Skip to main content

ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย

ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษ

ชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่น

20080308 การ์ตูน ชัย ราชวัตร (1)
ไทยรัฐ, 26 กุมภาพันธ์, 51.

รัฐมนตรีขี้เหร่หรือการเกะกะระรานกระบวนการยุติธรรมนั้นล้วนเป็นการ “กล่าวหา” ลอยๆ การจะระบุว่ารัฐมนตรีคนใดขี้เหร่นั้นคงต้องดูที่ผลงานซึ่งกาลเวลาจะช่วยพิสูจน์ ส่วนการเกะกะระรานกระบวนการยุติธรรมนั้นเพียงแค่ย้ายข้าราชการคนสองคนคงไม่อาจบอกได้ว่าเป็นการเกะกะระราน

เราลองมาดูการ์ตูนคอลัมน์ “ขาประจำ” ที่เขียนโดย “ขวด” ของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์กันบ้างว่ามีทัศนคติต่อการโยกย้ายข้าราชการอย่างไร

20080308 การ์ตูน ชัย ราชวัตร (2)
เดลินิวส์, 27 กุมภาพันธ์ 51


“ขวด” มีทัศนคติที่ถูกต้องมากกว่าเมื่อนำเสนอว่าข้าราชการที่ถูกย้ายนั้นได้ตำแหน่งมาตอนรัฐประหาร ดังนั้นที่มาของตำแหน่งนั้น ๆ จึงไม่ชอบธรรมและดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าตกอกตกใจแต่อย่างใดหากจะถูกย้ายออกไปในเมื่อคณะรัฐประหารก็ออกไปแล้ว

วรรณกรรมการ์ตูนของชัย ราชวัตร อาจเทียบเคียงได้กับละครหลังข่าว ประโยชน์ประการหนึ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ชมจะได้รับนั่นคือความบันเทิง นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนจึงพลิกไปอ่านการ์ตูนของเขาก่อนคอลัมน์อื่น ๆ

ผมอยากจะเรียกวรรณกรรมของชัย ราชวัตรว่า เป็น “ละครหลังข่าวการเมือง” ซึ่งตอกย้ำและขับเคลื่อนค่านิยมซ้ำซาก เข้าใจง่าย ไม่มีความซับซ้อนแบบเดียวกับละครหลังข่าวในโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เราลองมาดูว่าการ์ตูนของเขา “ง่าย” อย่างไร

20080308 การ์ตูน ชัย ราชวัตร (3)
ไทยรัฐ, 23 กุมภาพันธ์ 51


ชัย ราชวัตร โจมตีบรรดา “คนเดือนตุลา” (ในซีกรัฐบาล) ต่อกรณีที่นายก ฯ สมัคร สุนทรเวช บอกว่าในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มีคนตายแค่คนเดียวซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและ “คนเดือนตุลา” พากันเงียบเฉย

การใช้ภาษาของชัย ราชวัตร รุนแรง (ชวนให้นึกถึงบทตบตีระหว่างนางเอกกับนางร้ายหรือนางร้ายกับนางร้ายในละครหลังข่าว) แต่สนุกและสะใจ อย่างไรก็ตาม อยากจะถามกลับไปว่าตัวการ์ตูนของชัย ราชวัตรและตัว ชัย ราชวัตร เองก็คงนั่งอมสากอยู่เช่นเดียวกันต่อกรณีการเข้ามาของคณะรัฐประหารซึ่งมีการบิดเบือนใส่ไคล้กันอย่างมโหฬาร

เราลองมาดูอารมณ์ขันของ “ขวด” แห่งเดลินิวส์กันบ้างว่าตรงกันข้ามกับ ชัย ราชวัตร ขนาดไหน

20080308 การ์ตูน ชัย ราชวัตร (4)
เดลินิวส์, 29 กุมภาพันธ์ 51


ดูเหมือนว่าความเห็นของ “ขวด” จะใช้ได้กว่า ชัย ราชวัตร เพราะเขาระมัดระวังไม่ปรักปรำใครง่าย ๆ แบบคอลัมนิสต์กระแสหลัก

น่าเสียดายอย่างมากที่ “จิตสำนึกอันผิดพลาด” ของ ชัย ราชวัตร ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของเขาถูกใช้ไปในทางที่ผิดและไร้ประโยชน์ต่อพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง  รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย   อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์  สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…