Skip to main content

                พอ Hellraiser ภาคใหม่จะลงฉายใน Hulu กันในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ (ซึ่งไทยจะได้ดูกันใน Disney Plus) นับว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของพินเฮดและเหล่าซีโนไบร์ต หนึ่งในไอค่อนของโลกสยองขวัญที่โด่งดังไม่แพ้ เฟรดดี้ ครูเกอร์ แห่ง Nightmare of elm street , เจสัน วอร์ฮีย์ แห่ง Friday 13th , ไมเคิ่ล เมเยอร์ แห่ง Halloween และบรรดาหนังสยองขวัญระดับตำนานเรื่องอื่น ๆ ทีเดียว ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์ของพินเฮดที่มีตะปูอยู่รอบใบหน้ากับชุดหนังสุดฟิตเหมือนพวก SM หรือบรรดาซีโนไบรต์อื่น ๆ ที่ออกแบบมาได้อย่างดีจนน่าจดจำแทบทุกตัว

                ที่นี่พอมีภาคใหม่มาก็มีคนหลังไมค์มาถามว่า ควรจะดูภาคไหนบ้าง เนื่องจาก Hellraiser นั้นถูกสร้างมาแล้ว 10 ภาค และ ภาคที่กำลังฉายนี้ก็ไม่ใช่รีบู้ท แต่เป็นภาคต่อและอยู่ในจักรวาลเดียวกันก็ทำเอาทุกคนพากันสนอกสนใจว่า ถ้าจะเริ่มดูเรื่องนี้ควรจะดูภาคไหนดี

                สำหรับผมแล้ว Hellraiser ควรจะดูภาค 1-4 โดยเฉพาะ ภาค  4 ที่ควรจะดูอย่างยิ่ง

                เพราะนี่คือ จุดเริ่มต้นและบทสรุปของเรื่องนี้ที่หลายคนรอคอย

                เนื่องจากหลังจากนี้ Hellraiser ภาคต่อจะเป็นการหยิบเอาบทหนังเรื่องอื่นมาแปลงแล้วใส่ตัวของพวกซีโนไบรต์กับพินเฮดเข้าไปแทน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากค่ายที่ซื้อลิขสิทธิ์มาอย่าง Miramax นั้นต้องการจะต่อลิขสิทธิ์ในการทำภาคต่อของเรื่องนี้ต่อไป (ตามสัญญาที่ทำไว้ว่า ถ้าไม่มีการทำภาคต่อ สิทธิจะกลับไปอยู่กับไคล์ฟ บาร์เกอร์ ผู้กำกับและคนเขียนนิยายตามเดิม ซึ่งเขาจะขายให้ค่ายอื่นก็ได้) ส่งผลให้ Miramax ต้องให้เอาบทหนังที่มีมายำ ๆ ใส่แล้วต่อลิขสิทธิ์ไปเรื่อย ๆ แทน อาจจะเพราะเนื่องจากหนังตั้งแต่ภาค 5 อย่าง Inferno เป็นต้นไป หนังชุดนี้จะถูกส่งลงวีดีโอทั้งหมดทำให้ทุนสร้างน้อยลงพร้อมกับแนวทางของหนังที่เปลี่ยนไปด้วย

                และสำคัญคือ เนื้อหาของภาค 5- 11 ก็ยังวนเวียนอยู่ในยุคปัจจุบันเกือบทั้งหมด หากลำดับไทม์ไลน์ของเรื่องภาคที่ 4 อย่าง Bloodline คือจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของเรื่องอย่างแท้

                เพียงแค่ ณ เวลาที่หนังถูกสร้างขึ้นมานั้นเรื่องนี้เต็มด้วยปัญหามากมายจนถึงขั้นผู้กำกับอย่าง Kevin Yagher ถึงใช้ชื่อกำกับว่า Alan Smithee ที่เป็นชื่อแฝงปลอมเวลาผู้กำกับไม่ยอมรับเครดิตจากหนังที่ทำอันมาจากห่วยแตก ถูกบังคับแทน

