Skip to main content

-1-

ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"


ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง มีคะแนนห่างจากอันดับแรกอยู่เกือบ 70 เสียง จึงขี้ขลาด ไม่กล้ายอมรับความพ่ายแพ้ในครั้งนี้

การให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ หลังจากทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในคืนวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 255 สะท้อนให้เห็นถึงการผิดวิสัยของสุภาพบุรุษ การไม่ยอมรับกติกาการเลือกตั้ง ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ที่เห็น ๆ กันอยู่อย่างทนโท่

คุณอภิสิทธ์ บอกว่า "ในต่างประเทศ เขาก็ถือว่าใครรวบรวมเสียงข้างมากในระบบรัฐสภาได้ก็จัดตั้งรัฐบาลได้" (มติชนรายวัน. 24 ธันวาคม 2550)

ในขณะที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวว่า "พูดตั้งแต่คะแนนยังไม่ออกแล้วว่าถ้าพรรคพลังประชาชน ได้เสียงเกินครึ่งแสดงว่าประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาล ถ้าเสียงได้ไม่ถึงครึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องการให้เป็นรัฐบาล ซึ่งวินาทีนี้ก็ยังเชื่อแบบนั้นและก็มีคนคิดแบบตนจำนวนมาก" (มติชนรายวัน. 25 ธันวาคม 2550)

ตรรกะวิปริตแบบนี้ไม่มีทางได้ยิน ได้ฟังจากที่ไหนในโลกนี้นอกจากนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น!

หลายคนที่เฝ้าจับตาดูการเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยของไทย เมื่อได้เห็นได้ฟังการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แล้วคงรู้สึกผิดหวังกับนักการเมืองพรรคนี้ที่คอยฉวยแต่จะหาโอกาสเล่นนอกกติกาเพื่อให้ได้ขึ้นสู่อำนาจ

การเคลื่อนไหวของบรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาโอกาสจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชนตอกย้ำบุคลิกลักษณะของพรรคการเมืองพรรคนี้ ที่เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นมาตลอดไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ "ไม่ยอมรับความจริง" พยายามที่จะบิดผันความจริงให้กลายเป็นเรื่องเท็จ ตลอดจนสร้างเรื่องเท็จขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่า (คงจำกันได้ถึงโศกนาฏกรรมการอภิปรายล้มรัฐบาลพรรคชาติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา)

หากพรรคประชาธิปัตย์แทรกเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้จะกลายเป็นปาหี่ทางการเมืองไปทันที เพราะคำถามที่ตามมาคือ ถ้าพรรคที่ได้รับคะแนนเกือบถึงครึ่งไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว ก็ไม่รู้จะว่าจะจัดการเลือกตั้งไปทำไม

และนี่จะเป็นการทำลายการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอย่างร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในรอบสองปีที่ผ่านมา (คงจำกันได้ถึงการบอยคอตไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)

อันที่จริง สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ ควรทำเป็นอันดับแรกหลังจากทราบผลการเลือกตั้งไม่ใช่การคิดตั้งรัฐบาลแข่ง แต่คือการแสดงความยินดีกับพรรคพลังประชาชนที่ได้รับชัยชนะ แสดงความมีน้ำใจแบบนักกีฬา ด้วยการ "รู้แพ้ รู้ชนะ" และ "รู้อภัย" และปล่อยให้พรรคที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาล ไปโดยไม่สกัดขัดขวางหรือขอความช่วยเหลือจากอำนาจเถื่อน

-2-

ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคพลังประชาชน ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยแม้จะไม่ถึงกึ่งหนึ่ง นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าประชาชน "ส่วนใหญ่" ก็ยังเป็นปัจจัยชี้วัดได้ว่าการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 นั้นล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ไม่เป็นที่ต้องการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูประเทศจากความแตกแยก การปฏิรูปการเมือง หรือการบริหารจัดการในเรื่องเศรษฐกิจ

อันที่จริง แม้แต่หัวขบวนของกลุ่ม "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ที่สนับสนุนการรัฐประหารอย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญามาหมาด ๆ ในข้อหาหมิ่นประมาทอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยพูดหลายครั้งหลายหนเมื่อรู้สึกผิดหวังว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นั้นเกิดจากเหตุผลและผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าเป็นเรื่องของการทำเพื่อส่วนรวม

ดังนั้นเมื่อผลเลือกตั้งออกมาเช่นนี้ อันเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการไม่รับรัฐประหาร 19กันยายน 2549 สิ่งที่พลเอกสนธิ บุณยรัตยกลิน และบรรดาสมาชิก คมช.ควรทำก็คือการออกมาขอโทษประชาชน ออกมาขอโทษที่ใช้ประชาชน ชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์มาแอบอ้างเพื่อจุดมุ่งหมายแคบ ๆ แค่เพียงเรื่องของส่วนตัวและพรรคพวกไม่กี่คน

ชัยชนะของพรรคพลังประชาชนในครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะที่น่าภาคภูมิใจเป็นพิเศษ เพราะการเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางเงื่อนไขของการสกัดกั้นทั้งปิดบัง และเปิดเผยจากพลังของระบบราชการที่นำโดยทหารและพลังนอกรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ต้องการเห็นพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล เป็นชัยชนะที่สง่างาม ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะพ่ายแพ้แล้วยังแสดงความทุเรศออกมาอย่างน่าเกลียด ซึ่งการทำเช่นนี้มีแต่จะทำให้พรรคพลังประชาชนที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามายิ่งสง่างามมากขึ้นไปอีก. ไม่เอาพรรคประชาธิปัตย์แล้ว

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน