Skip to main content

“ทำไมถึงไม่มีหนังสัตว์ประหลาดไทยดี ๆ ออกมาสักทีวะ ?”

                คงไม่ต้องพูดแล้วว่า ณ วินาทีที่กำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ บึงกาฬ (The Lake) หนังแนวสัตว์ประหลาดถล่มเมืองสัญชาติไทย-จีน ทุนสร้างกว่า 88 ล้านบาท ได้จบรอบฉายลงแล้ว และ ตัวหนังทำเงินได้ไม่ถึง 5 ล้านบาท (ยอดรายได้จากชมรมวิจารณ์บันเทิงอยู่ที่ 2.92 ล้านบาท) เรียกว่า เป็นความล้มเหลวซ้ำสองของหนังสัตว์ประหลาดไทยตามหลัง ไลโอ แย้ยักษ์ถล่มเมืองที่ทำเงินไปได้ใกล้เคียงกัน (ที่ 2.06 ล้านบาท) และ ใช้ทุนสร้างไป 35 ล้านบาท ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวอีกครั้งของหนังแนวนี้ในตารางหนังทำเงินไทย

                ทำไมหนังถึงสองเรื่องนี้ถึงล้มเหลวไม่ใช่แค่รายได้แต่คำวิจารณ์ก็เองก็ย่ำแย่เหมือนกันจนแทบจะเรียกว่า อนาคตของหนังสัตว์ประหลาดไทยมืดมนไปอีก

                เกิดอะไรขึ้นกันแน่ คงต้องพาทุกท่านไปหาคำตอบกันว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่

                เอาจริงแล้วต้องพูดว่า ทั้งไลโอและบึงกาฬนั้นเป็นความกล้าหาญอย่างมากของวงการหนังไทยที่พยายามสร้างหนังแนวนี้ขึ้นมา ท่ามกลางการบ่นหรือดูแคลนของคนไทยหลายคนที่มองว่า หนังไทยไม่มีความแปลกใหม่ใด ๆ จนมีคำพูดประมาณว่า หนังไทยวนแค่ หนังตลก หนังผี หนังรัก ไม่มีหนังแนวใหม่ออกมาเลย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเพี้ยนและบ่งบอกว่า คนพูดไม่ได้ติดตามหนังไทยสักเท่าไหร่นัก เนื่องจากถ้าติดตามวงการนี้ดี ๆ เรามีหนังแนวใหม่นอกจากนี้อยู่มากเพียงแค่สามแนวนี้คือ แนวหลัก ๆ ที่ทำออกมาแล้วมีโอกาสทำเงินหรือเจ็บตัวน้อยกว่าก็เท่านั้น

                เพราะถ้าทำหนังแนวอื่นออกมา มีสิทธิเจ๊งหรือเจ็บตัวได้อย่างชัดเจน

                แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีผู้กล้าใด ๆ อย่างที่เราทราบว่า มีคนทำหนังมากมายพยายามจะสร้างหนังแนวอื่น ๆ ออกมาบ้างเพื่อหวังจะเปลี่ยนความคิดของคนดูหนังไทยให้ได้

                ต้องบอกว่า เป็นผู้กล้าก็ได้อยู่

                โดยเฉพาะพวกหนังสัตว์กินคนที่เอาจริงแล้ว คนไทยเรามานานแล้ว หากย้อนกลับไปต้องพูดถึง มันมากับความมืดของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมยุคล ในปี 2514 ที่เป็นหนังมนุษย์ต่างดาวเรื่องแรกของไทย ก่อนจะมาสู่หนังอย่าง จระเข้ ของ ไชโย โปรดักชั่น ในปี 2523 ที่เนรมิตจระเข้ยักษ์ขึ้นมาด้วยเทคนิคแบบเดียวกับอุลตร้าแมนจนนำไปสู่ยุคทองของไชโยโปรดักชั่นที่สร้างหนังสัตว์ประหลาด ยอดมนุษย์ออกมาเต็มไปหมด

มันมากับความมืด [2514 - สรพงษ์, นัยนา] - ร้านหนังคลาสสิค : Inspired by  LnwShop.comจระเข้ | เทปนี้พาไปชม จระเข้ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2523 โดย  บริษัท ไชโยภาพยนตร์ เขาว่าทุนสร้างล้ำสุดสมัยนั้น ตัดฉากอาละวาดมาให้ชม  บอกเลย ว่า JAWS... | By บรรเจิดเริ่ดสะแมนแตน | Facebook

                ไม่ใช่แค่ตัวไชโย โปรดักชั่นเท่านั้น อีกด้านหนึ่งมีหนังที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อขายสายหรือเพื่อฉายต่างจังหวัดอยู่ก็หันมาทำหนังแบบนี้เหมือนกันอย่างเรื่อง มนุษย์หมาป่าในปี 2530 ที่มีเอฟเฟ็กซ์การแปลงร่างสุดแสนจะง่อยจนตลก แต่ก็เป็นหนึ่งในความคัลท์จนหนังเรื่องนี้ถูกจดจำมาจนถึงเรื่องนี้

                กระทั่งปี 2534 ก็มาถึง มาห์ หนังสัตว์ประหลาดขนานแท้ทีพาดาราดังอย่าง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ มาช่า วัฒนพาณิช มาเจอกัน ด้วยทุนสร้างไม่มากนัก ทำให้หนังเนรมิตตัวสัตว์ประหลาดออกมาไม่ได้ดีนักทำให้หนังล้มเหลว แม้จะถูกประเมิณใหม่ในปัจจุบันว่า หนังมันคัลท์และเจ๋งข้ามยุคสมัยเอามาก ๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรหนังมากนัก (ยกเว้นการที่หนังได้มีโอกาสรีมาสเตอร์ใหม่ในฉบับสมบูรณ์ในปี 2563 ที่ผ่านมา) นอกจากตรอกยำความล้มเหลวของหนังแนวที่นอกจากทุนสร้างสูงแล้วยังทำเงินไม่คุ้มทุนอยู่ดี เช่นเดียวตัวไชโย โปรดักชั่นก็เลิกทำหนังไปหลังความล้มเหลวของกิ่งก่ากายสิทธิ์ในปี 2528 ทำให้วงการหนังสัตว์ประหลาดจบลงไปชั่วขณะ

กิ้งก่ากายสิทธิ์ - วิกิพีเดีย

                คงต้องขอบคุณการมาของหนังงูกินคนอย่าง Anaconda ในปี 1997 หรือ ปี 2540 ที่ปลุกกระแสหนังสัตว์กินคนให้กลับมาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศหรือกระทั่งไทยเองก็เริ่มสร้างหนังแนวนี้ขึ้นมาเกาะกระแสงูกินคนอย่างเป็นล้ำเป็นสัน

                ดงพญาไฟ

                โบอา งูยักษ์

                ปักษาวายุ

                อมนุษย์

                บิดพิภพทะลุโลก

                ไพรีพินาศ

                โคตรเพชฌฆาต

                งูเก็งกอง

                ว้อ หมาบ้ามหาสนุก

                กระดึ่บ

                คือ ความพยายามของวงการหนังไทยที่จะสร้างหนังสัตว์ประหลาดขึ้นมา แน่ละว่า มันเป็นความพยายามที่น่าสนใจแต่ก็น่าเศร้าที่ไม่มีเรื่องไหนทำเงินมหาศาลหรือสร้างกำไรให้กับผู้สร้างนักจนกลายเป็นหนังแนวนี้เป็นที่ขยาดของคนทั้งวงการไปทำให้ไม่มีการสร้างหนังแนวนี้ขึ้นมาอีกเลย ยกเว้นแค่ นาคี 2 (2561) และ The Pool นรกหกเมตร (2561) ที่ทำออกมา แต่ไม่ใช่หนังสัตว์กินคนจริง ๆ จัง แต่อย่างใด

                ณ ช่วงเวลานั้นเองก็มีบึงกาฬที่ประกาศทำหนังขึ้นมาพร้อมกับความคาดหวังอย่างสูงจากแฟนหนังแนวนี้ที่รอคอยหนังสัตว์ประหลาดจริง ๆ จัง ๆ ขึ้นมาบนจอและมีคุณภาพสักที

                แน่นอนว่า บึงกาฬทำให้คิดแบบนั้นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมทด้วยทุนสร้างกว่า 88 ล้าน และ ตัวสัตว์ประหลาดได้รับการออกแบบจาก Jordu Schell ผู้ออกแบบสัตว์ประหลาดในภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลายเรื่องอย่าง Hellboy (2004), Avatar (2009), Cloverfield (2008) และ The Cabin in the Woods (2011) ด้วย นี่ไม่รวมถึงการที่หนังหยิบเทคนิคแบบ Jurassic Park อย่างหุ่นกล ชุดยางมาใช้เพื่อสร้างความสมจริงต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ที่นิยมใช้ซีจี บวกกับการโปรโมทที่ปิดบังสัตว์ประหลาดเอาไว้ยิ่งทำให้คนสนใจมากขึ้น

                ก่อนที่หนังจะหายไปเนื่องจากต้องใช้เวลาในการทำเทคนิคพิเศษเป็นเวลานาน

                ตอนนั้นเองก็มีหนังเรื่อง ไลโอ แย้ยักษ์ถล่มเมืองออกมา ซึ่งผลิตโดยสตูดิโอน้องใหม่ที่พึ่งประสบความสำเร็จกับหนังวัยรุ่นตีกันอย่าง 4Kings กับ เนรมิตฟิลม์ ที่สร้างแย้ยักษ์บุกฆ่าคนที่มาหาน้ำบาดาลในเทบภาคอีสานขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เรียกว่า เป็นช่วงเวลาที่แฟนคลับหนังสัตว์ประหลาดหรือสัตว์กินคนต้องฟินกันเป็นแทบ ๆ เพราะมีหนังสัตว์ประหลาดให้ชมกันเนื่อง ๆ

                ทว่าผลการตอบรับทั้งสองก็ไม่ดีเอาซะเลยจนเรียกว่า ทำลายความคาดหวังของแฟน ๆ ไปจนหมดสิ้น

                ปัญหาคือ ตัวหนังยังไปไม่ถึงสิ่งที่คนดูคาดหวัง

                สำหรับหนังสัตว์ประหลาดแล้วคนดูไม่ได้ว่า หนังจะบทดีเลิศสะแมนแต๋นอะไรนักหรอก ขอแค่สนุกก็พอแล้ว ซึ่งน่าเสียดายที่หลายคนส่ายหัวว่า ไม่สนุก และ ทำไม่ถึงขั้นด้วยซ้ำ

                มาตรฐานสนุกหรือไม่เป็นสิ่งที่คนมีมาตรฐานต่างกัน กระนั้นเองคำวิจารณ์ที่ออกมาก็บอกว่า หนังมีปัญหา

                ทั้งการกำกับการแสดงของตัวละครที่ไปคนละทิศคนละทาง บทภาพยนตร์ที่สับสนว่าต้องการอะไรกันแน่ ขณะเดียวกันคือ หนังมีตัวละครเยอะเกินไป

                ทำให้เยอะไปจนคุมไม่อยู่

                การที่ตัวละครเยอะเกินไปทำให้สเกลหนังมันใหญ่โตมาก ใหญ่เกินความจำเป็น และ ทำให้คนดูไม่รู้ว่าจะต้องไปเอาใจช่วยใคร และ ตัวละครไหนเป็นตัวหลักกันแน่ ซึ่งเป็นผลให้คนดูเอาใจช่วยตัวละครไม่ได้เต็มที่ ซึ่งเป็นกับทั้งสองเรื่องไม่ว่าจะเป็นบึงกาฬ หรือ กระทั่งไลโอเองก็ตาม

                โดยบึงกาฬนั้นมีปัญหาคือ หนังเหมือนกลัวโดนครหาว่า หนังไม่มีข้อคิดอื่นใดนอกจากสัตว์ประหลาดกินคนธรรมดาเลยพยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่า เจ้าสัตว์ประหลาดในเรื่องมาอย่างไร

                ที่น่าตกใจคือ หนังเรื่องนี้เหมือนจะคำอธิบายสองอย่างด้วย

                อย่างที่หนึ่ง คำอธิบายจากนักศึกษาชาวจีนสองคนที่มาทำวิจัยในพื้นที่ พวกเขากรวดน้ำแล้วพบว่า มีสารปนเปื้อนบางอย่างที่ทำให้สัตว์กลายพันธุ์ ในเรื่องบอกว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับรัฐบาลหรือนักการเมืองในแทบนั้นแต่ตัวเรื่องไม่ได้อธิบายไปมากกว่านี้

                อย่างที่สองคือว่าด้วยศาสนา

                ในช่วงท้ายของหนังบึงกาฬนั้นได้พาเราไปพบว่า เจ้าสัตว์ประหลาดนั้นอาจจะเป็นมนุษย์มาก่อน มนุษย์ที่มีมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล เนื่องจากมีข้อสันนิฐานว่า คนที่มันกัดนอกจากจะประสานสติกับมันแล้ว อาจจะกลายเป็นมันไปด้วยก็ได้เหมือนที่เสียงบรรยายของสารวัตรเจมส์ เรากับมันไม่ได้ต่างกัน และ เราอาจจะเป็นมันก็ได้ ?

                ยิ่งบวกกับข้อสันนิฐานต่าง ๆ อาทิ การหายตัวไปของพี่ชายของเด็กหญิงหลังล่อเจ้าตัวแม่ให้ออกจากเมืองไป และ ไม่มีใครพบศพของเขา รวมทั้ง การที่เด็กหญิงดูสนิทสนมกับพวกมันเกินเหตุจนถึงขั้นห่วงใยอาจจะเป็นไปได้ว่า สัตว์ประหลาดตัวนี้คือ พี่ชายของเธอที่หายตัวไป

                และไม่มีใครพบศพ !!

                ตัวหนังให้น้ำหนักว่า ตัวเด็กสาวเองก็ผิดปกติ เธอกลายเป็นคนเย็นชา ไม่ร่าเริงและเหมือนเก็บงำบางอย่างไว้ เธอได้บอกให้สารวัตรเจมส์ไปที่ถ้ำที่ที่เขาได้ค้นพบภาพสีที่บอกเล่าเรื่องราวของสัตว์ประหลาดตัวนี้ว่าอาจจะอยู่มานานแสนนาน และ ถ้ำนี้มีบางอย่างดูแลอยู่

                ความคลุมเครือในด้านกำเนิดนี้ทำให้นึกถึงสิ่งมีชีวิตในความเชื่อของศาสนาพุทธนั้นคือ โอปปาติกะ มีความหมายว่า ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ และโตเต็มตัวในทันใด ตามแต่อดีตกรรม ตายก็ไม่มีซากปรากฏ ได้แก่ เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หากมองจากตรงนี้ หรือ เจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้จะเป็นโอปปาติกะชนิดหนึ่งก็ได้ และ พวกมันเหมือนสิ่งที่ต้องชดใช้กรรมไปตลอดกาลชั่วกัลป์จากความชั่วช้าของตัวเองหรือเปล่า ?

                ก็ไม่มีใครตอบได้อยู่ดี

                เหตุผลที่ทำให้หนังมีสองสาเหตุเกิดขึ้นนี้ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากตัวหนังถูกแบ่งเป็นสองเวอร์ชั่นคือ เวอร์ชั่นไทยที่เราได้ชมกัน และ เวอร์ชั่นจีนที่ยังไม่ได้ออกฉาย ซึ่งจะเน้นไปที่สองนักศึกษาจีนมากกว่านี้

                ความละล้าละลังบวกกับพยายามจะทำให้หนังมันมีอะไรมากกว่านี้กลับกลายเป็นความรกรุงรังจนทำให้หนังเยอะเกินไป

                สิ่งที่จริงแล้วหนังสัตว์ประหลาดไม่จำเป็นต้องทำตัวฉลาดหรือเยอะแบบนี้หรอก

                เพราะ หนังพวกนี้ไม่ได้วัดกันว่า หนังจะบทดีแค่ไหน ฉลาดแค่ไหน สุดท้ายก็อยากดูหนังที่สนุก ลุ้นระทึก และ พึงพอใจก็พอ

                บึงกาฬจึงล้มเหลวในการสร้างสิ่งนี้แบบชัดเจน

                ทั้งที่หนังดูแล้วตั้งใจทำมาก มีหลายฉากที่น่าจดจำ และ ดูดีเหลือเกินในหลายฉาก แต่ตัวหนังมันไม่สามารถทำให้คนดูสนุกได้ แถมความสับสนหลายอย่างทำให้หนังล้มเหลว

                ไลโอเองอาจจะทำได้สนุกกว่า ลุ้นกว่ามากด้วยเหตุผลว่า ตัวละครไม่มากนัก แต่ก็กระจัดกระจายมากเกินไป แถมการสปอยในตัวอย่างก็ทำให้คนดูแทบไม่เหลืออะไรให้เซอร์ไพรส์อีกต่อไป

                น่าเสียดาย

                ยิ่งในช่วงนี้มีหนังสัตว์กินคนอย่าง Brest ที่แทบจะเป็นหนังสูตรสำเร็จแบบชัดเจน เรื่องราวของครอบครัวชาวอเมริกันที่ตกอยู่ในกลางวงล้อมของสิงโตคลั่งที่เสียครอบครัวไป มันออกไล่ล่าฆ่ามนุษย์ทุกคนเพื่อแก้แค้นทำให้คุณพ่อชางอเมริกันต้องปกป้องลูกอย่างเต็มที่แม้แต่เอาชีวิตเข้าแลกด้วยก็ตาม ตัวหนังโฟกัสแค่ตัวละครอย่าง ครอบครัวนี้แค่นั้นและให้เราเอาใจช่วยให้พวกเขารอดแค่นั้นเอง

                บทไม่ได้มีอะไรยิ่งใหญ่มาก แต่ตัวหนังมันรู้ว่า คนดูต้องการอะไรและไปถึงในจุดที่มันต้องการอย่างชัดเจน

                ซึ่งเป็นสิ่งที่บึงกาฬและไลโอล้มเหลว

                มันน่าเศร้าที่สองหนังสัตว์ประหลาดของเราไปไม่ถึงดวงดาวเช่นนี้ กระนั้นเองก็เชื่อเถอะว่า ทั้งสองเรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับคนที่จะทำหนังแนวนี้ต่อไปได้เห็นจุดอ่อนของเรื่อง และ จุดแข็งที่พัฒนาต่อได้เหมือนที่บอกว่า เราทำหนังแบบนี้ได้

                ห้านาทีของเรื่องบึงกาฬคือ มาสเตอร์พีชที่น่าจดจำ การปรากฏของมันน่าจดจำและน่าตื่นตะลึงอย่างยิ่งราวกับผู้คนได้เห็นก็อตซิลล่าแล้วร้องว่า God

                สำหรับคนไทย มันเหมือนกับบอกเราว่า เราทำได้

                เหมือนไลโอตอนบินโฉบลงมาก็เป็นหนึ่งในซีนที่น่าจดจำและตอกย้ำว่า เราทำได้ทุกอย่าง ขอเวลาเท่านั้น

                ถึงจะล้มเหลวอย่างน่าเศร้าใจ และ ตัวผู้กำกับและทีมงานอาจจะต้องพัฒนาหรือใช้เวลาในการเก็บบทเรียนไปก็คาดหวังว่า สองเรื่องนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้หนังมอนสเตอร์ สัตว์กินคน หรือ สัตว์ประหลาดกันต่อไป

 

บล็อกของ Mister American

Mister American
           ความสำเร็จครั้งมโหฬารของภาคที่สี่ของแฟรนไชส์ Jurassic Park อย่าง Jurassic World นั้นเรียกได้ว่า เป็นการหักปากกานักสังเกตที่คาดเดาว่า ภาคต่อของไดโนเสาร์ภาคนี้อาจจะทำเงินได้ไม่มากนัก ทว่า การเปิดตัวในอเมริกากว่า 200 ล้านเหรียญในเวลาเพียงสามวันจนทำลานสถิติของ
Mister American
              ท่ามกลางความเงียบงันสถาวะเงินฝืดที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้มีสภาพเรียกว่า ย่ำแย่ที่สุดในหลายปี ผู้คนไม่ยอมจับจ่ายใช้สอยกันยกเว้นเพียงจำเป็นทำให้สถาวะของประเทศค่อนข้างเงียบ บริษัทหลายบริษัทต่างเจ็บตัวเข้าเนื้อกันไปตาม ๆ กันทำให้หลายคนคาดการณ์ว
Mister American
            “บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ทุกวันเพ็ญเดือนสิบสอง บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง”
Mister American
                ถ้าให้พูดล่ะก็นี่ก็เป็นเวลาครบรอบสามปีแล้วกระมั้งครับนับจากการล่มสลายของค่าย Bliss publishing  ค่ายหนังสือยักษ์ใหญ่ที่ปิดตัวลงไปและทำให้กระแสหนังสือเล่มเล็กอย่างไลท์โนเวลนั้นกลายเป็นหนังสือกระแสหลักที่หลายค่ายพากันกระโจนเข้ามาร่วมสมรภูม
Mister American
            เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นวงการภาพยนตร์ไทย ไม่สิ ต้องบอกว่า วงการภาพยนตร์เมอร์เชียลอาร์ตของโลกนั้นต้องสูญเสียปรมาจารย์ สุดยอดนักสู้ของโลกไปอย่างไม่มีวันกลับ แม้ว่า ชื่อเสียงของชายคนนั้นจะแทบไม่เป็นที่สนใจของสื่อหรือคนไทยมากนัก หลายคนถึงกับงุนงงว่
Mister American
            ย้อนเวลากลับไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เราคงได้เห็นนโยบายคืนความสุขให้กับประชาชนของ คสช อย่างการเปิดโรงภาพยนตร์เมเจอร์ให้ชมภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 กันไปบ้างแล้ว  แน่ล่ะว่า หลายคนคงจดจำภาพของบรรดาผู้คนที่พากันยื้อแย่งก
Mister American
        ต้องบอกว่า นี่คือ อนิเมะที่มาแรงแซงทางโค้งที่สุดในซีซั่นที่ผ่านมาเลยทีเดียว ท่ามกลางกระแสอนิเมะฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมามากมายและหลายคนคาดว่า อนิเมะที่ถูกดัดแปลงมาจากไลท์โนเวลชื่อเดียวกันของ ยู คามิยะ นักเขียนการ์ตูนที่อ
Mister American
              ท่ามกลางความวุ่นวายของการเมืองไทยที่ถึงจุดพลิกพันอีกครา หลังเกิดการัฐประหารขึ้นอีกครั้งได้ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์โดยรวม แน่ล่ะว่าภาพยนตร์ไทยที่สามารถทำรายได้มหาศาลในตอนนี้นั้นคงไม่พ้นหนังอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 ยุทธหัตถีที่กวาดร
Mister American
          ถ้าพูดถึงหนังซัมเมอร์บล็อกบัสเตอร์ในปีนี้ที่ผมอยากดูใจจะขาดชนิดว่า แทบคลั่งแบบรอไม่ไหวแล้วที่จะต้องไปดูให้ได้นั้นย่อมไม่มีหนังเรื่องไหนทำให้ผมเกิดอาการคลั่งได้มากพอ ๆ กับหนังเรื่อง ก็อตซิลล่า (Godzilla) ของ กาเรธ เอ็ดเวิร์ด ที่เป็นการนำก็อตซิลล่
Mister American
        ถ้าพูดถึงหนังสือที่ขายดีมาแรงแซงทางโค้งในช่วงเวลาที่แสนซบเซาและน่าเบื่อนี้ แน่นอนว่า ชื่อของไลท์โนเวล หนังสือนิยายแปลไทยจากญี่ปุ่นที่กลายเป็นหนังสือกระแสแรงในงานหนังสือที่ผ่านมาสองสามปีนี้ แน่นอนว่า สาเหตุที่มันเข้าถึงคนอ่านได้ง่ายจนกลายเป็นหนังสือชายดีในทุกงานหนังสือน
Mister American
                สิ่งที่คริสโตเฟอร์ โนแลน ได้ทิ้งเอาไว้ในไตรภาคหนังซุปเปอร์ฮีโร่ The Dark Knight  นั้นก็คือ การตั้งคำถามว่า การมีแบ๊ทแมน หรือ ซุปเปอร์ฮีโร่นั้นคือ สิ่งที่ควรจะมีอยู่ในสังคมต่อไปหรือไม่ แน่นอนว่า ประเด็นนี้ตัวโนแลนได้ตอบไ