                เรื่องราวของ Bloodline เริ่มต้นจากความสำเร็จของหนังสามภาคแรกของ Hellraiser ที่ทำเงินรวม ๆ ไปเกือบ 40 ล้านดอลลาร์จากทุนสร้างรวม ๆ ไม่ถึง 10 ล้านดอลลาร์ส่งผลให้ค่ายหนังอย่าง Miramax อยากจะทำภาคต่อทันที ทว่า ยังมองหาไอเดียสร้างต่อไม่ได้เสียที จนกระทั่ง ตัวไคล์ฟ บาร์เกอร์ ผู้เขียนนิยายและผู้กำกับภาคแรกที่เป็นผู้อำนวยการสร้างของหนังชุดนี้ได้เห็นว่า หนังภาคนี้ควรมีความแปลกใหม่และสดกว่าเดิม โดยเฉพาะการเล่าเรื่องแบบหลายช่วงเวลาพร้อมกัน ซึ่งตัวของ ปีเตอร์ แอคกิ่น ผู้เขียนบทเรื่องนี้ก็นำแนวคิดนี้ไปเขียนเป็นเรื่องราวของการกำเนิดลูกบิด และ ผู้สร้างของมันอย่าง Philip LeMarchand ซึ่งไอเดียนี้สร้างความสนใจให้กับ Miramax มากและอนุมัติให้ถ่ายทำได้เลยทั้งที่บทยังไม่เสร็จ !!

                แน่นอนว่า เมื่อได้รับไฟเขียวให้ทำแล้วทั้งตัวของไคล์ฟ บาร์เกอร์ และ ปีเตอร์ แอดกิ่นเองก็จัดการปั่นบทกันรัว ๆ โดยคาดหวังว่า นี่จะเป็นภาคต่อที่ดีที่สุดของ Hellraiser ที่จะเหนือกว่าภาคสองและสามเสียอีก นั่นทำให้บทภาพยนตร์ร่างแรกนั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาที่รุนแรง ซีโนไบรต์หลายตัวจะปรากฏตัวในคราวนี้ การเผชิญหน้าระหว่างราชินีนรก แองเจลิค กับ พินเฮดที่จะดุเดือดยิ่งกว่าครั้งใด แถมบทภาพยนตร์ยังเล่าเรื่องตามลำดับเวลาจากอดีตสู่อนาคต ด้วยความที่บทมันเขียนขึ้นมามันมือไปหน่อยทำให้ต้องใช้ทุนสร้างสูงมากกว่าที่คิด (คาดการณ์ว่าทุนน่าจะหลักสิบล้าน) ส่งผลให้ Miramax ไม่โอเค หากจะใช้ทุนสร้างมากขนาดนี้ ทำให้ตัวของปีเตอร์แอ็คกินต้องแก้ไขบทใหม่ให้ลดทุนสร้างลงเพื่อให้สามารถอยู่ในงบของสตูดิโอได้

                แต่เนื่องจากทุนสร้างมันน้อยเกินไปที่จะเนรมิตความอลังการที่วางเอาไว้ได้ส่งผลให้ผู้กำกับหนังภาคนี้อย่าง  Stuart Gordon (Re-Animator , From Beyond) ขอโบกมือลา เนื่องจากความคิดไอเดียสร้างสรรค์ไม่ตรงกันกับสตูดิโอ ส่งผลให้ต้องมองหาผู้กำกับใหม่มาคุมโดยด่วน และ คนที่กำกับก็ไม่ใช่ใครนอกจากผู้ทำหน้าดูแลงานสเปเชี่ยลเอฟเฟ็กซ์จากหนังดัง ๆ อาทิ Nightmare on the elm street อย่าง Kevin Yagher ที่พึ่งผ่านงานกำกับหนังสั้นในชุด Tales from the Crypt มาหมาด ๆ และ ได้รับคำชมไม่ใช่น้อยมีวิสัยทัศน์และทำงานในสภาพทุนน้อยได้อย่างดี (ซึ่งเหมาะกับหนังเรื่องนี้มาก)

