Skip to main content

การชุมนุม เป็นเครื่องมือของใคร?


หากยึดตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกได้อย่างเสมอภาคกัน

แต่หากมองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสิทธิการชุมนุม จะพบว่า การชุมนุมเป็นเครื่องมือขั้นท้ายๆ ในการต่อรองของกลุ่มคนที่มีความเดือดร้อนในชีวิต แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น ชาวนาชุมนุมเรียกร้องเรื่องที่ดินกับเจ้าของที่ผูขูดรีดค่าเช่า หรือต่อต้านขุนนางศักดินาผู้ขูรีดภาษีเกินควร หรือกรรมกรเรียกร้องสวัสดิการและค่าตอบแทนจากนายจ้างและรัฐ

การชุมนุมจึงเป็นมาตรการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ ชาวนา กรรมกร ได้อ้อนวอนขอความเห็นใจก็แล้ว พูดคุยเจรจาก็แล้ว ยื่นหนังสือ ฯลฯ ยังไม่เป็นผล เพราะอาจถูกโต้แย้งจากนายจ้าง เจ้าของที่ดิน และผู้มีอำนาจรัฐว่า การเรียกร้องเป็นขอคนบางกลุ่ม ข้อเรียกร้องไม่สำคัญ ไม่มีน้ำหนัก หรือไม่มีความจำเป็นให้ตอบสนอง

การรวมตัวกันเพื่อแสดงออกถึงความจำเป็นและเรียกร้องร่วมกันอย่างสันติด้วยการชุมนุม จึงเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่ความขัดแย้งจะรุนแรงถึงขั้นแตกหัก ระหว่างผู้มีอำนาจ กับ ผู้ด้อยอำนาจ

 

การชุมนุมควรกระทำด้วยวิธีการใด?

คนที่จำเป็นต้องลุกขึ้นมารวมตัวกันชุมนุมเรียกร้องมักอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่า เช่น ลูกจ้างที่ต้องยอมทำงานหรือรับเงื่อนไขสภาพการจ้างงานเพราะต้องการรายได้  ชาวนาที่จำเป็นต้องเช่านาแพงเพราะไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง หรือประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐแต่ก็ยังต้องการให้มีรัฐเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่   ดังนั้นคนเหล่านี้มีอำนาจน้อยกว่าโดยสภาพ หากแยกกันไปต่อรองเองรายคน ย่อมไม่สำเร็จแน่

พวกเขาจึงต้องทำใช้วิธิการเพิ่ม "เสียง"  โดยอาจเพิ่มจำนวนเสียงด้วยการรวมคนจำนวนมากขึ้น   หรือเพิ่มเนื้อหาสาระของเสียงให้มีน้ำหนักด้วยการฉวยเอา สิทธิต่างๆที่กฎหมายรับรอง หรือสะท้อนความยุติธรรมในการดำรงชีพ  (เพราะมีหลายครั้งเป็นการเรียกร้องสิ่งที่กฎหมายยังไม่ให้สิทธิ เช่น เพิ่มค่าแรง สวัสดิการ หรือความปลอดภัยในการทำงาน)

ดังนั้นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมาก คือ ไม่ทำลาย "เสียง" ของการเคลื่อนไหว  แต่ต้องเพิ่มแนวร่วมออกไปให้มากที่สุด   การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จึงเป็นเงื่อนไขที่ต้องยึดถือ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และสร้างอันตรายให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงคนในขบวนการเคลื่อนไหวของตน

เนื่องจากในหลายครั้ง การได้ชัยชนะเกิดจากการสร้างกระแสสังคมในการหนุนเสริมผู้ที่ชุมนุมเรียกร้องเข้ามาด้วย   เช่น เมื่อ แรงงานชุมนุมโดยสงบแต่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม   ชาวนาชุมนุมโดยสงบแต่ถูกลอบสังหาร หรือประชาชนต่อต้านกฎหมายที่ริดลอนสิทธิแล้วถูกจับกุมคุมขัง   ทำให้คนในสังคมที่รู้ข่าว เกิดความรู้สึกเห็นด้วยกับการชุมนุมและรับไม่ได้กับการกระทำของผู้มีอำนาจ

ดังนั้น การชุมนุมจึงต้องดึงดูดสังคมโดยการรักษากรอบกติกาโดยรวมของสังคม การยอมรับผลของกฎหมายบางข้อเพื่อหวังผลที่ใหญ่กว่าจึงสำคัญมาก

 

การชุมนุมมีความสำคัญอย่างไรในสังคม?

ดังนั้น คนที่จำเป็นต้องใช้การชุมนุม คือ คนที่โดยสภาพไม่มีเครื่องมืออื่นมากนักในการต่อรอง เช่น ไม่มีรายได้สายป่านยาวนักในการต่อรองนานๆ ไม่มีเส้นสายในการเจรจาต้าอวยกับผู้มีอำนาจ ไม่มีความสามารถในการสื่อสารแบบสละสลวยเหมือนผู้มีการศึกษาในระบบ และไม่มีสื่อในการส่งเสียงออกไปให้สังคมรับรู้ในวงกว้าง

การชุมนุม จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจในสังคม กลับกันผู้ที่มีอำนาจ บารมี อิทธิพล เส้นสาย สื่อ และรายได้ ย่อมมีวิธีการเจรจาต่อรองมากมายในการเรียกร้องให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ เช่น ยกหูโทรศัพท์ไปขอ เอาผลประโยชน์ทางธุรกิจมาแลก ด่าอีกฝ่ายผ่านสื่อ 24 ชม. หรือแม้กระทั่งเปิดโปงทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม

ต้องไม่ลืมว่า แรงงานไม่มีเครื่องมือเหล่านั้น   การชุมนุมจึงเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายที่ต้องเหลือไว้ให้แรงงาน ดีกว่าปล่อยให้เกิดการแย่งชิงโดยใช้กำลัง
 

สถานการณ์ "การชุมนุม" ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

ในระยะ 7-8 ปีหลังที่มีการชุมนุมทางการเมืองถี่ขึ้น กลับพบว่าการชุมนุมขนาดใหญ่ทางการเมือง แกนนำไม่ถูกดำเนินคดีอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แม้ในหลายครั้งจะปรากฏชัดว่า การชุมนุมได้สร้างผลกระทบในวงกว้าง หรือถึงขั้นทำให้เกิดการสูญเสียด้วยการตัดสินใจของแกนนำ เป็นระยะ

แต่เมื่อสำรวจคดีเกี่ยวกับการชุมนุมในระดับพื้นที่ พบว่า ชาวบ้านที่มีความจำเป็นในการชุมนุมเพื่อปัญหาปากท้อง แรงงานที่ชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมทางกฎหมาย กลับต้องเผชิญกับการดำเนินคดีหลากหลายรูปแบบ จากนายจ้างและเจ้าหน้าที่ของรัฐ   และมีหลายคดีที่ต้องคำพิพากษาเด็ดขาดต้องรับโทษทางอาญาทันที โดยไม่มีการรอลงอาญา เสมือนว่าเป็นการ "เชือดไก่ให้ลิงดู" เพื่อให้ประชาชนเข็ดหลาบไม่กล้าชุมนุมอีก

แต่สิ่งที่คาใจหลายๆท่าน คือ "เชือดไก่น้อย" ให้ "ลิงมากบารมี" ดู แล้วจะได้ผลอะไร กลับสะท้อนให้เห็น "มาตรฐานที่ลักลั่น" ของกระบวนการยุติธรรม และการปกครองรัฐให้เกิดแพร่หลายในสังคมมากขึ้นไปอีก   ซึ่งความรู้สึก "อยุติธรรม" นี้ย่อมมีผลต่อความเคารพกฎหมาย และความมั่นคงของสังคมที่ประกาศว่าจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือผดุงความยุติธรรม   เป็นการข่มขู่ที่ผิดฝาผิดตัวอย่างแท้จริง

จะเห็นได้ว่า การชุมนุมของกลุ่มทางการเมืองมากบารมีนั้นปลอดจากการบังคับกฎหมายในหลายกรณี แต่ผู้ที่มีอำนาจบารมีน้อยนั้นเสี่ยงคุกเสี่ยงตารางมาก

 

การรักษาภาพลักษณ์ของ "การชุมนุม" จำเป็นไหม?

การชุมนุมขนาดใหญ่ที่ไม่มีความชอบธรรมทั้งวิธีการ และข้อเสนอที่เรียกร้องขัดกับกฎหมาย ได้ทำลาย "ความอดทน" ของคนทั้งสังคมที่มีต่อการชุมนุมเป็นอันมาก จนนำไปสู่การเหมารวมว่า "การชุมนุมทั้งหมดสร้างความเดือดร้อน"   ได้นำไปสู่แนวนโยบายของรัฐและกระบวนการยุติธรรมในการ "ลงโทษขั้นเด็ดขาด" กับผู้ชุมนุมที่รัฐและกระบวนการสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ 

ชะตากรรมอันมืดหม่นของแรงงาน ผู้ชุมนุมด้วยเหตุที่ไม่มีเครื่องมืออื่นๆเหลืออยู่ จึงตกอยู่ในมือของการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่ว่าได้ "ทำลายภาพลักษณ์" ของการชุมนุมไปมากขนาดไหนด้วย  ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง และความจำเป็นของแรงงานก็ต่างกว่าลิบลับ

 

หากสังคมยังเห็นความสำคัญในการรักษาการชุมนุมให้เป็นเครื่องมือต่อรองของ "ผู้ด้อยอำนาจ"    ก็ย่อมต้องควบคุมการชุมนุมทั้งหลายไม่ให้สร้างความเสื่อมทรามไปในความรู้สึกของสังคม  

ขอฝากไปยังผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งหลายว่า ให้เข้าใจความจำเป็นของผู้ใช้แรงงาน และกรุณาเชือดไก่ให้ถูกตัวด้วย

บล็อกของ ยาจกเร่ร่อน

ยาจกเร่ร่อน
ในสังคมไทยปัจจุบันการทำงานของคนเน้นไปที่การแข่งขันกันทำงานเพื่อสะสมเงินไว้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตัวเอง ตั้งแต่การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากท้องไปวันๆ การอดออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน รวมไปถึงเก็บหอมรอมริบไว้ทำทุนในอนาคต  หรือพูดง่ายๆก็คือ ทุกคนต้องสะสมทุกอย่างเพื่อตัวเอง   เพราะสังคมไทยไ
ยาจกเร่ร่อน
คนในโลกปัจจุบันเริ่มไม่รู้หน้า รู้หลัง ไม่รู้ว่าปัจจุบันกำลังทำอะไร เพื่ออะไร หรือควรจะทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตเพราะคุณค่า ความหมาย ในหัวที่ถูกกดดัน บีบคั้น เพราะสิ่งที่ถูกสั่งสอนมา มันขัดแย้ง ยอกย้อนกันเอง มาตลอด
ยาจกเร่ร่อน
หลังๆ คงได้ยินคนบ่นว่า "เบื่อคนต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย" หรือ "รำคาญนักท่องเที่ยวที่ทำอะไรตามใจตัวเอง" หรือที่เคยกระหึ่มเป็นพักๆ ก็คือ  "ต่อต้านบรรษัทข้ามชาติ"   เรื่องเหล่านี้ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ยาจกเร่ร่อน
หากจะลองค้นหาดูว่าในสังคมไทยเรารักเทิดทูนบูชาอะไร เป็นสิ่งสูงสุดในชีวิต อาจทำได้ด้วยการหาหลักฐานมาบอกว่าเราแสดงความรักกับอะไรมากที่สุด   มูลค่าและราคาของสิ่งที่เรารักจนยอมเสียเงินซื้อหามา น่าจะเป็น "ตัวชี้วัดที่ดี" ได้อย่างหนึ่ง  
ยาจกเร่ร่อน
สิ่งที่ยังยืนยันว่า คนจีนยังมีรากเหง้าอยู่ คือ พิธีไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษในช่วงตรุษจีน และเช็งเม้ง  แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ ความทรงจำของคนจีน ที่ผ่านคำบอกเล่าของบรรพบุรุษที่อพยพมากจากเมืองจีน
ยาจกเร่ร่อน
การชุมนุม เป็นเครื่องมือของใคร?หากยึดตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกได้อย่างเสมอภาคกัน
ยาจกเร่ร่อน
แด่ พ่อแม่พี่น้องและเพื่อนที่เสนอให้ Respect your Tax ขอพูดง่ายๆ นะครับ สาเหตุที่ต้องเอาการเมืองเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง 1 คน 1 เสียง มาใช้ ก็เพื่อมาแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เพราะ  ต้นทุนในชีวิตของแต่ละคนในการเริ่มต้นมันไม่เท่า
ยาจกเร่ร่อน
แรงงานพลัดถิ่น คือใคร
ยาจกเร่ร่อน
ใคร คือ แรงงานอารมณ์?
ยาจกเร่ร่อน
แม่ครัว เด็กเสิร์ฟ หาบเร่แผงลอย ช่างนวด คนขับรถรับจ้าง แม่บ้าน คนทำความสะอาด ยาม เป็น "ตัวแทนสาขาอาชีพ" ได้ไหม?