Skip to main content
มีคนเคยบอกว่า เมื่อเราใช้คนอื่นทำงาน หรือกระทั้งการทำงานร่วมกัน ถ้าเขาไม่ทำได้ดีกว่าเรา เขาก็ทำได้แย่กว่าเรา ว่ากันมาว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่า เขาและเราจะทำได้เท่ากัน ดูเหมือนว่า แต่ไหนแต่ไรมา สภาพสภาวะของมนุษย์ก็เป็นมาเช่นนี้เสมอ

 

มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ ในการอบรมครั้งหนึ่งว่า มนุษย์เรา มันมีแค่ไหนมันก็ได้แค่นั้น แรกที่ได้ฟัง เราก็แย้งในใจทันทีว่า จะกล่าวหาเช่นนั้นได้อย่างไร เพราะส่วนหนึ่งที่เราได้ยินมาก็คือ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ นั่นหมายถึงความถึงพร้อมสำหรับการบรรลุธรรม นี่ว่าในแง่ความเชื่อทางพุทธศาสนา เพราะเราได้ยินมาเสมอว่าสิ่งมีชีวิตเดียวที่พร้อมสำหรับการบรรลุธรรมก็คือมนุษย์ นี่คือภพภูมิที่สูงสุด ว่ากันว่าแม้แต่เทวดาก็ยังไม่ถึงพร้อมหำหรับการบรรลุธรรม ว่ากันมาอย่างนั้น ดังนั้นเองเราจึงแย้งในใจเสมอว่า มนุษย์ความจริงแล้ว เท่ากัน

ในหน้าประวัติศาสตร์ แทบจะทุกที่ทางที่เราต่างได้ศึกษา วิถีของมนุษย์ ต่างก็แสวงหาความเท่ากันในสังคม ถึงวันนี้ และเรา ก็คือหนึ่งของผู้แสวงหาความเท่ากันนั้น วันเวลาผ่านไปยิ่งเมื่อเราได้เรียนรู้ชีวิต พานพบเรื่องราวและประสบการณ์ เราเริ่มคล้อยตามความคิดที่ว่า มนุษย์ มันมีแค่ไหน มันก็ได้แค่นั้น แต่ มนุษย์สามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้

 

ธรรมดาของความคิดเราอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีคนทำ พูด หรือคิดอะไรบางอย่าง ซึ่งมันเป็นแนวทางที่แตกต่างออกไปจากเรา เราก็มักจะเข้าไปคิดว่า ทำ หรือพูด หรือคิดอย่างนั้นได้ยังไง(วะ) ก็ในเมื่อเห็นชัดๆ อยู่แล้วว่า คิดแบบเรานี่ดีที่สุดแล้ว เมื่อธรรมดาของเราเป็นเช่นนี้แล้ว การสะสมความคิดเหล่านี้ พอมากขึ้น เราก็จะเริ่มแบ่ง หรือขีดเส้นว่า คนนี้โง่กว่าคนนี้ คนนั้นฉลาดกว่าคนโน้น แล้วเราก็ประทับตราคนอื่นตลอดเวลา แต่โดยส่วนใหญ่ เราก็มักลืมประทับตราตัวเอง

 

เมื่อคิดถึงความเท่ากัน เราเริ่มรู้สึกว่า ความเท่ากันของมนุษย์นั้นมันมาพร้อมกับคำถามเสมอว่า เท่ากันแค่ไหน จากการพบพานทำให้เชื่อได้ว่า มนุษย์มีโอกาสในการเปลี่ยนแปลง เหมือนกัน แต่มนุษย์มักมีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ต่างกัน หากว่ามนุษย์สามารถเข้าถึงการเรียนรู้เท่ากัน พร้อมกัน แหล่งเดียวกัน แต่มนุษย์ก็เรียนรู้และเห็นต่างกัน หากว่ามนุษย์ เห็นปรากฏการณ์นั้นแบบเดียวกัน มนุษย์ก็มักให้นิยามต่างกัน ตั้งคำถาม ตอบ และเอาความรู้นั้นตอบสนองสิ่งที่ต่างกัน

 

ความจริงอันหนึ่งจึงปรากฏว่า แท้จริงมนุษย์เท่ากัน แต่ไม่เท่ากัน นั่นเอง มันจึงเป็นเงื่อนไขให้เรากลับมาสู่โลกภายในของเราเอง มากกว่าการจ้องมองดูผู้อื่น แต่นั่นคงไม่ได้แปลว่า ใครจะเป็นอย่างไรเราก็ปล่อยวาง หรือวางเฉย แต่เราเองคงต้องเกื้อกูลกันต่อไป แต่พวกเขาทั้งหลายจะค้นพบอย่างไร นั่นก็สุดแท้ และอยู่เหนือการควบคุมของเรา เพราะที่สุดแล้ว สิ่งที่มนุษย์เท่ากันก็คือ สิทธิ์และศักดืของความเป็นมนุษย์นั่นเอง

 

 

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
จะเขียนทุ่งเขียนทางเขียนช้างม้า                  เขียนความคิดขานค่าจังหวะวิถี
นาโก๊ะลี
ทนายจำเลย ชูรถเมล์จำลอง แล้วถามพยานโจทย์ ซึ่งก็คือ Jacky ตำรวจที่จับกุมจำเลยนั้นได้นั่นเอง  ทนายจำเลยถามว่า รู้ได้ไงว่า จำเลยคือคนกระทำผิด Jacky บอกว่า ก็เขาเป็นคนไล่จับจำเลยมา แล้วจำเลยก็หนีขึ้นรถเมล์  ทนายชูรถจำลองนั้นแล้วถามว่า เมื่อคุณมองดูรถเมล์ คุณเห็นมันทั้งคันหรือเปล่า เขาก็บอกว่า เปล่า อีกข้างหนึ่งก็มองไม่เห็น  ทลายจำเลยก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้น คุณก็ไม่อาจบอกได้ว่า อีกฝั่งหนึ่งของรถเมล์เกิดอะไรขึ้น  การโต้เถียงประเด็นนี้ ทำให้ศาลพิพากษา ยกฟ้อง  แต่นี่เป็นเพียงเรื่องราวในหนังครับ วิ่งสู้ฟัดภาคแรก ของเฉินหลง  แต่เรื่องนี้ มันมีเรื่องน่าสนใจ....
นาโก๊ะลี
หากว่า ผืนแผ่นดินที่งดงาม สร้างคนให้งดงาม  แล้วผืนแผ่นดินที่ยากแค้นลำเค็ญเล่า จะสร้างคนมาแบบใด...ความจริงนี่ก็อาจเป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ยากนัก  แต่ ความจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่...นี่ก็อาจต้องมองเข้าไปในรายละเอียดมากขึ้น...กระมัง  การเดินทางครั้งหนึ่งของชีวิต  ในซากปรักหักพัง ของภัยธรรมชาติอันได้คร่าชีวิตคนไปมากมาย  ในกลิ่นของความตายและความเศร้าโศก เราได้เห็นหน่ออ่อนของต้นหญ้าที่ผุดขึ้นมา ในความชื้น ภายใต้ซากปรักหักพังนั้น
นาโก๊ะลี
การสูญเสีย ดูจะเป็นเงื่อนไขใหญ่ที่ทำให้คนเราตกไปสู่สภาวะที่เรียกว่า “เสียศูนย์”  มีคนเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสามีตาย ภรรยาตกอยู่ในสภาวะเสียศูนย์ถึงยี่สิบปี ก่อนจะฆ่าตัวตายตาม  นี่เป็นเรื่องจริงหรือเรื่องโม้ก็ไม่อาจรู้ได้  แต่ความจริงที่เห็นโดยส่วนใหญ่ ความสูญเสียก็มักเป็นเรื่องที่กระทบกับหัวใจคนอย่างรุนแรง  เช่น อกหัก  หรือ คนที่เรารักตายไป  หรือความพ่ายแพ้  ซึ่งความพ่ายแพ้นี่ก็คือการเสียฟอร์ม มันก็คือการเสียศูนย์ความเป็นตัวตนนั่นเอง
นาโก๊ะลี
ชีวิตหลุดลอยไปในบางวาระ           ซึ่งในสถานะแห่งมนุษย์ กับการเดินทางอันไม่สิ้นสุด            บางคราวนั้นจึงสะดุด จึงทรุดโทรม พลาดหวังพังพ่ายสลายสิ้น             ทั่วผืนแผ่นดินทุกข์ท่วมถั่งโถม เสพย์สิ่งใดได้บ้างพอปลอบประโลม เมามายโง่โงมระทมร้าว ภาวะเช่นไรเหนี่ยวนำพา                เมื่อความปรารถนาที่บอกกล่าว ล้มเหลวไปในทางที่ทอดยาว     …
นาโก๊ะลี
คนสวนนักสะสมเมล็ดพันธุ์
นาโก๊ะลี
บ่อยไป หรือหลายครั้งหลายหนในการงานของชีวิต  ที่เราต้องทำงานบางอย่าง  บางอย่างที่ไม่ใช่หน้าที่  ไม่ใช่งานของเรา  เพียงแต่ว่า  นั่นคืองานที่มันเกี่ยวข้องกับเรา งานที่ต้องเกื้อหนุนงานของเรา  และเราก็มักจะไม่พอใจที่คนที่เขามีหน้าที่นั้น เขาทำไม่ได้อย่างที่เราต้องการ 
นาโก๊ะลี