(Kevin yagher ผู้กำกับของหนังชุดนี้ถ่ายภาพคู่กับพินเฮด)

                แน่นอนว่า Kevin Yagher รู้สึกลังเลไม่ใช่น้อยกับการกำกับหนังเรื่องนี้ เพราะ เขากลัวว่า หนังจะไม่สดใหม่หรือซ้ำซากแบบภาคเก่า ๆ แต่ไอเดียเรื่อง พินเฮดบนยานอวกาศ และ เรื่องราวจุดเริ่มต้นและกำหนดของลูกบาศก์ในเรื่องที่ไคล์ฟ บาร์เกอร์ ไปกล่อมมาทำให้เขาสนใจและตอบรับการกำกับหนังเรื่องนี้

(Gary J Tunnicliffe ผู้ทำเมคอัพอาร์คติสให้กับ Hallraiser ตั้งแต่ภาค 3 เป็นต้นไป)

                ทว่าการมาของ Kevin Yagher กลับทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำขึ้นกับเมคอัพอาร์คติสที่อยู่กับทีมในภาคสามอย่าง Gary J. Tunnicliffe ที่กังวลกับท่าทีของ Yagher ที่พยายามมาจุ้นจ้านกับงานของเขาอยู่บ่อย ๆ จนต้องมีการแบ่งงานกันว่า ตัวของ Gary J. Tunnicliffe จะดูแลงานเมคอัพซีโนไบรต์และเอ็ฟเฟ็กซ์ทั้งหมด ส่วน เจ้าหมาซีโนโบรต์นั้น Kevin Yagher จะดูแลเอง (ก่อนหน้านี้ทั้งคู่มีปัญหากันเรื่องการเมคอัพ Pinhead ที่ตัวของ Yagher อยากให้ใช้เทคนิคแต่งงานหน้าแบบภาค 3 ที่สามารถประหยัดเวลาในการทำมากกว่า แต่ต้องใช้เงินเยอะ ส่วน Gary J. Tunnicliffe นั้นมองว่า เทคนิคในหนังแรกกับสองดูดีกว่า และ จบที่ใช้วิธีเดิมตั้งแต่ภาคแรกแทน)

                ระหว่างที่ผู้กำกับเมคอัพตีกันอยู่นั้น ฝ่ายเขียนบทก็ต้องนั่งแก้บทใหม่อีกรอบ เพราะสตูดิโอมองว่า ทุนยังแพงไป (ตัดจนเหลือแค่ 3 ล้านดอลลาร์) ทำให้หลายฉากต้องเอาออกไปอีกเรียกได้ว่า แทบโล่งเหมือนย้ายบ้านเลยด้วยซ้ำ

                แต่นั้นยังไม่เท่ากับการไปถ่ายทำที่  I. Magnin Building ที่ Los Angeles ที่มีข่าวลือว่า ผีดุสุด ๆ (แถมยังเป็นสถานที่ล่าท้าผีของใครหลายคนอีกต่างหาก) จนทีมงานขนหัวลุก เพราะมีข่าวลือว่า ระหว่างถ่ายทำก็โดนปรากฏการณ์แปลก ๆ อาทิ ไฟติด ๆ ดับ ๆ เอง ประตูในตึกปิดเอง หรือ ข้าวของย้ายไปย้ายมาได้ กลายเป็นเรื่องคนหัวลุกกันไป (แต่ไม่มีการยืนยันนะว่า เรื่องจริง) ตัวตึกนี้ถูกดัดแปลงเป็นฉากในยานอวกาศของเรื่อง

  I. Magnin Building ที่ Los Angeles ตึกที่ใช้ถ่ายทำหนังภาคนี้ที่มีข่าวลือว่า ผีดุมาก !!

                สิ่งที่น่าสนใจคือ หนังเรื่องใช้เวลาทำตั้งแต่เดือนกรกฏาคมปี 1994 และมาเสร็จสิ้นเอาในปี 1995 เรียกว่าถ่ายทำกันยาวเป็นปีทีเดียว

                แน่นอนว่า ระหว่างถ่ายทำนั้นปัญหาก็เกิดขึ้นถล่มทลายทำให้ Doug Bradley บ่นออกมาเลยว่า นี่มันการถ่ายทำหนังจากนรกชัด ๆ

                เริ่มต้นด้วย Gerry Lively ตากล้องจากหนังภาค 3 ถูกเรียกมาแทนที่ตากล้องคนเดิมที่ป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะที่ทีมศิลป์ของหนังเองก็มีปัญหากับสตูดิโอจนถูกไล่ออกเรียบในสัปดาห์แรก ซึ่ง Doug Bradley บอกว่า ระหว่างการถ่ายทำมีทีมงานและนักแสดงป่วยอยู่ตลอดโดยไม่ทราบสาเหตุอยู่เรื่อย ๆ ส่งผลให้หนังเต็มไปด้วยความเครียดและวุ่นวายตลอดเวลา แต่ถึงจะวุ่นวายมากมายแค่ไหน หนังก็ถ่ายทำจนเสร็จในช่วงปี 1995 ตามเวลาพอดี

                ทว่าปัญหาสองก็เกิดขึ้น

                ด้วยเหตุผลว่า หนังภาคนี้ราชินีนรก แองเจลิค มีบทเด่นมากกว่าพินเฮดซะอีกส่งผลให้ทาง Miramax ที่ได้ชมหนังฉบับแรกแล้วอยากให้ พินเฮด บทเด่นกว่านี้ และ มีการออกมากว่านี้จึงทำให้พวกเขาสั่งรีถ่ายทำใหม่ ซึ่งทำให้ปีเตอร์แอดกินถึงส่ายหัวกับแนวคิดนี้ แต่ก็ไม่อาจจะทัดทานคำของสตูดิโอได้จึงต้องไปแก้บทใหม่เขียนให้พินเฮดมีบทมากขึ้น และ ใส่เนื้อหาในช่วงอดีตมากเพิ่มเติม และ เปลี่ยนตอนจบใหม่ให้จบอย่างมีความสุข (ต้นฉบับเดิมจะจบอย่างมืดมน) แทน แน่นอนว่า การถ่ายทำใหม่นี้ทำให้ตัวของ Doug Bradley บ่นอุบ เพราะ ไม่อยากถ่ายทำใหม่ และ การแทรกแซงของสตูดิโอนี้ทำให้ตัวผู้กำกับอย่าง Kevin Yagher ไม่โอเคและไม่กลับทำถ่ายใหม่อีก

                นั่นทำให้ทางสตูดิโอต้องหาผู้กำกับใหม่มาคุมการถ่ายทำ Reshoot  โดยไวที่สุดเพื่อให้ทันลงโรงตามกำหนด หวยไปออกที่ Joe Chappelle ผู้กำกับจาก Halloween: The Curse of Michael Myers ภาค 5 ของไมเคิ่ล เมเยอร์มากำกับแทน โดยร่วมงานกับ ปีเตอร์ แอ็คกิ่น ที่เขียนบทเพิ่มให้ก่อนจะออกจากโปรเจ็ทไป ซึ่งตัวของไคล์ฟ บาร์เกอร์ ได้ตัวของ Rand Ravich ผู้เขียนบทจาก Candyman: Farewell to the Flesh มาช่วยแทน

(Joe Chappelle ผู้กำกับ Reshoot Hellraiser 4 ขณะที่ถ่ายทำหนังภาค 6 ของ halloween the curse of michael myers)

                การ Reshoot ใช้เวลาสองเดือนได้แก่ เดือนเมษายน จนถึง พฤษภาคม 1995 ที่ที่ตัวของ Doug Bradley บอกว่า มันไม่ใช่การ Reshoot แต่ถ่ายใหม่เลย หลายฉากที่มีอยู่เดิมโดนเอาออกแล้วใส่ฉากใหม่เข้าไป ทั้งกำเนิดราชินีนรก แองเจลิค ความสัมพันธ์ของเธอกับพินเฮด และ การเกี่ยวข้องของผู้สร้างลูกบาศก์ก็เอาออก เพิ่มเลือดและความรุนแรงมากขึ้น ความสัมพันธ์ของพินเฮดกับแองเจลิคก็เป็นปฏิปักษ์มากกว่าในฉบับเดิมจนเรียกว่า ไปคนละทางกับหนังตอนแรกโดยสิ้นเชิง

                ผลคือ เมื่อถ่ายทำและตัดต่อเสร็จ Hellraiser 4 มีความยาวแค่ 85 นาทีเท่านั้น ซึ่งต่างเวอร์ชั่นแรกของ Yagherที่ยาว 111 นาที และที่สำคัญเนื้อเดิมของ Yagher แทบไม่เหลือเลยจนเจ้าตัวที่ดูหนังเวอร์ชั่น Reshoot ก่อนฉายถึงกับบอกว่า นี่ไม่ใช่หนังผม หนังเรื่องนี้ผิดกับที่ผมวางเอาไว้หมด และ ขอให้เอาชื่อของเขาออกจากหนัง และ นำไปสู่การใช้เครดิตแฝงว่า Alan Smithee ไปในที่สุด

                ภายหลังมีการเปิดเผยว่าจริง ๆ แล้ว Joe Chappelle ถูกวางเอาไว้เป็นผู้กำกับเรื่องนี้แต่ต้น เพียงแค่เขาติดงานกำกับหนังภาคต่อของไมเคิ่ล เมเยอร์อย่าง Halloween: The Curse of Michael Myers อยู่พอดีจึงต้องบอกปัดไป แต่สุดท้ายเขาก็ได้มากำกับหนังเรื่องนี้ในฐานะคน Reshoot แทน Yagher แน่ะเอง

                หนังได้ออกฉายในปี 1996 พร้อมทุนสร้างรวมที่ 4 ล้านดอลลาร์ แน่นอนว่า หนังยังทำเงินไปได้ถึง 9.3 ดอลลาร์ พร้อมกับเสียงด่าของคนดูว่า เป็นภาคที่อ่อนด้อยที่สุด และ หลายคนไม่ชอบหนังเลย แถมมองว่า หนังห่วยสุด ๆ หรือ ไม่ขลังเท่าของเก่า แม้กระทั่งบลูเรย์ฉบับ Remaster ของ Arrow ยังออกแค่สามภาคแรกเท่านั้นเอง

                แม้จะได้รับการตอบรับที่ไม่ดีหนักในช่วงแรก แถมนี่ยังเป็นภาคสุดท้ายที่ได้ฉายโรงด้วย Hellraiser 4 : Bloodline กลับเต็มไปด้วยความทะเยอทะยานอย่างมากจนแทบจะฉีกไปจากหนังภาคก่อน ๆ โดยเฉพาะ ไอเดียการเล่าเรื่องต้นกำเนิดของลูกบาศก์ เหล่าซีโนไบรต์ ไปจน การพาไปพบกับจุดจบอันสิ้นสุดของลูกบาศก์นี้ก็เรียกได้ว่า เป็นบทสรุปที่กล้ามากที่ให้เรื่องราวของลูกบาศจบลงในภาคนี้ (ต่างจากหนังสยองขวัญเรื่องอื่นที่ไม่กล้าให้หนังอวสาน)

                สิ่งที่น่าสนใจคงไม่พ้นเหล่าซีโนไบรต์ที่ภาคนี้ออกมาแบบมาได้น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น แฝดสยามที่ทำออกมได้โหดน่ากลัวมาก ๆ (แค่เห็นยังคิดว่า คิดได้ไง) หรือ Chatterer Beast ที่เป็นหมานรกออกน่ากลัวดี (ไม่แพ้เฮีย Chatterer ในภาคเก่า ๆ ก่อน) ขณะที่พินเฮดยังคงทรงอำนาจในจอเช่นเดิม แม้ว่าจะมีตัวละครที่มาแย่งความเด่นอย่าง แองเจลิคก็ตาม กลับเป็นว่า พลังอำนาจของเธอไม่มากเท่า

                นอกจากนี้หนังยังคงสะท้อนภาพของมนุษย์ได้ดี ถึงความโลภ ความอยากรู้อยากเห็น และ ความชั่วร้ายของมนุษย์เองที่พร้อมหักหลัง พร้อมทำเรื่องผิดศีลธรรมเพื่อความต้องการตัวเองโดยไม่สนใจว่าจะทำให้ใครเดือดร้อนหรือต้องรับความเดือดร้อนไปด้วยเสมอ

                ความอยากรู้อยากเห็นนี่ละทำให้ตระกูล Philippe "Toymaker" Lemarchand สร้างลูกบาศก์ขึ้นมาจนนำพาพวกซีโนไบรต์ไปสู่โลก ตัวของพินเฮดเองก็อยากได้เจ้าลูกบาศก์นี้ หรือ บรรดาผู้คนมากมายต่างก็เข้ามาเล่นลูกบาศนี้จนกลายเป็นต้องประสบพบเจอกันแทบทั้งสิ้น

                ดั่งคำที่พินเฮดบอกว่า มนุษย์เราชื่นชอบความเจ็บปวด และ พิสมัยมันจากส่วนลึกของหัวใจ ขณะเดียวก็ปรารถนาความพินาศหรือชิบหาย ปากจะบอกไม่ แต่ใจเราก็ชื่นชอบสิ่งนี้อย่างไม่รู้ตัว

                นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ทายาทรุ่นสุดท้ายของตระกูล Lemarchand ให้มันอยู่ในอวกาศตลอดกาล

                ไม่ให้ใครได้มีโอกาสได้พบกับเจ้าลูกบาศก์นี้อีกต่อไป

                แน่นอนว่า บทสรุปดูท่าจะเป็นจุดจบที่ทุกคนยอมรับ แม้แต่ไคล์ฟ บาร์เกอร์เอง หรือ คนสร้างหนังจากนี้ต่างบอกว่า หนังทุกเรื่องที่สร้างจากจะเป็นภาคก่อนหน้านี้ภาคนี้ทั้งสิ้น

                แม้กระทั่งภาค 2022 ที่กำลังจะฉายนี้เอง

                เพราะจุดจบและเริ่มต้นของมันเกิดขึ้นไปแล้วที่เหลือคือ เรื่องราวที่สานต่อแบบที่ผู้กำกับของภาค 2022 บอกว่านี่คือ เรื่องราวในจักรวาลเดียวกันและเป็นภาคต่อของหนังชุดนี้

                ไม่ว่าจะออกมาอย่างไร ตำนาของพินเฮลและเหล่าซีโนไบรต์ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกเล่าขานต่อไป

 

