Skip to main content

     มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอกลักษณ์ของตัวอาคาร พิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงบุคคลากรและศิษย์เก่า 

     นอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ผมได้อาศัยร่มเงาทำงานวิจัยแล้ว ผมยังประทับใจสถาบันเพื่อนบ้านอย่าง Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ในความมีชีวิตชีวาของ Media Lab หรือห้องทดลองสื่อ ที่เอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาทำงานร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ในมิติต่างๆ ที่จะยังประโยชน์ให้มนุษยชาติ

 

    MIT ยังมีเรื่องแผลงๆ ก็คือ MIT Hacks ที่เกิดจากความคิดแผลงๆ ของเด็ก MIT ที่ต้องการแสดงออกถึงความฉลาด ช่างคิด และท้าทายตลอดจนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเอาไว้ผ่านการ Hack สถาบันตัวเอง

 

     การ Hack สถาบันตัวเองของนักศึกษา MIT มีตำนานมายาวนาน ตั้งแต่ปี 1930 ที่กลุ่มนักศึกษา (บางคนกลายเป็นคณบดีใน MIT) เล่นพิเรนทร์ด้วยการยึดล้อรถรางเข้ากับรางไม่ให้รถเขยื้อน ในปี 1958 เพื่อนๆ เอานายโอลิเวอร์ สมุท (Oliver R. Smoot) มาเป็นหน่วยวัดความยาวของสะพานฮาร์วาร์ดที่เชื่อมระหว่างฝั่งเคมบริดจ์กับฝั่งบอสตัน เพื่อนๆ ตัวแสบเอาตัวนายสมุทนอนแล้ววัดไปจนสุดสะพานได้ความยาว 364.4 สมุท ทุกวันนี้ยังปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ 

ในปี 9 ธันวาคม ค.ศ. 1991 มีการเอาท่อเหล็กดับเพลิงไปเชื่อมกับตู้กดน้ำดื่มในมหาวิทยาลัยเพระมีคำกล่าวว่า “การได้เข้าเรียนใน MIT ก็เหมือนกับการดื่มน้ำจากสายยางเชื่อมจากท่อดับเพลิง” อุปมาอุปมัยว่าเหมือนการศึกษาที่ MIT มันล้นทะลักไปด้วยความรู้มากมายมหาศาล (Getting an Education from MIT is like taking a drink from a Fire Hose)

 

     ในวันที่  9 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 ผู้คนพากันแตกตื่นที่เห็นรถตำรวจมหาวิทยาลัยถูกยกขึ้นไปไว้บนยอดโดมของ MIT (MIT Police, คือ มหาวิทยาลัยอย่าง MIT และ Harvard มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองแทบทั้งเมือง จึงมีตำรวจรักษาความปลอดภัยในสังกัดของทั้งสองสถาบัน) ที่น่าทึ่งก็คือไม่มีใครรู้ว่านักศึกษา MIT ยกเอารถทั้งคันขึ้นไปไว้บนยอดโดมที่สูงมากๆ ได้อย่างไร เมื่อไหร่ จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ

 

     ดูเหมือนว่า MIT Dome จะเป็นจุดสนใจของการแฮ็ค เช่น เดือนธันวาคม 2003 มีการจำลองเอาเครื่องร่อนที่พี่น้องตระกูลไรท์ (Wright Flyer) ไปไว้บนยอดโดม และในวันที่ 11 กันยายน 2006 มีการยกเอารถดับเพลิงไปไว้บนยอดโดมอีกครั้งเพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงเหตุการณ์ 911 บางครั้งก็เปลี่ยนโดมให้เป็นหุ่นยนต์ R2D2 จากเรื่องสตาร์วอร์ก็มี 

 

      หนักกว่านั้นเห็นจะเป็นกรณี 6 เมษายน 2006 มีการส่งบริษัทขนส่งปลอมไปขนปืนใหญ่Flemming อายุ 130 ปี หนัก 1.67 ตัน สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย California Institute of Technology (หรือ Caltech คู่แข่งทั้งวิชาการและการเล่นพิเรนทร์) เอามาไว้ที่ MIT สี่วันถัดมามีนักศึกษาจาก Caltech มารับปืนใหญ่คืน ทิ้งปืนใหญ่พลาสติกของเล่นเอาไว้แทนพร้อมข้อความว่า “ขนาดนี้ค่อยเหมาะกับพวกนายหน่อย”

 

     ปี ค.ศ. 2012 มีการเกาะกระแสกังนัมสไตล์ ที่ทำใน MIT version โดยมีศาสตราจารย์ชื่อดังของ MIT ร่วมปรากฏในวีดีโอด้วย ได้แก่ โนอัม ชอมสกี้ (Noam Chomsky) นักภาษาศาสตร์และปัญญาชนคนสำคัญ โดนัล ซาโดเวย์ (Donald Sadoway) ศาสตราจารย์ด้านเคมีวัสดุศาสตร์ เป็นหนึ่งในร้อยผู้ทรงอิทธิพลโลกของนิตยสารไทม์ ค.ศ. 2012 งานของเขาคือการสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งสำคัญต่อโลกอนาคตมากๆ และอีริค แลนเดอร์ (Eric Lander) ที่ศึกษาและหาทางใช้พันธุกรรมศาสตร์เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ และยังเป็นประธานบอร์ดร่วมกับบารัค โอบามา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดูวีดีโอได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=lJtHNEDnrnY)

 

     นาทีที่ 2:18 จะเห็น MIT Hacks นะครับ 

     ส่วนนาทีที่ 3:20 โอปป้าชอมสกี้สไตล์จะปรากฏตัวนะครับ

 

 

     ชีวิตของ MIT Hacks คงไม่จบแค่นี้ เพราะคงจะมีไปเรื่อยๆ และมีเกร็ดมากมายถึงกับมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมสิ่งของต่างๆ เอาไว้ 

     คราวหน้าจะมาเล่าเรื่อง Media Lab ต่อนะครับ

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
(ข้อความต่อไปนี้มาจากรายงานวิจัยเรื่องชีวประวัติรัฐธรรมนูญและธรรมนูญแห่งรา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
นัยสำคัญของการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยด้วยเป็นการดึงดันต่อประกาศพระราชกฤษฎีกาในการเลือกตั้งเตรียมการถอยหลังย้อนทวนเข็มนาฬิกาของพรรคการเมืองที่แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอดเล่ห์กลตื้นๆ แบบนี้ อาจเป็นเส้นผมบังภูเขา เป็นหลุมพรางก่อนจะ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนดีไปไหนหนอ? ถ้ายังจำกันได้เมื่อ พ.ศ.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ขอทบทวน political literacy เกี่ยวกับศาลอาญาและศาลรัฐธรรมน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันมานี้ผมหมกมุ่นกับเรื่องนิรโทษกรรมจนลืมไปว่าคนจำนวนมาก "ข้าม" เรื่องนิรโทษกรรมไป "ล้มรัฐบาล" กันแล้ว
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เวลานี้ใครไม่ออกมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมก็จะกลายเป็นเชยล้าสมัย ผมอยากให้ลองดูประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับไม่อยากพูดมากเลยเอารูปมาแปะเลยนะครับ ภาพเหล่านี้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สมัยที่ทำหน้าที่อนุกรรมการตรวจสอบความจริงกรณีเผากรุงเทพ 34 จุดนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือ กทม.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าเรื่องนิรโทษกรรมคืออะไร ผมต้องบอกว่าดีใจมากที่คนไทยสนใจการเมืองมาก ทั้งสองสีเสื้อ และน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลายวันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากหลายสถาบัน เราคุยกันถึงประเด็นที่ว่าแนวคิดบริหารรัฐกิจและการศึกษาที่หยิบเอาแนวทางการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติ ในบางแห่งบรรจุภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ไว้ในคณะวิทยาการจัดการ บางสถาบันยกระดับให้เป็น "คณะ" บางแห่งยกฐานะเท่าเทีย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 มีข่าวว่าอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลาคม 2516 ระดมกำลังตั้งกลุ่มกระทิงแดงและรวมตัวที่กองบัญชาการ 103 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความทรงจำอันพร่าเลือนของคนเหล่านี้จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว