Skip to main content

  “สิ่งที่เป็นความจริง เราไม่จำเป็นต้องเอามาพูดกันก็ได้ เราเอาเรื่องดี ๆ มาพูดกันดีกว่า” (1) คำพูดจากรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมท่านหนึ่งที่พูดในระหว่างเหตุการณ์แบนหนังเรื่องหนึ่งในปี 2554 ที่กลายเป็นข่าวใหญ่เมื่อมีคนบอกว่า หนังเรื่องนี้ละเมิดศีลธรรมอันดีของประชาชน จนหนังถูกแบน คำพูดของเขาได้บ่งบอกถึงทัศนคติของเขาต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้คิดเลยว่า หนังที่เขาเกลียดนั้นกำลังเล่าเรื่องสิ่งที่คนไทยรู้อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเอามานำเสนอบนแผ่นฟิลม์มีฉะนั้นจะมีการแบนหรือเซ็นเซอร์

ตาม พรบ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้แบ่งการจัดเรตภาพยนตร์เอาไว้ 5 ประเภทได้แก่ หมวดส่งเสริม หมวดทั่วไป หมวด 13 ปีขึ้นไป หมวด 15 ปีขึ้น และห้ามอายุ 20 ปีลงไปชม และเรต ฉ หรือห้ามเผยแพร่ภายในราชอาณาจักร 
 
ซึ่งเรต ฉ นี้เองที่เป็นปัญหามากเพราะ มีหนังหลายเรื่องโดนแบนไปแล้วด้วยข้อหาขัดศีลธรรมอันดีของประเทศ ทำให้หลายคนต้องมาพิจารณาว่า ในเมื่อเรตแล้วจะแบนไปทำไม
 
นั้นทำให้คำพูดของรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมในตอนนั้นที่ว่า ไม่ต้องเอาสิ่งที่เป็นความจริงมาพูดกันเด่นชัดทำให้หนังไทยหลายเรื่องหลีกเลี่ยงจะพูดถึงปัญหาต่าง ๆ ในประเทศหรือไม่ก็ต้องหาวิธีในการพูดถึงเรื่องนั้น ๆ โดยอ้อมไม่พูดตรง ๆ อาทิการทำหนังผี หรือ หนังตลกกันไปเลย
 
สมกับคำที่ว่า เรารู้ประเทศนี้มีอะไรบ้าง แต่ที่สำคัญเราบอกไม่ได้ ยิ่งผ่านสื่อแล้วยิ่งแล้วใหญ่
 
ท่ามกลางกระแสการเปิดประตูอาเซียนที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่ปี ทำให้หลายคนยิ่งกลัวว่า ความจริงจะทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยไปในสักวันทั้ง ๆ ที่ มันเป็นเรื่องที่คนไทยรู้แต่พูดไม่ได้ แม้กระทั่งจะเอ่ยถึงยังต้องฉุกคิดว่า จะโดนแบนหรือไม่ 
 
ช่างเป็นสถานการณ์เลวร้ายอย่างยิ่ง
 
หลายปีแล้วที่เราไม่มีหนังที่พูดถึงปัญหาต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมาหรือกระทั่งกล้าใส่ประเด็นหนัก ๆ ลงไปบอกเล่า เพราะหนังไทยหลายเรื่องเลือกจะหลับหูหลับตารักกันแบบไม่ลืมหูลืมตาราวกับโลกนี้เป็นสีชมพู 
 
ฟังดูแล้วหัวเราะไม่ออกนะครับ
 
 
หันหน้าออกไปทางใต้เดินทางสู่ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศที่บอกว่าเป็นประเทศอิสลามที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก แถมเมื่อพูดถึงวงการภาพยนตร์ก็คงไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก จนเรียกได้ว่า วงการภาพยนตร์นั้นเขาอาจจะตามหลังเราหลายปีแสงอยู่ไม่ใช่น้อยในความคิดใครหลายคน แต่ว่าในขณะที่ประเทศไทยกำลังหยุดนิ่งเพราะปัญหาภายใน วงการภาพยนตร์ก็กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หลังการมาของภาพยนตร์แอ็คชั่นมาร์เชียลอาร์ตอย่าง The Raid Redemption ที่เรียกกระแสความนิยมหนังต่อสู้ให้กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่เงียบไปนาน และกลับมาอีกครั้ง
 
 
เรื่องราวของ The Raid นั้นเป็นเรื่องราวของรามา ตำรวจหนุ่มที่ออกเดินทางไปทำภารกิจรวมกับหน่วยสวาทของเขาที่ได้รับภารกิจลับในการบุกมาจับกุมพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ของประเทศภายในเซฟเฮ้าส์แห่งหนึ่งกลางเมือง ทว่าภารกิจที่ดูเหมือนง่าย ๆ คล้ายกับการปอกกล้วยเข้าปากกลับกลายเป็นการต้อนหนูเข้ากรงแทน เมื่อพวกพ่อค้ายาเสพติดดันรู้ตัวเสียก่อนและปิดทางออกทั้งหมดก่อนจะประกาศให้ใครที่ฆ่าตำรวจได้จะได้เช่าห้องที่อยู่ฟรีตลอดชีพส่งผลให้คนทั้งตึกกลายเป็นศัตรูและหันมาไล่ฆ่าตำรวจกันอย่างบ้าคลั่ง การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของตำรวจที่เหลือรามาจึงเริ่มขึ้น
 
สิ่งที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้นอกจาก ฉากต่อสู้ที่มันดุเดือด รวมทั้งการโชว์ศิลปะการต่อสู้ที่หลายคนถึงกับเอียงหัวว่า มันคืออะไร อย่าง ปันจักสีลัต ให้หลายคนได้รู้จักแล้ว ความโดดเด่นของหนังก็คือ การพูดถึงสภาพสังคมอินโดนีเซียได้อย่างเข้าใจ เราจะเห็นว่า ประชาชนในประเทศอินโดนีเซียนี้ค่อนข้างจะยากจนอย่างยิ่ง เรามองเห็นสภาพการเป็นอยู่ของพวกเขา เราก็พอเข้าใจได้ว่า เหตุใดพวกเขาถึงหยิบมีดหรืออาวุธอื่น ๆ มาไล่สังหารตำรวจตามคำสั่งของเจ้าพ่อที่บอกว่าจะให้เช่าห้องฟรีนี้ ซึ่งหากพิจารณาดูจากรายได้ของคนอินโดนีเซียแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4458 เหรียญต่อปีต่อคน ซึ่งน้อยกว่าคนไทยมาก บวกกับประชากรที่มีมากที่สุดในประเทศอาเซียนยิ่งทำให้ประเทศพัฒนาได้ช้ามาก ๆ 
 
 
จึงไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นคนในตึกยอมมาเสี่ยงไล่ฆ่าตำรวจเพียงเพื่อการเช่าห้องตลอดชีวิตนั้นเอง
 
นอกจากหนังได้ทำให้เห็นภาพทัศนคติของประชาชนต่อตำรวจ หรือ ระบบราชการของประเทศนี้ว่า เน่าเหม็นมากขนาดไหน เพราะ เราได้รู้จากปากของพ่อค้ายาเสพติดว่า ตำรวจใหญ่ ๆ ในกรมจะกำจัดพวกเขาทิ้ง เพราะ พวกเขาไปทำลายเส้นทางธุรกิจของพวกเขากัน และที่สำคัญเขาจ่ายให้พวกใหญ่ ๆ โต ๆ เยอะแยะ
พวกแกไม่รอดแน่ ถ้ากลับไป
 
นั้นทำให้เรามองเห็นภาพของระบบราชการของอินโด ไม่สิ หลายประเทศรวมทั้งไทยเองที่ระบบราชการเอ่ย ตำรวจเอ่ย ต่างไม่สามารถพึ่งพิงอะไรแถมยังเป็นส่วนหนึ่งของความโสมมในประเทศนั้น ๆ เสียอีก ทำให้ประชาชนเลือกที่จะตั้งแง่ไว้ก่อนเลยว่า
 
ตำรวจเป็นคนเลว
 
ซึ่งพฤติกรรมนี้ได้ถูกสะท้อนจากชายผู้เช่าห้องชั้น 7 ที่แสดงอาการไม่ชอบใจพวกตำรวจเท่าใดนักที่พวกตำรวจมีพฤติกรรมไม่ดีกับเขา ทั้งกี่พูดจาไม่สุภาพกระทั่งการด่าทอจน รามา พระเอกของเรื่องต้องบอกกับชายผู้เช่าห้องคนนี้และต่อว่าตำรวจที่ทำแบบนั้นไปแล้วพูดว่า ตำรวจไม่ได้เลวกันไปหมดทุกคนอย่างที่คิดและเขาก็แสดงให้เห็นในเรื่องว่า ตำรวจไม่ได้เลวทุกคนจริง ๆ นั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมชายคนนี้ถึงยอมเปิดประตูห้องให้พวกรามามาซ่อนในขณะที่หนีจากแก๊งมีดมาเชเต้ที่กำลังไล่ล่าพวกเขา ทั้ง ๆ ที่พวกเขากลัวจะต้องเดือดร้อนเพราะเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป
 
 
 
นอกจากนี้หนังยังแสดงให้เห็นภาพของการชิงดีชิงเด่นในที่ลับของตำรวจผ่านตัวตำรวจเก่าที่มากับทีมด้วย และเขานี่เองที่ทำให้เรารู้ว่า เขาแอบมาทำภารกิจนี้โดยไม่มีใครรู้ ซึ่งเป้าหมายของเขาคือการจับตัวพ่อค่ายาคนนี้ไปเพื่อแลกกับลาภยศเพิ่มเติม ทว่าการตัดสินใจของเขาได้นำมาสู่ความตายของคนในทีมโดยไม่มีใครรู้เลย
 
หลายคนมองว่า หนังเรื่องนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับหนังบู้ของฮ่องกงในยุคก่อน ๆ ที่ชอบพูดถึงเรื่องตำรวจ โดยเฉพาะหนังของเฉินหลงหลาย ๆ เรื่องที่มักจะตั้งคำถามถึงระบบยุติธรรมและราชการเสมอ ซึ่ง The Raid นั้นตัวผู้กำกับก็บอกว่า เขาเอาพล้อตแบบนี้มาจากหนังฮ่องกงพวกนี้แหละครับ และที่น่าสนใจอย่างก็คือ ประเด็นนี้ไม่เคยล้าสมัยไปเลยจนกระทั่งปัจจุบันและที่สำคัญ
 
เป็นเกือบทุกประเทศ
 
เหมือนกับปัญหายาเสพติดที่ไม่ว่าประเทศไหนก็มีทั้งนั้น
 
นอกจากนี้ตัวหนังแทบจะไม่มีความเป็นชาตินิยมเลย หากเปรียบกับหนังต่อสู้เรื่องดังอื่น ๆ ไม่ต้องไปไกลมากครับ อย่าง องค์บาก เราก็เป็นหนังต่อสู้ชาตินิยมสุดขั้วด้วยการสร้างตัวละครคนไทยให้ต่อกรกับชาวต่างชาติที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อประเทศนี้ และคู่ต่อสู้ของจา พนม คนสุดท้ายนั้นเป็นนักมวยพม่า
 
 
 
ที่บ่งบอกว่าประวัติศาสตร์ไทยนั้นเป็นตัวกำหนดชาตินิยมในตัวคนไทยอย่างแท้จริง หรืออย่างเรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่พูดถึงการบุกรุกของต่างชาติที่เช้ามากอบโกยของสำคัญของชาติไป (ในที่นี้คือช้าง)  หรือกระโดดไปแถวฮ่องกงยกตัวอย่าง หนังอย่าง Ip Man ที่เล่นกับความทรงจำอันเจ็บปวดของคนจีนที่มีต่อต่างชาติที่มาย่ำยีอย่าง ญี่ปุ่น หรือ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าหนังต่อสู้ส่วนมากจะอยู่ในวาทะชาตินิยมเกือบทั้งหมด
 
 
หรือจะเป็นเพราะ ตัวหนังอย่าง The Raid นั้นไม่ใช่ผู้กำกับที่เป็นคนอินโดนีเซียกำกับกันแน่ ถึงไม่มีวาระชาตินิยมในหนังเลยด้วยซ้ำไป 
 
หรือเพราะเป็นคนชาติอื่น (ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นเวลล์) เลยสามารถวิพากษ์ประเทศได้โดยใช้สายตาของคนนอกได้อย่างมีอิสระกันแน่
 
ทฤษฏีนี้สามารถยืนยันได้หากเราหันมามองหนังที่สร้างโดยชายต่างชาติและมองประเทศไทยด้วยสายตาที่ต่างออกไปจากที่ไทยเราเห็น อย่าง หนังอย่าง ศพไม่เงียบ ที่บอกเล่าภาพของศาสนาและพระในมุมมองที่ต่างออกไปจากที่เราเห็นทุกเมื่อเชื่อวัน หรือหนังฮอลลีวู้ดอย่าง Hangover 2 ที่มองประเทศไทยเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยเซ็กซ์ ยาเสพติด และเรื่องอีกหลายเรื่องที่คนไทยไม่สามารถพูดได้เลยด้วยซ้ำไป
 
มีคนบอกว่า บางครั้งคนบ้าก็มองอะไรได้ดีกว่าคนปกติทั่วไป ฉันใดฉันนั้น คนในประเทศไทยก็ไม่อาจจะมองเห็นปัญหาที่คนภายนอกเห็นได้เช่นกัน

หรือเราจะปล่อยให้คำพูดที่ว่า สิ่งที่เป็นความจริง เราไม่จำเป็นต้องเอามาพูดกันก็ได้ เราเอาเรื่องดี ๆ มาพูดกันดีกว่า นั้นถุกหล่อหลอมกลายเป็นเบ้าหลอมความจริงของประเทศนี้กัน

ในเมื่อสื่อสะท้อนความจริง และหากสื่อไม่สามารถพูดความจริงได้ จะเรียกว่า สื่อได้หรือ
 
หรือจะให้ใครสักคนพูดว่า บางเรื่องตายก็บอกไม่ได้กันแน่

อืม...น่าคิดนะครับ
 
(1) ข้อมูลจากวารสาร Crop Magazine ม.กรุงเทพ ฉบับที่ 2 ปี 2554 บทสัมภาษณ์ค้นหาความลับในสวนหลังบ้าน 

บล็อกของ Mister American

Mister American
               สำหรับหลายคน หนังเรื่องแรกเป็นเสมือนความฝันอันงดงามที่อยากจะทำให้สำเร็จ แต่สำหรับผู้กำกับหลายคนนั้นหนังเรื่องแรกของพวกเขานั้นไม่ได้สวยงามหรืออกมาราบรื่นอย่างที่คิด บางคนถูกไล่ออกจากโปรเจ็ท บางคนเกือบสติแตก หรือ บางคนก็เจอการกดดันจากอิทธิพลที่
Mister American
            "วิญญาณคือ ความทรงจำที่ตกค้าง ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำที่ดีหรือเลวร้าย มันจะยังคงอยู่และปรากฏขึ้นเสมอ"
Mister American
              ระหว่างที่ผมกำลังนั่งเขียนต้นฉบับอยู่ตอนนี้ภาพยนตร์ซอมบี้ทุนต่ำเรื่องใหม่จากเกาะญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า One Cut of the dead กำลังสร้างกระแสครั้งใหญ่ให้กับวงการหนัง เมื่อ หนังซอมบี้ทุนต่ำเรื่องนี้ทำรายได้ถล่มทลายไปแล้วทั่วโลกกว่า 10 ล้า
Mister American
คิชิดะ จุน เป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลายที่มองเห็นคนตายได้ และ ข้าง ๆ เขานั้นมี ฮายาคาวะ เคียวโกะ เพื่อนสมัยเด็กที่ถูกฆ่าตายและมาปรากฏตัวอยู่เคียงข้างเขา ท่ามกลางเรื่องราวสยองขวัญ ลึกลับที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา
Mister American
                คงไม่ต้องแปลกใจหาก KOE NO KATACHI หรือ รักไร้เสียง อนิเมชั่นเรื่องดังจากญี่ปุ่นโดยฝีมือผลงานของสตูดิโอ Kyoto Animation หรือที่เรียกติดปากนักดูอนิเมะว่า เกียวอนิเมะ ผู้ผลิตอนิเมชั่นชื่อดังอย่าง Clannad , Kanon , K-on  เป็นต้น จะกลายเป็นห
Mister American
              คงไม่ใช่ความน่าแปลกหรือประหลาดใจอีกแล้วกับปรากฏการณ์หนังอีสานถล่มเมืองที่นับจากผู้บ่าวไทบ้านภาคแรกเข้าฉายในปี 2014 และทำเงินไปได้อย่างมากมายในแผ่นดินอีสานนั้นจะทำให้เกิดหนังลูกอีสานหน้าใหม่ขึ้นอย่างมากมาย และแน่นอนว่า ความสำเร็จนี้ได้ต่อยอดให้หนังอ
Mister American
               ณ ช่วงเวลานี้คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดถูกกล่าวถึงและพูดมากกว่า อนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของชินไค มาโคโตะ ผู้กำกับอนิเมชั่นดราม่าชื่อดังอย่าง 5 centimeters per second หรือ The Garden of word อย่าง Your Name หรือ Kimi No Nawa (หลับตาฝันถึงชื
Mister American
คงไม่ต้องแปลกใจว่า หากจะมองหาหนังไทยสักเรื่องที่น่าหยิบมาพูดถึงหนังเรื่อง ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง นั้นเป็นหนึ่งในหนังที่ควรหยิบมาพูดมากเรื่องหนึ่งในขณะนี้นอกจากจะเป็นหนังภาคต่อที่สานความสำเร็จมาจากภาคแรกที่สร้างปรากฏหนังท้องถิ่นนิยมให้เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อหนังเล็ก ๆ นี้
Mister American
                นี่คือ การกลับมาที่ทุกคนรอคอย ภายหลังจาก ก็อตซิลล่าฮอลลีวู้ดของ กาเรธ เอ็ดเวริ์ดออกอาละวาดไปในปี 2014 และแน่นอนว่า มันทำให้ชื่อของก็อตซิลล่าลืมตาตื่นขึ้นอีกครั้ง ทว่า สำหรับแฟน ๆ เดนตายของก็อตซิลล่านั้นคงค่อนข้างที่จะผิดหวังที่ได้เห็นก็อตซิล
Mister American
คงไม่มีอะไรต้องพูดมากนอกจากนี่คือ ภาพยนตร์ซอมบี้ที่ดีที่สุดในรอบหลายปี และที่สำคัญนี่ไม่ใช่หนังที่สร้างโดยฮอลลีวู้ดแต่เป็นเกาหลีใต้ ประเทศที่มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชียที่เรียกว่าเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้วในด้านคุณภาพของหนังที่นอกจากฮอลลีวู้ดแล้วมีเพียงประเทศนี้ที่ทำหนังออกมาได้สากลและสนุกในแบบที่ทุก
Mister American
ยังคงเป็นช่วงเวลาเศรษฐกิจยังไม่มีวี่แววว่าจะ ฟื้นตัวเสียที ในช่วงปลายปี 2015 นี้ทุกอย่างยังคงมองไม่เห็นว่า อนาคตจะเป็นเช่นไร กระนั้นเองสำหรับงานหนังสือแห่งชาติ เดือนตุลาคมนี้ยังคงเป็นช่วงเวลาร้อนแรงของบรรดาค่ายไลท์โนเวลต่าง ๆ มากมายที่ต่างเตรียมกระสุนดินดำ หรือ ออกหนังสือมาเพื่อจูงใจนักอ่านทั้งหล