บล็อกของ Mister American

Mister American
               สำหรับหลายคน หนังเรื่องแรกเป็นเสมือนความฝันอันงดงามที่อยากจะทำให้สำเร็จ แต่สำหรับผู้กำกับหลายคนนั้นหนังเรื่องแรกของพวกเขานั้นไม่ได้สวยงามหรืออกมาราบรื่นอย่างที่คิด บางคนถูกไล่ออกจากโปรเจ็ท บางคนเกือบสติแตก หรือ บางคนก็เจอการกดดันจากอิทธิพลที่
Mister American
            "วิญญาณคือ ความทรงจำที่ตกค้าง ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำที่ดีหรือเลวร้าย มันจะยังคงอยู่และปรากฏขึ้นเสมอ"
Mister American
              ระหว่างที่ผมกำลังนั่งเขียนต้นฉบับอยู่ตอนนี้ภาพยนตร์ซอมบี้ทุนต่ำเรื่องใหม่จากเกาะญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า One Cut of the dead กำลังสร้างกระแสครั้งใหญ่ให้กับวงการหนัง เมื่อ หนังซอมบี้ทุนต่ำเรื่องนี้ทำรายได้ถล่มทลายไปแล้วทั่วโลกกว่า 10 ล้า
Mister American
คิชิดะ จุน เป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลายที่มองเห็นคนตายได้ และ ข้าง ๆ เขานั้นมี ฮายาคาวะ เคียวโกะ เพื่อนสมัยเด็กที่ถูกฆ่าตายและมาปรากฏตัวอยู่เคียงข้างเขา ท่ามกลางเรื่องราวสยองขวัญ ลึกลับที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา
Mister American
                คงไม่ต้องแปลกใจหาก KOE NO KATACHI หรือ รักไร้เสียง อนิเมชั่นเรื่องดังจากญี่ปุ่นโดยฝีมือผลงานของสตูดิโอ Kyoto Animation หรือที่เรียกติดปากนักดูอนิเมะว่า เกียวอนิเมะ ผู้ผลิตอนิเมชั่นชื่อดังอย่าง Clannad , Kanon , K-on  เป็นต้น จะกลายเป็นห
Mister American
              คงไม่ใช่ความน่าแปลกหรือประหลาดใจอีกแล้วกับปรากฏการณ์หนังอีสานถล่มเมืองที่นับจากผู้บ่าวไทบ้านภาคแรกเข้าฉายในปี 2014 และทำเงินไปได้อย่างมากมายในแผ่นดินอีสานนั้นจะทำให้เกิดหนังลูกอีสานหน้าใหม่ขึ้นอย่างมากมาย และแน่นอนว่า ความสำเร็จนี้ได้ต่อยอดให้หนังอ
Mister American
               ณ ช่วงเวลานี้คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดถูกกล่าวถึงและพูดมากกว่า อนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของชินไค มาโคโตะ ผู้กำกับอนิเมชั่นดราม่าชื่อดังอย่าง 5 centimeters per second หรือ The Garden of word อย่าง Your Name หรือ Kimi No Nawa (หลับตาฝันถึงชื
Mister American
คงไม่ต้องแปลกใจว่า หากจะมองหาหนังไทยสักเรื่องที่น่าหยิบมาพูดถึงหนังเรื่อง ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง นั้นเป็นหนึ่งในหนังที่ควรหยิบมาพูดมากเรื่องหนึ่งในขณะนี้นอกจากจะเป็นหนังภาคต่อที่สานความสำเร็จมาจากภาคแรกที่สร้างปรากฏหนังท้องถิ่นนิยมให้เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อหนังเล็ก ๆ นี้
Mister American
                นี่คือ การกลับมาที่ทุกคนรอคอย ภายหลังจาก ก็อตซิลล่าฮอลลีวู้ดของ กาเรธ เอ็ดเวริ์ดออกอาละวาดไปในปี 2014 และแน่นอนว่า มันทำให้ชื่อของก็อตซิลล่าลืมตาตื่นขึ้นอีกครั้ง ทว่า สำหรับแฟน ๆ เดนตายของก็อตซิลล่านั้นคงค่อนข้างที่จะผิดหวังที่ได้เห็นก็อตซิล
Mister American
คงไม่มีอะไรต้องพูดมากนอกจากนี่คือ ภาพยนตร์ซอมบี้ที่ดีที่สุดในรอบหลายปี และที่สำคัญนี่ไม่ใช่หนังที่สร้างโดยฮอลลีวู้ดแต่เป็นเกาหลีใต้ ประเทศที่มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชียที่เรียกว่าเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้วในด้านคุณภาพของหนังที่นอกจากฮอลลีวู้ดแล้วมีเพียงประเทศนี้ที่ทำหนังออกมาได้สากลและสนุกในแบบที่ทุก
Mister American
ยังคงเป็นช่วงเวลาเศรษฐกิจยังไม่มีวี่แววว่าจะ ฟื้นตัวเสียที ในช่วงปลายปี 2015 นี้ทุกอย่างยังคงมองไม่เห็นว่า อนาคตจะเป็นเช่นไร กระนั้นเองสำหรับงานหนังสือแห่งชาติ เดือนตุลาคมนี้ยังคงเป็นช่วงเวลาร้อนแรงของบรรดาค่ายไลท์โนเวลต่าง ๆ มากมายที่ต่างเตรียมกระสุนดินดำ หรือ ออกหนังสือมาเพื่อจูงใจนักอ่านทั้งหล