Skip to main content

ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ


เวลามีงานแบบนี้ที ถือโอกาสแต่งตัวอวดกันเต็มที่”

ปกติก็ไม่ได้แต่งแบบนี้ พอมีงานก็ลุกขึ้นมาใส่กัน เฟคชัดๆ...”

แต่งตัวแบบวันวานยังหวานอยู่ ของปลอมทั้งนั้น”บริบทการแสดงออกของเขา เป็นต้น


การตั้งธงเอาไว้กับชาวบ้านแบบนี้ ชาวบ้านที่ไหนจะมีความรู้ท่วมหัวเท่านักวิชาการที่จะลุกขึ้นมาตีฝีปากด้วยไหว อีตอนลงพื้นที่เพื่อต้องการไปเก็บข้อมูลที่บ้านเขาก็ทำเป็นจริงใจ แสร้งเป็นพวกเดียวกัน ถามไถ่ซักไซ้เอาข้อมูลจนหนำใจ กลับมาถึงสถาบันหน่วยงานตัวเองก็เที่ยวเอาข้อมูลที่ชาวบ้านบอกเล่าให้มาประสาซื่อนั้น นำมาวิพากษ์วิจารณ์จนชาวบ้านดูราวกับมนุษย์หิน อย่างนี้แถวบ้านผมเรียกว่า “เนรคุณแหล่งข้อมูล”


ลำพังในห้องเสวนา ที่นักวิชาการสายพันธุ์มานุษยวิทยามักชอบเอาทฤษฎีมาถกเถียงกันคอเป็นเอ็น สิ่งที่ถกเถียงกันนั้นก็ไม่ได้ถกเถียงกันบนพื้นฐานความคิดเห็นของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ไปเอาความคิดทฤษฎีคนอื่นที่อ่านเจอมาคนละทฤษฎี เชื่อต่างกัน แล้วก็นำมาถกเถียงกันในฐานะสาวกผู้ซื่อสัตย์ต่อทฤษฎีนั้นๆ ฉันมองไม่เห็นประโยชน์ปัจจุบัน และดูไร้แก่นสารอย่างน้อยก็ในสายตาของฉัน แต่เอาเถอะการที่เขาจะเถียงกันในที่ทางของพวกเขาก็ช่างเถิด แต่การจะเอาทฤษฎีมาเม้าท์ชาวบ้านร้านตลาดนั้นบอกได้เลยว่า มันช่างไร้จริยธรรมเสียจริงนะคุณ


เชื่อหรือไม่ว่านักวิชาการพวกนี้หลายคนเวลาลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็ใส่ชุดพื้นเมืองลงพื้นที่เพราะต้องการสร้างความกลมกลืนกับชาวบ้าน (แต่ในความเป็นจริงแล้วสุดจะแปลกแยก ทำเป็นซดเหล้าขาว เคี้ยวหมากปากแดง สิ้นเปลืองของชาวบ้านเขาเปล่าๆ) ส่วนในเวทีประชุมวิชาการก็ใส่เสื้อผ้าฝ้ายและผ้าคลุมไหล่ดูละม้ายเอ็นจีโอ สวมประโปรงบางเบาหรือกางเกงแสล็คกลีบโง้งในชั่วโมงสอนหนังสือหรือเวลาไปร่วมงานสังคมชั้นสูง ชุดครุยยาวกรุยกรายผ้าหนาหลายชั้นในวันรับใบประกาศด๊อกเตอร์ ชุดกระโปรงสีขาวฟูฟ่องหรือสูทหนาเตอะแถมเนคไทรัดต้นคอของบ่าวสาวในวันแต่งงานอย่างกะคนเมืองหนาว คำถามก็คือในเมื่อชีวิตประจำวันไม่ได้แต่งตัวแบบนี้ จู่ๆก็ลุกขึ้นมาแต่ง ใช้ได้หรือไม่ ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ผิดผีไหม


...
ก็คำถามเดียวกับที่นักวิชาการเหล่านี้ถามกับคนอื่นนั่นแหละ

คำตอบของฉันก็คือ มันก็น่าจะแต่งได้ตามกาลเทศะของมัน


ในกรณีของคนที่ปฏิเสธสังคม ปฏิเสธการรับพระราชทานปริญญาบัตร ปฏิเสธงานแต่งงาน ที่จะเป็นแสดงว่าจำยอมอยู่ในชุดที่แสดงความสูญสิ้นอิสระภาพท่ามกลางสายตาผู้คนมากมาย หรือแต่งกายแบบประจานตัวเองว่าพินอบพิเทาศักดินา มันก็อาจตอบโจทย์สำหรับบางคนที่ทำอย่างนั้นได้เหมือนกัน หากภายในใจมีทฤษฎีฝรั่งค้ำคอ รวมทั้งหากการกระทำเช่นนั้นมันทำให้คนรอบข้างมีความสุข โดยไม่มีคำถาม ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี ฉันอนุโมทนาด้วย


คนชาติพันธุ์ที่แต่งตัวในชุดประจำชาติของเขาในวาระพิเศษนานๆ ครั้ง โดยไม่ได้แต่งในชีวิตประจำวัน เพราะเขาหลายคนมีแต่ชาติไม่มีประเทศ เขาจึงต้องการพื้นที่แสดงออกแค่บางวันบางเวลา เขาแต่งโดยมีนัยยะอะไรบางอย่างที่ต้องการจะบอกเล่ากับคนพวกเดียวกัน และอีกนัยยะหนึ่งสำหรับคนต่างพวก ที่นักวิชาการเหล่านี้ไม่มีวันจะเข้าใจ


นกเอี้ยงเอ๋ย... เอ็งจงบินไปเสียจากไหล่ของนักวิชาการเหล่านี้เถิด ไหล่ของนักวิชาการผู้หลงไหลและมัวเมาในทฤษฎี นักวิชาการผู้ปฏิเสธความจริงที่ทิ่มแทงจิตใต้สำนึกของตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ฉันได้แต่หวังว่านักวิชาการเหล่านี้เขาคงจะไม่ใส่ชุดนอนลายแตงโมไปประชุมกับอธิการบดี นุ่งกางเกงตีเทนนิสไปถวายสังฆทานที่วัด ใส่ชุดดำไปเยี่ยมคุณลุงที่โรงพยาบาล ใส่สูทสีแดงไปงานศพคุณตา หรือนุ่งกระโจมอกไปโดดสระที่โอเรียนเต็ล ฉันเชื่อว่าคุณๆ แต่ละคนเขาคงจะมีคำตอบให้กับตัวเองกันทั้งนั้น ซึ่งคนชาติพันธุ์เขาก็มีคำตอบที่พอเหมาะพอดีให้ตัวเขาเองเหมือนกัน อย่าไปตั้งประเด็นในเรื่องแบบนี้นักเลย มันไม่เห็นสร้างสรรค์ตรงไหน

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์