Skip to main content

ภาสกร อินทุมาร


ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”

 


15_9_01

วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี


วันวาน


พระที่ดูจะเป็นตำนานคู่วัดบ้านเก่า และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอยู่จนถึงทุกวันนี้ ก็คือ หลวงพ่อเปิ้น ปภาโส (พระครูเปิ้นพุทธสรเถร) หลวงพ่อเปิ้นเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคสมัยก่อนสงครามโลกซึ่งมีผู้คนเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ทั่วไปทั้งในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี จะมีงานประเพณี “พระครูหลวงพ่อเปิ้นวัดบ้านเก่า” ซึ่งงานประเพณีนี้เองก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า หลวงพ่อเปิ้นเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของชาวบ้าน

15_9_03

หลวงพ่อเปิ้น (พระครูหลวงพ่อเปิ้นพุทธสรเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า


หลวงพ่อเปิ้นเป็นชาวมอญบ้านกระทุ่มมืด อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เมื่อท่านสูญเสียบิดามารดาเป็นกำพร้าตั้งแต่ยังเยาว์ ญาติของท่านจึงนำไปอุปการะยังบ้านเก่า ชุมชนมอญในจังหวัดชลบุรี คำว่า “เปิ้น” นั้นเป็นภาษามอญ แปลว่า “แน่นอน มั่นคง แท้จริง” หลวงพ่อเปิ้นเกิดเมื่อ พ.. ๒๓๘๐ อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี มรณะภาพเมื่อ พ.. ๒๔๖๐ รวมอายุ ๘๐ ปี และอยู่ในสมณเพศ ๖๐ พรรษา ท่านเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการรูปแรกของวัดบ้านเก่า ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูเปิ้นพุทธสรเถร เมื่อ พ.. ๒๔๒๑ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอพานทอง รวมทั้งเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อ พ.. ๒๔๒๕


มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเป็นคนตรงโผงผาง รักษาระเบียบวินัยเคร่งครัด ในวัดห้ามกินเหล้า เด็ดขาด ทำให้คนเมาเหล้าไม่กล้าเดินผ่านหน้าวัด หรือหากจะเมาแต่เมื่อผ่านหน้าวัดก็จะสงบปากสงบคำเดินตัวตรง เป็นต้น เรื่องความเคร่งครัดของท่านอาจส่งผลให้ชาวบ้านกลัวท่านและไม่กล้าทำผิด แต่ก็มีเรื่องที่ส่งผลต่อศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่านเป็นอย่างยิ่งด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นก็คือเรื่องราวที่ท่านต่อสู้กับฝรั่งที่เข้ามามีปัญหากับชาวบ้าน โดยเรื่องมีอยู่ว่า ในช่วงเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น ซึ่งหากนับเวลาย้อนขึ้นไปก็น่าจะเป็นเวลานับร้อยปี ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกได้ขยายตัวเข้ามาในย่านบ้านเก่าและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีการรุกล้ำที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งขณะนั้นยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อนำไปเป็นพื้นที่เพาะปลูกของตน ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อเปิ้นซึ่งเป็นที่พึ่งของชาวบ้านจึงออกไป “สู้” กับ “ฝรั่ง” ด้วยการไปยืนขวางไม่ให้ฝรั่งรุกล้ำพื้นที่ รวมทั้งถกสบงเปิดก้นใส่ฝรั่ง ทำให้ลูกปืนในลำกล้องปืนของฝรั่งที่เตรียมจะยิงท่านนั้นยิงไม่ออก เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ฝรั่งฟ้องร้องไปยังกรุงเทพ เกิดเป็นคดีความระหว่างฝรั่งกับหลวงพ่อเปิ้นขึ้น แต่ในที่สุดหลวงพ่อก็ชนะคดี จนทำให้สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้นต้องขอดูตัวพระบ้านนอกที่ต่อสู้จนเอาชนะฝรั่งได้ และก็ได้มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ฝรั่งที่มีเรื่องกับหลวงพ่อนั้นเสียชีวิตหลังจากเกิดเรื่อง เพราะมีถั่วเขียวงอกอยู่ในท้อง

15_9_02

คลองพานทอง ช่วงที่ไหลผ่านวัด ชาวบ้านนิยมเรียกว่าคลองบ้านเก่า


ศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อหลวงพ่อเปิ้น ส่งผลให้เกิดเรื่องเล่าอื่นๆตามมา อาทิ เมื่อครั้งวัดบ้านเก่าสร้างรูปหล่อของท่าน ได้เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นขณะประกอบพิธี กล่าวคือ น้ำในคลองพานทองที่ไหลผ่านหลังวัดซึ่งปกติเป็นน้ำเค็มนั้นได้กลายเป็นน้ำจืด เป็นต้น เรื่องเล่าเหล่านี้ ทั้งเรื่องฝรั่งตายเพราะถั่วเขียวงอกในท้อง หรือเรื่องน้ำเค็มกลายเป็นน้ำจืด หากมองด้วยสายตาของนักวิทยาศาสตร์ ก็อาจเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ความเป็นไปได้หรือไม่นั้นดูจะไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่านั้น ก็คือความจริงที่ว่า เรื่องเล่าเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อหลวงพ่อเปิ้น และได้ทำหน้าที่ธำรงศรัทธานั้นไว้จนถึงปัจจุบัน และศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อนั้น ก็มาจากการที่หลวงพ่อสามารถต่อสู้กับภัยคุกคามที่มาจากภายนอก และเป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้อย่างแท้จริง


วันนี้


หลวงพ่อเปิ้นเป็นพระมอญ พูดภาษามอญ สวดแบบมอญ และชอบฉันปลาร้ากับผักชะคราม งานศพหลวงพ่อเปิ้นก็ยังมีการจุดลูกหนู ในวันที่หลวงพ่อเปิ้นยังมีชีวิตอยู่ บ้านเก่าหรือบ้านมอญจึงยังคงมีความเป็นมอญอย่างชัดเจน ไม่เพียงแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่พูดภาษามอญ ชาวบ้านก็พูดภาษามอญเช่นกัน แต่ทุกวันนี้ แม้ชาวบ้านจะยังคงยืนยันว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนมอญมาแต่ดั้งเดิม แต่ก็ไม่มีใครพูดภาษามอญ พระที่วัดก็สวดแบบมอญไม่ได้แล้ว ที่เป็นเช่นนี้ “หลวงพ่อหงษ์ พานทอง” หรือ “พระอธิการหงษ์ ขันติโก” รักษาการเจ้าอาวาสวัดบ้านเก่า บอกว่าเป็นเพราะ “หนังสือ”


15_9_05

พระอธิการหงษ์ พานทอง รักษาการเจ้าอาวาสวัดพานทองรูปปัจจุบัน


หลวงพ่อหงษ์เกิดในปี พ.. ๒๔๗๑ ท่านเล่าว่าเมื่อสมัยเด็กๆ ยายของท่านเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับคนมอญและชุมชนมอญให้ฟัง รวมทั้งเล่าว่าคนบ้านเก่า-บ้านมอญแห่งอำเภอพานทองจำนวนมากเป็นญาติกับคนมอญย่านวัดชีปะขาว มหาชัย ในอดีต ผู้คนของทั้งสองชุมชนนี้ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอแม้ว่าจะต้องเดินทางด้วยเรือและใช้เวลาถึง ๓ วัน แต่ทว่าในปัจจุบันที่การเดินทางไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน ผู้คนกลับไม่มีเวลาไปมาหาสู่กัน


หลวงพ่อหงษ์บวชในปี พ.. ๒๔๙๑ แต่ในปี พ.. ๒๕๐๑ ได้ลาสิกขาบทไปครั้งหนึ่ง และกลับมาบวชอีกครั้งในปี พ.. ๒๕๓๒ ด้วยความเป็นคนบ้านเก่า หลวงพ่อหงษ์จึงเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด หลวงพ่อเล่าว่า โยมพ่อของท่านยังพูดและอ่านภาษามอญได้ แต่คนรุ่นท่านพูดมอญไม่ได้แล้ว ท่านเองก็พูดไม่ได้ โดยท่านเห็นว่ามูลเหตุของการที่คนบ้านเก่าไม่สามารถพูดและอ่านเขียนภาษามอญได้ก็คือ “การศึกษาสมัยใหม่” หรือที่ท่านใช้คำว่า “หนังสือ” ที่เข้ามายังชุมชนผ่านทางระบบโรงเรียนของรัฐส่วนกลาง การเรียนหนังสือไทยได้ทำให้ภาษาดั้งเดิมถูกลืมเลือน ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นกับชุมชนมอญแห่งบ้านเก่าเท่านั้น แต่ได้เกิดขึ้นทั่วไปกับชุมชนท้องถิ่นทั้งประเทศ และมิใช่เพียงลูกหลานของชุมชนมอญเท่านั้นที่ไม่พูดภาษามอญ ลูกหลานของชุมชนชาติพันธุ์อื่นๆก็เป็นเช่นเดียวกันที่ลืมเลือน “ภาษาแม่” ของตนจนอาจถึงขั้นปฏิเสธ เพราะภาษาแม่ของตนนั้น “เข้าไม่ได้” กับระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน


นอกจาก “หนังสือ” จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชุมชนมอญบ้านเก่าแล้วนั้น หลวงพ่อหงษ์ยังเห็นว่า “ความเจริญ” ก็คืออีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลง โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นรายรอบชุมชน ได้พาลูกหลานคนหนุ่มสาวออกไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ห่างไกลจากวิถีดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน ความเจริญได้พาลูกหลานมอญออกไปจากความเป็นมอญจนยากที่จะเรียกกลับคืนมา


หลวงพ่อหงษ์ไม่ได้ลุกขึ้นต่อสู้กับภัยคุกคามที่มาจากภายนอกดังเช่นที่หลวงพ่อเปิ้นสู้ในครั้งอดีต เพราะภัยคุกคามสมัยใหม่ที่ผ่านมาทางนโยบายของรัฐเช่นนี้ยิ่งใหญ่เกินกำลังของพระรูปหนึ่งที่จะต่อสู้ได้ แต่ท่านก็มองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการพินิจพิเคราะห์ถึงที่มาของมัน ซึ่งหากใครจะได้มีโอกาสสนทนากับท่าน ก็คงจะเกิดปัญญาในการรู้เท่าทันถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับชุมชน


วันวานถึงวันนี้


จากวันวานจนถึงวันนี้ พระมอญแห่งบ้านเก่าเมืองชลบุรีได้ตั้งคำถามต่อเหตุปัจจัยจากภายนอกที่เข้ามากระทำต่อชุมชน ในอดีต พระของชุมชนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านด้วยการลุกขึ้นสู้จนชนะ แต่พระมอญของวันนี้คงมิอาจหาญที่จะสู้กับเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงได้ ถึงกระนั้นก็ดี พระมอญของวันนี้ก็ยังคงเป็นที่พึ่งทางความคิดของคนในชุมชนได้ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ คนในชุมชนจะยังเห็นพระเป็นที่พึ่งอยู่หรือไม่... เท่านั้นเอง




บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…