Skip to main content

นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปภายใต้โลโก้ “ราษฎรอาวุโส” เป็น “ผู้ใหญ่” ที่ใครต่อใครรู้จักกันดี เพราะคำพูดคำอ่านหรือแนวคิดของท่าน ตกเป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอทางหน้าหนังสือพิมพ์และได้รับการขานรับจากกลุ่มคนน้อยใหญ่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม แม้กระทั่งข้าราชการ


บทบาทของนายแพทย์ประเวศ วะสี ในหลาย ๆ วาระและโอกาส มีความสำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยอย่างสูง จนคว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ รางวัลแมกไซไซ รางวัลจากยูเนสโก เหรียญเชิดชูเกียรติจาก WHO


เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็น “ผู้ใหญ่” ที่มีความเป็นห่วงเป็นใยในบ้านเมืองอย่างลึกซึ้ง พอมีเหตุอะไรที่อาจส่งผลกระทบให้บ้านเมืองเสียหาย นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นคนแรกๆ ที่ออกมา “เตือนสติ” หรือ “ชี้ทางออก” ให้แก่สังคมซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถจุดประเด็นได้เป็นที่น่าสนใจ


เป็นธรรมดาที่บ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยผู้คนมากหลายจะต้องมีเหตุนั่น เหตุนี่ ให้ต้องคอยห่วงใยกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมือง การปฏิรูปทางการเมือง วิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้ วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตรงนั้นตรงนี้ ปัญหาเกี่ยวกับคนจนถูกเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาเรื่องบริโภคนิยม ฯลฯ


การ “เตือนสติ” เพื่อนำไปสู่การ “ชี้ทางออก” ให้แก่สังคมที่กำลังเตลิด บางครั้งจำเป็นต้อง “วาดภาพ” ให้ดูน่ากลัวเกินจริง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดขึ้นตามภาพที่วาดไว้ แบบเดียวกับที่วัดบางแห่งจำลองขุมนรกโลกันต์เพื่อขู่ให้มนุษย์หวาดกลัว ไม่กล้าทำผิด ซึ่งอาจใช้ได้ผลสำหรับบางคน


คำว่า “วิกฤติ” หรือ “นองเลือด” จึงมักจะมาควบคู่กับคำ “เตือนสติ” เพื่อ “ชี้ทางออก” ของนายแพทย์ประเวศ วะสี บ่อยครั้ง จนโดนค่อนขอดจากนักวิชาการบางรายว่าเป็น “หมอกลัวเลือด” หรือกระทั่ง “เซลแมนขายวิกฤติ”


คำค่อนขอดต่าง ๆ ไม่ได้ทำให้ความปรารถนาที่จะเห็นสังคมไทยมีสันติสุขเสมอหน้ากัน ในทุก “ภาคส่วน” สะดุดหยุดลงได้ นายแพทย์ประเวศ วะสี ยังคงทำงานทางความคิดอย่างต่อเนื่องและมีเว็บไซต์ของตนเองในการเผยแพร่ความคิดสู่สาธารณชน


ในเว็บไซต์ http://www.prawase.com นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เผยแพร่บทความของตนเองที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เรื่อง “การเมืองเก่าเน่าหนอนชอนไช การเมืองใหม่อารยะประชาธิปไตย” ท่านเขียนไว้ว่า


การเมืองเก่าเน่าหนอนชอนไชเป็นที่เอือมระอาน่ารังเกียจเบื่อหน่ายแก่ผู้รู้เห็นทั้งแผ่นดิน จึงพากันพูดถึงการเมืองใหม่ คนไทยทุกภาคส่วน ทุกองค์กร ควรเคลื่อนไหวทำความเข้าใจว่าการเมืองใหม่ที่เป็นอารยะประชาธิปไตยนั้นเป็นอย่างไร ในการมองระบบการเมืองเก่าและใหม่ควรมองทั้งระบบเหมือนมองคนทั้งคน จะไปมองเฉพาะอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ การมองทั้งระบบ ต้องมองทั้งที่เป็นนามธรรม (จิต) รูปธรรม รูปลักษณ์ การทำหน้าที่และผลลัพธ์”


นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ทำเป็นตารางเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าการเมืองเก่ากับใหม่นั้นต่างกันอย่างไร ท่านบอกว่าจิตสำนึกของการเมืองเก่านั้นเป็นแบบ “หีนจิต” ส่วนการเมืองใหม่ นั้นเป็น จิตสำนึกแห่งความเป็นคน ส่วนองค์กรทางการเมืองของการเมืองเก่ามีลักษณะ “อัปลักษณ์” ส่วนการเมืองใหม่เป็น “ศุภลักษณ์” ดูรายละเอียดใน (http://www.prawase.com/article/154.pdf)


สุ้มเสียงและศัพท์แสงของนายแพทย์ประเวศ วะสี แยกไม่ออกจากหลักธรรมในศาสนาพุทธ โลกทัศน์ทางการเมืองก็เช่นเดียวกันคือไม่อาจแยกออกหลักศาสนาและศีลธรรมได้ ท่านพูดอย่างชัดเจนว่า


ในสัจจะที่สุด มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน ไม่แตกต่างกันแม้จะมีตำแหน่งหน้าที่การงานต่างกันก็ตาม มายาคติที่ไม่เคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันทำให้ไม่เกิดระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรมพื้นฐานเช่นนี้จะกลายเป็นกลโกง เพราะประชาธิปไตยคือความเสมอภาคและภราดรภาพ ถ้าไม่มีศีลธรรมประชาธิปไตยก็เป็นแค่กลโกง สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาค ก็จะไม่เกิดภราดรภาพ ถ้าบางคนมีเงินแสนล้านกับอีกคนไม่มีเลย จะเกิดภราดรภาพได้อย่างไร(http://www.prachatai.com/05web/th/home/13856)


การทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผ่านเลนส์ศาสนาทำให้เห็นโลกเป็นขาว-ดำ (นักการเมืองมี 2 ประเภทเท่านั้นคือ ถ้าไม่ดีก็เลว, แต่ส่วนใหญ่จะเลวและคนก็มีเพียง 2 ประเภทด้วยเช่นกัน) การมองสังคมการเมืองแบบนี้จะไม่เห็นความซับซ้อนของโลกสมัยใหม่ที่ไม่อาจตัดสินถูกผิดดีชั่วได้ง่าย ๆ โลกสมัยใหม่ที่(ต้อง)แยกศาสนาออกจากการเมือง การเมืองที่ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด ไม่ใช่เรื่องของคนดีและคนเลว


การเรียกร้องให้นักการเมืองเป็นคนดีอาจเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในบริบทแบบไทย ๆ แต่มันไม่ได้ต่างอะไรกับการเรียกร้องให้สามัญชนเป็นเทวดาหรือเรียกร้องให้พุทธศาสนิกชนบรรลุนิพพาน เป็นข้อเรียกร้องที่เกิดจากการไม่เข้าใจและรู้จักชีวิตดีพอ เป็นการเรียกร้องที่ไม่อยู่บนฐานความจริงของชีวิต


การวิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่าง ๆ โดยใช้หลักศีลธรรมอาจน่าสนใจและพูดอย่างไรก็ไม่มีทางผิดแต่ที่จริงแล้วไร้ประโยชน์ เมื่อนายแพทย์ประเวศ วะสี บอกว่า “ถ้าไม่มีศีลธรรม ประชาธิปไตยก็เป็นแค่กลโกง” แต่หากฉุกคิดสักหน่อย เราจะพบว่าความพยายามที่จะยัดเยียดศีลธรรมลงไปในประชาธิปไตยนั้นที่จริงแล้วก็เป็นกลโกงอีกแบบหนึ่งของพวกศักดินาที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายประชาธิปไตย.


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก