Skip to main content

 

          มีข้อสอบข้อหนึ่งในวิชาหนึ่งได้เขียนโจทย์ไว้ว่า ท่านเชื่อในเรื่องเล่าใดมากกว่ากัน 
 
         ระหว่าง
 
          1. เรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่รอนแรมอยู่กลางทะเลหลังจากเรือที่โดยสารมากับครอบครัวล่มเพราะ พายุ โดยที่เรือชูชีพของเขานั้นมีตัวเขา ลิงอุรังอุตัง ไฮยีน่า และ ม้าลายขาเจ็บ และเสือตนหนึ่งที่ต้องล่องเรือไปกว่าสองร้อยวันจนกระทั่งมาถึงฝั่ง
 
          2. เรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่รอนแรมอยู่เพียงลำพังกลางทะเลหลังจากเรือโดยสารมากับครอบครัวล่มเพราะ พายุ โดยที่เรือชูชีพของเขานั้นมีตัวเขา แม่ ชายชาวเอเชีย พ่อครัวอยู่บนนั้น แต่ทุกคนตายหมดจนเหลือเพียงเขารอดมาคนเดียว
 
          คุณจะเชื่อเรื่องราวใดกัน
 
 
          สิ่งที่ผมเขียนมานั่นคือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของเด็กชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า พาย พาเทล เด็กชายชาวอินเดียที่รอดชีวิตจากเรือล่มระหว่างที่เขากำลังเดินทางมายังแคนาดาเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ เรื่องราวของเขากลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักหนังสือพิมพ์หนุ่มเดินทางมาพบเขาเพื่อนำเรื่องราวของเขาไปเขียนหนังสือและได้พบว่า นี่เป็นเรื่องราวที่น่าเหลือเชื่อยิ่งกว่าเรื่องเล่าใด ๆ ที่เขาเคยฟังมาเสียอีก
 
 
           นี่คือ เรื่องราวในภาพยนตร์เรื่อง Life of Pi ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของผู้กำกับชาวไตหวันนามว่า อัง ลี ที่สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ขึ้นบนโลกหน้าจอด้วยเรื่องราวที่แสนน่าค้นหาและลึกลับบวกกับงานด้านภาพที่งดงามราวกับอวตารเรื่องที่สองได้ทำให้ภาพยนตร์ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทว่าแม้ว่าจะไม่ชนะรางวัลนี้ แต่อังลีก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมตัวที่สองของเขาไปอีกครั้งหลังจากที่เขาเคยได้รับมันจากภาพยนตร์เรื่อง Brokeback Mountains เมื่อหลายปีก่อนมาแล้ว การได้ครั้งนี้ได้ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังพอ ๆ กับต้นฉบับของหนังอย่าง นิยายของ ยาน มาร์เทลล กลับมาเป็นที่สนใจของใครหลายคนอีกครั้งโดยเฉพาะในเมืองไทยที่นิยายเรื่องนี้ขายติดอันดับหนังสือตามร้านหนังสือต่าง ๆ ไปแล้ว
 
           สำหรับผมแล้ว ถ้าผมเป็นกรรมการออสการ์ผมคงมอบรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้หนังเรื่องนี้ไปแล้ว
 
            เหตุผลล่ะ คงเพราะ ผมคิดว่า นี่เป็นหนังที่ให้เราได้คิดทิ้งเชื้อบางอย่างเอาไว้ทำให้เราได้ฉุกใจว่า นี่ไม่ใช่หนังที่ให้เราดูเพื่อความบันเทิงอย่างเดียวเท่านั้น
นี่เองที่ทำให้หลายคนที่เข้าไปดูต่างบอกว่า งง และไม่เข้าใจสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อเท่าไหร่นัก ซึ่งนี่คือสิ่งที่หนังต้องการจะให้เราคิดว่า เขาอยากจะบอกอะไรเรากันแน่
 
            และนั้นคือ การตั้งคำถาม
 
 
           หนังพูดถึงการตั้งคำถามต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดั่งเช่นที่ พายได้ทำ ในเรื่องนั้นเราได้รู้ว่า พายนั้นสงสัยมาโดยตลอดว่า คนเราจะสามารถนับถือศาสนาสามศาสนาพร้อมกันได้หรือไม่ เมื่อมีคนถามว่า เขาทำแบบนั้นทำไม พายก็บอกว่า เขาแค่อยากนับถือพระเจ้าของเขาเท่านั้น แม้ว่าครอบครัวจะบอกว่า เขาทำแบบนั้นไม่ได้ พายก็จะตอบกลับไปว่า
 
            ทำไม
 
            หรือคำว่า Why ในภาษาอังกฤษนั้นคือ คำที่มีความสำคัญมากที่สุดในโลกใบนี้ เพราะถ้าไม่มีคำนี้ก็คงไม่มีวิทยาศาสตร์ขึ้นบนโลกเช่นกัน จุดเริ่มต้นของการค้นพบนั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์นั้นสงสัย อย่างเช่นที่ นิวตันสงสัยว่า ทำไมแอ๊ปเปิ้ลถึงตกลงมาบนพื้นแทนที่จะลอยไปในอากาศ นั้นเองที่เขาได้ค้นพบสิ่งที่เรียกว่า แรงโน้มถ่วง หรือ นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ที่ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อาทิ ทำไมเราถึงเดินเรือไปรอบโลกได้โดยไม่ตกทะเล คนเราสามารถบินบนฟ้าได้หรือไม่ ทั้งหมดนี้ได้จากคำว่า why นั้นเอง
 
           และนี่เองที่พายได้เป็นหนึ่งในการค้นหาว่า ทำไมคนเราไม่สามารถนับถือศาสนาสามศาสนาในพร้อมกันได้ เช่นเดียวกับการตั้งคำถามว่า
 
            พระเจ้ามีจริงหรือไม่
 
 
            เรื่องเล่าทั้งสองเรื่องนั้นมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกัน แต่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดั่งเช่นที่พายถามคนที่ฟังเรื่องของเขาเสมอว่า คุณเชื่อเรื่องที่มีเสือหรือไม่มี
ถ้าคุณเชื่อเรื่องมีเสือ มันจะเป็นเรื่องราวการผจญภัยของเด็กชายคนหนึ่งที่ต้องรวมทางไปกับสัตว์ร้ายที่อยู่บนเรือของเขาและต้องรวมทางกันมันไปตลอดทาง ในขณะที่จิตใจของเขาก็พัฒนาขึ้น ๆ พร้อม ๆ กับที่ศรัทธาในพระเจ้าของเขาก็เริ่มเพิ่มพูนมากขึ้นจนกระทั่งมาถึงปลายทาง
 
            แต่ถ้าคุณเชื่อเรื่องที่ไม่มีเสือ มันจะเป็นเรื่องราวของการสูญสิ้นศรัทธาของเด็กชายคนหนึ่งที่ต้องพบเรื่องราวเลวร้ายสุดจะบรรยาย ทั้งการที่เขาต้องเห็นครอบครัวตายไปต่อหน้าต่อตา เห็นการฆ่าคนต่อหน้าโดยที่ทำอะไรไม่ได้ และที่สำคัญตัวเองได้เห็นแม่ถูกฆ่าแบบที่ตัวเองไม่อาจจะทำอะไรได้ และนั้นเองที่เขาได้ฆ่าพ่อครัวคนที่ฆ่าแม่ของเขาและอยู่บนทะเลเพียงลำพัง
 
            ดังนั้นเราจะพูดได้ว่า เรื่องเล่าทั้งสองเรื่องนี้ต่างมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน พายเล่าเรื่องของเสือเพื่อปกปิดบาดแผลในใจของตัวเองที่เกิดขึ้นเพราะ สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวและเขาเองนี่ล่ะคือ ริชาร์ด พาร์คเกอร์ 
 
 
           เขาคือเสือตัวนั้น 
 
           หรือในนัยยะอีกอย่างก็คือ พายเล่าเรื่องหลังก็เพราะถูกคาดคั้นจากคนตรวจสอบของญี่ปุ่นที่ไม่เชื่อเรื่องเล่าของเขาเลยต้องแต่งเรื่องขึ้นมาก็เป็นได้
 
           นั้นทำให้เราไม่สามารถเชื่อเรื่องเล่าใดของเขาได้เลย เพราะ เอาจริงแล้ว มันเป็นเรื่องเล่าที่มีจุดบอดหลายอย่างอยู่เหมือนกันและอีกอย่างไม่มีใครที่รู้ว่า อะไรคือเรื่องจริงนอกจากพายที่เล่าเรื่องพวกนี้แล้วถามย้อนไปว่า
 
           คุณเชื่อในเรื่องไหนกันแน่
 
           ที่นี่มันจะย้อนกลับไปว่า ถ้าคุณเชื่อในพระเจ้า คุณก็เชื่อในเรื่องแรก แต่ถ้าไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า มันก็ย้อนในเรื่องสองแทน
  
            นี่เองคือ อานุภาพของสิ่งที่เรียกว่า เรื่องเล่าที่เพียงแค่ดัดแปลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถเปลี่ยนจุดประสงค์และความหมายของมันได้หมดสิ้น
 
            ที่นี่ผมได้นึกย้อนไปยังสังคมของไทยว่า เรามีเรื่องของเล่าของพาย พาเทล อยู่มากมาย เราได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นมากมายเหลือเกินจากทั้งโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ตที่ทำให้เราสามารถเข้าได้ถึงข้อมูลข่าวสารได้เร็วมากขึ้น แต่ขณะเดียวกับเราก็ไม่อาจจะแน่ใจได้ว่า สิ่งที่เราได้รับนั้นเป็นจริงหรือไม่
 
             สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในตอนนี้คือ การใช้สติให้มากที่สุดก่อนจะเชื่ออะไรสักอย่าง
 
             ดั่งเรื่องราวของพาย พาเทล
 
             เรื่องที่มีเสือและไม่มีเสือ
 
             เรื่องใดโกหก เรื่องใดเรื่องจริง ไม่มีอะไรสำคัญอีกแล้ว
 
             มันอยู่ที่คุณจะเชื่่อเรื่องไหนมากกว่า 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)  ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง  ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า