Skip to main content

โต้พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ที่มา สว."

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สืบเนื่องจากวันนี้ (๓๐ พ.ย.๒๕๕๖) พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) นักกีฬาดำน้ำทีมชาติแห่งคณะนิติศาสตร์ มธ. เขียนบทความเรื่อง "ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาคดีและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญ"[๑] เพื่อโต้แย้ง "แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ เรื่อง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา"[๒] โดย พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) ได้บิดเบือนดังนี้

๑.เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียของตุลาการ

สำหรับหลักความมีส่วนได้เสียของตุลาการ ตามที่ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก อ้าง "เยอรมัน" นั้น เมื่อเราพิจารณารัฐบัญญัติศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน มาตรา ๑๘ บัญญัติแยก "ความมีส่วนได้เสีย" ออกเป็น ๒ กรณีครับ

กรณีแรก มีส่วนได้เสียโดย "สภาพภายใน" (มาตรา ๑๘ (๑)) คือ เป็นคู่สมรส ญาติสืบสายโลหิต ลูกหนี้เจ้าหนี้

กรณีที่สอง มีส่วนได้เสียโดย "สภาพภายนอก" (มาตรา ๑๘ (๓) ประกอบมาตรา ๑๙) คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติ/ร่างกฎหมายฉบับที่เป็นวัตถุแห่งคดี, เคยแสดงความเห็นทางวิชาการไว้ กรณีนี้รัฐบัญญัติศาลรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า เป็นคนละกรณีกับ มาตรา ๑๘ (๑) แต่ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก ไปบิดเบือนครับว่า รัฐบัญญัติท่านว่า กรณีตามมาตรา ๑๘ (๓) แปลว่าตุลาการไม่มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นความไม่เข้าใจฐานคิดของระบบวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญเยอรมัน

จะเห็นนะครับว่า "กรณีแรก" เป็นกรณี "ห้ามเข้าร่วมเป็นองค์คณะได้เลย" (ไม่ว่าจะมีการคัดค้านหรือไม่ และองค์คณะมีพันธะจะต้องจัดการกันเอง) แตกต่างจาก "กรณีที่สอง" เป็นกรณี "ห้ามเข้าร่วมองค์คณะเพราะมีเหตุกังวล" ตามรัฐบัญญัติศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน บัญญัติแยกสภาพความไม่เป็นกลางออกจากกันอย่างชัดแจ้งครับ ใน "กรณีที่สอง" ตุลาการหรือคู่ความต้องคัดค้านตนเองและองค์คณะต้องลงมติรับรอง

จะเห็นได้ว่า การเป็น "สมาชิกสภานิติบัญญัติ/ร่างกฎหมาย" (ตามตัวบทเยอรมัน) ไม่ใช่ "สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ" อย่างที่ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก กล่าวอ้าง และถึงแม้จะมองข้ามให้เกลื่อนเป็นเรื่องเดียวกัน ก็เป็นกรณีที่มีส่วนได้เสีย"โดยสภาพภายนอก"อยู่ดีนั่นเองครับ แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย ไร้มโนสำนึกในวิชาชีพ จึงไม่ถอนตัวออกจากองค์คณะ (นายจรัญ นายนุรักษ์ นายสุพจน์)

๒.เรื่องนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ไม่ได้นั่งเป็นองค์คณะมาแต่แรกในชั้นรับคำร้อง แต่กลับมานั่งพิจารณาคดีได้อย่างไร

เรื่องนี้ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก นำเอาหลักเกณฑ์ที่ใช้ในศาลยุติธรรมมาเทียบ ซึ่งขัดต่อสภาพการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ (ทีอย่างกรณีนี้ท่านไม่อ้างเยอรมันนะครับ) องค์คณะรับคำร้องคดีรัฐธรรมนูญ แตกต่างการรับคำฟ้องในศาลยุติธรรม ตรงที่ว่า ในวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ ไม่ได้แบ่ง องค์คณะรับคำร้อง ออกจาก องค์คณะนั่งพิจารณา ครับ (ต่างกับกรณีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งกำหนดเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาสำหรับนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเอาไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นมักประสบปัญหาว่า ผู้พิพากษานั่งไม่เต็มองค์คณะ แต่ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็บัญญัติว่า การพิจารณาคดีของศาลต้องครบองค์คณะ ตามมาตรา ๔๐ (๒) แต่เนื่องจากบุคคลากรไม่เพียงพอ จึงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ องค์คณะจึงมีสภาพที่แยกออกจากกัน ไม่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งกระบวน ผิดกับกรณีองค์คณะของศาลรัฐธรรมนูญ)

ในกรณีของศาลยุติธรรมนั้น การรับคำฟ้อง จะเป็นอำนาจของ ผู้พิพากษาเวร เป็นคนออกคำสั่งรับ/ไม่รับคำฟ้อง แล้วคดีจะไหลไปให้ องค์คณะพิจารณาคดี เพื่อนั่งพิจารณาต่อไป แต่กรณีของศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะรับคำร้องจะแพ็คกันไปตลอดเป็น "องค์คณะเต็ม" ของคดีนั้น คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีการแยกองค์คณะเวร กับองค์คณะพิจารณาคดี อย่างศาลยุติธรรมแต่อย่างใด การที่พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก ไปหยิบเอากรณีศาลยุติธรรมมาเทียบจึงสะท้อนถึงความสะเพร่าในการพิจารณาลักษณะการจัดองค์คณะของแต่ละศาลที่มีสภาพแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง

นิสิตนักศึกษา โปรดใช้วิจารณญาณ "อย่างยวดยิ่ง" ในการอ่านบทความของพระยานิติวิบัติดำน้ำลึก ดังกล่าวนะครับ เพราะจะสร้างความเข้าใจอันผิดพลาดอย่างร้ายแรงในประเด็นข้อกฎหมายได้.
_____________________
เชิงอรรถ
[๑] กิตติศักดิ์ ปรกติ, "ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาคดีและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนูญ" ใน http://www.facebook.com/notes/kittisak-prokati/ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอำนาจพิจารณาคดีและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการรัฐธรรมนู/10152038369830979
[๒] นิติราษฎร์, "แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ เรื่อง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา" ใน http://www.enlightened-jurists.com/blog/86

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง