Skip to main content
The No-Nonsense Guide to Conflict and Peace
Edited by Helen Ware
New Internationalist
Published October 1, 2006
144 pages
 
 

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อช่วยทำความเข้าใจเรื่อง “สงคราม” “ความขัดแย้ง” “ความรุนแรง” และ “สันติภาพ” อย่างไรก็ดี ตัวหนังสือเน้นไปที่ด้านของสงคราม และการจัดการความขัดแย้ง มากกว่าในเรื่องสันติภาพ

ผู้เขียนถกเถียงว่าปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศดูจะลดน้อยลงไปหลังสิ้นสุดของสงครามเย็น และเกิดความรุนแรงที่ทวีตัวขึ้นจากภายในประเทศเช่น ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ หรือศาสนา 
 
บทใหญ่ที่สุดของหนังสือเล่มนี้จึงมุ่งไปที่ “การปะทะทางวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขและเอาใจใส่ อย่างไรก็ดี ปัญหานี้กลับยากกว่าที่แล้ว ๆ มาด้วย แต่ก่อนหน้านี้ความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างรัฐ ซึ่งถ้าจะเกิดขึ้นก็มีองค์กรระดับสากลโลกที่จะเข้ามาช่วยระงับเหตุไว้ได้ แต่ความขัดแย้งภายในประเทศ กลุ่มหนึ่งอาจจะได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ หรือโดยชาติอื่น ๆ และกลุ่มอื่น ๆ อาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรม ผลประโยชน์ไกล่เกลี่ยไม่ลง องค์กรต่างประเทศจะเข้ามาก็ดูจะเป็นการแทรกแซงอำนาจอธิปไตย ถึงจะเข้ามาดูได้ในระยะห่าง ๆ เท่านั้น ตัวอย่างของกาตาลุญญาหรือกรณีโรฮิงญาเป็นตัวอย่างที่ดีที่เห็นได้ชัด หรือแม้กระทั่งประเทศไทย
 
ผู้เขียนพูดถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) หนึ่งบทเต็ม ๆ และถกเถียงว่ามีประโยชน์และมีปัญหาอย่างไร UN มีกองกำลังรักษาสันติภาพที่น้อยและยังต้องพึ่งพางบประมาณจากประเทศต่าง ๆ ผู้สนับสนุนหลักที่สุดตอนนี้คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งแน่นอนว่าอเมริกาก็พยายามที่จะไม่ขอเป็นเจ้าภาพทางการจ่ายเงินนี้แต่เพียงผู้เดียว ปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้วถ้าจีนหรือรัสเซียเข้ามาช่วยด้วย สันติภาพจะเกิดขึ้นจริงหรือ หรือ UN จะกลายเป็นองค์กรผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจเหล่านี้มากกว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และการที่ปัญหาเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติที่มีตัวแทนในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีชาติมหาอำนาจทั้ง 5 ประเทศ (จีน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และอังกฤษ) นั่งเก้าอี้ถาวรและมีสิทธิวีโต้ จะทำงานได้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรในการจัดการความขัดแย้งเมื่อประเทศขอบข่ายของมหาอำนาจนั้น ๆ ละเมิดสิทธิมนุษยชน พวกเขาย่อมจะวีโต้ อนาคตของสหประชาชาติสำหรับผู้เขียน เสนอมี 3 ทางเลือก 1) ยุบสหประชาชาติและเดินตามบรรทัดฐานของสหรัฐอเมริกา ยอมรับให้รัฐทั้งหมดเสมอภาคกัน 2) ปฏิรูปขนานใหญ่ และ 3) ก่อตั้งองค์กรสหพันธรัฐโลก หรือองค์กรใหม่ อย่างไรก็ดี ประเทศเล็กประเทศน้อยที่ได้รับการยอมรับคงจะไม่ยอมแน่เพราะพวกเขาได้เสียงโหวตเท่าเทียมกับประเทศใหญ่ ๆ ดังนั้นการยกเลิกสหประชาชาติคงจะเป็นไปได้ยากเสียแล้ว คงจะมีแต่การปฏิรูปมันที่เป็นไปได้ 
 
ผู้เขียนพูดถึงกระบวนการสันติภาพตลอดทั้งเล่ม และเตือนให้นักไกล่เกลี่ยทราบว่า “สาสน์” ที่ถูกส่งออกมาจากคู่ขัดแย้ง อาจจะไม่ใช่ “สาสน์ที่แท้จริง” เช่น เด็กแย่งส้มกันให้ได้คนละครึ่ง จริง ๆ เด็กคนหนึ่งอาจจะอยากได้เปลือกส้มเพื่อทำเป็นสารกลิ่นหอม อีกคนอาจจะคั้นน้ำส้ม ดังนั้นต้องถอดรหัสสาสน์นั้น ๆ ให้ดี รวมถึงการเจรจาก็ด้วยที่จะต้องเข้าใจรหัสของวัฒนธรรม เช่น ตะวันตก – คำว่า “ไม่” ก็คือ “ไม่” ส่วนวัฒนธรรมอย่างจีน – คำว่า “ใช่” อาจจะหมายความว่า “ไม่” ก็ได้ และมโนทัศน์การแก้ปัญหาก็ไม่เหมือนกัน ที่หนึ่งอาจจะไปให้ถึงจุด อีกที่อาจจะต้องวนรอบ ๆ หรือแก้ที่เครือข่ายหลาย ๆ แห่ง  รวมถึงการให้ความสำคัญของการทูต ซึ่งผู้เขียนก็ยอมรับว่า การทูตอาจจะไปไม่ได้รากเหง้าของปัญหา แต่อย่างน้อยก็ได้ขยายระยะเวลาหรือยุติความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในประเทศนั้น ๆ 
 
น่าเสียดายว่าผู้เขียนไม่ได้ยกตัวอย่างของนักการทูตที่กล้าหาญมาบ้าง อย่างเช่น นักการทูตจีนในออสเตรีย Ho Feng-Shan (1901-1997) ซึ่งได้ช่วยเหลือชีวิตชาวยิวให้รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่ 
 
หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดีในการเริ่มต้นรู้จักกับประเด็นความขัดแย้งและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมัน อย่างไรก็ดี ผู้เขียนดูจะไม่แตะไปที่ปัญหาความรุนแรงที่จักรวรรดินิยมอย่าง สหรัฐอเมริกา ได้คุกคามในส่วนต่าง ๆ ของโลก ผู้เขียนให้ภาพรัฐโลกที่ดูจะเป็นกลางมากเกินไป รัฐต่าง ๆ มีสถานะที่ไม่แตกต่างกันมาก และอเมริกาดูจะเป็นตัวช่วยด้วยซ้ำ (ผู้เขียนยก จิมมี คาร์เตอร์ ขึ้นมา) ปัญหาของเพศสภาพของรัฐซึ่งก็เป็นอีกเรื่องที่จะช่วยทำความเข้าใจรัฐก็ไม่ได้พูดถึง และขณะนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัฐในขณะที่พลังฝ่ายขวากำลังกลับมาโดดเด่นเช่น ที่เยอรมัน พรรคนาซีใหม่ได้ที่นั่งในรัฐสภา หรือการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศออสเตรีย และปัญหาเกาหลีเหนือก็อาจจะไม่ได้หมายความว่า ความขัดแย้งระหว่างรัฐจะน้อยลง กระนั้นก็ควรจะให้ความเป็นธรรมเพราะหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นแต่เมื่อปี 2007 หนังสือเล่มนี้จึงยังไม่ได้ตอบปัญหาต่อความท้าทายนี้
 
 

บล็อกของ Nisit Review

Nisit Review
ด้วยประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจ จากการเรียนรายวิชาบังคับต่างๆ ของคณะรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น จุฬาฯ ได้แก่ วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (INTRO SOC ANTHRO) วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง (INTRO POL GOV) วิชาตรรกะ เหตุผล และการค้นคว้าทางสังคมศาสตร
Nisit Review
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล สัมภาษณ์ชยางกูร ธรรมอัน และดานิเอล แปล ในยุคที่ถูกขนานนาม “หลังความจริง” (Post-Truth) การมาของโดนัล ทรัมป์ น่าจะเป็นสัญญาณที่ยืนยันว่าเราอยู่ในยุคนี้จริงๆ อย่างไรก็ดี หนึ่งปีภายหลังจากการขึ้นมาสู่อำนาจของเขา การเลือกตั้งระดับรัฐและท้
Nisit Review
ภาพวาดท่านรพินทรนาถ ฐากูร ระบายด้วยสีธรรมชาติ เพื่อประกอบหนังสือ ชาตินิยม ฝีมือของ สุวัลญา ศักดิ์สมบัติ นักศึกษาจิตรกรรม แห่งศานตินิเกตัน ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย ผู้แปลหนังสือ "ชาตินิยม" (Nationalism) ของรพินทรนาถ ฐากูร จะพาไปสำรวจความคิดว่าด้วยช
Nisit Review
The No-Nonsense Guide to Conflict and PeaceEdited by Helen WareNew InternationalistPublished October 1, 2006144 pages  หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อช่วยทำความเข้าใจเ
Nisit Review
ไฟที่ยังลุกลามโหมกระหน่ำปลายด้ามขวานประเทศไทยอย่างต่อเนื่องกว่า 70 ปีที่ผ่านมา ตอกย้ำถึงความรุนแรงที่ยังปะทุร้อยเท่าพันทวีในทุกๆ ปี ความสูญเสีย รอยเลือด และหยาดน้ำตาที่เกิดขึ้น กลายเป็นโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่บนแผ่นดินไทย เกิดเป็นคำถามที่คั่งค้างในใจว่าคนในพื้นที่จะอยู่กันเช่นไร แล้วเหตุใดจึงไม่ย้า
Nisit Review
Blade Runner 2049 (2017)อะไรคือความเป็นมนุษย์? เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังภาคต่อที่น่าจับตามองที่สุดแห่งปี หลังจาก Blade Runner ภาคแรกที่ออกมาในปี 1982 ได้สร้างตำนานหนัง Sci-Fi ผสม Film Noir ก่อให้เกิดแนวทางที่เรียกว่า Cyberpunk อันเป็นเอกลักษณ์จนได้รับการกล่า
Nisit Review
No Enemies, No Hatred: Selected Essays and PoemsBy Liu XiaoboEdited by Perry Link, Tienchi Martin-Liao, Liu XiaForeword by Vaclav HavelHarvard University Press
Nisit Review
จากกรณีปัญหาสภานิสิตมีมติระงับการดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวแทนนิสิต (CU Coronet) เนื่องจากมีกระบวนการคัดเลือกไม่โปร่งใส (รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ประกาศสภานิสิต) มติดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาพิพาทระหว่างฝ่ายกิจการนิสิตแล
Nisit Review
เรื่อง: ณฐ อัฐวุฒิกุล และธีรภัทร อรุณรัตน์ ในวงการวิชาการด้านสังคมศาสตร์ของไทยมีเพียงไม่กี่คนที่มีวัยวุฒิที่มาพร้อมกับประสบการณ์อันโดดเด่น แน่นอนว่าหลาย ๆ คนไม่ได้อยู่ดูพัฒนาการในสังคมไทยต่อ บางคนที่ยังอยู่ถ้าไม่ป่วยไข้เอาการ ก็ป่วยการเมืองไม่กล้าจะพูดอะไรตร