Skip to main content

 

                สำหรับใครหลายคนแล้ว วันที่ 11 กันยายนนั่นอาจจะเป็นเพียงวันที่แสนจะธรรมดาวันหนึ่งที่อาจจะไม่มีใครสนใจ แต่สำหรับคนอเมริกาแล้วมันเป็นวันที่หลายคนต้องจดจำกันไปนานแสนนาน เมื่อเกิดเหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนสถานที่อย่าง World trade Center และเพนตากอนที่ทำให้มีคนตายไปมากกว่าพันกว่าคนพร้อม ๆ กับการจุดสงครามก่อการร้ายอันเป็นสงครามครั้งใหม่ไปทั่วโลก
 
               ชักนำให้อเมริกาบุกเข้าโจมตีอัฟกานิสถานและอิรักตามลำดับพร้อมกับเดินกวาดผู้ก่อการร้ายไปทั่วโลก
 
               และแน่นอนว่า ชื่อของนาย โอซาม่า บินลาเดน นั่นย่อมเป็นที่รู้จักของคนทั่วทั้งโลกในฐานะชายผู้อยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายสำคัญ ๆ บนโลก รวมทั้งเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายนรวมทั้งครั้งอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่มีหลักฐานว่า เขาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแทบจะทั้งสิ้น
 
                ส่งผลให้อเมริกาออกไล่ล่าตัวของเขาและพรรคพวกเป็นเวลากว่าสิบปีจนมีคนถามว่า
 
 
                ชายที่ชื่อว่า บินลาเดนอยู่ที่ไหน
 
                 แน่นอนว่าไม่มีใครรู้กระทั่งวันที่ 2 พฤษภาคม 2011 นั่นเองที่ทุกอย่างได้จบลง เมื่อหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐได้บุกเข้าไปที่บ้านหลังหนึ่งในปากีสถานพร้อมกับสังหารชายคนนั่นที่คาดว่า คือ บินลาเดน ผู้ก่อการร้ายที่รัฐบาลต้องการตัวมากที่สุด
 
                 การไล่ล่าตัวของบินลาเดนจึงจบลงในที่สุดโดยใช้เวลานานถึงสิบปีเลยทีเดียว
 
                 และแน่นอนว่ายุทธการล่าหัวครั้งนี้ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรียบร้อยแล้วและได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดจึ้นในชั่วระยะเวลาสิบปีผ่านเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่งที่เป็นหน่วยข่าวกรองของสหรัฐที่ชื่อว่า มายา ผู้อยู่เบื้องหลังการค้นหาตัวบินลาเดนครั้งนี้
 
                 และงานนี้อยู่ในมือของผู้กำกับหญิงที่มีฝีมือจัดจ้านมากที่สุดของโลกอย่าง แคทเทอรีน บิ๊กกาโลว์ ที่พึ่งคว้ารางวัลออสการ์มาแบบหักปากกาเซียนปาดหน้าหนังมหาชนอย่าง Avatar ไปด้วยภาพยนตร์สงครามอิรักในมุมมองใหม่อย่าง The Hurt Locker 
 
 
                  ซึ่งเรื่องราวของหนังนั่นพูดถึงความหมกมุ่นที่ของอเมริกาที่มีต่อชายคนนี้ได้อย่างน่าสนใจยิ่งคล้ายกับสิ่งที่เธอบอกเล่าไปแล้วในหนังเรื่องก่อนของเธอ
The Hurt Locker นั้นผู้กำกับได้นำเสนอเรื่องราวของทหารอเมริกันคนหนึ่งที่ทำงานเป็นนักกู้ระเบิดในสงครามอิรักที่หมกมุ่นกับสงครามและอันตรายมากจนเกินไปทำให้กลายเป็นเสพติดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไม่รู้ตัว ซึ่งภาพนี้เป็นการสะท้อนถึงตัวอเมริกาเองที่ไม่ได้ต่างไปจากทหารหนุ่มคนนี้ที่เสพติดการทำสงครามและชอบหาเรื่องใส่ตัวมากกว่าการอยู่อย่างสงบสุข
 
                 หากมองย้อนดู มันได้ถามกลับมายังอเมริกาว่า พวกคุณหาเรื่องใส่ตัวเองหรือเปล่าที่ทำให้เรื่องนี้มันเกิดขึ้น
 
 
                ในสารคดี Bowling for Columbine ของไมเคิ่ล มัวร์ ที่ออกฉายหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญในปี 2001 นั่นได้มีภาพมิวสิคเพลงที่มีชื่อว่า What the Wonderful World ที่เป็นเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวที่แสนสวยงาม ทว่า ภาพที่ฉายออกมานั่นกลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง เมื่อภาพนั่นได้ฉายให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังอเมริกาทำตัวแส่ไปหาเรื่องโดยทางตรงและอ้อมไปทั่วโลกส่งผลให้เกิดสงครามและการฆ่ากันตายไปทั่วโลกก่อนที่ทุกอย่างจะย้อนกลับมาหาอเมริกาเองด้วยฝีมือของโอซาม่า บินลาเดน คนที่พวกเขาฝึกฝนนั่นเอง
 
                นั่นทำให้เราต้องถามย้อนไปว่า
 
                อเมริกาหาเรื่องใส่ตัวเองหรือเปล่ามากกว่า
 
                เช่นเดียวกับครั้งนี้เองก็เช่นแคททาลีน บิ๊กกาโลว์ได้สานต่อความหมกมุ่นนี้ต่อไป โดยคราวนี้เป็นเรื่องราวของการหมกมุ่นของความแค้นที่มีต่อชายที่มีชื่อว่า โอซาม่า บินลาเดนที่สะท้อนภาพออกมาจากตัวของผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อว่า มายา
 
 
                แน่นอนว่า อเมริกาได้ประกาศเอาไว้ตั้งแต่เริ่มสงครามการก่อการร้ายในยุคของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แล้วว่า ชายคนนี้จะต้องไม่มีชีวิตอยู่หรือต้องถูกจับมาลงโทษให้จงได้ ท่ามกลางการท้าทายของบินลาเดนและพรรคพวกของเขาที่มีต่ออเมริกาอย่างไม่กลัวเกรง
 
                เรื่องราวของหนังเกิดขึ้นท่ามกลางการไล่ล่าหาตัวชายคนนี้ผ่านการสืบสวนด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความลับมา ซึ่งนั่นทำให้ได้เห็นภาพของเรือนจำนักโทษที่สหรัฐอเมริกาทำเอาไว้และปฏิเสธว่าไม่มีจริงโดยตลอด (ก่อนถูกเปิดโปงด้วยเอกสารลับที่หลุดออกมาในเว็บไซส์วิกิลีคอันโด่งดัง) ก่อนที่จะพาเราได้เห็นว่า มีการก่อการร้ายอยู่ตลอดในช่วงเวลาที่สหรัฐยังงมโข่งไล่ล่าตัวชายคนนี้
 
                ไม่ต่างกับมายา หญิงสาวที่เป็นเจ้าหน้าที่ออกไล่ล่าชายคนนี้และแสดงให้เห็นถึงความหมกมุ่นที่มีต่อชายคนนี้อย่างชัดเจนราวกับเป็นภาพสะท้อนของประเทศอเมริกาที่ยังติดอยู่ในความมืดมิดของสิ่งที่เรียกว่า ความแค้น
 
                 และความแค้นที่เธอหมกมุ่นนั่นเองได้ทำให้หญิงสาวคนนี้ได้พบเจอกับเรื่องสารพัดตั้งแต่การทำร้ายนักโทษด้วยวิธีการสุดแสนป่าเถื่อนเพื่อให้มาซึ่งคำตอบ การถูกลอบสังหาร การสูญเสียเพื่อนร่วมงาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้ทำให้เธอคนนี้ไม่เหลือหนทางใดนอกจากจับบินลาเดนให้ได้หรือฆ่า
 
                 เพื่อยุติเรื่องบ้าคอแตกนี้
 
                  แต่สิ่งทีน่าสนใจก็คือ ในขณะที่เราจับตามองดูมายาไปตลอดเรื่องในด้านการทำงานค้นหาตัวของชายคนนี้นั่น เราแทบจะไม่รู้เรื่องชีวิตส่วนตัวของเธอเลยแม้แต่น้อย ตั้งแต่ชื่อจริง ๆ ของเธอคืออะไรกันแน่ (มายาอาจจะเป็นชื่อหรือนามสกุลก็ได้) เธอเป็นใครมาจากไหน มีครอบครัวหรือไม่ ซึ่งนั่นหนังไม่ได้บอกอะไรเราเลยนอกจากภาพในหน้าจอ Desktop คอมพิวเตอร์เพียงแวบเดียวเท่านั่นที่เราเห็นภาพเด็กผู้หญิงคนหนึ่งในนั่นด้วย
 
                เราไม่รู้ว่า เด็กสาวคนนั่นคือใคร
 
                เธออาจจะเป็นญาติของมายา น้องสาว หรือกระทั่งลูกสาวของมายาได้
 
                นั่นทำให้เรารับรู้ว่า ความหมกมุ่นในตัวของชายคนนี้ได้ทำให้เธอหลงลืมกระทั่งตัวตนของตัวเองไปจนหมดสิ้น นั่นทำให้เราไม่เห็นกระทั่งความอ่อนหวานหรือพฤติกรรมของความเป็นหญิงของเธอผู้นี้เลยแม้แต่นิดเดียว
 
 
                นี่เองที่ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายหลังการสังหารได้สิ้นสุดลง เธอได้เดินไปดูศพของชายที่เธอไล่ล่ามาเป็นทศวรรษท่ามกลางสายตาที่คล้ายกับตื่นตะลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้น หลังจากที่เธอขึ้นไปบนเครื่องบินนั่นเอง
 
                หลายคนจึงสงสัยว่าทำไมเธอจึงมาร้องไห้บนเครื่องบินนี้
 
                 หลายคนบอกว่า เพราะเธอดีใจมากที่ศัตรูหมายเลขหนึ่งของเธอตายแล้วจึงดีใจออกมา แต่สำหรับผมแล้วการร้องไห้ของเธอนั่นแสดงถึงความสิ้นหวังอย่างหนึ่ง
 
                ใช่แล้วครับ เธอกำลังรู้สึกเคว้งคว้างที่ศัตรูหมายเลขหนึ่งของอเมริกาอย่าง บินลาเดน ได้เสียชีวิตลงไปแล้ว ส่งผลให้ความหมกมุ่นในการออกตามล่าตัวของเขาได้จบลงไปด้วย
 
                 เหมือนเช่นสหรัฐอเมริกาเองก็เช่นกันที่เมื่อบินลาเดนตายท่าทีการไล่ล่าผู้ก่อการร้ายของพวกเขาก็เริ่มแผ่วลงอย่างเห็นได้ชัดแจ้ง
 
 
                 ประดุจโซ่ตรวนในใจได้ถูกคลายออก สิบปีที่ผ่านมาของเธอได้จบลงไปแล้วพร้อมกับความเคว้งคว้างที่ตัวเธอหรือประเทศของเธออาจจะต้องมองหาศัตรูมหาชนคนต่อไปเพื่อต่ออายุความหมกมุ่นและเสพติดกับการไล่ล่ากันต่อไป
 
                  มันอาจจะเป็นอิหร่าน เกาหลีเหนือ หรือประเทศใดสักประเทศก็เป็นได้
 
                  เมื่อหนังจบ ผมนึกถึงคำแรกได้ในบัดดลหลังเครดิตจบลงไป
 
                   บินลาเดนตายแล้ว เอาไงต่อ
 
                   นั่นเองที่หนังได้ถามว่า บินลาเดนตายแล้วโลกจะสงบสุขหรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ว่า การก่อการร้ายครั้งใหม่จะไม่เกิดขึ้น ไม่มีใครตอบได้ว่า ความสงบสุขลงหรือไม่ (อย่างน้อยระหว่างเขียนต้นฉบับอยู่นี่ก็มีการก่อการร้ายเกิดขึ้นหลายครั้งไปแล้ว)
 
                    แต่สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นก็คือ การจบสงครามด้วยสงครามนั่นไม่อาจจะจบสงครามได้ เพราะ เมื่อคุณฆ่าคนคนหนึ่งก็จะมีสงครามครั้งใหม่เกิดขึ้นเสมอ
 
 
                    ประดุจคำพูดของขงจื้อที่ว่า เมื่อคุณคิดแก้แค้น จะมีหลุมสองหลุมได้แก่ หลุมแรกสำหรับคนที่คุณจะแก้แค้น และหลุมที่สองสำหรับตัวของคุณเอง
 
                    นี่เองที่ทำให้ไฟสงครามไม่อาจจะจบสิ้นลงเสียทีบนโลกใบนี้
 
                     เพราะความหมกมุ่นในการแก้แค้นที่ไม่จบสิ้นเสียทีนั่นเอง
 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)  ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง  ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า