Skip to main content

-1-

หลังการเก็บเกี่ยวข้าว นวดข้าว ขนข้าวมาเก็บไว้ในหลอง(ยุ้งฉาง)ของชาวนา ไม่นาน ท้องทุ่งเบื้องล่างก็ดูเปิดโล่ง มองไปไกลๆ จะเห็นตอซังข้าว กับกองฟางสูงใหญ่กองอยู่ตรงนั้น ตรงโน้น กระนั้น ท้องทุ่งก็ไม่เคยหยุดนิ่ง มันมีชีวิต มีการเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

เท่าที่เขาเฝ้าดู ในหน้าแล้ง หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว คนเลี้ยงวัวประจำหมู่บ้านคงมีความสุขกันถ้วนหน้า พวกเขารู้ดีว่าจะทำอย่างไงหลังจากชาวนาขนข้าวขึ้นหลองเสร็จเรียบร้อย คนเลี้ยงวัวจะรีบปล่อยฝูงวัวสีขาวสีแดงหลายสิบตัวลงไปในทุ่งโดยไม่ต้องบอกเจ้าของนา ไม่มีใครว่า ปล่อยให้มันเล็มยอดอ่อนจากตอซังข้าว บ้างก้มเคี้ยวเศษฟางข้าว รวงข้าวที่กระจัดกระจายเต็มทุ่ง

แต่นั่นก็เป็นเพียงชั่วข้ามคืนข้ามวันเท่านั้น
เมื่อเขามองเห็นภาพบางอย่างกำลังเปลี่ยนไป...
ควันไฟสีเทากำลังลอยเป็นกลุ่มๆ ลอยออกมาท้องทุ่ง ม้วนตัวขึ้นสู่ที่สูง สูงไปบนท้องฟ้า...

เขายืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน จ้องมองดูภาพเคลื่อนไหวเบื้องล่างชัดๆ อีกครั้ง ใช่ เขามองเห็นสิ่งผิดปกติจริงๆ นั่นชาวบ้านชาวนากำลังก้มๆ เงยๆ หอบเอาฟางที่กองไว้ มาคลี่ปูไปทั่วผืนนา บ้างวางทับกันไปบนตอซังข้าวจนเต็ม ทุ่งนากลายเป็นพรมสีเหลืองมหึมาจนดูเป็นผืนเดียวกัน

แต่หลังจากนั้นไม่นาน พอแดดเปรี้ยง ชาวนาพากันลงมือจุดไฟเผาฟางข้าว เพียงครู่เดียว ไฟไหม้ฟาง ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว กลุ่มควันลอยคลุ้งไปทั่วทุ่ง เขารู้สึกอึ้ง...กับภาพผ่านที่เห็นและเป็นไปเช่นนั้น กี่นานที่เขาเหม่อมอง ถอนหายใจ และปล่อยความคิดเลื่อนลอยไปกับควันไฟกลุ่มนั้น

เขากำลังครุ่นคิดไปมา...
การกระทำชาวบ้านแบบนี้มันดูเหมือนไม่มีเหตุผล
หรือว่า...บางทีชาวบ้านเขามีเหตุผลของเขา...

-2-

“คิงบ่ไปขนเอาเฟืองเอามาใช้ในสวนเหรอ เขาจะเผาหมดทุ่งแล้วเน้อ...ตอนนี้ที่เห็นเหลือก็มีของพี่ศรีเวียง ขะใจ๋ไปเอาโวยๆ” พี่ชายบอกกับเขาในวันรุ่งขึ้น

เฟือง ภาษาเหนือ หมายถึง ฟางข้าว
พี่ชายบอกย้ำให้เขารู้ ก่อนที่ไฟจะไหม้ฟางไปทั่วทุ่ง

เขาตัดสินใจขับรถกระบะคันเก่า ข้ามสะพานที่ทำด้วยขอนไม้พาดผ่านลำเหมืองเข้าไปในทุ่งนาของพี่ศรีเวียง กองฟางที่ผ่านการเกี่ยว นวด และโม่ด้วยเครื่องจักรสมัยใหม่ กองซ้อนๆกันขึ้นไปเป็นเนินเขาย่อมๆ ผมใช้เวลาในช่วงบ่ายนั้น กับการบ้าหอบฟาง สองมือสองแขน โอบ กอบฟางใส่กระบะท้ายจนพูน ก่อนขึ้นไปย่ำๆๆ เหยียบๆๆ ให้ฟุบลง กระโจนลงมาหอบฟางขึ้นไปอีก พอมันสูงล้นเกินกระบะ ผมหาลำไม้ไผ่มากั้นเป็นแนวสองข้าง จนจุฟางได้เต็มลำรถ เดินไปเปิดท้ายเบาะ หยิบเอาเชือกมามัด รัด สลับกันไปมาจนแน่น ก่อนจะขับรถข้ามสะพานขอนไม้ ไปยังสวนบนเนินเขา

หลายต่อหลายเที่ยว ที่เขากลับมาขนฟางไปไว้ในสวน
จนเขารู้เลยว่าในห้วงนั้น เขาบ้าหอบฟางคนเดียว ลำพัง
ในขณะที่รอบข้าง ชาวนาเพื่อนบ้านกำลังทยอยกันจุดไฟเผาฟางกันควันคลุ้ง
และผืนนาผืนใหญ่เริ่มกลายเป็นสีดำ


-3-

อีกวันหนึ่ง...ลุงส่ง น้าชายวัยหกสิบปี ขับมอเตอร์ไซค์ขึ้นดอยมาหาเขาด้วยสีหน้าตาตื่น บอกว่าอยากให้ไปช่วยกันขนฟางข้าวของเพื่อนบ้าน มาไว้ในสวนแกหน่อย...

“เจ้าของนาบอกว่า จะเผาเฟืองคืนนี้แล้ว เพราะวันพรุ่ง เขาจะจ้างรถไถมาพรวนที่ จะปลูกผักกาดแล้ว เสียดายเฟือง อยากเอามาใช้ในสวน ช่วยกันขน แล้วแบ่งกันดีกว่าเนาะ...”

เขาพยักหน้า แล้วชักชวนหลานชายอีกคนไปช่วยกันขนฟางข้าวกันไว้บนคันนาอย่างรีบเร่ง ก่อนที่เจ้าของนาจะจุดไฟเผาในค่ำคืน

“ยังดีที่ยังคนเข้าใจและรู้จักใช้ประโยชน์จากฟางข้าว และลุงส่งคงเป็นคนเดียวในหมู่บ้านที่คิดได้แบบนี้กระมัง...” เขาบอกกับตัวเอง
“ทำไมชาวนาถึงเผาฟางข้าว ทำไมถึงไม่เก็บเอาไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น!?...”

เชื่อหลายคนคงคิดเช่นเดียวกับเขาเป็นแน่แท้
แต่...ก็อีกนั่นแหละการกระทำของคนเรา บางครั้งมันก็ไม่มีเหตุผลมารองรับ

“ทำไมถึงเผาเฟือง...” เขาเคยเอ่ยถามเพื่อนบ้านเล่นๆ
“ถ้าไม่เผา มันก็จะกองอยู่เต็มทุ่ง เพราะเฮาต้องเร่งปลูกผักกาด กะหล่ำกันต่อ นั่นต้นกล้าผักกำลังจะแก่แล้ว...”
“แล้วทำไมไม่ขนมากองไว้ข้างนอก โดยไม่ต้องไปเผา ไม่ดีกว่าหรือ...”
“เสียเวลา...เสียเวลาขนเฟืองอีก...กองไม่ใช่น้อยๆ ต้องจ้างรถ จ้างคนขนอีก เสียเงินไปทำไม เผาในทุ่งนี่ดีกว่า...”

วิธีของชาวบ้านจัดการกับฟางข้าว จึงง่าย รวดเร็ว และไม่เปลือง นั่นคือ ปูฟางข้าวเป็นพรมเต็มทุ่ง แล้วจุดไฟเผา หลังจากนั้น พวกเขาจะรีบพากันพรวนดิน ขุดดิน ขึ้นแปลงผัก ปลูกผัก ใส่ปุ๋ยเคมี พ่นยาฆ่าแมลง เพื่อเอาไปขายในตลาดเมืองใหม่ ให้กับพ่อค้าคนกลางต่อไป

เหตุผลง่ายๆ ของชาวบ้านแบบนี้ เล่นเอาเขาอึ้งไปเหมือนกัน

แหละเพียงแค่เหตุผลง่ายๆ แบบนี้ ไม่ต้องไปอ้างทฤษฎี หลักการ วิชาการที่มันไปไกลตัว อย่างเช่น อย่าเผาฟางเลย...มันจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เกิดมลพิษเพราะฤทธิ์ควันไฟ มันผิดกฎหมาย…ฯลฯ

แน่นอน ในฐานะที่เขาก็เป็นลูกหลานชาวนาคนหนึ่งที่กำลังกลับมาอยู่บ้านเกิด เขาพยายามเฝ้ามองด้วยใจเป็นธรรม ว่าสิ่งที่ชาวนาเพื่อนบ้านทำกันเช่นนี้ มันไม่ใช่ว่าพวกเขาโง่ หรือไม่รู้ แต่บ่อยครั้งที่เขาพยายามค้นหาเหตุและผลของวิถีชาวนาเล่นๆ ว่า หรือว่านี่เป็นเพราะฐานคิดชาวนายุคนี้เปลี่ยนไป พวกเขาล้วนแต่มีหนี้สิน เพราะว่า ระบบทุนนิยมบ้าคลั่งได้เข้ามาบีบ บังคับให้พวกเขาต้องเปลี่ยนไปอย่างนี้ เกษตรกรทุกคนต้องการความเร็ว ต้องการเงิน เพื่อไปใช้จ่ายและใช้หนี้ที่ครอบครัวหนึ่งเป็นลูกหนี้ให้กับ ธกส.ไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาท ยังไม่นับหนี้นอกระบบที่นับวันยิ่งพอกพูนเพิ่มมากขึ้น

-4-

ไฟไหม้ฟาง...ฟางข้าว…วิถีชาวนา
เขากลับมานั่งจมอยู่กับความรู้สึกข้างใน…
บางห้วงความคิดเรื่องฟางข้าว ทำให้เขาหวนนึกไปถึงภาพวิถีเก่าๆ เมื่อครั้งเขายังเยาว์วัย...
ฟางข้าวทำให้เขามองเห็นภาพเก่าได้แจ่มชัดขึ้น
ภาพหนุ่มสาวช่วยกันนวดข้าว ตีข้าว กันในค่ำคืนเดือนหงาย ท่ามกลางเสียงหยอกล้อเกี้ยวกันไปมา
ภาพกองฟางที่สูงทะมึนเหมือนภูเขาย่อมๆ
ภาพกองฟางล้อมรอบลานนวดข้าว ที่กลายเป็นถ้ำฟางที่ใช้เป็นที่หลับนอน ช่างนุ่มและอุ่นนักในคืนหนาว
และนั่น, ภาพพ่อกับแม่ช่วยกันขุดแปลง ปลูกกระเทียม หลังเก็บเกี่ยวข้าว
ใช่ เขายังจำภาพของตนเองแบกขนฟางข้าวที่มัดเป็นฟ่อนๆ ไปวางบนคันนา ให้พ่อและพี่ชายช่วยกันหยิบ ฟางมาปูคลุมแปลงกระเทียมที่แม่และพี่สาวช่วยกันปลูกจนเต็มทุ่ง
ภาพของตัวเองกำลังคุ้ยกองฟางเน่าค้นหาเห็ดฟางออกดอกสีขาวหม่นตรงนั้นตรงโน้น...

เขาได้กลิ่นหอมของฟางลอยมาในห้วงความทรงจำ.
 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
  เมื่อนั่งอยู่ในความเงียบ ในสวนบนเนินเขายามเช้าตรู่ เพ่งดูหมอกขาวคลี่คลุมดงดอยอยู่เบื้องหน้า ทุ่งนาเบื้องล่างลิบๆ นั้นเริ่มแปรเปลี่ยนสี จากทุ่งข้าวสีเขียวสดกลายเป็นสีเหลืองทองรอการเก็บเกี่ยว ใช่, ใครต่อใครเมื่อเห็นภาพเหล่านี้ คงรู้สึกชื่นชมภาพอันสดชื่นรื่นรมย์กันแบบนี้ทุกคนทว่าจริงๆ แล้ว พอค้นให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ในความงามนั้นมีความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ให้รับรู้สึก เมื่อนึกถึงภาพเก่าๆ ของหมู่บ้าน ผ่านไปไม่กี่สิบปี  จะมองเห็นได้เลยว่าหมู่บ้านเกิดของผมมีความแปลกเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง อย่างไม่น่าเชื่อ“ตอนนี้ อะหยังๆ มันก่อเปลี่ยนไปหมดแล้ว...” เสียงใครคนหนึ่งบ่นเหมือนรำพึงจริงสิ,…
ภู เชียงดาว
ผมเริ่มค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะกับเมือง หลังจากที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่มานานหลายปี ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้- -อาจเป็นเพราะระยะหลังรู้สึกว่าชีวิตตัวเองแปลกและป่วย บางครั้งคล้ายยินเสียงจากข้างในกำลังบอกอะไรบางอย่าง ราวกับจะบอกว่า... ‘ที่สุดแล้ว,ชีวิตต้องกลับคืนสู่เส้นทางที่จากมา’ แหละนั่น ทำให้ผมเริ่มวางแผนกลับไปใช้ชีวิตในสวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากที่ปล่อยให้สวนรกร้างว่างเปล่ามานานเต็มทีจริงสิ, ผมปล่อยให้ต้นไม้ในสวนรกเรื้อและโตขึ้นตามลำพัง ไร้การดูแลเอาใจใส่ ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คงเหมือนกับชีวิตตัวเองกระมัง ที่ต้องมาอยู่กับเมือง มัวแต่ไขว่คว้าบางสิ่ง…
ภู เชียงดาว
สิ่งดี ๆ ในชีวิต พ่อค้าแวะมาหาคนสวนที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ตรงหน้ากระท่อม “สวัสดีครับคนสวน” พ่อค้าทักทาย “ผมมีข้อเสนอดีๆ มาให้ คุณคงสนใจเป็นแน่” และเมื่อเห็นทีท่าเฉยเมยของคนสวน พ่อค้าก็เริ่มพูดธุระที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งคนสวนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกกุหลาบเพิ่มขึ้นและพ่อค้าจะเป็นคนเอาไปขายในเมือง “คนสวน ด้วยความชำนาญของคุณ กุหลาบของเราจะสวยงามที่สุดในเมือง” พ่อค้าสรุปด้วยท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่อง “ขอบคุณแต่เราไม่สนใจ” คนสวนตอบพร้อมยิ้มอย่างเคย “แต่คุณจะได้เงินเยอะ...” พ่อค้าว่า ท่าทางแปลกใจ “ผมไม่สนใจเงินทองหรอก” “ใครๆ ก็อยากได้เงินกันทั้งนั้น...” “แต่ไม่ใช่ผม…
ภู เชียงดาว
ความเรียบง่ายมีแรงดึงดูดที่ลี้ลับเพราะมันจะฉุดเราไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่คนส่วนใหญ่ในโลกไปกันไปจากการทำตัวให้เด่น ไปจากการสะสมไปจากการทะนงหลงตนและจากการเป็นเป้าสายตาของสาธารณะไปสู่ชีวิตสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน กระจ่างใสยิ่งกว่าสิ่งใดๆที่วัฒนธรรมบริโภคอย่างฉาบฉวยรู้จักกัน.                                                        …
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ  www.salweennews.orgที่มาภาพ www.sarakadee.comที่มาภาพ www.salweennews.orgกอดกับความเย็นเยียบอยู่อย่างนั้น, กลางป่าเปลี่ยวอ้อมอกอันบอบบางของเธอมิเคยอบอุ่นอยู่กับความมืดดำในความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึง, ชีวิตความตายเหมือนมิเคยแยกจางห่างกันเลยโอ. เด็กๆ  ตามแนวชายแดนยามใดหนาวฤดูลมแล้งแห้งโหมพัดเข้ามาสู่,หัวใจเธอนั้นเหมือนจักรับรู้รสสัมผัสชีวิตวิถีที่จำต้องระเหเร่ร่อนนั่น,คือสัญญาณความขัดแย้งอันเลวร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบเขารอการอุบัติเสียงแม่กระซิบบอกพวกเธอเบาๆเร็วเข้า,…
ภู เชียงดาว
  “การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิตทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่าจะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”จากหนังสือ “ความเงียบ”จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปลผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง…
ภู เชียงดาว
    “...เมื่อมนุษย์จมอยู่กับฝูงชนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปมาอย่างอัตโนมัติไปตามแรงเหวี่ยง บุคคลนั้นก็สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ สูญเสียคุณธรรม หมดความสามารถที่จะรัก และศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง เมื่อสังคมประกอบด้วยผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมนั้นก็ไม่อาจรวมกันได้ด้วยความรัก แต่อยู่ได้ด้วยอำนาจครอบงำและความรุนแรง...” ถ้อยคำของ “โทมัส เมอร์ตัน” คัดมาจากหนังสือ “ความเงียบ” จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล สวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ในเนื้อที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างและยาวราวสี่ห้าไร่…