ยามที่บางคนกล่าวคำว่า “มันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต” มันฟังดูคล้ายเขาจะบอกว่า สิ่งที่เขากำลังกล่าวถึงอยู่นั้นมันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา ไม่มีสิ่งใดจะสำคัญกว่านี้ไปอีกแล้ว.... และหลายครั้งที่เราจะพบว่า คนๆ เดียวกันนี้ก็กล่าวถึงสิ่งอื่นๆ ในเรื่องอื่นๆ ในวาระอื่นๆ ว่า “มันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต” และด้วยท่าทีที่คล้ายว่า สิ่งนั้นเป็นที่สุดแห่งความสำคัญดั่งเดียวกับทุกๆ ครั้ง ทุกๆ เรื่องที่ผ่านมา
นาโก๊ะลี
ถ้อยคำที่ประทับใจ แม่ทับเหวินไท่ บอกกับแม่ทัพ ฮัวมู่หลานว่า “เมื่อเจ้าสวมเกราะแม่ทัพ ชีวิตก็ไม่ใช่ของเจ้าคนเดียว” ในสมรภูมิหนึ่ง เมื่อกองทัพของฮัวมู่หลานถูกหักหลัง น้องชายลูกพี่ลูกน้องของฮัวมู่หลาน และทหารจำนวนหนึ่งถูกจับเป็นเชลย และถูกเอามาล่อให้ทหารออกไปช่วย ในสภาวะที่ไม่อาจทำอย่างไรได้ มีทหารคนหนึ่งบอกกับแม่ทัพว่า เราต้องออกไปช่วยพวกเขา “นั่นเสี่ยวหู่นะ เขาเป็นน้องชายท่านนะ” แม่ทัพบอกว่า “พวกเจ้าก็เป็นพี่น้องของข้าเช่นเดียวกัน”
นาโก๊ะลี
วัดเซนแห่งหนึ่ง พระเซนต่างก็ปฏิบัติภาวนาในวิถีแห่งเซน คราวหนึ่งในวัดเกิดเรื่องขึ้น มีของหายในวัด หลายครั้งหลายหน เกิดความเดือดร้อนไปทั้งวัด เมื่อทำการสืบสวน สอบสวนในที่สุดก็พบขโมย ซึ่งก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของวัด มีการเรียกประชุมสมาชิกทั้งวัด เหล่าพระเซนทั้งหลายต่างก็เรียกร้องให้ขับขโมยออกจากวัด ทั้งมีเสียงสนับสนุนมากมายต่อการลงโทษขั้นเด็ดขาดด้วยการขับออกจากวัดนั้น ในที่สุดเจ้าอาวาสก็กล่าวต่อคณะสงฆ์ และสมาชิกวัดทั้งหมดว่า “พวกเธอทั้งหลายผู้ได้เรียนรู้แล้วถึงความถูกต้องดีงาม พวกเธอสามารถใช้ชีวิตอย่างรู้ผิดชอบชั่วดี พวกเธอทั้งหลายจึงสมควรเป็นผู้ออกจากวัด แต่ผู้ที่เป็นขโมยนั้น…
นาโก๊ะลี
คนสวน ปลูกพืชผักธัญญาหาร เฝ้าดูกี่เติบโต จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต คนสวนบอกว่า เมื่อต้นไม้เริ่มงอกออกมา มันต้องการอาหาร ต้องการการบำรุงรักษา จนกว่ามันจะโตเต็มที่ เริ่มให้ดอกผล บางอย่างเก็บดอก บางอย่างเก็บใบ บางอย่างเก็บผล ก็ว่ากันไป แต่เมื่อมันให้ผลนั่นแล้ว มันก็จะค่อยๆ แห้งเหี่ยว ตายไป ระหว่างนี้มันไม่ต้องการอาหารมาก มันไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก.......
นาโก๊ะลี
ในชีวิตของเรา มีความพยายามมากมายนัก พยายามที่จะทำบางสิ่ง พยายามที่จะไม่ทำบางสิ่ง พยายามที่จะรัก พยายามที่จะไม่รัก ดูเหมือนโลกไม่ได้จัดวางชีวิตเราให้เป็นไปตามความปรารถนา และหลายครั้งเราก็เชื่อได้ว่า ความสมบูรณ์พร้อมนั้น ไม่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ แม้แต่คนที่เขาแสดงออกว่า ชีวิตเขาช่างพรั่งพร้อม ได้ทุกอย่างตามที่ตนปรารถนา นั่นก็เป็นเพียงการโม้โป้ปดเท่านั้นเองกระมัง เพราะที่สุดแล้วเขาอาจซ่อนบางสิ่งเอาไว้ บางสิ่งที่เขามิได้ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด