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครอบครัวเกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
มีโอกาสต้อนรับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่มาเยือนเมืองไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา  หลังจากที่เธอเสร็จสิ้นภารกิจการงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมายจากที่ทำงานแล้ว เธอก็บินตรงไปยังภูเก็ต และแวะเยี่ยมเยือนผู้เขียนที่พังงา ขอเรียกเธอสั้นๆ ว่า ทีน่า เธอเป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย ทำงานเป็นเลขานุการ  ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอินโดนีเซีย แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์แต่เธอก็ได้รับโอกาส ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของสถานทูต เธอแสดงให้เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานและขาดความคล่องตัวแต่อย่างใด ตลอดเวลาสิบกว่าปีในการทำงาน เธอได้รับมอบหมายให้ไปดูงานต่างแดนหลายประเทศ เช่น อียิปต์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เพื่อนสาวชาวมาเลย์ชื่นชมและคลั่งไคล้ในตัวกวีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นฮีโร่ของเธอเลยทีเดียว ถึงกับนำชื่อของเขาไปตั้งเป็นชื่อลูกชายคนโต ผู้เขียนคาดเดาว่า กวีผู้นี้คงมีอิทธิพลทางด้านวิถีชีวิตที่อิสระเสรี ผู้เชื่อในสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ ที่ใฝ่หาเสรีภาพ และคงมีอิทธิพลครอบงำเพื่อนสาวไม่น้อย เพราะเธอแม้จะเป็นมุสลิม แต่แหกกฎหลายอย่างที่หญิงชาวมุสลิมถูกกำหนดให้กระทำ แม้กระทั่งเรื่องหัวใจ ที่เธอปล่อยให้มันอิสระเสรีอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งอยากจะเป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้คือ Chairil Anwar เขาถูกจำกัดความว่าเป็นกวีที่ใช้คำได้สวยงาม แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างรุนแรงกับผู้อ่าน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว…