Skip to main content

ไม่กี่วันที่ผ่านมาสังคมไทยก็ได้มีการเลือกตั้งส.ส. ไปแล้ว น่าตื่นเต้นเล็กน้อย เพราะลุ้นกับเค้าเหมือนกันว่าใครจะมา และใครจะไป พลางให้นึกถึงเลือกตั้งที่สหรัฐฯ เมื่อ สาม-สี่ปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าอะไรที่จับกระแส “ประชานิยม” ได้ก็มักชนะ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด เช่น ชอบหรือกลัว เพราะกระแสประชานิยมไม่ได้ดูที่อะไรมากกว่า พวกมากลากไป หากพวกมากคิดเป็น ก็ดีไป ถ้าคิดไม่เป็นก็ซวยไป ทั้งนี้ คนที่รับความซวยคือคนทั้งหมด ไม่ใช่แค่คนที่เป็นพวกมาก หลายครั้งพวกมากก็เป็นพวกมากที่ไรัคุณภาพ แต่หลายครั้งก็เป็นพวกมากที่มีคุณภาพได้เช่นกัน แต่โอกาสที่จะเกิดนั้นมีน้อยกว่ามาก

มีหลายคนถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้  ผู้เขียนตอบได้ว่ามันอยู่ที่ว่า “คิดเป็น” หรือไม่ต่างหาก ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ที่เห็นในสังคมทั่วไป ไม่ว่าไทยหรือสหรัฐฯก็คือ คนส่วนใหญ่จะอ่านหนังสือเป็น แต่ตีความไม่เป็น หรือรับข้อความได้ ฟังคนอื่นพูดได้ เข้าใจ แต่เข้าใจไม่ลึก ตีความไม่แตก และที่สำคัญขี้เกียจที่จะฟัง ขี้เกียจที่จะตีความ และไม่หาข้อมูลมาประเมินข้อความ แล้วมันก็ไปผูกกับระบบความคิดทั่วไป ทำให้คิดไม่เป็น คิดไม่แตก เห็นแก่ประโยชน์ใกล้ตัวแบบทันเวลา แบบเทโจ๊กใส่ซอง เติมน้ำร้อน ชงๆ แล้วจบกัน

เพราะความง่ายๆ แบบนี้ จึงทำให้เกิดคำพังเพยสามัญว่า “รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ” เพราะคนที่รู้มากๆก็จะเกิดความยากในชีวิตมากมาย แต่นั่นคือวิธีคิดของคนที่คิดหน้าและหลัง รอบคอบ ส่วนรู้น้อย ก็เป็นในด้านตรงข้าม แต่ก็มีคน“คิดมาก” อันนี้ไม่เกี่ยวกัน เพราะคนคิดมากนั้นมีปัญหามากกว่าชอบแก้ปัญหา เป็นลักษณะของคนที่ไม่โตหรือ ไม่มีวุฒิภาวะ ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ก็พบเจอมากมายในสังคมไทยพอสมควร แต่เวลาคุยด้วย พบว่าเป็นพวก “โลกหมุนรอบตัวกู” เสียทั้งนั้น

 

ในองค์การของสังคมไหนๆก็มีคนที่ “สอนได้ยาก” มากมายเช่นกัน ส่วนมากคือคนที่อยู่ในระดับปฏิบัติงาน ที่ไม่ได้มีการพัฒนาทางอาชีพมาเป็นเวลานาน และเมื่อลักษณะงานเปลี่ยนไป ทำให้ความสามารถที่มีอยู่ไม่เหมาะหรือไม่พอกับงานใหม่ๆ พูดง่ายๆว่าเป็น “ไม้ตายซาก” ไปเรียบร้อยแล้วก่อนเกษียณเสียอีก ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ความผิดของบุคลากรแต่ฝ่ายเดียว องค์การเองก็มีส่วนในการที่ทำให้เกิดการเฉื่อยชาแบบนี้ มาตรการการขับเคลื่อนบุคคลเหล่านี้ให้ขยับตัวเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน  เสียดายที่ว่าระบบแบบไทยๆนั้นก็ไม่ค่อยเอื้อต่อกระบวนการแบบนี้นัก โดยเฉพาะที่เน้นความมั่นคงในการทำงาน มากกว่าการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน มันจึงเลยการเป็นเรื่องที่แก้ไม่ได้

อาการของการสอนได้ยากมีอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะกับบุคลากรที่อยู่ในองค์การนานเกิน ห้าปีสิบปี รากพวกนี้จะงอกจนแงะไม่ออก ในองค์การแบบไทยๆ มองว่าเป็นเรื่องความจงรักภักดีต่อองค์การ  ในองค์การแบบฝรั่งมองว่าเป็นพวกไม่มีทางไป ดังนั้น ในองค์การแบบฝรั่งจึงมีความใหม่เข้ามาเสมอๆ ทำให้องค์การนั้น ไม่ซ้ำซาก แต่ก็มีข้อเสี่ยงที่ว่า บางครั้งการเปลี่ยนแปลงคือการมีต้นทุน เป็นค่าใช้จ่ายทางโอกาสได้ แต่ฝรั่งมองว่า น่าจะคุ้มกับการไม่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า “อองโทรปี้” Entropy หรือภาษาไทยเรียกว่า “น้ำนิ่ง น้ำเน่า” เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในกลไกขององค์การ แต่ดูเหมือนว่าองค์การไทยยังพัฒนาไม่ได้ถึงระดับเพราะวัฒนธรรมแบบไทยๆเน้นการนิ่งๆ ไม่มีอะไรต้องเปลี่ยน ก็ไว้แบบนั้นแหละ

ในสังคมไทยระดับมหภาค ได้ถูกสะท้อนในระดับองค์การได้อย่างชัดเจน ในเรื่องความไม่เปลี่ยนแปลงและความเปลี่ยนแปลง ในความไม่เปลี่ยนแปลงคือ สังคมไทยต้องการรักษาและย้อนกลับไปในยุคที่ “ไพร่ฟ้าหน้าใส ใครใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่ค้าม้า ค้า” ไม่ต้องแข่งขันมาก แต่ในมุมกลับก็อยากมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความสะดวกสบายที่มีเทคโนโลยี่เป็นตัวกำหนด ไม่ต้องการย้อนยุคที่ไม่มีเทคโนโลยี่พื้นฐาน พูดง่ายๆคืออะไรสบายๆ นั่นแหละ ดีหมด ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ดังนั้น “ภาวะสอนได้ยาก”จึงเกิดได้ตลอดตามประสาสังคมที่ไม่มี “จริยธรรมการทำงาน” ที่เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง และไม่คอยอภินิหารจากโชคชะตาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากจนเกินไปนัก

ผู้เขียนมีลูกน้องอยู่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลสอนได้ยาก ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะอายุของพวกเขาที่สูงขึ้น ไม่คล่องแคล่วว่องไวที่จะเรียนรู้ใหม่ อันนี้น่าเห็นใจ จะจำหน่ายไปที่อื่นก็คงทำได้ยากเพราะว่ารากงอกเสียแล้ว อีกอย่างหากย้ายเปลี่ยน ก็จะทำให้เกิดการเสียหน้าและทนไม่ได้ ปัญหาอื่นๆก็จะตามมาอีก โดยเฉพาะในสังคมไทยที่ “หน้าตา” มาก่อน แต่งานไม่เดินเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผู้เขียนกำลังหาทางแก้ไข โดยใช้ทุกวิถีทางที่จะให้แต่ละท่านขยับตัวในระดับที่หัวใจไม่วาย ไม่มีการประกาศฆ่าตัวตาย ซึ่งได้แก่ การให้รางวัลในการสอบประเมินความสามารถต่างๆ และใช้การส่งเสริมไปดูงานต่างประเทศโดยต้องผ่านเกณฑ์ต่างๆ ทั้งนี้จะมีการประกาศเกียรติคุณด้วยว่าได้มีความสำเร็จทางทักษะใดทักษะหนึ่ง และเป็นการสร้างแรงกดดันในกลุ่มเอง อันนี้จะเป็นกระบวนการขั้นต้นที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาตนเองต่อไป เชื่อว่าน่าจะได้ผล คงต้องลองดูกันต่อไป

การแก้ปัญหาในระดับองค์การอาจไม่ซับซ้อนเท่าไรนัก แต่ในระดับประเทศ คงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ วัฒนธรรมองค์การไม่ซับซ้อนเท่าวัฒนธรรมระดับชาติ  อุดมคติต่างๆในสังคมมีการใช้เพื่อดำรงอำนาจของแต่ละกลุ่ม ดังนั้น การแก้ภาวะสอนได้ยากในสังคม ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่อาจทำได้ด้วยการ “จัดระเบียบสังคม” ส่วนการใช้ “ปืนจ่อหัว” รายตัว หรือใช้รถถังออกมาวิ่ง อาจใช้ได้ในชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น การแก้ไขเรื่องแบบนี้ต้องมองอย่างลึกซึ้งและมีความอ่อนไหวอย่างที่สุด มิเช่นนั้นแล้ว วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ “ประชานิยม” ก็จะใช้ได้ไปตลอด ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อคุณภาพชีวิตในสังคมแบบยั่งยืนแต่อย่างใด

ว่าแต่ว่า คนที่มีโอกาสในสังคม จะยอมเข้าใจและเสียสละได้มากน้อยเพียงใด  เพราะนี่คือต้นทุนที่มหาศาล การเปลี่ยนมือของทรัพยากรจะเกิดเร็วขึ้นและนำไปสู่ภาวะรวยน้อยลงของคนมีโอกาสอยู่แล้วนั่นเอง

 

บล็อกของ แพ็ท โรเจ้อร์

แพ็ท โรเจ้อร์
ช่วงนี้ได้พักบ้างหลังจากที่ไม่ได้พักเลยสัปดาห์ละ 7 วัน ทำงานมันทุกวัน พอได้เวลาอู้จึงขออู้บ้าง แท้จริงไม่ใช่อู้แต่น้อย แต่เดิมต่างหากที่โดนงานแย่งเวลาส่วนตัวออกไป
แพ็ท โรเจ้อร์
จั่วหัวแบบภาษาเก่าๆ สมัยเรียนปริญญาตรีเมื่อเกือบ30ปีที่แล้ว สมัยนั้น กรุงเทพฯ เพิ่งฉลองครบ 200 ปีใหม่ๆ สมัยนั้น คำว่า สตรอเบอร์รี่ ไม่ได้แปลว่า “สะ-ตอ-แหล” แบบปัจจุบัน เวลาคนไหนมีความรัก มักจะโดนเพื่อนๆแซวว่า กำลังกิน สตรอเบอร์รี่ มาจากคำว่า เลิฟ สตอรี่ Love Story ที่เป็นหนังฮิตในช่วงยุค 40 กว่าปีนั้น ดังนั้นเดี๋ยวนี้เวลาผู้เขียนได้ยินคำว่า สตรอเบอร์รี่ มักนึกถึงความรักมากกว่า ความไม่ดี
แพ็ท โรเจ้อร์
กลายเป็นว่าตอนนี้ผู้เขียนเกิดอาการไม่สามารถไปทำงานได้ในวันอาทิตย์ เพราะรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  (ทั้งที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาลุยได้ ไม่รู้เหนื่อย) จึงอยากพักให้เต็มที่ โดยไม่ต้องออกไปผจญภัยกับมหาชนนอกบ้าน เพราะไปไหนมีคนยั้วเยี้ยไปหมด ตามประสาเศรษฐกิจที่ขยายตัวมาก่อนจนหุบไม่ลง ผู้คนต้องซื้อและจับจ่ายกันแบบบ้าคลั่งเหมือนกับว่าของนี่แจกฟรี เลยบอกกับตนเองว่าขออยู่บ้านสักวันเถิด หากไม่ต้องออกไปทำงานที่คั่งค้างหรือรู้สึกเหนื่อยจนเกินไป
แพ็ท โรเจ้อร์
วันนี้ได้โอกาสมาเยือน “ประชาไท” แบบไม่ตั้งใจ เพราะปวดหัวเป็นไข้เล็กน้อย จึงถือโอกาสไม่ไปทำงานในวันอาทิตย์นอกเวลาเพื่อเคลียร์งานที่ทำไม่ทันในวันธรรมดา ถามตนเองว่าให้เวลากับงานมากเกินไป จนลืมมองดูสุขภาพตนเองหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” เพราะจำได้ว่าสมัยอยู่ต่างประเทศก็ทำแบบเดียวกัน แล้วก็ทำได้ด้วย ปัญหามีน้อยกว่า แต่เป็นเพราะว่าทางโน้นมีระบบงานที่ให้เสรีภาพในการทำงานมากพอสมควร มีปรัชญาในการทำงานที่เหมาะสมกว่า เมื่อเปรียบกับงานตรงนี้
แพ็ท โรเจ้อร์
หลายเพลาที่ผู้เขียนหายตัวไปจากเว็บนี้ ด้วยมีภาระกิจที่มากมายล้นหัวล้นหูเพราะผู้ใหญ่ส่งมาตามที่หัวโขนกำหนด เลยหมดแรงทุกครั้งที่ถึงบ้าน อีกทั้งมีคนสนิทที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่แบบเข้มข้น เป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบส่วนตัวอย่างสมัครใจ จึงไม่มีเวลาจะผลิตงานตรงนี้ อีกอย่างหลายครั้งก็ท้อใจเพราะว่าผลงานที่เขียนไม่ “แรง” เท่าไรนัก ส่วนแฟนประจำที่มีอยู่บ้างก็สไตล์คล้ายๆกันคือ ไม่ชอบโฉ่งฉ่าง ไม่ชอบสร้างประเด็นมากนัก งานก็เลยค่อยๆไป ที่น่าขำคือได้ยินคนมาบอกว่าเป็นคน “แรง” จากปากอดีตนักเขียนคนหนึ่งใน “ประชาไท” เลยมานั่งคิดเหมือนกันว่าที่แรงน่ะ แรงตรงไหน หลากความคิดเอาเถอะไม่ว่ากัน คนเรามีหลายแบบได้ข่าวจาก…
แพ็ท โรเจ้อร์
  ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีงานรับปริญญากันมาก ผู้เขียนก็ต้องไปมีส่วนในงานแบบนี้ทุกปีนับตั้งแต่เรียนจบมา 11 ปีที่แล้ว เพราะสายงานนั้นบังคับให้ต้องร่วม บทความนี้จึงเป็นบทความที่ไม่เกี่ยวกับองค์การโดยตรงสักครั้งหนึ่ง แต่เกี่ยวกับ "คน" ที่รับปริญญาและคนที่เกี่ยวข้อง การรับปริญญาในเมืองนอกนั้น ไม่ได้เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่เหมือนเมืองไทย แต่ถามว่ามีคนมาชุมนุมกันมั้ยตอบว่ามี แต่การทำมากินสำคัญกว่า หลายคนจึงไม่ได้สนใจว่าต้องรับหรือไม่ หากต้องย้ายเมืองไปทำงานทีอื่นหรือกลับบ้านไปก่อนวันรับปริญญา กระนั้นเมืองนอกคือสหรัฐฯในที่นี้ (บางแห่งมีการรับปีละสองหน และบางแห่งมีการรับปีละหน…
แพ็ท โรเจ้อร์
เป็นที่รู้กันว่ามีการสูญเสียของพระบรมวงศ์ระดับสูงในช่วงหลังปีใหม่ที่ผ่านมา เล่นเอาหลายคนต้องขุดชุดดำขึ้นมาใส่แทบไม่ทัน เพราะผู้เขียนไม่เคยมีชุดดำกับเค้ามาก่อน เสื้อเชิ้ตขาวก็ไม่เคยมีมากว่า 10 ปีแล้ว เพราะอยู่เมืองนอกก็ไม่ได้ไปงานศพใคร ทั้งเป็นคนชอบเสื้อสีๆ นอกจากนี้ก็มองว่าสีดำทำให้ร้อนเนื่องจากดูดความร้อนง่าย การเป็นคนขี้ร้อนจึงเลี่ยงชุดทางการที่มีสีดำ ส่วนสีขาวนั้นไม่ชอบมาแต่ไหน เพราะเป็นคนไม่ค่อยระวังตัว เปรอะเปื้อนง่าย การใส่เสื้อขาวตอนเป็นนักเรียนนี่ทำให้ทางบ้านปวดหัวมาตลอดเพราะขาวเป็นดำปี๋ทุกครั้งที่ถึงบ้าน โชคดีที่มีเสื้อทับข้างนอกแบบลำลองเป็นสีดำ จึงสวมทับแก้ขัดไปก่อน…
แพ็ท โรเจ้อร์
ไม่กี่วันที่ผ่านมาสังคมไทยก็ได้มีการเลือกตั้งส.ส. ไปแล้ว น่าตื่นเต้นเล็กน้อย เพราะลุ้นกับเค้าเหมือนกันว่าใครจะมา และใครจะไป พลางให้นึกถึงเลือกตั้งที่สหรัฐฯ เมื่อ สาม-สี่ปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าอะไรที่จับกระแส “ประชานิยม” ได้ก็มักชนะ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด เช่น ชอบหรือกลัว เพราะกระแสประชานิยมไม่ได้ดูที่อะไรมากกว่า พวกมากลากไป หากพวกมากคิดเป็น ก็ดีไป ถ้าคิดไม่เป็นก็ซวยไป ทั้งนี้ คนที่รับความซวยคือคนทั้งหมด ไม่ใช่แค่คนที่เป็นพวกมาก หลายครั้งพวกมากก็เป็นพวกมากที่ไรัคุณภาพ แต่หลายครั้งก็เป็นพวกมากที่มีคุณภาพได้เช่นกัน แต่โอกาสที่จะเกิดนั้นมีน้อยกว่ามาก มีหลายคนถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ …
แพ็ท โรเจ้อร์
หลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนไม่ได้มีเวลาและมีพลังงานมากพอที่จะผลิตงานมาที่ “ประชาไท” เลย เนื่องจากภาระงานต่างๆ ที่รับผิดชอบอยู่มีอย่างมากมาย จนเมื่อไรที่กลับถึงบ้านก็พร้อมที่จะวิ่งไปที่เตียงนอนแล้วก็หลับผล็อยไปตรงนั้น แล้วตื่นขึ้นมากับวันใหม่ เพื่อทำงานที่ค้างไว้ให้เสร็จและคอยผจญกับงานใหม่ที่จะเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม ไม่รู้ว่าจะเรียกว่า “ชอบงานที่ทำ” หรือเป็นเพราะ “มีความรับผิดชอบต่องาน” หลายครั้งตอบว่าอย่างหลังน่าจะเหมาะกว่าเรื่องความรับผิดชอบนั้นสามารถมองได้หลายแบบ ผู้เขียนมีบุคคลรอบข้างที่มีลักษณะรับผิดชอบที่น้อยที่สุดตามกฏระเบียบ นั่นหมายถึงความรับผิดชอบที่น้อยที่สุด…
แพ็ท โรเจ้อร์
ผู้เขียนได้รับเชิญจากหน่วยงานหนึ่งให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้  รู้สึกหัวเสียกับคุณภาพของผู้เข้าประกวดเป็นอย่างมาก เพราะว่าไม่มีคุณภาพในระดับที่เรียกว่าใช้ได้เลย ปัญหานอกเหนือจากความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไปแล้ว  เรื่องของเนื้อความซึ่งไม่ว่าในภาษาใดก็ตามต้องมีโครงสร้าง การผูกเรื่อง และคุณค่าทางวาทวิทยาในตัวเอง น่าเสียดายที่เมืองไทยไม่มีการสอนการวิเคราะห์วาทะอย่างเป็นแก่นสาร หากมีก็แค่การมองแบบการใช้ภาษาไทยธรรมดา หรือการใช้ภาษาอังกฤษธรรมดา ไม่มีการส่งเสริมอย่างแท้จริงในสิ่งที่เรียกว่า speech criticism/rhetorical criticism 1…
แพ็ท โรเจ้อร์
พัทยาลาก่อน   ร้องโดย รุ่งฤดี แพ่งผ่องใสลมทะเล พัดมาหาดพัทยา ครวญคลั่งฟังเหมือนมนต์ภวังค์วอนหวีดหวัง ครางว่ายังรักเธอ รักเธอพร่ำเพ้อละเมอ รอท่ายังฝืนกลืน น้ำตาฝันจนกว่า ชีพวาย*ครวญครางไป ใยกันเกลียวคลื่นนั้นมัน ชวนวิ่งว่ายแล้วล่ม ร่างร้างตายหาย อาวรณ์ลาแล้วลา ขอลาโอ้พัทยา ลาก่อนชีวิตคือ ละครฉันมันอ่อนโลกเอย(เนื้อเพลงและฟังเพลงได้ที่ blue balloon, bloggang.com)สองวันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปพัทยาเพราะต้องพาคนสนิทไปพักผ่อน ตามที่สัญญากันไว้ คนสนิทเป็นวัยรุ่นช่วงกลางเกือบปลาย เป็นคนยุคใหม่ที่เรียกว่าไม่มองอะไรเกินกว่าตัวกู อันนี้ไม่รวมกับกระบวนการพัฒนาทางจิตวิทยาที่เป็นในทุกรุ่น ทุกสังคม…
แพ็ท โรเจ้อร์
I HAVE NOTHING (Whitney Houston) Share my life, Take me for what I am. 'Cause I'll never change All my colors for you. Take my love, I'll never ask for too much, Just all that you are And everything that you do. I don't really need to look Very much further/farther, I don't wanna have to go Where you don't follow. I will hold it back again, This passion inside. Can't run from myself, There's nowhere to hide. (Your love I'll remember forever.) Chorus: Don't make me close one more door, I don't wanna hurt anymore. Stay in my arms if you dare, Or must I imagine you there. Don't walk away from me…