Skip to main content

 

pic01

 

“การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิต
ทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์
คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่า
จะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”

จากหนังสือ “ความเงียบ”
จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล

ผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...

แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง แล้วก็รอการผลิบานของต้นไม้

มาถึงตอนนี้ สวนบนเนินเขาของผมมีต้นไม้ในสวนไม่ต่ำกว่ายี่สิบชนิดในเนื้อที่ไม่กี่ไร่

เมื่อยามตะวันเริ่มอ่อนแสงค่อยหย่อนตัวลับดอยหลวงเชียงดาวทางทิศตะวันตก ผมชอบเดินย่ำไปในสวนยามเย็น สัมผัส ลูบคลำต้นไม้ในสวนไปช้าๆ ทีละต้นๆ พบว่ามีต้นไม้อยู่หลากหลายไล่มาตั้งแต่มะม่วง ลำไย มะพร้าว กะท้อน ขนุน มะยงชิด ฝรั่ง  พุทรา ไผ่ กล้วย มังคุด เงาะ อะโวคาโด มะไฟ มะเฟือง ชมพู่ มะละกอ มะเกี๋ยง มะม่วงหิมพานต์ สะตอ แค ชะอม ฯลฯ
เป็นภาพที่งดงามและเป็นสุข เมื่อมองเห็นทุกๆ เนื้อที่ของสวนเล็กๆ ถูกเบียดเสียดด้วยกล้าไม้ ปลูกแทรกกันไปมาอยู่อย่างนั้น

ยิ่งยามมองเห็นกล้าถั่วแป๋ที่พ่ออนุญาตให้คนชนเผ่าลาหู่เข้ามาปลูก เริ่มงอกงามชูช่อสดเขียว รอการเลื้อยคลุมไปทั่วผืนดินและสวน ยิ่งดูว่าทุกอย่างช่างกลมกลืนกันไปหมด

 

pic02

 

 

pic03

 

ในขณะที่สวนของชาวบ้านส่วนใหญ่ จะพากันลงไม้ผลเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปจนเต็มสวนของพวกเขา เมื่อนั่งอยู่บนเนินเขา ทอดสายตามองออกไปยังอีกเนินเขาอีกฟากฝั่งหนึ่ง จะมองเห็นสวนส้ม สวนลำไย สวนส้มโอ ยืนต้น เข้าแถว เรียงรายเป็นแถวลึกจากตีนดอยเข้าไปจนจรดแนวป่า

ใช่ ดินแถวหมู่บ้านของผม เป็นดินร่วนปนหิน จึงเหมาะกับการปลูกไม้ผล ปลูกอะไรก็ขึ้นงามไปหมด โดยเฉพาะพื้นที่บนเนินเขา คนแถวนี้มักจะปลูกลำไยกันเยอะ กระทั่งเริ่มมีการปลูกส้มเขียวหวาน กันเป็นทิวแถว

แต่ก็นั่นแหละ ดินดำ น้ำชุ่ม ปลูกแล้วได้ผลมากเพียงใด หากชาวบ้านมุ่งหวังปลูกไว้เพื่อขาย ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จได้ เมื่อราคาลำไย ส้มเขียวหวาน ต่ำลงๆ อย่างเห็นได้ชัด

ยกตัวอย่าง ราคาลำไย ตอนนี้ เกรด AA ราคาอยู่ที่ 8-10 บาทต่อกิโล ต่ำสุดอยู่ที่ 4- 5 บาทต่อกิโล

เห็นชาวสวนก้มหน้าก้มตาเก็บลำไย เด็ดเคว็ดลำไยใส่ลังทีละเม็ดๆ แล้ว รู้สึกเศร้า

“ราคาร่วงลงมาขนาดนี้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องกำไร และไม่ต้องพูดเรื่องค่าแรงตัวเองที่ลงทุนลงแรงไปในแต่ละวันหรอก” เสียงชาวสวนลำไยบ่นครวญ

ทำให้นึกไปถึงคำแนะนำของ อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ที่เขียนบทความเกี่ยวกับลำไย ไว้ใน นสพ.เดลินิวส์  ฉบับวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา

“...ลำไยเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตล้นตลาดตามฤดูกาล ไทยขาดผู้บริหารจัดการที่จะทำให้ชาวสวนขายผลลำไยออกจากสวนในราคาที่ดีได้  เป็นอย่างนี้มาหลายปีต่อเนื่องกัน  ชาวสวนจึงยากจนลง  สมควรคิดหารายได้ทางอื่นมาเสริมรายได้จากการผลลำไย เช่น การเพาะเห็ดห้าและการค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนสวนลำไยให้เป็นไร่นาสวนผสม หรือทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง  ซึ่งทำได้หลายทาง เช่น  ปลูกไผ่  กล้วย  พืชสวนครัว ทดแทนลำไย ปีละ 5-10%  ทำไปเรื่อยๆ ทุกปี จนกว่าราคาลำไยที่ขายออกจากสวนจะดีขึ้น...”

และทำให้นึกถึงแฟนผู้อ่านคอลัมน์ของผมอีกท่านหนึ่ง...ชื่อคุณพิชญ์ตะวัน ที่ส่งข่าวเรื่องพืชเรื่องสวนมาให้ผมเมื่อสัปดาห์ก่อน

“...มีข่าวดีจะบอก หากคุณภูอยากปลูกพืชหลายเชิง ไม่ใช่เชิงเดี่ยวที่ไร่ ขอให้พิจารณา มะละกอ(ตระกูลแขกทั้งหลายราคาดีม๊าก มาก) ช่วงก่อนที่สวนตัดขายราคามะละกอดิบ อยู่ที่ 6 บาท/ กิโล หากสุก แม่ค้ารับ 12-14 บาท/กิโล ตอนนี้ราคาลงมาบ้างอยู่ที่ 4 บาท/กิโลแต่สุกรับที่ราคาม 8-10 บาท/กิโล”

“แต่บ่ต้องกังวล เพราะมะละกอ ทิ้งไว้อยู่กับต้นได้นาน รอราคาขึ้นมาค่อยดัดขายก็ได้แหล่งขายเมล์สอบถามได้เน้อ...”

คุณพิชญ์ตะวัน ยังแนะนำอีกว่า หากอยากปลูกพืชยืนต้นที่อยู่โยงคงกระพันให้ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์..มีแหล่งรับซื้อไม่อั้น ราคาประกันอยู่ที่ 12บาท/กิโล

“ฝากข่าวมาบอก เล่าสู่กันฟังเผื่อสนใจ๋...”

เออสินะ...น่าสนใจดีครับ และไม่น่าเชื่อว่า พืชสวนอย่างมะละกอ มะขาม ที่หลายคนไม่ค่อยสนใจหรือมักมองข้ามไป กลับมีราคาดีกว่าราคาลำไยที่ต้องคอยประคบประหงม ลงทุนลงแรงดูแลอยู่ตลอดเวลา

ผมกลับไปสวนครั้งล่าสุด, หลานชายที่ทำงานโครงการลุ่มน้ำปิงตอนบน ขนกล้ามะขามเปรี้ยวเกือบสองร้อยต้น มาให้ถึงในสวน บอกว่า เพิ่งไปติดต่อขอรับกล้ามะขามที่เจ้าหน้าที่เพาะเอาไว้ที่อำเภอพร้าว ผมตั้งใจไว้ว่า วันใดฝนตกซึงติดต่อกันอีกหน จะรีบกลับไปปลูกมะขาม กับไผ่ตง ตามแนวรั้วรอบๆ สวน

มาถึงตอนนี้ ผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...
แต่ผมรู้และเริ่มเห็นอะไรบางอย่างชัดเจนมากขึ้นในชีวิต เมื่อพลิกกลับไปอ่านถ้อยคำของ จอห์น เลน อีกครั้ง...

“การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิต ทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์ คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่า จะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”   

หมายเหตุ : งานเขียนชุดนี้เคยตีพิมพ์ใน “พลเมืองเหนือรายสัปดาห์” ผู้เขียนขออนุญาตนำมาลงในประชาไท,อีกครั้ง.

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
  เมื่อนั่งอยู่ในความเงียบ ในสวนบนเนินเขายามเช้าตรู่ เพ่งดูหมอกขาวคลี่คลุมดงดอยอยู่เบื้องหน้า ทุ่งนาเบื้องล่างลิบๆ นั้นเริ่มแปรเปลี่ยนสี จากทุ่งข้าวสีเขียวสดกลายเป็นสีเหลืองทองรอการเก็บเกี่ยว ใช่, ใครต่อใครเมื่อเห็นภาพเหล่านี้ คงรู้สึกชื่นชมภาพอันสดชื่นรื่นรมย์กันแบบนี้ทุกคนทว่าจริงๆ แล้ว พอค้นให้ลึกลงไป ก็จะพบว่า ในความงามนั้นมีความทุกข์ซุกซ่อนอยู่ให้รับรู้สึก เมื่อนึกถึงภาพเก่าๆ ของหมู่บ้าน ผ่านไปไม่กี่สิบปี  จะมองเห็นได้เลยว่าหมู่บ้านเกิดของผมมีความแปลกเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง อย่างไม่น่าเชื่อ“ตอนนี้ อะหยังๆ มันก่อเปลี่ยนไปหมดแล้ว...” เสียงใครคนหนึ่งบ่นเหมือนรำพึงจริงสิ,…
ภู เชียงดาว
ผมเริ่มค้นพบว่าตัวเองนั้นไม่เหมาะกับเมือง หลังจากที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่มานานหลายปี ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้- -อาจเป็นเพราะระยะหลังรู้สึกว่าชีวิตตัวเองแปลกและป่วย บางครั้งคล้ายยินเสียงจากข้างในกำลังบอกอะไรบางอย่าง ราวกับจะบอกว่า... ‘ที่สุดแล้ว,ชีวิตต้องกลับคืนสู่เส้นทางที่จากมา’ แหละนั่น ทำให้ผมเริ่มวางแผนกลับไปใช้ชีวิตในสวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากที่ปล่อยให้สวนรกร้างว่างเปล่ามานานเต็มทีจริงสิ, ผมปล่อยให้ต้นไม้ในสวนรกเรื้อและโตขึ้นตามลำพัง ไร้การดูแลเอาใจใส่ ไม่มีเวลารดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย คงเหมือนกับชีวิตตัวเองกระมัง ที่ต้องมาอยู่กับเมือง มัวแต่ไขว่คว้าบางสิ่ง…
ภู เชียงดาว
สิ่งดี ๆ ในชีวิต พ่อค้าแวะมาหาคนสวนที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ตรงหน้ากระท่อม “สวัสดีครับคนสวน” พ่อค้าทักทาย “ผมมีข้อเสนอดีๆ มาให้ คุณคงสนใจเป็นแน่” และเมื่อเห็นทีท่าเฉยเมยของคนสวน พ่อค้าก็เริ่มพูดธุระที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งคนสวนจะต้องขยายพื้นที่ปลูกกุหลาบเพิ่มขึ้นและพ่อค้าจะเป็นคนเอาไปขายในเมือง “คนสวน ด้วยความชำนาญของคุณ กุหลาบของเราจะสวยงามที่สุดในเมือง” พ่อค้าสรุปด้วยท่าทีกระหยิ่มยิ้มย่อง “ขอบคุณแต่เราไม่สนใจ” คนสวนตอบพร้อมยิ้มอย่างเคย “แต่คุณจะได้เงินเยอะ...” พ่อค้าว่า ท่าทางแปลกใจ “ผมไม่สนใจเงินทองหรอก” “ใครๆ ก็อยากได้เงินกันทั้งนั้น...” “แต่ไม่ใช่ผม…
ภู เชียงดาว
ความเรียบง่ายมีแรงดึงดูดที่ลี้ลับเพราะมันจะฉุดเราไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่คนส่วนใหญ่ในโลกไปกันไปจากการทำตัวให้เด่น ไปจากการสะสมไปจากการทะนงหลงตนและจากการเป็นเป้าสายตาของสาธารณะไปสู่ชีวิตสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน กระจ่างใสยิ่งกว่าสิ่งใดๆที่วัฒนธรรมบริโภคอย่างฉาบฉวยรู้จักกัน.                                                        …
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ  www.salweennews.orgที่มาภาพ www.sarakadee.comที่มาภาพ www.salweennews.orgกอดกับความเย็นเยียบอยู่อย่างนั้น, กลางป่าเปลี่ยวอ้อมอกอันบอบบางของเธอมิเคยอบอุ่นอยู่กับความมืดดำในความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึง, ชีวิตความตายเหมือนมิเคยแยกจางห่างกันเลยโอ. เด็กๆ  ตามแนวชายแดนยามใดหนาวฤดูลมแล้งแห้งโหมพัดเข้ามาสู่,หัวใจเธอนั้นเหมือนจักรับรู้รสสัมผัสชีวิตวิถีที่จำต้องระเหเร่ร่อนนั่น,คือสัญญาณความขัดแย้งอันเลวร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบเขารอการอุบัติเสียงแม่กระซิบบอกพวกเธอเบาๆเร็วเข้า,…
ภู เชียงดาว
  “การถอยออกไปจากสนามรบของชีวิตทำงานเงียบๆ ด้วยเป้าหมายที่สร้างสรรค์คือคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ว่าจะอยู่อย่างไรในสถานการณ์ที่ทุกอย่างกำลังพังทลาย”จากหนังสือ “ความเงียบ”จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปลผมไม่รู้ว่า สวนของผมนั้นกลายเป็นสวนผสมผสานตั้งแต่เมื่อไหร่...แต่ผมรู้ว่า พักหลังมานี่ เมื่อเดินทางกลับบ้านไปสวนทีไร ผมมักติดกล้าไม้เข้าไปในสวนเกือบทุกครั้ง ไม่อย่างก็สองอย่าง แวะซื้อมาจากกาดคำเที่ยง บ้างได้มาจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มอบให้มา พอไปถึง ก็ลงมือขุดหลุม เอาเศษฟางเศษหญ้าลงคลุกกับเนื้อดิน หย่อนต้นไม้ต้นเล็กลงไป กลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือรอให้น้ำฟ้าหล่นรดให้ฉ่ำชื้นเอง…
ภู เชียงดาว
    “...เมื่อมนุษย์จมอยู่กับฝูงชนที่ขาดความเป็นมนุษย์ ถูกผลักไปมาอย่างอัตโนมัติไปตามแรงเหวี่ยง บุคคลนั้นก็สูญเสียความเป็นมนุษย์ที่แท้ สูญเสียคุณธรรม หมดความสามารถที่จะรัก และศักยภาพที่จะกำหนดตนเอง เมื่อสังคมประกอบด้วยผู้คนที่ไม่รู้จักความวิเวกภายใน สังคมนั้นก็ไม่อาจรวมกันได้ด้วยความรัก แต่อยู่ได้ด้วยอำนาจครอบงำและความรุนแรง...” ถ้อยคำของ “โทมัส เมอร์ตัน” คัดมาจากหนังสือ “ความเงียบ” จอห์น เลน เขียน, สดใส ขันติวรพงศ์ แปล สวนบนเนินเขาเหนือหมู่บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ในเนื้อที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างและยาวราวสี่ห้าไร่…